อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุของความผิดพลาด (ในการทำเค้ก)
   (What can go wrong?)
1. การอ่านสูตรผิดหรือแปลผิดหรือเข้าใจผิด หรือไม่กระทำตามสูตรอย่างครบถ้วน (Directions were misread,misinterpreted,or not followed properly.) แก้ไขคือควรอ่านสูตรอย่างน้อย ๆ 2 รอบหรือจนแน่ใจว่าเข้าใจถูกต้องทุกขั้นตอน
2. การวัด ตวง ส่วนผสมไม่ถูกต้อง เช่น การมาตราวัดโดยปริมาณ (Volumn) หรือโดยน้ำหนัก (Weight) ต้องระวัดระวังอย่าให้ผิดพลาด และการตวงวัดไม่ว่าระบบไหนก็ไม่สามารถทำแบบรวบรัดตัดตอนได้ เพราะมารตราส่วนที่ไม่ถูกต้องอาจมีผลกระทบทำให้ต้องโยนขนมทิ้งไปเลย อิอิ (Measuring of ingedients was inaccurate.)
3. ไม่ได้ทำตามขั้นตอนการผสมที่ถูกต้อง เช่น ผสมแป้งนานเกินไปหรือน้อยเกินไป เป็นต้น ตรงนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งด้าน ตัวเนื้อเค้ก,รูปทรง,ตลอดจนรสชาติ ดังนั้นอยากกินอร่อยต้องใจเย็น ๆ ค่ะ (The designated mixing method was not followed,for example,undermixed or overmixed.)
4. ใช้ของแทนส่วนผสมเดิมที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะที่จะนำมาใช้แทนกัน (Inappropriate ingredients were substituted for the original.)
5. รสชาติอ่อนไป เข้มไป สามารถปรับเพิ่มเติมได้ถ้าต้องการ เช่น สูตรบอกว่าให้ใส่วานิลา 1/2 ชช. แต่เราชอบกลิ่นหอม ๆ (เพราะจมูกไม่ดี) ก็สามารถใส่เพิ่มเป็น 1 ชช.ได้ (Flavorings were too little or too much.)
6. ใช้ถาดขนมไม่ถูกขนาด เล็กไปหรือใหญ่ไปก็มีผลกระทบได้ ทำให้เกิดผลกระทบกับการขึ้นรูปขึ้นร่างของตัวเค้กได้ เช่น ฟูล้นออกมาเพราะใช้ถาดเล็กหรือราบแต๊ดแต๋เนื่องจากใชึถาดขนาดใหญ่เกินไป(The wrong size pans were used.)
7. การเตรียมถาดที่ไม่ถูกต้องหรือถูกวิธี เช่นสูตรบอกว่าถาดเค้กไม่ต้องทาน้ำมันที่ก้นถาด แต่เราไปทา...เค้กก็จะไม่ขึ้นฟูอร้าอร่ามเท่าที่ควร (The pans were not prepped properly.)
8. เตาทำงานได้ไม่มาตรฐาน เช่นร้อนไปหรือเย็นไป ตรงนี้อาจส่งผลกระทบต่อการขึ้นฟูของตัวเค้กและตัวเนื้อเค้กได้ (The oven was not working properly.) วิธีแก้ไขคืออาจหาเทอร์โมมีเต้อร์สำหรับเตาอบ หนีบไปที่ชั้นกลาง (Middle rack) แล้วเทียบดูอุณหภูมิของเตากับเทอร์โมมีเต้อร์ดู
9. เมื่ออบเสร็จแล้วเอาเค้กออกจากถาดไม่ได้ เมื่อทำเค้กออกมาได้สวยงามแล้ว แต่ถ้ารีบนำออกจากถาดทันที เค้กที่สวยงามก็จะกลายเป็นพุ้ดดิ้งเละ ๆ ไปได้เหมือนกัน ทางที่ดีควรทิ้งไว้อย่างนั้นประมาณ 3 นาทีให้เค้กอุ่น (หายร้อน) สักระยะหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับทิ้งไว้จนเย็น แล้วนำออกมาวางบนแร็คทิ้งไว้ให้เย็นอีกที (The baked goods did not come out of the pan.)

ทุก ๆ คนล้วนแต่มีข้อผิดพลาดกันทั้งนั้นค่ะคุณ Spice เมื่อเราพอรู้สาเหตุก็ขอให้ระวังและป้องกัน และการฝึกฝนบ่อย ๆ จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้ดีค่ะ ต้นโอ๊คขอเอาใจช่วยนะคะ
โดย: ต้นโอ๊ค [21 ก.พ. 50 3:55> ( IP A:71.170.110.105 X: )
-----------------------
อีกข้อหนึ่งค่ะคุณ Spice บางทีสูตรที่เราได้มาด้วย ถ้าลองทำสูตรนั้นดูสองหนแล้วยังไม่ดี อาจลองหาสูตรอื่นดูน่ะค่ะ (อย่างนี้จะเรียกว่า "รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง" ไหมคะนี่ อิอิ) บางสูตรอาจจะใช้ไม่ได้เลยก็ได้ บางสูตรมีคนทำออกมาแล้วดูดีทีเดียว

มีศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่ 5 คำค่ะที่เราต้องใช้มันและทำความเข้าใจกับมัน นั่นคือ
1. Stirring: กวนไปในทางเดียวกันหรือมีบ้างอาจกวนแบบย้อนทาง โดยใช้ไม้พายหรือส้อม บางทีอาจมีการใช้ที่ตี Whisk คน ๆ ของแห้งบ้าง
2. Beating: คือการตีอย่างแรงและต่อเนื่อง เช่นการตีวิปครีม,ตีไข่ขาว เพื่อให้โปรตีนของไข่ถูกแยกตัวออกให้มากที่สุดเพื่อที่จะได้มีช่องว่างสำหรับช่องอากาศเข้าไปแทรก ทำให้ไข่ขาวฟูฟ่องตั้งยอดสลอน หรือวิปครีมก็เช่นกัน
3. Creaming: หมายถึงการตีของประเภทไขมัน เช่น เนย และน้ำตาล ให้เกิดช่องว่างเพื่อจะได้มีฟองอากาศเข้าไปแทรก เครื่องมือพวกนี้มักหมายถึงเครื่องจากเครื่องนวดไฟฟ้า (Electric Mixer)
4. Kneading: คือการนวดแป้งที่ผสมแล้วด้วยส่วนล่างของฝ่ามือ กดรือขยำไปขยำมาหรือพับไปพับมา
5. Folding: คือการผสมที่นุ่มและเบาที่สุดในบรรดาการนวด ๆ ทั้งหลาย คือการเอาไข่ขาวที่ตีขึ้นฟูแล้วไปผสมกับส่วนผสมของแป้ง(เขาจะมีวิธีบอกค่ะว่าต้องทำอย่างไร ไม่สามารถนำลงไปเทคลุก ๆ ครั้งเดียวได้) หรือนำพวกวิปครีมที่ตีขึ้นแล้วไปผสมกับส่วนผสมของแป้ง จะพบได้ในการทำมูส (Mousse),ซู-ฟเล (Souffle),หรือคุ้กกี้บางประเภท เช่น เลดี้ ฟิงเก้อร์(Lady Finger) เป็นต้น
โดย: ต้นโอ๊ค [21 ก.พ. 50 4:20> ( IP A:71.170.110.105 X: )
โดย: เจ้าบ้าน [18 พ.ค. 50 3:05] ( IP A:213.114.231.166 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน