ลูกจันทร์ป่น???? หน้าตามันเป็นไงอ่ะค่ะ
   ว่าจะทำแพนเค็กสวีเดนคุณต้นโอ็ควันนี้ แต่ไปหาซื้อของได้ไม่ครบเลยยังไม่ได้ทำ เลยอยากแวะมาถามหน่อยค่ะ ว่า ลูกจันทน์ป่น ในสูตรเนี่ย หน้าตามันเป็นไงอ่ะค่ะ แ้วหาซื้อได้ที่ไหน (หาไม่ได้จิงๆ) แล้วถ้าไม่มีจิงๆนี่จะเอาอะำไรแทนได้บ้างค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ


โดย: เฟรม [4 เม.ย. 50 13:56> ( IP A:125.27.17.51 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
https://www.baanjomyut.com/library/thai_spices/
โดย: ข่าหวาน [4 เม.ย. 50 14:29> ( IP A:125.238.132.7 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 2
...สวัสดีทุกท่านครับ แวะเข้ามาทักทายครับ
โดย: จินจง [4 เม.ย. 50 15:05> ( IP A:125.24.175.72 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 3
ขอบคุณนะค่ะคุณข่าหวาน ทักทายคุณจินจงด้วยค่ะ
โดย: เฟรม [4 เม.ย. 50 15:45> ( IP A:125.27.17.4 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 4
สาวน้อนน่ารักจริงค่ะ

ถ้าหาไม่ได้จริงก็ไม่ใส่ก็ได้ค่ะ ไม่น่ามีผลต่อรส แต่มีผลต่อกลิ่น อาจจะหอมน้อยลงหน่อย

ของยี่ห้อฝรั่งจะเป็นขวดเล็กๆแบบป่นมาสำเร็จแล้วก็มีค่ะ แต่ป่นสดจะหอมกว่า ถ้าคุณเฟรมอยู่กรุงเทพ จะมีขายที่วิลล่า ฟูดแลนด์ แน่นอนค่ะ แต่ท้อป คาร์ฟูร์จะมีขายเฉพาะสาขาใหญ่ๆค่ะ
โดย: ตุ้ม [4 เม.ย. 50 17:52> ( IP A:58.8.127.87 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 5
ฟู้ดแลนด์ที่พัทยาน่าจะมีขายค่ะคุณเฟรม แต่ถ้าไม่มีไม่ใช้ก็ได้ค่ะ แต่ซื้อมาแล้วได้ทำขนมอื่น ๆ อีกมากมายเลยค่ะ
โดย: ต้นโอ๊ค [4 เม.ย. 50 22:38> ( IP A:71.170.110.105 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 6
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าฅนทานจะชอบกลิ่น นี้หรือเปล่านะคุณเฟรม เค้าไม่ถูกโรคกัน เพราะบางฅนไม่ทานของที่มีกลิ่นลูกจันท์
ผมเลยต้องตัดออก ไม่ใส่่ ครับ
โดย: Subu [5 เม.ย. 50> ( IP A:75.57.167.220 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 8
ลูกจันทน์
https://www.elib-online.com/doctors2/herb_myristica01.html

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลูกจันทน์เป็นผลผลิตจากพืชในตระกูลไมริสติคาซีอี (Myristicaceae) ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าไมริสติกา แฟรกกรานส์ (Myristica fragrans Houtt.) ลักษณะของพืชเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูง 30-60 ฟุต บางครั้งอาจสูงมากถึง 70-80 ฟุต ลำต้นแตกแขนงได้มากมาย เปลือกของลำต้นมีสีเทาเข้ม ใบมีสีเขียวเข้มมีรูปร่างแบบปลายหอก ใบยาว 2-5 นิ้ว หูใบมีสีน้ำตาลหรือสีเหลืองอ่อน ดอกตัวผู้จะเกิดอยู่ในกลุ่ม ส่วนดอกตัวเมียจะเกิดอยู่เดี่ยวๆ และมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ผลมีรูปร่างเกือบกลม สีแดงหรือเหลือง หรือเหลืองส้ม มีความยาว 11/2-2 นิ้ว กว้าง 13/16 นิ้ว เมื่อมองดูผลจะมีลักษณะขรุขระ แต่เมื่อจับดูจะเรียบ เมื่อผลสุกจะแตกออกเป็นสองส่วน

พืชนี้เจริญได้ดีในเขตที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกในแต่ละปี ประมาณ 80-100 นิ้ว เจริญได้ดีในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร หรือ 1,500 ฟุต และในดินที่มีฮิวมัสมาก การขยายพันธุ์ได้โดยใช้เมล็ด เมล็ดใช้เวลานาน 6 สัปดาห์ จึงจะงอก บางครั้งอาจนานถึง 3 เดือน หรือบางครั้งอาจะเร็วภายใน 4 สัปดาห์เท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฟักตัวของเมล็ดหลังจากงอกแล้วนาน 6 เดือน พืชจะเจริญได้สูง 15-20 ซม. หรือ 6-9 นิ้ว จึงจะย้ายไปปลูกในแหล่งที่ต้องการได้ ในระยะแรกปลูกนี้ พืชต้องการร่มเงาในการเจริญเป็นอย่างมาก จึงมักปลูกปะปนกับพืชให้ร่มเงาต่างๆ เช่น กล้วย เป็นต้น พืชนี้มีต้นตัวผู้และตัวเมียแยกกัน

ต้นตัวเมียเท่านั้นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ส่วนต้นตัวผู้มีความจำเป็นเฉพาะการผสมเกสร ตามปกติการเจริญของพืชนี้จะช้ามากโดยจะเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่พืชมีอายุ 6 ปีเป็นต้นไป แต่บางครั้งอาจนานถึง 8-9 ปี ผลผลิตที่ได้จะให้ปริมาณสูงสุดในช่วง 15 ปี และให้ผลผลิตติดต่อกัน ไปจนถึง 30 ปี แต่บางครั้งนานถึง 90 ปี ผลผลิตจากพืชแต่ละต้นในแต่ละปีจะให้ลูกจันทน์ 1,000 ผล ถึง 3,000 ผล ในอินเดียมีพืชนี้ปลูกประมาณ 400 เฮคเตอร์ ในแต่ละปีจะผลิตลูกจันทน์ได้ 200 ตัน และดอกจันทน์ได้ 10 ต้น

ถิ่นกำเนิด

ลูกจันทน์เป็นผลผลิตจากพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย และเกาะโมลัคกา ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกนั่นเอง จากนั้นได้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของโลก ลูกจันทน์และจันทน์เป็นเครื่องเทศที่มีใช้กันมานานแล้วตั้งแต่ในสมัยของชาวโรมัน โดยนำไปใช้ผสมเป็นเครื่องแกงในแกงกะหรี่ แต่อย่างไรก็ตามชาวโรมันก็ยังไม่รู้จักพืชนี้ นอกจากนี้ยังได้มีบันทึกไว้ว่าในระหว่างศตวรรษที่ 6 ได้มีการค้าขายเครื่องเทศนี้แล้ว โดยชาวอาหรับได้นำดอกจันทน์และลูกจันทน์มาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกไปขายที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ต่อมาเครื่องเทศนี้ได้แพร่เข้าสู่ยุโรปในศตวรรษที่ 12 จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะตั้งแต่อิตาลีไปถึงเดนมาร์กในปี ค.ศ.1191 ซึ่งได้มีพิธีสถาปนาพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 (Henry VI) ขึ้นเป็นจักรพรรดินั้น ถนนทุกสายที่เข้าสู่กรุงโรมจะหอมอบอวลไปด้วยกลิ่นของลูกจันทน์และเครื่องเทศอื่นๆ ความต้องการเครื่องเทศนี้เริ่มมีมากขึ้น โดยเฉพาะในอังกฤษ จึงทำให้มีราคาแพง โดยดอกจันทน์ 1 กก. สามารแลกแกะได้ถึง 3 ตัว

ในปี ค.ศ.1521 นักเดินเรือชาวโปรตุเกสสองคนคือ บาร์ธีมา (Barthema) และปิกาเฟตตา (Pigafetta) ได้พบพืชนี้เป็นครั้งแรกและได้นำไปปลูกในเกาะบานดา (Banda) ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะโมลัคกา

จากนั้นได้มีการปลูกกันอย่างแพร่หลายทั่วทั้งหมู่เกาะนี้ จนกระทั่งโปรตุเกสสามารถยึดเกาะนี้ไว้ได้ จึงผูกขาดการค้าขายลูกจันทน์และดอกจันทน์ไว้แต่ผู้เดียว ต่อมาในปี ค.ศ.1602 ฮอลันดาสามารถยึด หมู่เกาะโมลัคกาได้จากฝรั่งเศสจึงได้ผูกขาดการค้าไว้เป็นระยะเวลายาวนานถึง 200 ปี โดยได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East India) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขาย

ในปี ค.ศ.1769-1770 ฝรั่งเศสได้นำพืชไปปลูกที่เกาะเมาริติอุส (Mauritius) และทางตะวันออก ของเกาะมาดากัสกา ต่อมาอังกฤษสามารถยึดหมู่เกาะโมลัคกาจากฮอลันดาได้เป็นผลสำเร็จ จึงได้ขยายการปลูกพืชนี้อย่างแพร่หลาย โดยในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1790-1802 ได้นำพืชนี้ไปปลูกในปีนัง เป็นครั้งแรกและขยายไปสู่มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และลังกา ในปี ค.ศ.1843 ได้ขยายการปลูกพืชนี้ไปสู่เกาะเกรนดา (Grenada) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกอีกด้วย เป็นผลให้ราคาเครื่องเทศนี้ลดลง

ในปัจจุบันประเทศที่เป็นแหล่งผลิตลูกจันทน์และดอกจันทน์ที่สำคัญคือ ตรินิแดด ลังกา อินโดนีเซีย เกาะเกรนดาและลีวาร์ด (Lea Ward Island) อินเดียและหมู่เกาะซีรีเบรส (Celebes Island) สำหรับในประเทศไทยนั้นมีพบปลูกมากทางภาคใต้ เช่น ตรังและนครศรีธรรมราช โดยในแต่ละปี ทั่วโล
โดย: [0 3> ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 9
กผลิตลูกจันทน์ได้ 7,000 ตัน และดอกจันทน์ 4,000 ตัน ในจำนวน 60% ผลิตจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยส่งไปขายในสหรัฐอเมริกา เยอรมันตะวันตก อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ แคนาดา และอินเดียว ในปี ค.ศ.1969 ลูกจันทน์จำนวนมากกว่า 5 ล้านปอนด์ที่นำเข้าสู่สหรัฐอเมริกานั้น ได้จากอินโดนีเซียมากถึง 80%

ประโยชน์

ลูกจันทน์เป็นเครื่องเทศที่มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านการแพทย์นั้น ได้ใช้ลูกจันทน์เป็นยามาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ใช้น้ำมันหอมระเหย รับประทานแก้การอักเสบของทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับลม ในอินเดียนำไปผสม เป็นยารับประทานแก้ปวดหัว เป็นไข้หรือทำให้ลมหายใจมีกลิ่นสะอาดและแก้อาการผิดปกติ ของระบบทางเดินอาหาร ชาวอาราเบียได้ใช้ลูกจันทน์เป็นยาขับลมมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้การเจ็บปวดที่ไตและกระเพาะอาหาร

สำหรับในประเทศไทยนั้นได้ใช้ลูกจันทน์แก้ร้อนใน จุกเสียด กระหายน้ำ ขับลมในลำไส้ บำรุงโลหิต แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้หืด แก้เสมหะ และแก้ริดสีดวง นอกจากนี้ประชากรในภาคใต้ของไทย และมาเลเซียยังได้นำผล (ลูก) จันทน์มาแช่อิ่มเพื่อรับประทานเป็นอาหารหวาน หรือนำส่วนที่เป็นเนื้อของผล ไปทำเป็นผลไม้กวน เป็นต้น ในทางด้านอาหารได้นำลูกจันทน์และดอกจันทน์ไปใช้แต่งกลิ่นอาหารหลายชนิด เช่น พุดดิ้ง ขนมปัง ซอส แฮม เนย ไส้กรอก เค้ก ปลา เนื้อสัตว์และสัตว์ปีกต่างๆ ทำให้มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน รวมทั้งได้นำไปใช้ในการถนอมอาหารอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้นำลูกจันทน์ และดอกจันทน์ไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมต่างๆ และเครื่องสำอางเช่นกัน

สารเคมีที่สำคัญ

สารเคมีที่พบในลูกจันทน์จะพบในส่วนของน้ำมันหอมระเหย โดยทั่วไปแล้วลูกจันทน์ มีน้ำมันหอมระเหย 5-15% น้ำมันไม่มีสีหรือสีเหลืองอ่อน สำหรับสารเคมีที่พบมีหลายชนิด เช่น แคมเฟอร์อัลฟา-ไปนีน (a-pinene), แคมฟีน (camphene), ลินาลูล (linalool), ไมริสติซิน (myristicin), ซาฟรอล (safrole), ไอโซยูจีนอล (isoeugenol) เป็นต้น

ในสารเคมีต่างๆ พบอัลฟาไปนีนและแคมฟีน รวมกันมากถึง 80% นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า สารเคมีที่พบในลูกจันทน์ยังแตกต่างกันไปตามแหล่งปลูกอีกด้วย เช่น ยูจินอลและซาฟรอลจะพบในลูกจันทน์ ที่ได้จากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ส่วมแคมเฟอร์จะพบในลูกจันทน์จากหมู่เกาะอินเดียตะวันตกเท่านั้น

ปริมาณสารเคมีและน้ำมันหอมระเหยของลูกจันทน์จะแตกต่างกันไปตามแหล่งปลูก สายพันธุ์ของพืช ฯลฯ ยังมีรายงานว่า ระยะเวลาการเก็บรักษาจะทำให้น้ำมันหอมระเหยลดต่ำลง โดยลูกจันทน์ที่เก็บไว้ในสภาวะ ที่มีความกดดันต่ำเป็นเวลานาน 12 เดือน จะมีน้ำมันหอมระเหยลดลงเป็นจำนวนมาก สำหรับอุณหภูมิก็มีผลเช่นเดียวกัน โดยน้ำมันหอมระเหยของลูกจันทน์จะสูญหายไปเมื่อได้รับความร้อน ที่อุณหภูมิสูงและเป็นเวลานาน เมื่อนำลูกจันทน์ไปเป็นส่วนปรุงแต่งในอาหารกระป๋องประเภทเนื้อสัตว์ แล้วนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่างๆ กัน จากนั้นเก็บไว้นาน 2-3 สัปดาห์ จะพบว่าน้ำมันหอมระเหย จะสูญหายที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส ดังนั้นในอาหารและเครื่องยาแผนโบราณที่มีลูกจันทน์ เป็นส่วนผสมอยู่ด้วยแล้วนำไปให้ความร้อนที่อุณหภูมิของการต้มจนเดือด (100 องศาเซลเซียส) จะทำให้ประสิทธิภาพของจันทน์สูญเสียไปด้วย

อันตายที่อาจเกิดขึ้น

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการรับประทานลูกจันทน์เป็นผลเนื่องจากได้รับสารพวกไมริสติซิน ที่พบในน้ำมันหอมระเหย สารนี้มีชื่อทางเคมีว่า 4-อัลลีล-6เมธอกซี-12, 2-เมธีลีนไอออกซีเบนซีน (4-allyl-6-methoxy-1, 2-methylenedioxybenzene) มีสูตรโมเลกุล C11H12O3 สารนี้เป็นพิษต่อร่างกาย โดยทั่วไปในน้ำมันหอมระเหยจะมีไมริสติซิน 4% แต่อาจพบได้มากถึง 12-14% จากการศึกษาความเป็นพิษ ของลูกจันทน์ในหนูทดลองพบว่า ถ้าให้หนูกินน้ำมันหอมระเหยของลูกจันทน์เข้าไปจะมี LD56 ที่ 2620 มม./กก. แต่ถ้าหากเป็นน้ำมันหอมระเหยของลูกจันทน์จากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกจะมี LD50 ที่ 500 +- 140 มก./กก.

สำหรับอาการที่เกิดขึ้นนั้นจะพบว่า ไขมันที่ตับถูกทำลายและเกิดเป็นอัมพาต ของระบบประสาทส่วนกลาง ทั้งนี้เนื่องจากไมริสติซินจะยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โมโนเอมีน ออกซิเดส (monoamine oxidase) เป็นผลให้มี 5-ไฮดรอกซี-ทริปเอมีน (5-hydroxytrypamine) สะสมอยู่ในสมองเป็นจำนวนมากจึงทำงานผิดปกติไป การทำลายส่วนของร่างกายดังกล่าวนี้ จะเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับปริมาณของไมริสติซินที่ได้รับ โดยถ้าได้รับไมริสติซินในปริมาณมาก จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว การหดและคลายตัวของหลอดเลือดไม่สม่ำเสมอ อุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่าปกติ อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ เคลิ้มฝัน ตับและไตพิการ ผิวหนังเขียวเนื่องจากขาดก๊าซออกซิเจน ไม่มีการหลั่งของน้ำลาย เกิดการหดตัวของม่านตา นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อ

เกิดอาการเพ้อคลั่งและตายในที่สุด สำหรับในมนุษย์นั้นจะเกิดอ
โดย: [0 3> ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 10
าการเหล่านี้ได้รวดเร็วกว่าสัตว์ จากการศึกษาในผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการรับประทานลูกจันทน์เข้าไปในปริมาณมากจะเกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตาบ่อยครั้ง ประสาทเสื่อม เคลิ้มฝัน อาการดังกล่าวนี้จะเป็นอยู่นาน 6 เดือน ส่วนการรักษาผู้ป่วยนั้น ให้รับประทานอัลคาไลยูรีน (alkai urine) จะช่วยให้อาการกลับสู่สภาวะปกติในช่วง 29 ชั่วโมงต่อมา

สารอีกชนิดหนึ่งในลูกจันทน์ที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ก็คือ ซาฟรอลซึ่งสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ ในหนูที่กินซาฟรอลเข้มข้น 0.5-1% จะเกิดมะเร็งในตับและการเกิดมะเร็งนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถ้าหากได้รับอาหารโปรตีน โดยเฉพาะได้รับเคซีน สำหรับการเกิดมะเร็งที่ตับอาจเกิดโดยการอักเสบ ของเนื้อเยื่อที่ตับจนมีลักษณะเป็นก้อนแข็งๆ ขึ้นมา เรียกว่าเป็นแบบเซอโรซิส (cirrhosis) หรือการเกิดจากการตายของเนื้อเยื่อตับ เรียกว่าเป็นแบบซิสติคนีโครซิส (cystic necrosis) หรือเกิดแบบเนื้อเยื่อที่ตับมีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นจนตับมีขนาดโตกว่าปกติเรียกว่า เป็นแบบไฮเปอร์พลาเซีย (hyperplasia) ซึ่งอาจจะเกิดแบบใดแบบหนึ่งหรือเกิดทั้ง 3 แบบในขณะเดียวกันก็ได้

ดังกล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าถ้าหากรับประทานอาหารหรือยาที่มีลูกจันทน์ในปริมาณต่ำๆ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ถ้าหากรับประทานในปริมาณมากก็อาจเกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงควรที่จะได้มีความระมัดระวังเพิ่มขึ้นด้วย จึงจะช่วยให้มีความปลอดภัยต่อร่างกายมากขึ้น
รศ.บัญญัติ สุขศรีงาม


(update 26 ตุลาคม 2000)
โดย: ชมพู่ [5 เม.ย. 50 2:12> ( IP A:213.114.231.222 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 11
รูปจากกูเกิ้ลคะ


โดย: ชมพู่ (เจ้าบ้าน ) [5 เม.ย. 50 2:14> ( IP A:213.114.231.222 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 12
ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่ต้องใส่คะ
ปล.ลูกสาวน่ารักจังดื่มนมทีเดียว 2 ขวดเลยนะ อิอิ ฝากจุ๊บหน่อยจ๊ะ
โดย: ชมพู่ (เจ้าบ้าน ) [5 เม.ย. 50 2:16> ( IP A:213.114.231.222 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 13
ขอบคุณทุกท่านมากนะค่ะสำหรับคำแนะนำใกล้สุดคงเป็นพัทยาอ่ะค่ะ แต่ว่าคุยกับแม่สามีแล้ว ตกลงกันว่าไม่ใส่ดีกว่าค่ะ เพราะจะทำกันวันนี้แล้ว ยังไงพรุ่งนี้จะเอาการบ้านมาส่งคุณต้นโอ็คนะค่ะ (หมักแป้งหนึ่งคืน อิอิ) แล้วถ้าว่างๆจะเอายำมะม่วงซอสมะขามมาลงนะค่ะ ทำแล้วสามีบอกพอใช้ได้(สำหรับท)ำครั้งแรกอ่ะค่ะ ส่วนเจ้าตัวแสบหลับไปแล้วค่ะ อิอิ
โดย: เฟรม [5 เม.ย. 50 9:40> ( IP A:125.27.22.62 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 14
Supermarket ก็มีค่ะ ง่วนสูน เป็นขวดเล็กๆ บริเวณเครื่องเทศ เห็นที่บ้านใส่ในอาหารอย่างอื่นด้วยค่ะ
โดย: nocturne [5 เม.ย. 50 9:40> ( IP A:202.28.4.15 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 15
สวัสดีค่ะ คุณเฟรม คุณสา คุณข่าหวาน คุณตุ้ม คุณจินจง คุณต้นโอ๊ค คุณSubu คุณnocturne และ เพื่อนๆ ทุกๆ ท่าน

เห็นลูกจันทร์แล้วให้นึกขำตัวเอง เคยทำอาหารอย่างหนึ่งในสูตรบอกให้ใช้ลูกจันทร์ป่น เราก็ซื้อลูกจันทร์มาเป็นลูกๆก็เอามาขูดๆๆๆๆเปลือกก็แข็งมากๆขูดไม่ค่อยออก ก็เลยไม่ใส่เลย มารู้ทีหลังว่าเขาให้ใช้ข้างในต้องกระเทาะเปลือกออกก่อน ฉลาดมากเลยเนอะ 5555

น้องเฟรมดูดน้ำและนมพร้อมกันเลยหรือเนี่ย สามารถมากเลย
โดย: J&J [5 เม.ย. 50 14:35> ( IP A:58.9.41.151 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 16
เมืองไทยขายแบบให้แกะเปลือกเองเลยเหรอคะคุณ J&J แล้วมากระเทาะเองยากไหมคะ ที่นี่ถ้าไม่เป็นแบบผงก็มีขายแบบในรูป คห. ที่ 11 น่ะค่ะ เพราะจะมีบางสูตรให้ใช้ Freshly Grated Nutmeg น่ะค่ะ
โดย: ต้นโอ๊ค [6 เม.ย. 50 8:27> ( IP A:71.170.110.105 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 17
หวัดดีคะคุณเฟรม คุณ nocturne คุณเจเจ และคุณโก๊ะ

มาอ่านของคุณเจเจ ถึงบางอ้อเลยคะ สาก็เอาไปขูดซะเจ็บมือเลย ที่แท้ ต้องเอาเปลือกออกก่อนหรอ ที่นี่สาก็ไม่เห็นมีแบบที่ป่นๆเลย เดี๋ยวจะไปลองหาดูอีกทีคะ ขอบคุณคุณเจเจและคุณโก๊ะ พี่ตุ้ม พี่ข่าหวาน และทุกๆคนมากๆคะ
โดย: ชมพู่ [6 เม.ย. 50 11:25> ( IP A:213.114.231.222 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 18
แบบในรูปที่ 11 นั้นไม่ต้องเอาเปลือกอะไรออกค่ะคุณสา ขูดได้เลย มีที่ขูดอีกแบบหนึ่งสไตล์คล้าย ๆ กับที่บดพริกไทย เดี๋ยวว่าง ๆ ถ่ายรูปมาให้ดูค่ะ แบบนั้นไม่ต้องกลัวเจ็บมือค่ะ
โดย: ต้นโอ๊ค [6 เม.ย. 50 12:08> ( IP A:71.170.110.105 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 19
คุณต้นโอ๊คขา อย่างที่เล่ามาว่าตอนนั้นไม่รู้ว่าใช้ส่วนในของลูกจันทร์
ก็ขูดไปทั้งเปลือก ขูดยังไงก็ไม่ออก นึกว่าซื้อได้ลูกจันทร์เก่ามาเลยแข็งขูดไม่ออก ก็เลยทิ้งไปเลยค่ะ
โดย: J&J [6 เม.ย. 50 16:05> ( IP A:58.9.45.10 X: )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 20
ขูดทั้งเปลือกก็ดีค่ะคุณ J&J อิอิ จะได้คุณค่าทางอาหารเพิ่ม(กากค่ะ อิอิ) ก่อนทิ้งนี่น่าจะลองใช้อาวุธขั้นสุดท้ายทดสอบก่อนนะคะ สากค่ะ ทุบไปเล้ยยย...

คุณสาคะ โกะเอารูปที่ป่นลูกจันทร์มาให้ดูนะคะพร้อมทั้งลูกจันทร์แบบทั้งมีเปลือกและแกะเปลือกออกแล้ว ที่บ้านก็มีแบบทั้งเปลือกอยู่เม็ดหนึ่งมองไม่เห็น เพราะใช้แต่อันที่อยู่ในที่บดน่ะค่ะ

จากรูปลูกจันทร์ 2 ลูก เม็ดใหญ่คือแบบมีเปลือก (เปลือกมันแข็ง ๆ จริง ๆ ค่ะคุณ J&J ถ้าคุณ J&J ขูดได้นี่ขอแสดงความนับถือค่ะ อิอิ)

ส่วนลูกจันทร์ลูกเล็กคือแกะเืปลือกออกแล้ว
แบบขูดด้วยมือ (ภาพซ้ายมือ)
แบบบดแบบเครื่องบดพริกไทยน่ะค่ะ (ภาพกลาง) แบบนี้ขูดสะดวกและรวดเร็วค่ะ
แบบผง (ภาพขวามือ)


โดย: ต้นโอ๊ค [6 เม.ย. 50 22:55> ( IP A:71.170.110.105 X: )

--------------------------------------------------------------------------------

ดำ ขาว น้ำเงิน แดง เขียว เหลือง ส้ม น้ำตาล ม่วง ฟ้า เขียวมะนาว

รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail : แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :

ชิดซ้าย กึ่งกลาง ชิดขวา

เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K

โดย: + [4 มิ.ย. 50 3:28] ( IP A:213.114.231.132 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   

โดย: + [4 มิ.ย. 50 3:28] ( IP A:213.114.231.132 X: )

คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน