อบรมวิทยากรแกนนำหลักสูตรและการจัดอบรมบูรณาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
   สาระความรู้จากการอบรมบางบทบางตอนครับ

คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้
Curriculum-Framing Questions



คำถามเพื่อการเรียนรู้
ศึกษาเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการตั้งคำถามปลายเปิดและนำไปใช้ในชั้นเรียน

การใช้คำถามเพื่อยกระดับการเรียนรู้
การตั้งคำถามที่ดี
การฝึกตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพ


การถามให้ถูกคำถาม
การถามด้วยคำถามปลายเปิดเพื่อเป็นกระตุ้นนักเรียนให้ใช้ความคิดอย่างลึกซึ้งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเตรียมตัวให้เข้าใจความหมายของเนื้อหาที่จะเรียน เมื่อนักเรียนถูกถามก็จะเกิดความสนใจในการหาคำตอบ ก็จะเกิดการมีส่วนร่วม เมื่อคำถามช่วยให้เข้าใจว่าเนื้อหาที่เรียนนั้นเชื่อมโยงกับชีวิตจริงอย่างไร การเรียนรู้ก็จะมีความหมายมากขึ้น เราสามารถช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจและกำหนดเป้าหมายของตนเองได้ด้วยการถามให้ถูกคำถาม แต่คำถามที่ถูกต้องคืออะไรล่ะ

คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้จะเป็นชุดคำถามที่มีการเตรียมการณ์อย่างดีเพื่อใช้ตลอดโครงงานและช่วยยกระดับทักาะการคิดทุกขั้น จะทำให้เกิดสมดุลย์ระหว่างความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและสร้างความสนใจในเนื้อหาที่เรียนโดยเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ประกอบด้วย คำถามสร้างพลังคิด คำถามประจำหน่วยและคำถามประจำบท

คำถามสร้างพลังคิด และคำถามประจำหน่วยจะช่วยกำหนดกรอบการเรียนรู้ จะช่วยให้นักเรียนจดจำคำถามที่ต้นด้วยคำว่า ทำไม และ อย่างไร ได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการค้นคว้าวิจัยและการอภิปรายกลุ่ม จะช่วยให้นักเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้ของตนเองและพัฒนาความรู้ในเรื่องนั้นๆ คำถามสร้างพลังคิดและคำถามประจำหน่วยที่ดี จะช่วยให้นักเรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เกิดความอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ เพื่อจะต้องตอบคำถามเหล่านั้นให้ได้ นักเรียนต้องค้นคว้าลงไปอย่างลึกซึ้งและค้นหาความหมายด้วยตนเอง ตลอดจนพยายามตอบคำถามจากข้อมูลที่หามาได้

คำถามประจำบทจะช่วยนักเรียนให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหนและเมื่อไหร่ เป็นเป็นการสนับสนุนคำถามสร้างพลังคิดกับคำถามประจำหน่วยด้วยการเน้นที่ความเข้าใจในเนื้อหา จะช่วยให้นักเรียนรู้และเข้าใจในข้อเท็จจริงที่ต้องเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้

การใช้คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้
คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้จะถูกสร้างเป็นขั้นๆ คำถามประจำบทจะช่วยสนับสนุนคำถามประจำหน่วย และทั้งคำถามประจำบทกับคำถามประจำหน่วยก็จะสนับสนุนคำถามสร้างพลังคิด ตัวคำถามสร้างพลังคิดก็จะเป็นคำถามที่ใช้กระตุ้นผู้เรียนในตอนต้น คำถามต่อไปนี้ เป็นคำถามในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ที่แสดงความสัมพันธ์ของคำถามแต่ละขั้น

คำถามสร้างพลังคิด

ทำไมเราจึงต้องพึ่งพาคนอื่นด้วย
คำถามประจำหน่วย

อาชีพใดที่เป็นผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมที่มีความสำคัญมากที่สุด
นักเรียนอยากทำงานเพื่อสังคมในอาชีพใด
คำถามประจำบท

มีอาชีพใดบ้างที่ทำงานเพื่อสังคม
อาชีพที่ทำงานเพื่อสังคมต้องทำอะไรบ้าง
คำถามสร้างพลังคิด:


จะแนะนำให้รู้จักแนวความคิดหลักที่ใช้ตลอดหน่วยการเรียนรู้ เป็นตัวเชื่อมระหว่างหน่วยการเรียนรู้หลายๆ หน่วย สาระต่างๆ หรือระยะเวลาที่ใช้
มีคำตอบที่หลากหลาย เป็นคำตอบที่ไม่ได้มาจากหนังสือเรียนโดยตรง เป็นเสมือนปัญหาสำคัญๆ ปัญหาหนึ่งในชีวิต เช่น เราจำเป็นต้องดูแลน้องด้วยหรือ
ดึงความสนใจของนักเรียนและต้องการทักษะการคิดขั้นสูง;ท้าทายนักเรียนให้พินิจพิเคราะห์ ประยุกต์ใช้การประมาณค่าและถ่ายโอนประสบการณ์
คำถามประจำหน่วย:

เป็นคำถามปลายเปิดที่ช่วยให้มีการค้นหาคำตอบที่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระหรือหนาวยการเรียนรู้นั้นๆ คณะครูอาจารย์สามารถใช้คำถามประจำหน่วยของแต่ละหน่วยการเรียนรู้หลายๆ หน่วยมาสนับสนุนคำถามสร้างพลังคิดคำถามเดียว
ใช้คำถามประจำหน่วยเป็นตัวช่วยในการเปิดการอภิปรายกลุ่มหรือการแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องกับคำถามสร้างพลังคิด เช่น เราจะช่วยป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดความอดอยากแร้นแค้นได้อย่างไร
กระตุ้นให้เกิดการค้นคว้า เกิดความสนใจ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเชิงสร้างสรรค์ขึ้นในตัวนักเรียนแต่ละคน คำถามเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนได้ถ่ายโอนความรู้ด้วยตนเอง
คำถามประจำบท:

ปกติแล้ว จะมีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน และเป็นคำถามแบบ ปลายปิด
สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สนับสนุนคำถามประจำหน่วยและคำถามสร้างพลังคิด
ทำสอบความจำของนักเรียนเกี่ยวกับความรู้ข้อเท็จจริง โดยมักจะให้นักเรียนได้จดจำว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหนและเมื่อไหร่ เช่น ความอดอยากคืออะไร
ต้องการความรู้ความเข้าใจในการตอบคำถาม
เอกสารอ้างอิง
Wiggins, G. and McTighe, J. (2001). Understanding by design. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

โดย: ศน.ชวลิต [1 เม.ย. 53 11:54] ( IP A:58.137.41.36 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   การวางแผนเพื่อจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
Planning Projects


แนวทางการวางแผนโครงงาน
ใช้แหล่งเรียนรู้เหล่านี้ในการพัฒนาโครงงาน

การวางแผนโครงงาน
การประเมินโครงงาน
เกณฑ์การประเมินโครงงาน
รายการตรวจสอบสำหรับโครงงาน
แนวคิดในการทำโครงงาน


แหล่งเรียนรู้ในการประเมินการวางแผน
แหล่งเรียนรู้ การประเมินโครงงาน มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การนำไปใช้ และกระบวนการประเมินแบบอื่นๆ ในชั้นเรียน ศึกษาตัวอย่างเกี่ยวกับการประเมินที่สร้างโดยครูผู้สอนที่สอดแทรกลงในการทำโครงงานต่างๆ อย่างหลากหลาย

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
>


หน่วยการเรียนรู้ด้วยโครงงานจำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมการเป็นพิเศษ
ครูจำเป็นต้องมีการวางแผนและเตรียมการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นหลักประกันว่านักเรียนจะได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ซึ่งหากเป้าหมายขั้นสูงๆ ที่ต้องการให้นักเรียนบรรลุจำเป็นต้องมีการวางแผนและการเตรียมการณ์ที่เหมาะสม ไม่ว่าจะสอนด้วยวิธีการใดก็ตาม การเรียนรู้ด้วยโครงงานก็เช่นเดียวกัน

โครงงานควรมีการออกแบบโดยคำนึงถึงผลผลิตสุดท้ายเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ หากไม่มีเป้าหมายที่วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เป้าหมายของโครงงานก็จะไม่ชัดเจนและผลการเรียนรู้คาดหวังของนักเรียนก็อาจไม่เกิดขึ้น ในการออกแบบโครงงานจำเป็นต้องมีหลักประกันที่แน่นอนว่ากิจกรรมที่วางแผนไว้จะช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ในขณะที่วิเคราะห์เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้และเก้าหมายของหลักสูตรครูจะเป็นผู้เลือกว่าส่วนใดจะมีความสำคัญเป็นลำดับแรก โดยพื้นฐานทั่วไปแล้ว การวางแผนโครงงานจะมีขั้นตอน ดังนี้

กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่เฉพาะเจาะจง โดยอิงมาตรฐานการเรียนรู้และทักษะการคิดขั้นสูงที่คาดหวัง
สร้างคำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้
กำหนดแผนการประเมิน
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นตอนเหล่านี้อาจดูไม่เหมือนจริงนัก เนื่องจากการวางแผนโครงงานไม่ได้เป็นแนวเส้นตรง มักจะมีการย้อนกลับไปมาเพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกัน การใช้คำถามกำหนดกรอบการเรียนรู้ควรสนับสนุนวัตถุประสงค์การเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ของหน่วยโครงงานนี้ โดยตลอดทั้งการเรียนรู้ด้วยโครงงานนี้ควรมีโอกาสที่หลากหลายในการประเมินและกำกับดูแลเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียน

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับโครงงาน
เมื่อเราได้ยินคำว่า “การเรียนรู้ด้วยโครงงาน” ก็มักจะมีแนวความคิดหรือคำจำกัดความที่แตกต่างกันเกิดขึ้นในใจ ซึ่งอาจรวมถึงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อไปนี้

หน่วยการเรียนรู้ด้วยโครงงานต้องใช้เวลานานและยุ่งยากที่จะไม่ให้เบี่ยงเบนจากเป้าหมาย
โครงงานจะเกี่ยวข้องกับภาระงานที่ซับซ้อนหลากหลายทั้งแบบ “ลงมือทำ” และแบบ “ทำด้วยใจ” ภาระงานนั้นอาจเป็นงานที่มีรายละเอียดและเกี่ยวพันกับโครงงานด้านบริการสาธารณะด้านมลภาวะหรือเรียบง่ายอย่างการอภิปรายโต้วาทีในชั้นเรียน โครงงานสามารถพุ่งตรงไปที่เป้าหมายได้นานเท่าที่วางแผนไว้ มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ตลอดจนผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่ชัดเจน

การเรียนรู้ด้วยโครงงานหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีสอนโดยสิ้นเชิง
การเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นวิธีการเรียนรู้ที่รู้จักกันดีว่าไม่เหมาะสมกับการเรียนรู้ที่เน้นความรู้ความจำหรือการพัฒนาทักษะพื้นฐาน โครงงานจะประกอบด้วยวิธีสอนที่หลากหลายสอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และเป็นแนวทางที่จะเพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้ตลอดจนการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า โดยที่จุดเน้นด้านวิชาการของนักการศึกษาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายก็ยังคงเป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สิ่งที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้และทำได้ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการจะเป็นวิธีการใหม่ๆ ที่จะทำให้ไปถึงเป้าหมายอย่างง่ายดาย

การเรียนรู้ด้วยโครงงานต้องทำงานมากมาย
ครูบางคนอาจเห็นว่าการเปลี่ยนไปสู่การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานอาจทำไม่ได้เพราะมีอุปสรรคหลากหลายแต่กับหลายคนอาจเห็นได้ว่าสามารถทำได้ หากจะเริ่มทำควรเริ่มจากงานที่มีขนาดเล็กจากสิ่งที่สามารถทำได้ดีอยู่แล้ว การเริ่มจากส่วนเล็กๆ ก่อนก็จะหมายถึงการมีวิธีสอนหนึ่งหรือสองอย่างในขณะเดียวกันกับที่มีการออกแบบและวางแผนเพื่อนำไปใช้ การเริ่มต้นจากงานเล็กๆ อาจหมายถึง

ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สถานการณ์สมมติที่ก่อให้เกิดโครงงาน
เกณฑ์การประเมินที่ผู้เรียนสร้างเอง
กลยุทธ์ในการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ในไม่ช้า ข้อดีของการเรียนรู้ด้วยโครงงานจะปรากฏทีละส่วนๆ และเมื่อการเปลี่ยนไปสู่การเรียนรู้ด้วยโครงงานได้รับการพัฒนาต่อเนื่องไป ก็จะนำไปสู่แนวคิดที่กว้างขึ้นและการออกแบบที่ดียิ่งขึ้น
โดย: ... [1 เม.ย. 53 11:56] ( IP A:58.137.41.36 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน