คนไทยรักประชาธิปไตย....จริงรึเปล่า????
   เราคนไทย...ภูมิใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่เรามีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของประชาธิไตยในบ้านเมืองเรามากน้อยแค่ไหน คงไม่มีใครบอกได้ นอกจากตัวท่านเองที่เป็นคนไทยคนหนึ่ง

วันนี้ผมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อครั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 มาเล่าทบทวนความรู้...แก่คุณ ๆ ผู้อ่านนะครับ


ก่อนจะถึง14 ตุลา
การลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาล เผด็จการทหารของนักศึกษาและประชาชนชาวไทยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น นับได้ว่าเป็นการแสดงพลังทางการเมืองของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่

ปรากฏการณ์ “14 ตุลา” เป็นการสั่งสมของความกดดันของการเมืองไทย ที่อยู่ใต้ ระบบเผด็จการ มาเป็นเวลายาวนาน มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แล้วฉีกทิ้งทำลาย สิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงมีพึงได้ถูกปฏิเสธและเหยียบย่ำ อำนาจการเมืองการปกครองก็ตกอยู่ในมือของคณาธิปไตยเพียงไม่กี่คน ทั้งนี้โดยอาศัยกลไกของรัฐ ข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนเป็นเครื่องมือ

ขณะเดียวกัน การเร่งรัด การพัฒนา ไปสู่ความทันสมัยตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกอบกับการแผ่ขยายระบบอภิสิทธิ์ของกลุ่มข้าราชการ นักการเมือง และกลุ่มธุรกิจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ ก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางเศรษฐกิจสังคมมากมาย เกิดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ระหว่างชนบทกับเมือง ระหว่างภาคเกษตรกรรมกับภาคอุตสาหกรรม

นอกจากนี้ ในบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ ยุคสงครามเย็น รัฐไทยยังได้ผูกมัดตัวเองอยู่กับค่ายโลกเสรีที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ ยินยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศเพื่อบินไปทิ้งระเบิดในอินโดจีน การต่อต้านและปราบปรามคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม ในสมัยที่บ้านเมืองขาดสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ความไม่พอใจในสภาวะที่เป็นอยู่และ ขบวนการนิสิตนักศึกษา ก็ได้ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ เครือข่ายของกลุ่มปัญญาชนคนหนุ่มสาวค่อย ๆ เกิดความตื่นตัวทางปัญญา เริ่มตั้งคำถามต่อตัวเองและสังคม ทำให้ตระหนักในบทบาทและศักยภาพของตน และกลายเป็นพลังในการตอบโต้และเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจในที่สุด

16 ปีภายใต้ระบอบ สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส โครงสร้างทางการเมืองแบบเผด็จการและระบบเจ้าขุนมูลนายแบบราชการดำรงอยู่อย่างหยุดนิ่ง ในขณะที่โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไพศาล ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการเสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ

กระทั่งเมื่อเงื่อนไขปัจจัยต่าง ๆ สุกงอม โดยเฉพาะการเติบโตขึ้นของเครือข่ายนักศึกษาปัญญาชนและผู้ที่ไม่พอใจในระบอบเผด็จการทหาร จนมีการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามมาด้วยการจับกุม “๑๓กบฏ” การหลอมรวมพลังทางการเมืองครั้งสำคัญของสังคมไทยจึงเกิดขึ้น ระเบิดเป็นเหตุการณ์ “๑๔ ตุลา” ที่จะต้องจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ประชาชนไทยตลอดไป
เหตุการณ์ในแต่ละวันของเหตุการณ์
วันศุกร์ ที่ 5 ตุลาคม 2516
แถลงข่าวโครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ
เวลา 16.00 น. สมาชิกกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญประมาณ 10 คน อาทิ นายธีรยุทธ บุญมี นายประสาร มฤคพิทักษ์ นายประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร นายธัญญา ชุนชฎาธาร ได้แถลงข่าวเป็นครั้งแรกถึงโครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ณ สนามหญ้าบริเวณอนุสาวรีย์ทหารอาสา
ธีรยุทธ บุญมี อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้แถลงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ดังนี้ 1. เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งร่างรัฐธรรมนูญ และประกาศใช้โดยเร็วที่สุดด้วยสันติวิธี
2. ให้การศึกษาทางการเมืองเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน
3. กระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดความสำนึกและหวงแหนในสิทธิเสรีภาพของมนุษยชน โดยดำเนินการอย่างเปิดเผย
หลังจากนั้นสมาชิกกลุ่มฯ ได้ผลัดกันแถลงถึงโครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ได้วางแผนไว้ 6 โครงการ ได้แก่
1. ออกหนังสือเกี่ยวกับวิชาการทางด้านการเมือง บทความ บทวิจารณ์ที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
2. โครงการ “รัฐธรรมนูญสำหรับประชาชน” ซึ่งจะจัดบรรยายและสัมมนาเรื่องรัฐธรรมนูญทุก 2 สัปดาห์ โครงการนี้จะเผยแพร่ไปสู่ประชาชนในต่างจังหวัดด้วย โดยจะเริ่มครั้งแรกในวันที่ 13-14 ตุลาคม 2516
3. อภิปรายและบรรยายเรื่องรัฐธรรมนูญตามวาระโอกาส
4. ยื่นจดหมายเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา และประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2516 ให้ประกาศรัฐธรรมนูญ โดยจะรวบรวมรายชื่อของประชาชนทุกระดับชั้นอาชีพ
5. เรียกร้องผ่านทางคอลัมน์หนังสือพิมพ์
6. เผยแพร่ทางโปสเตอร์และใบปลิว

โครงการรณรงค์เรียกร้องรัฐธรรมนูญนี้จะใช้เวลาดำเนินการติดต่อกันถึง 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2516 เป็นต้นไป โดยในระยะแรกจะแจกหนังสือและใบปลิวตามย่านชุมชนต่าง ๆ 2 วัน

ผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก
ในการนี้ ธีรยุทธ บุญมีได้นำรายชื่อผู้ลงนามเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนแรก ซึ่งประกอบด้วยบุคคลในแวดวงต่าง ๆ รวมทั้งจดหมายเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากนักเรียนไทยในสหรัฐอเมริกามาเปิดเผยด้วย

คำปรามของรองอธิบดีกรมตำรวจ
ต่อมา พล.ต.ท. ประจวบ สุนทรางผมร รองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ ได้แถลงว่า หากการเรียกร้องครั้งนี้ทำให้เกิดการเดินขบวนขึ้น ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมทันที เพราะเป็นการผิดกฎหมายคณะปฏิวัติที่ห้ามการชุมนุมทางการเมืองในที่สาธารณะเกิน 5 คน

พันเอก ณรงค์ กิตติขจร จะนำทหารมาเดินขบวน
ในขณะเดียวกัน พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป. ได้ให้สัมภาษณ์นักหนังสือพิมพ์ว่า มีอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักการเมืองบางคนกำลังดำเนินการให้นักศึกษาเดินขบวนในเร็ว ๆ นี้ และหากมีการเดินขบวนแล้วไม่ผิดกฎหมายอีก ผมก็จะนำทหารมาเดินขบวนบ้าง เพราะทหารก็ไม่อยากจะไปรบเหมือนกัน

วันเสาร์ ที่ 6 ตุลาคม 2516
เริ่มปฏิบัติการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
ในตอนเช้า สมาชิกของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทั้งหญิงและชายประมาณ 20 คน นัดชุมนุมกันที่ลานอนุสาวรีย์ทหารอาสา และเริ่มเดินแจกใบปลิวเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันต่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งแจกหนังสือ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 1 เรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจแก่ประชาชนด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ โดยบนปกหลังของหนังสือมีรายชื่อของผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 100 คนด้วย
ระหว่างเดินแจกใบปลิวและหนังสือ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้ถือป้ายโปสเตอร์ซึ่งมีข้อความเรียกร้องรัฐธรรมนูญและให้รัฐบาลคืนอำนาจ เช่น “น้ำตาเราตกใน เมื่อเราไร้รัฐธรรมนูญ” “จงคืนอำนาจแก่ปวงชนชาวไทย” “จงเรียกร้องสิทธิของคุณ” “จงปลดปล่อยประชาชน” “ประชาชนต้องการรัฐธรรมนูญ” เป็นต้น
ผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ 11 คน ถูกจับกุม
กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญกระจายกำลังออกเดินแจกใบปลิวและหนังสือกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จากบริเวณตลาดนัดสนามหลวง ริมคลองหลอด หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงตลาดบางลำภู ถนนสิบสามห้าง หลังจากนั้นก็รวมตัวกันมุ่งหน้าสู่ศูนย์การค้าปทุมวัน (สยามสแควร์)
จนเมื่อถึงประตูน้ำเวลาประมาณ 14.00 น. ขณะกำลังจะแยกย้ายกันแจกใบปลิว ตำรวจสันติบาลและนครบาลก็เข้าจับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญทันที โดยจับกุมได้ 11 คน ประกอบไปด้วยอาจารย์ นิสิตนักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมือง ทั้งหมดถูกแจ้งข้อหา “มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน” ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 4
ทางตำรวจปฏิเสธไม่ยอมให้เยี่ยมและห้ามประกัน ผู้ต้องหาถูกนำไปคุมขังไว้ที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลกอง 2 จนกระทั่งหลังเที่ยงคืนจึงถูกย้ายไปคุมขังที่โรงเรียนพลตำรวจนครบาลบางเขน

วันอาทิตย์ ที่ 7 ตุลาคม 2516
ค้นสำนักงานทนายความ “ธรรมรังสี”
หลังจากสอบสวนเสร็จแล้ว ผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญซึ่งถูกจับกุมทั้ง 11 คน ก็ถูกนำตัวไปควบคุมไว้ที่โรงเรียนพลตำรวจนครบาลบางเขน
ในตอนเช้า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำตัวนายธัญญา ชุนชฎาธาร และนายบุญส่ง ชเลธร ไปค้นสำนักงานทนายความ “ธรรมรังสี” ซึ่งเป็นของนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจค้นเอกสาร โปสเตอร์ และหนังสือจำนวนหนึ่ง
เพิ่มข้อหา “กบฏต่อราชอาณาจักร”
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล กองกำกับ 2 ได้แจ้งให้ทราบถึงข้อหาที่จับกุมกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ 11 คน ว่า ขัดขืนคำสั่งคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 4 และมีความผิดในลักษณะกบฏต่อราชอาณาจักร ตามกฎหมายอาญามาตรา 116

ศูนย์กลางนิสิตออกแถลงการณ์
ในช่วงเที่ยง ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท. ได้เรียกประชุมคณะกรรมการบริหาร และออกแถลงการณ์คัดค้านการจับกุม

จับเพิ่มกบฏคนที่ 12
ในช่วงบ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวนายก้องเกียรติ คงคา นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง นำไปสอบสวนที่กองกำกับการตำรวจสันติบาล 2 เพิ่มอีกคนหนึ่ง โดยตั้งข้อหาเช่นเดียวกับผู้ที่ถูกจับกุมก่อนหน้าทั้ง 11 คน
ต่อมา ศนท. ได้พยายามเจรจาขอให้ปล่อยผู้ถูกจบกุมทั้งหมด แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ ขณะที่องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ได้ประชุมด่วน มีมติให้ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อหาที่กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกจับกุมและท่าทีของนักศึกษาธรรมศาสตร์ โดยติดโปสเตอร์แถลงข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดจนไปเยี่ยมผู้ต้องหา
วันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคม 2516
ติดโปสเตอร์โจมตีเผด็จการ
ตอนเช้ามีการโปรยใบปลิวและปิดโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลว่าเป็นเผด็จการในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวันแรกของการสอบประจำภาค มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรงปิดทั่วบริเวณ และเรียกร้องให้นักศึกษาไปชุมนุมกันที่หอประชุมใหญ่ในเวลา 13.00 น. เพื่อไปเยี่ยมผู้ถูกจับกุม
ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร นักศึกษาได้ชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาล เรียกร้องให้ปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมทั้งหมดและให้รัฐบาลแสดงท่าทีในเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน พร้อมกันนั้นที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีนักศึกษาร่วมกันลงชื่อถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เรียกร้องความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุม
ออกหมายจับไขแสง สุกใส
วันเดียววันนั้น พล.ต.ต. ชัย สุวรรณศร ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ได้ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม ในข้อหาว่าอยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จากการสอบสวนตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่สำนักงานทนายความธรรมรังสีของนายไขแสง มีการค้นพบเอกสารสอนลัทธิคอมมิวนิสต์และบันทึกแผนงานของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ยุยงให้ประชาชนล้มล้างรัฐบาล
ทางฝ่ายตำรวจได้ให้ พ.ต.อ. ศิริ สุจริตกุล ผู้กำกับการ 2 สันติบาล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อแสดงหลักฐานของกลางที่เห็นว่าเป็นการเตรียมการเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 116

จอมพลประภาส จารุเสถียร จะกำจัดนิสิตนักศึกษา 2 %
15.00 น. ที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 เรื่อง “การจับกุมกลุ่มบุคคลผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ” จอมพลประภาส ประธานในที่ประชุม ชี้แจงว่า มีคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษา และ “เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2 % จากจำนวนเป็นแสนคน จำต้องเสียสละเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง”

ปฏิบัติการงดสอบ
เย็นวันนั้นองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ. ได้เรียกประชุมลับ กลุ่มนักศึกษาอิสระได้เสนอให้ อมธ. ชักชวนให้นักศึกษาธรรมศาสตร์งดสอบและชุมนุมประท้วง ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติให้ดำเนินการเพื่องดสอบอย่างไม่มีกำหนด พร้อมกับจัดให้มีการชุมนุมประท้วงที่ลานโพธิ์ จนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดโดยปราศจากข้อหาใดๆ
คืนนั้นเอง นักศึกษาธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงได้เอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ และตัดสายไฟฟ้าทำให้ลิฟท์ใช้การไม่ได้

วันจันทร์ ที่ 8 ตุลาคม 2516
ติดโปสเตอร์โจมตีเผด็จการ
ตอนเช้ามีการโปรยใบปลิวและปิดโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลว่าเป็นเผด็จการในตัวเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ขณะที่ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นวันแรกของการสอบประจำภาค มีโปสเตอร์โจมตีรัฐบาลอย่างรุนแรงปิดทั่วบริเวณ และเรียกร้องให้นักศึกษาไปชุมนุมกันที่หอประชุมใหญ่ในเวลา 13.00 น. เพื่อไปเยี่ยมผู้ถูกจับกุม
ที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร นักศึกษาได้ชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาล เรียกร้องให้ปล่อยผู้ที่ถูกจับกุมทั้งหมดและให้รัฐบาลแสดงท่าทีในเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน พร้อมกันนั้นที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีนักศึกษาร่วมกันลงชื่อถึงจอมพลถนอม กิตติขจร เรียกร้องความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกจับกุม
ออกหมายจับไขแสง สุกใส
วันเดียววันนั้น พล.ต.ต. ชัย สุวรรณศร ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล ได้ออกหมายจับนายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม ในข้อหาว่าอยู่เบื้องหลังกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
จอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรักษาการอธิบดีกรมตำรวจ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า จากการสอบสวนตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่สำนักงานทนายความธรรมรังสีของนายไขแสง มีการค้นพบเอกสารสอนลัทธิคอมมิวนิสต์และบันทึกแผนงานของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ยุยงให้ประชาชนล้มล้างรัฐบาล
ทางฝ่ายตำรวจได้ให้ พ.ต.อ. ศิริ สุจริตกุล ผู้กำกับการ 2 สันติบาล แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อแสดงหลักฐานของกลางที่เห็นว่าเป็นการเตรียมการเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 116

จอมพลประภาส จารุเสถียร จะกำจัดนิสิตนักศึกษา 2 %
15.00 น. ที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ครั้งที่ 28/2516 เรื่อง “การจับกุมกลุ่มบุคคลผู้เรียกร้องให้มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ” จอมพลประภาส ประธานในที่ประชุม ชี้แจงว่า มีคอมมิวนิสต์จากต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงการเคลื่อนไหวของนิสิตนักศึกษา และ “เชื่อว่านิสิตนักศึกษาจะเสียไปราว 2 % จากจำนวนเป็นแสนคน จำต้องเสียสละเพื่อความอยู่รอดของบ้านเมือง”

ปฏิบัติการงดสอบ
เย็นวันนั้นองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ. ได้เรียกประชุมลับ กลุ่มนักศึกษาอิสระได้เสนอให้ อมธ. ชักชวนให้นักศึกษาธรรมศาสตร์งดสอบและชุมนุมประท้วง ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติให้ดำเนินการเพื่องดสอบอย่างไม่มีกำหนด พร้อมกับจัดให้มีการชุมนุมประท้วงที่ลานโพธิ์ จนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดโดยปราศจากข้อหาใดๆ
คืนนั้นเอง นักศึกษาธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่งจึงได้เอาโซ่ล่ามประตู เอาปูนปลาสเตอร์อุดรูกุญแจห้องสอบ และตัดสายไฟฟ้าทำให้ลิฟท์ใช้การไม่ได้

วันอังคาร ที่ 9 ตุลาคม 2516
รุ่งอรุณแห่งการต่อสู้
เมื่อถึงรุ่งเช้าหนังสือพิมพ์ทุกฉบับลงแถลงการณ์ประกาศงดสอบขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ. และของแนวร่วมนิสิตนักศึกษาประชาชน ขณะที่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีโปสเตอร์ประกาศงดสอบ ชักชวนให้ไปชุมนุมที่ลานโพธิ์ และประณามการกระทำของรัฐบาลปิดไปทั่วบริเวณ ประตูทางเข้าด้านท่าพระจันทร์มีผ้าผืนใหญ่เขียนข้อความว่า “เอาประชาชนคืนมา” ส่วนอีกผืนหนึ่งที่ลานโพธิ์เขียนว่า “ต้องการรัฐธรรมนูญเป็นกบฏหรือ” ส่วนทางเข้าด้านสนามหลวงมีผืนผ้าเขียนว่า “ธรรมศาสตร์ตายเสียแล้วหรือ”
ส่วนนักศึกษาที่เข้าห้องสอบไม่ได้ ก็ทยอยไปชุมนุมและฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อน ณ บริเวณลานโพธิ์ ขณะที่ ศ. สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เรียกประชุมคณาจารย์ทันทีเพื่อพิจารณาถึงข้อเรียกร้องของนักศึกษาที่จะให้เลื่อนสอบออกไปอย่างเป็นทางการ
กบฏคนที่ 13 มอบตัว
10.30 น. นายไขแสง สุกใส อดีต ส.ส. นครพนม ที่ถูกรัฐบาลประกาศจับทั่วประเทศในข้อหาเป็นตัวการยุยงให้นิสิต นักศึกษา ประชาชนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้เข้ามอบตัวที่กองบังคับการตำรวจสันติบาล

นักศึกษาหลายสถาบันเริ่มชุมนุม
ด้านวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) นักศึกษาประมาณ 1,000 กว่าคน ได้ชุมนุมอภิปรายโจมตีรัฐบาลเป็นวันที่สอง พร้อมกับออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 12 คน ภายในวันที่ 13 ตุลาคม และให้รัฐบาลประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 10 ธันวาคม
ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักศึกษาราว 2,000 คน เริ่มชุมนุมอภิปรายเรียกร้องให้มหาวิทยาลัยเลื่อนการสอบ และประกาศจะชุมนุมกันทุกวันจนกว่ารัฐบาลจะปล่อยตัวผู้ถูกจับกุม
ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “กลุ่มนักศึกษาผู้รักชาติ” ออกแถลงการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและโจมตีรัฐบาล มีการติดโปสเตอร์ว่า “เราจะพบกันที่กรุงเทพฯ”
ส่วนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สโมสรนิสิตจุฬาฯ ได้แถลงว่า จะร่วมต่อสู้กับองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2516 ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่จะสอบเสร็จ
ยื่นหนังสือถึงถนอมให้ปล่อย 13 กบฏ ประกาศประท้วงถึงที่สุด
บ่ายวันนั้น นักศึกษาแพทย์ศาสตร์ศิริราชได้ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาสมทบที่ธรรมศาสตร์ พร้อมกับมาตั้งหน่วยแพทย์
ขณะเดียวกัน สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประชุมฉุกเฉิน มีมติให้องค์การบริหารดำเนินการดังนี้
1. ทำหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้ง 13 คน โดยไม่มีเงื่อนไข โดยขอให้นักศึกษาทุกสถาบันลงชื่อเป็นบัญชีหางว่าวแล้วแต่งตั้งผู้แทน 10 คน ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี
2. ทำหนังสือถึงอธิการบดีให้เลื่อนการสอบประจำภาคแรกออกไปจนกว่าการเรียกร้องจะได้ผล
3. ให้องค์การบริหารสู้ด้วยวิธีอหิงสา โดยจะนั่งประท้วงตลอดไปทั้งวันทั้งคืน
4. หากวิธีอหิงสาไม่ได้ผล จะใช้วิธีเดินขบวนประท้วง
5. ให้ประกาศจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ และกำหนดเป้าหมายแน่นอนและเรียกร้องให้นักศึกษาทั่วประเทศร่วมประท้วง
ต่อมาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 205 คน ได้ลงมติให้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงจอมพลถนอม เรียกร้องให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้ง 13 คน โดยด่วน

ถนอมประกาศใช้มาตรา 17
ในเย็นนั้นเอง ที่ทำเนียบรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งตามมติของคณะรัฐมนตรี ให้ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครอง ควบคุมผู้ถูกจับกุมทั้ง 13 คน จนกว่าจะเสร็จสิ้นการสอบสวน
ที่องค์การนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการออกแถลงการณ์โจมตีการกระทำของรัฐบาล ซึ่งทางองค์การฯ ได้นำไปติดและแจกทั่วมหาวิทยาลัย ขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรเริ่มทยอยไปร่วมชุมนุมที่ลานโพธิ์
ขณะเดียวกัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกประกาศของมหาวิทยาลัย เลื่อนการสอบออกไปจนกว่าภาวการณ์จะกลับคืนสู่ปกติ

โฆษณาบิดเบือนประชาชน
20.00 น. สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ของรัฐบาลระบุว่า บุคคลทั้ง 13 คน ที่ถูกตำรวจจับกุมมีแผนล้มล้างรัฐบาล และเหตุผลในการจับกุมไม่ใช่เพราะเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่จับกุมในฐานะที่มีการกระทำอันเป็นภัยต่อความสงบสุขของพี่น้องประชาชน
ต่อมาทบวงมหาวิทยาลัยก็ประกาศแถลงการณ์ผ่านทางวิทยุ ขอให้นิสิตนักศึกษาปฏิบัติตามกำหนดการสอบอย่างเคร่งครัด

ยังคงชุมนุมแม้ฝนตกหนัก
หลังจากนั้น ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ว่า การตั้งข้อหากลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญว่ามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามใช้อำนาจเถื่อนกล่าวหาผู้บริสุทธิ์ ขอให้ยกเลิกเลิกกฎหมายมาตรา 17 และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พึ่งศาลยุติธรรม
ที่บริเวณลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาประมาณหมื่นคนยังคงชุมนุมอยู่ท่ามกลางสายฝน เพื่อฟังการอภิปรายโจมตีรัฐบาล สลับกับชมการแสดงละครเสียดสีการเมือง จนเกือบเที่ยงคืนฝนตกหนักอากาศหนาว ผู้ชุมนุมจึงย้ายจากลานโพธิ์เข้าไปในหอประชุมใหญ่

โดย: [0 3] ( IP )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน