somyhi-area.pantown.com
aloha tapioka <<
กลับไปหน้าแรก
เสฐียรโกเศศ
เสฐียรโกเศศ เป็นนามปากกาของพระยาอนุมานราชธน เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒ สิริรวมอายุ ๘๐ ปี ๖ เดือน เป็นบุตรนายหลีหรือมะลิกับนางเฮียะ มีนามเดิมภาษาจีนว่า หลีกวงหยง เปลี่ยนชื่อเป็น ยง ในเวลาต่อมา และรับพระราชทานนามสกุล จากรัชกาลที่ ๖ ว่า เสฐียรโกเศศ ภายหลังจึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น อนุมานราชธน ตามบรรดาศักดิ์ที่ท่านรับพระราชทานในราชทินนามเดียวกัน โดยลำดับบรรดาศักดิ์ต่างๆ กันจากขุน หลวง พระ และพระยาอนุมานราชธน
ชีวประวัติ
พระยาอนุมานราชธนเป็นปราชญ์คนสำคัญของไทยซึ่งมีผลงานด้านการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย และวัฒนธรรมไทยจนเป็นที่ประจักษ์แก่โลก งานของท่านมีทั้งที่เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนมีผู้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ อีกหลายภาษา เช่น เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น ญวน สิงหล ฮินดี ฯลฯ นอกจากนี้วิถีชีวิตของท่านยังควรศึกษาและ ยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ทุกกาลสมัย ดังนั้น การที่รัฐบาลและองการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจะจัดงานฉลองชาติกาล ของท่านในวาระบรรจบครบศตวรรษในปีนี้ จึงนำความปิติยินดีมาสู่คนไทยทั้งประเทศอย่างสุดประมาณ พระยาอนุมานราชธนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ใช้ชีวิตเพื่อการทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ผู้คนจึงรู้จักงานของท่านมากกว่าชีวิตของท่าน พระยาอนุมานราชธนมีชีวิตสงบสุขอยู่กับครอบครัวและการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้ศึกษาชีวิตของท่านจึงรู้สึกประทับใจในความเป็นปราชญ์ที่แท้จริง ได้รู้ว่า พระยาอนุมานราชธนเป็นคนดีจนสุดที่จะบรรยายความดีงามให้เหมือนจริงได้ จึงขอรวบรวมบางส่วนในชีวิตของท่านมาไว้ในที่นี้ด้วยจิตใจที่เคารพอย่างสูงสุด
บรรพบุรุษ บิดา, มารดา
พระยาอนุมานราชธนเป็นคนไทย มีเชื้อสายจีนมาตั้งแต่ปู่ทวด บรรพบุรุษมาจากอำเภอฮงสุน จังหวัดแต้จี๋ว ปู่ทวดของท่านมีภรรยาเป็นคนไทย ปู่ของท่านเกิดในเมืองไทย บิดาของท่านก็เกิดในเมืองไทย ทุกคนมีภรรยาเป็นคนไทย ท่านจึงเป็นคนไทยเชื้อผสมชั่วอายุรุ่นคนที่สี่ ควรกล่าวไว้ว่าเป็นคนไทยแท้ ดังที่ท่านกล่าวว่า " ข้าพเจ้าถือตนด้วยความหยิ่งว่า ข้าพเจ้าเป็นไทยแท้สมบูรณ์ทั้งชีวิตและจิตใจ เป็นคนไทยทุกกระเบียดนิ้ว ไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนอื่น รักถิ่นไทย รักวัฒนธรรมไทย เพราะข้าพเจ้าเกิดในประเทศไทย และในวัฒนธรรมไทยที่ปั้นข้าพเจ้าทั้งชีวิตและจิตใจ ให้เป็นไทยมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตราบเท่าทุกวันนี้ " บิดาของพระยาอนุมานราชธนชื่อ นายหลี หรือมะลิ แซ่หลี เป็นคนรูปร่างผอมสูง เดินเนิบนาบมีสง่า ผิวไม่ขาวจัดอย่างจีน ไว้หนวดตัดแต่งเข้าที่ บิดาท่านได้เรียนหนังสือไทยครั้งแรกที่วัดเสาประโคน ( วัดดุสิตาราม ) จากนั้นได้เรียนภาษาจีนที่สำเพ็ง เมื่อรุ่นหนุ่มเข้าทำงานที่บริษัท บอร์เนียว จึงได้เรียนภาษาอังกฤษ อาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์ ธิดาของพระยาอนุมานราชธนได้เขียนถึงปู่ไว้ว่า " สิ่งที่พ่อรับจากปู่โดยตรงคือ เป็นคนชอบก้าวหน้า คิดก้าวหน้าอยู่เสมอ และข้อสำคัญมีนิสัยรักอ่านหนังสือ รักรู้เรื่องเก่าเรื่องใหม่ และความเป็นไปของบ้านเมือง และชอบถ่ายทอดด้วยการเล่าให้ผู้อื่นฟัง ปู่เล่าอะไรได้สนุกมีอารมณ์ขันและพูดคุยกับเด็กรุ่นหลาน อย่างรู้เรื่องเข้าใจกันดี ลูกของท่านประทับใจในลักษณะของนี้ของปู่มาก " นอกจากความรอบรู้จากการอ่านแล้ว ท่านยังมีความสามารถในทางช่างออกแบบที่ ขูดมะพร้าวให้ถอดเปลี่ยนหัวได้ออกแบบและสร้าง ตู้กับข้าวทำด้วยไม้ ถอดออกเป็นชิ้น ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีงานทางช่างที่ท่านคิดประดิษฐ์อีกหลายอย่าง พระยาอนุมานราชธนไม่ได้รับมรดกทางช่างจากบิดา ความสามารถด้านนี้ไปปรากฏที่น้องชายและที่คุณณานิน อนุมานราชธน บุตรของท่าน มารดาท่านชื่อนางเฮียะ จากภาพถ่ายภาพแรกในชีวิต ซึ่งถ่ายกับมารดาเมื่ออายุสามเดือน บอกให้ทราบว่า มารดาของท่านเป็นหญิงงาม คิ้วเข้ม ตาโต จมูกโดง และมีริมฝีปากงามได้รูป การ นุ่งห่มสวยงามเรียบร้อย ดังที่อาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์ กล่าวถึงย่าว่า " ย่ามีรูปร่างสันทัด ผิวพรรณขาวสะอาด และมีความประณีตในการแต่งกายให้หมดจดเรียบร้อยเสมอ " พระยาอนุมานราขธนมีรูปร่างหน้าตากระเดียดไปทางมารดารวมทั้งกิริยาท่าทางเดินเหินด้วย มารดาท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มัธยัสถ์ มีวินัย เจ้าระเบียบ เป็นคนเจ้าอารมณ์ ใจน้อย และโกรธง่าย พระยาอนุมานราชธนได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจากมารดา เวลาทำผิดจะถูกเฆี่ยนตี กักบริเวณหรือล่ามโซ่ หนักเบาแล้วแต่ความประพฤติของท่าน ท่านกล่าวถึงมารดาว่า " ผมเป็นตัวในเรื่องความประพฤติก็ส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ ท่านเป็นคนไม่รู้หนังสือก็จริง แต่ท่านเป็นคนขยัน มีความรู้จักกระเหม็ดกระแหม่และอดทน แต่ว่าท่านออกจะโทสะร้ายอยู่สักหน่อย ถ้าโกรธ ถ้าผิดละก็ เฆี่ยนเอา เรื่องที่มีความขยัน และรู้จักเลี้ยงลูกเต้า เลี้ยงน้อง มาจนเติบโตนี่ ก็เพราะคุณแม่ทั้งนั้น และท่านก็ดูแลบ้านช่อง ไม่ให้มันเสียหายไปเลยทีเดียว เป็นวางภาระได้อย่างหนึ่ง ผมอาจจะติดข้อนี้มาก็ได้ โดยเฉพาะอิทธิพลของท่านในการที่มีมานะ มีความเพียรและกระเหม็ดกระแหม่ "
วัยเด็กกับนักเลงโต
พระยาอนุมานราชธนเกิดที่เรือนไม้หลังหนึ่งซึ่งอยู่ติดคูด้านใต้ของวัดพระยาไกร บริเวณโรงเลื่อย บริเวณโรงเลื่อยจักรบริษัทบอร์เนียว บริเวณนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดพระยาไกร อ.ยานนาวา จังหวัดพระนคร อำเภอยานนาวา แต่เดิมเรียกว่าอำเภอบ้านทวาย และก่อนที่จะเรียกว่าอำเภอบ้านทวายนั้น มีชื่อปรากฏในพงศาวดารรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ตำบลคอกควาย ในสมัยนั้นเป็นสถานที่ซึ่งพระยาทวายได้อพยพครอบครัวและไพร่พลเข้ามาขอ พึ่งพระบรมโพธิสมภาร เพราะเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกในภายหลังว่า บ้านทวาย บ้านทวายสมัยก่อน มีหัวหน้าเชื้อสายทวายดูแลปกครองเรียกว่าจางวาง ในชีวิตของ พระยาอนุมานราชธนได้พบ เห็นจางวางถิ่นนี้ถึงสองคน ท่านจำได้ว่าในละแวกนี้มีตลาดแห่งหนึ่งชื่อตลาดมะเทิ่ง ท่านประทับใจชื่อนี้มาก และรู้สึกเสียดายที่ต่อมาตลาดนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นตลาด วัดพระยาไกร วัยเด็กของพระยาอนุมานราชธน เป็นวัยที่วิ่งเล่นอยู่ในละแวกบ้านกับเด็กหลายพวกหลายเผ่าพันธุ์ เด็กหนุ่มแถวนั้นมักประพฤติตนเป็นนักเลงโต และเป็นที่นิยมชมชอบของเด็ก ๆ ดังท่านเคยเขียนไว้ในหนังสือฟื้นความหลังว่า " ด้วยอิทธิพลนักเลงโต กระทำให้ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีจิตใจโน้มเอียงไปในทางอยากเป็นนักเลงโตด้วย เพราะผู้หญิงชาวบ้านร้านตลาดก็รักนักเลงโตด้วย อยากได้ไว้เป็นผัว นอกจากได้หน้าแล้ว ตนเองจะไปไหนมาไหนตามลำพังก็สะดวก ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกใครกล้าเกาะเกะก้ำเกิน " ด้วยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม พระยาอนุมานราชธนจึงมีจิตใจโน้มเอียงไปในทางอยากเป็นนักเลงโตด้วย เคยเป็นลูกสมุนติดตามนักเลงโตไปขอเงินเมีย เคยถูกเด็กอื่นแทงเอาที่ชายโครงข้างซ้าย เคยถูกตีที่ศีรษะแตก ท่านกล่าวถึงชีวิตในเวลานั้นว่า " จำได้ว่าความเกกมะเหรกของข้าพเจ้า ทำให้ผู้ใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเสมอ ด่าว่าก็แล้ว เฆี่ยนตีก็แล้ว ก็ไม่ได้ผล ห้ามไม่ให้ออกนอกเขตบ้านก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดถึงกับต้องเอาโซ่ล่าม ก็ไม่สำเร็จอีก เพราะหักโซ่หนี " มารดาของท่านไม่ได้ออกติดตาม เพราะทราบว่าท่านหนีไปอยู่กับพระที่วัดยานนาวา ท่านอยู่นานจนทราบว่ามารดาหายโกรธและลืมเรื่องราวไปแล้ว จึงกลับมาอยู่บ้านดังเดิม
ความทรงจำในวัยเรียน
พระยาอนุมานราชธนเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านโดยมีบิดาเป็นผู้สอน ท่านบิดาไม่ใคร่จะมีเวลามากนัก ทุกวันเวลาตีห้า ท่านจะถูกบิดาปลุกลุกมาอ่านหนังสือ จนท่านติดนิสัยยึดถือปฏิบัติเช่นนั้นมาจนชั่วชีวิต เมื่ออายุ ๙ - ๑๐ มารดาได้พาท่านไปฝากเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านพระยานานาซึ่งเคยเป็นนิวาสสถานของพระยานานาพิพิธภาษี ( โต บุนนาค ) ผู้เป็นบุตรของชายคนหนึ่งของ สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ปากคลองวัดทองเพลงรูปร่างอาคารที่ใช้เป็นโรงเรียน เป็นตึกวางรูปร่างอาคารเป็นสถาปัตยกรรมจีนกลาย ๆ แต่มีแบบทางตะวันตกเจือปนอยู่บ้าง โรงเรียนบ้านพระยานานา สอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ท่านเรียนหนังสือแบบเรียนเร็วเล่มหนึ่ง ยังไม่ทันถึงปีก็อ่านได้คล่อง เพราะบิดาเคยสอนปฐม ก.กา มาก่อนแล้ว ท่านมี ครูประจำชั้นชื่อ ครูสี ส่วนครูใหญ่ชื่อครูกร อมาตยกุล ภายหลังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวินิจวิทยากร เพื่อนร่วมโรงเรียนบ้านพระยานานาที่ท่านเคยเล่าถึงคือ พระยามไหสวรรค์ ( กวย สมบัติศิริ ) อายุต่างกันหนึ่งปี มากล่าวถึงความหลังและจำได้เมื่อโตแล้ว แต่ในวัยเด็กเพื่อนร่วม โรงเรียนที่จำเด็กชายยง ( พระยาอนุมานราชธน ) ได้ไม่เคยลืมคือ เด็กชายยิ้ม เขตตศิริ ( หลวงธำรงโทรเลข ) เพราะเหตุว่าวันหนึ่งเด็กชายทั้งสองเกิดผิดใจกัน เด็กชายยงซึ่งคงจะซนและดุไม่น้อย ได้กัดเด็กชายยิ้มเข้าที่มือจนเป็นแผลลึก แผลเป็นนั้นติดตัวไปชั่วชีวิต และเป็นเรื่องที่กระเซ้าเย้าแหย่กันได้ใน วัยชรา เมื่อท่านเรียนแบบเรียนเร็วเล่มสองไปได้ไม่นาน มารดาได้พาท่านไปเข้าโรงเรียน อัสสัมชัญ ท่านเรียนภาษาอังกฤษได้เร็วมาก เพราะบิดาเคยสอนอ่านมาก่อน ดังนั้นจึงเรียน ชั้นประถมเพียงหนึ่งปี พอรุ่งขึ้นปีที่สอง ได้เลื่อนข้ามขั้นไปเรียนชั้นมัธยมหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า สแตนดาดวัน ( Standard One ) มีครูประจำชั้นเป็นฝรั่งโปรตุเกสชื่อ กอเดโร ( Cordeiro ) โรงเรียนอัสสัมชัญสมัยนั้น ไม่ได้ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยตลอด นักเรียนต้องท่องจำขึ้นใจมาให้ครูฟังทุกวัน ที่นี่ห้ามพูดภาษาไทย บังคับพูดภาษาอังกฤษ ถ้าเผลอตัวพูดภาษาไทย จะได้ยินเสียงนักเรียนที่มีหน้าที่จับเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า " You speak Siamese. Go upstair. " แปลว่า " ท่านพูดไทยไปข้างบน " ข้างบนนั้นเป็นห้องบาทหลวง ถ้าผู้พูดไทยเป็นเด็กเล็ก ก็จะได้รับ การตักเตือนให้พยายามพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นนักเรียนหน้าเก่าจะถูกลงโทษให้ไปยืนเสา จะเป็นกี่เวลา ขึ้นอยู่กับความเป็นนักเรียนหน้าเก่าของผู้นั้น ยิ่งเป็นนักเรียนเขื่อง ก็จะยิ่งถูกยืนเสาหลายเวลา พระยาอนุมานราชธน เคยถูกรับหน้าที่เป็นผู้จับครั้งหนึ่งซึ่งท่านกล่าวว่า " ตามปกติ พวกนักเรียนเขื่อง ๆ ก็ไม่ใคร่ถูกจับถ้าขืนไปจับเข้า พอเอ่ยปากว่า " You speak Siamese. Go upstair " ยังไม่ทันจบประโยคดี อาจถูกมันไล่เตะเอาทันที่ก็ได้ เคยมีตัวอย่างบ่อย ๆ จึงไม่มีเด็กคนไหนกล้าไปจับเด็กโค่งพูดไทย " ที่โรงเรียนอัสสัมชัญมีการสอนภาษาไทยเหมือนกัน สอนสัปดาห์ละสองชั่วโมง มีครูเป็นเปรียญชื่อครูทิม ตำราภาษาไทยเป็นตำราของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกร ู) ชุด ที่หนึ่งมี ๖ เล่มเริ่มจากมูลบทบรรพกิจ และไปสิ้นสุดที่พิลาศการันต์ใครเรียนจบทั้งหกเล่ม จะเป็น ผู้แตกฉานในวิชาภาษาไทย พระยาอนุมานราชธนจำไม่ได้ว่าเรียนถึงเล่มใด แต่ท่านเป็นนักเรียน อัสสัมชัญคนแรก ที่สอบภาษาไทยของกระทรวงได้ โรงเรียนอัสสัมชัญสมัยนั้นเปิดสอนถึงชั้นมัธยมที่หก พระยาอนุมานราชธนเรียนจบชั้นมัธยมที่สี่ เพิ่งขึ้นชั้นมัธยมห้าได้ไม่นาน อาของท่านซึ่งเป็นหมอชื่อขุนวิรัชเวชกิจมาบอกว่าเขาจะตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น อยากให้ท่านเรียนโรงเรียนแพทย์ ท่านก็เลยลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ แต่สุดท้าย โรงเรียนแพทย์ไม่ได้ตั้ง ท่านจึงไปทำงานที่โอสถศาลา ทำงานกลางวัน และเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในเวลากลางคืน
คนเดียวในดวงใจ
สตรีสองคนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพระยาอนุมานราชธน คือ มารดาและภรรยา มารดาเป็นผู้กำกับและเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจากเด็กเกเรให้เป็นคนดี เป็นผู้สร้างนิสัยที่ดีหลายสิ่งหลายประการแก่ท่าน โดยเฉพาะด้านความเข้มแข็ง มีมานะ มีความเพียร อันเป็นสิ่งส่งเสริมให้ท่านสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้เป็นจำนวนมาก ส่วนภรรยาเป็นพลังคนสำคัญที่สุดที่ทำให้ทุกชีวิตที่อยู่ด้วยกันราวยี่สิบคน ได้อยู่รวมกันอย่างสงบสุขและราบรื่น ส่งผลให้พระยาอนุมานราชธนทำงานได้อย่างสบายใจ ภรรยาจึงเป็นคนสวยคนเดียวในชีวิตของท่านตลอดกาล คุณหญิงละไม นามสกุลเดิมว่า อุมารัตน์ มีบิดาชื่อ อุ่ม มารดาชื่อ หุ่น บิดามารดาแยกทางกันเดิน ต่างคนต่างไปมีครอบครัวใหม่ คุณหญิงละไมจึงไปอยู่กับป้าซึ่งเป็นชีในศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก ป้าของท่านคือ แม่หมออี้ เป็นแพทย์แผนโบราณผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น คุณหญิงละไมเป็นเข้ารีต ซึ่งเป็นวัดนิกายโรมันคาทอลิกได้จัดงานประจำปี มีการจัดขบวนริ้วสวยงาม คุณหญิงละไมเป็นสาวผู้หนึ่งซึ่งถือธงในขบวน พระยาอนุมานราชธนเห็นคุณหญิงละไม แล้วบังเกิดความประทับใจ จึงทำความรู้จักและขอแต่งงานในที่สุด โดยท่านให้เหตุผลว่า " ที่ฉันรักเธอ ก็เพราะมองเห็นบ้านเธอเล็กนิดเดียว แต่แสนจะเรียบร้อยทุกอย่าง เธอคงจะปฏิบัติบิดามารดาของฉันได้ ฉันต้องการเธอมาปรนนิบัติพ่อแม่ของฉันและน้องฉัน ๕ - ๖ คน " ชีวิตแต่งงงานของพระยาอนุมานราชธนกับคุณหญิงละไมมีอุปสรรคพอสมควร ด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกเพราะท่านเป็นลูกชายคนโต มีค่าควรแก่การหวงแหน ประการที่สองเพราะนับถือศาสนาต่างกัน เพราะท่านเคยให้สัมภาษณ์อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ถามว่า " ตอนแต่งงานอาจารย์เลี้ยงหรือเปล่า " ท่านตอบว่า " ก็ไม่ได้ทำอะไร ทางบ้านก็ไม่ชอบด้วย ที่ได้เมียคนนี้เพราะเข้ารีตนี่ ชาวบ้านเขาว่า เข้าที่สว่างแล้ว ไปอยู่ที่มือทำไม เราก็เฉย ๆ ไม่ว่าอะไร " พระยาอนุมานราชธนเป็นลูกคนโต ซึ่งรับหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่และน้องอีกหกคน รวมทั้งภรรยาและบุตรธิดาเก้าคน ทุกคนอยู่ในบ้านเดียวกัน โดยมีคุณหญิงละไมเป็นผู้รับใช้คนทั้งบ้าน บ้านนี้ถือว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ คุณหญิงต้องไปตลอดซื้ออาหารสดทุกวัน และต้องระวังเตรียมอาหารให้ถูกใจคนทั้งบ้าน การปรุงอาหารให้ถูกปากทุกคนเป็นงานยาก ถูกปากก็ดีไป ไม่ถูกปากก็ถูกบ่นว่า แต่คุณหญิงละไมเป็นผู้มีความอดทนสูงมาก ได้พยายามแก้ไขให้รสมือถูกปากคนทุกคนโดยทั่วหน้า แม้บางครั้งมีการกระทำเกินเลยไปบ้าง ก็ไม่เคยบ่นว่าอะไร มีครั้งหนึ่งในสมัยที่น้องชายของพระยาอนุมานราชธนยังอยู่ในบ้านเกิดรับประทานข้าวเหลือ จะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ ได้นำข้าวทั้งจากมาเทให้สุนัขกินต่อหน้าคุณหญิงละไม ท่านวางเฉยไม่ว่าอะไร แต่ ลูก ๆ ของท่านจดจำเหตุการณ์นั้นได้ดี อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ ได้เขียนถึงชีวิตครอบครัวของบิดามารดาว่า " ถ้ามีสิ่งใดที่พ่อทำให้ขัดใจย่า สิ่งนั้นน่าจะได้แก่การที่พ่อแต่งงานกับแม่ ผู้เขียนเกิดเมื่อพ่อแม่แต่งงานกันมาแล้วสิบปี กว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ล่วงมาอีกห้าปีเป็นอย่างน้อย เมื่อคิดอย่างผู้หญิงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกว่าแม่คงต้องมีความอดทนอย่างยิ่งในฐานะสะใภ้ ไม่เคยเห็นแม่ถูกดุว่าหรือกลั่นแกล้งอย่างในหนังหรือละครน้ำเน่า แต่รู้สึกว่ามีคลื่นใต้น้ำอยู่ในครอบครัวตลอดเวลา เห็นเองโดยที่แม่ไม่เคยปริปากเล่าให้ฟัง " พระยาอนุมานราชธนเป็นผู้ไม่พิถีพิถันเรื่องการกิน คุณหญิงละไมทำอาหารถูกปากจนไม่ชอบรับประทานอาหารที่ผู้อื่นทำ ของชอบของท่านได้แก่ ยำผลไม้ต่าง ๆ เช่น ยำลางสาด ยำมะม่วง ที่ชอบมากที่สุดได้แก่มังคุดกับไข่เต่า ใส่น้ำปลา มะนาว หัวหอม พริกขี้หนู ส่วนอาหารที่คุณหญิงละไม่มีฝีมือจนขึ้นชื่อได้แก่ห่อหมกและแกงบวน พระยาอนุมานราชธนเป็นผู้ที่มีรักเดียวใจเดียว เห็นคุณหญิงละไมเป็นคนสวยคนเดียวตลอดชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องแปลกของผู้ชายในสมัยนั้นที่มักจะมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน ท่านมีเพื่อนสนิทเป็นชายเจ้าชู้ ชอบเที่ยวเตร่ เวลาที่เขาชวนท่านไปเที่ยวโรงผู้หญิงคนชั่วท่านก็ไป แต่ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับผู้หญิงเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะท่านมีความรับผิดชอบสูง รักลูกรักภรรยาอย่างยิ่ง จนเพื่อน ๆ รู้สึกนับถือระคนหมั่นไส้ จึงอยากพิสูจน์น้ำใจที่หนักแน่นมั่นคงของท่านและคุณหญิงละไม ดังที่ท่านให้สัมภาษณ์อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ " ก็วันหนึ่งพระสมบัติฯ น่ะ จะลองดี เห็นว่า เราอวดดีนัก เราก็ไม่รู้ เพราะกลางคืนก็มารับไปเที่ยว มีรถยนต์แล้วเขาซื้อรถยนต์คันหนึ่ง ก่อนจะเลิกงาน ก็ฝากห่อไว้ห่อหนึ่ง ห่อแบน ๆ คล้าย ๆ ซอง เวลากลางคืนจะมาไปเอา แล้วคืนนั้นก็ไม่มาเอา พอรุ่งเช้าเมียเขาไปเปลี่ยนเสื้อ ไปเห็นห่อก็ถามว่าห่ออะไร พอแก้ดูก็มีรูปหญิงสาวเซ็นว่า " ให้คุณที่รัก " เสียดายรูปผู้หญิงนั้นไม่ได้เก็บเอาไว้ เมียเขาก็อ่านดู ถ้าเป็นคนขี้หึงก็เอาเรื่อง เราก็บอกว่า พระสมบัติฯ เล่นสกปรก มาทำยังงี้ เราก็รอดตัวไป " ศาสตราจารย์มัลลี ( อนุมานราชธน ) เวชชาชีวะ เล่าในวันครบแปดรอบนักษัตรของบิดา ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗ ว่า " จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เคยยกที่ดินให้ สมัยนั้นมีการแบ่งสรรที่ดินให้แก่ข้าราชการ ท่านก็ไม่รับ ส่งคืน แนะนำผู้หญิงให้ท่านก็ปฏิเสธ โดยอ้างว่า ถ้าพ่อคล้อยตามไปกับสิ่งเหล่านี้ ชีวิตของลูก ๆ จะเป็นอย่างไร นอกจากนี้เป็นเพราะท่านใจเดียว รักแม่มาก " อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ เขียนถึงมารดาว่า " สำหรับแม่ ความรักของพ่อนั้นเอง เป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของแม่ให้อดทนอดกลั้นต่อความทุกข์นานัปการ อันเกิดจากบรรยากาศในครอบครัว ลูกสาวของแม่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สงสารแม่ ถ้าแม่ไม่อดทนและจงรักภักดีต่อพอจริงจัง พ่ออาจไม่มีจิตใจและเวลาที่จะอุทิศให้แก่งานเขียนอ่าน ที่พ่อรักอย่างที่เป็นมาแล้ว " กล่าวได้ว่า คุณหญิงละไม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ของพระยาอนุมานราชธนอย่างแท้จริง เพราะนอกจากความอดทนอดกลั้น และมีความจงรักภักดีต่อพระยาอนุมานราชธนอย่างยิ่งแล้วคุณหญิงยังประสบความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรธิดา ให้มีความรู้ความสามารถในหลายสาขาวิชา ท่านเหล่านี้ล้วนแต่ใช้ความสามารถไปในทางที่สุจริต ถูกต้องดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม บุตรธิดาของท่านอาจจะมิได้เป็นอภิชาตบุตรแต่ทุกท่านเป็นมนุษย์ ที่มีประโยชน์อันควรยกย่องอย่างยิ่ง สมกับที่เกิดมาเป็นบุตรธิดาของพระยาอนุมานราชธนและคุณหญิงละไม อนุมานราชธน คนดีของแผ่นดินไทย
ผลงานนิพนธ์ของท่าน
งานนิพนธ์ของพระยาอนุมานราชธนมีมากกว่า ๒๐๐ เล่ม สุดที่จะนำมารวบรวมได้หมดในที่นี้ ได้แต่นำมาผลงานมาเรียงลำดับตามตัวอักษรอย่างหยาบ ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จาก บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสริฐ เพิ่มเติม
กถาสริตสาคร ( สาครเป็นที่รวมกระแสนิยาย ) กถาบิฐและกถามุข แปลจากกาพย์ภาษาสันสกฤต
กวนอิม
กามนิต โดย คาร์ล อดอล์ฟ เจเลอรูป แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย จอห์น อี โลกี แปลร่วมกับ นาคะประทีป
การเกิด
การตาย
การศึกษาเรื่องประเพณีไทย
การศึกษาเรื่องประเพณีไทยและชีวิตไทยสมัยก่อน
การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์
การศึกษาศิลปและประเพณี
กำเนิดคน
กินโต๊ะจีน
ขวัญและประเพณีการทำขวัญ
ขุมทรัพย์ของเด็กเรื่องคนมีประโยชน์
ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีและเทพนิยายสงเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพราหมณ์ พุทธ และชิน ในแง่ประวัติศาสตร์
คำแก้ว
คำสอนของพระพุทธเจ้า งานแปล
เครื่องราชูปโภคและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์
ค่าของวรรณคดี
จดหมายจากพ่อถึงลูก
จดหมายโต้ตอบระหว่างเสฐียรโกเศศ กับ ส. ศิวรักษ์ พร้อมด้วยประวัติและข้อเกี่ยวกับพระยาอนุมานราชธน
ชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม
ชีวิตของชาวนา
ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน
ชีวิตพระสารประเสิรฐที่ข้าพเจ้ารู้จัก
เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม
โซไรดา นางพญาแห่งทะเลทราย
ตำนานศุลกากร
แต่งงาน
ทศมนตรี
เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เทศกาลสงกรานต์
ไทย-จีน
ท้าววิศวามิตร
นานานีติ
นิยายเบงคลี
นิยายเอกของปาชา
นิรุกติศาสตร์
บันทึกความรู้
ประชุมเรื่องพระรามและแง่คิดจากวรรณคดี
ประติมากรรมไทย โดยศิลป พีระศรี งานแปล
ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย
ประเพณีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทยเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน
ประเพณีเก่าของไทย ๕ ประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเก่าของไทย ว่าด้วยการเกิด การปลูกบ้านสร้างเรือน ว่าด้วยการตาย
ประเพณีต่าง ๆ ของไทย
ประเพณีต่าง ๆ บางเรื่อง
ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาล
ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลเข้าพรรษา สารท ออกพรรษา
ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทง
ประเพณีไทยเก่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีเนื่องในการเกิด
ประเพณีเนื่องในการเกิดกับประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเนื่องในการแต่งงานและประเพณีในการปลูกเรือน
ประเพณีในการสร้างบ้านปลูกเรือน
ประเพณีเนื่องในเทศกาล
ประเพณีเบ็ดเตล็ด
ประเพณีปลูกเรือน-แต่งงาน
ประเพณีและความรู้ทั่วไป
ประวัตินานาประเทศ
ประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณ
ปลูกเรือน
ปลูกเรือน-แต่งงาน
โปแลนด์ราชย์
เผชิญหน้ากับพระเจ้านโปเลียน
พงศาวดารธรรมชาติของสัตว์
พระคเณศเทพนิยายสงเคราะห์ ภาค ๔
พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง
พันหนึ่งทิวา
ฟอลคอน
ฟื้นความหลัง
เมืองสวรรค์และผีสาง เทวดา
รสวรรณคดี
รู้ไว้
เรื่องของชาติไทย
เรื่องคนมีประโยชน์
เรื่องเจดีย์
เรื่องไทย - จีน
เรื่องผีสางเทวดา
เรื่องพระโพธิสัตว์
เรื่องพระโมหมัด นะปีของอิสามิกชน
เรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง
เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เรื่องวัฒนธรรม
เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เรื่องแหลมอินโดจีนสมัยโบราณ
เรื่องอัศจรรย์ของโลก
ลัทธิ-ศาสนา
ลัทธิของเพื่อน
ลัทธิธรรมเนียมและประเพณีของไทย
เลิกทาสในรัชกาลที่ ๕
เล่าเรื่องในไตรภูมิ
โลกนิติ ไตรพากย์
โลกยุคดึกดำบรรพ์
วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ
วรรณกรรมเลือกสรรสำหรับเด็ก
วรรณคดีที่น่ารู้
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมเบื้องต้น
วัตนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทย
วิจารณ์เรื่องประเพณีทำศพ
วิวัฒนาการแห่งวัฒนธรรม
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศิลปสงเคราะห์ โดยศิลป์ พีระศรี งานแปล
สดุดีเด็ก ๆ
สมญาภิธานรามเกียรติ์
สารานุกรมของเสฐียรโกเศศ
หิโตปเทศ การผูกมิตร การแตกมิตร สงคราม ความสงบ
อสูรและยักษ์ต่างกันอย่างไร เทพนิยายสงเคราะห์ ภาค ๒
อธิบายนาฏศิลป์ไทย พร้อมด้วยคำนำเรื่องคีตศิลป์
อัตชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน
อารยธรรมยุคดึกดำบรรพ์
อาหรับราตรี
อำนาจแห่งความพยายาม
อุปกรณ์รามเกียรติ์
ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จาก บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน เพิ่มเติม
บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสิรฐ
งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน 2531 - 2533
เป็นนามปากกาของพระยาอนุมานราชธน เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๑ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๒ สิริรวมอายุ ๘๐ ปี ๖ เดือน เป็นบุตรนายหลีหรือมะลิกับนางเฮียะ มีนามเดิมภาษาจีนว่า หลีกวงหยง เปลี่ยนชื่อเป็น ยง ในเวลาต่อมา และรับพระราชทานนามสกุล จากรัชกาลที่ ๖ ว่า เสฐียรโกเศศ ภายหลังจึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น อนุมานราชธน ตามบรรดาศักดิ์ที่ท่านรับพระราชทานในราชทินนามเดียวกัน โดยลำดับบรรดาศักดิ์ต่างๆ กันจากขุน หลวง พระ และพระยาอนุมานราชธน
ชีวประวัติ
พระยาอนุมานราชธนเป็นปราชญ์คนสำคัญของไทยซึ่งมีผลงานด้านการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทย ภาษาไทย และวัฒนธรรมไทยจนเป็นที่ประจักษ์แก่โลก งานของท่านมีทั้งที่เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนมีผู้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ อีกหลายภาษา เช่น เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน ญี่ปุ่น ญวน สิงหล ฮินดี ฯลฯ นอกจากนี้วิถีชีวิตของท่านยังควรศึกษาและ ยึดถือเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตได้ทุกกาลสมัย ดังนั้น การที่รัฐบาลและองการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจะจัดงานฉลองชาติกาล ของท่านในวาระบรรจบครบศตวรรษในปีนี้ จึงนำความปิติยินดีมาสู่คนไทยทั้งประเทศอย่างสุดประมาณ พระยาอนุมานราชธนมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ใช้ชีวิตเพื่อการทำงานอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง ผู้คนจึงรู้จักงานของท่านมากกว่าชีวิตของท่าน พระยาอนุมานราชธนมีชีวิตสงบสุขอยู่กับครอบครัวและการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้ศึกษาชีวิตของท่านจึงรู้สึกประทับใจในความเป็นปราชญ์ที่แท้จริง ได้รู้ว่า พระยาอนุมานราชธนเป็นคนดีจนสุดที่จะบรรยายความดีงามให้เหมือนจริงได้ จึงขอรวบรวมบางส่วนในชีวิตของท่านมาไว้ในที่นี้ด้วยจิตใจที่เคารพอย่างสูงสุด
บรรพบุรุษ บิดา, มารดา
พระยาอนุมานราชธนเป็นคนไทย มีเชื้อสายจีนมาตั้งแต่ปู่ทวด บรรพบุรุษมาจากอำเภอฮงสุน จังหวัดแต้จี๋ว ปู่ทวดของท่านมีภรรยาเป็นคนไทย ปู่ของท่านเกิดในเมืองไทย บิดาของท่านก็เกิดในเมืองไทย ทุกคนมีภรรยาเป็นคนไทย ท่านจึงเป็นคนไทยเชื้อผสมชั่วอายุรุ่นคนที่สี่ ควรกล่าวไว้ว่าเป็นคนไทยแท้ ดังที่ท่านกล่าวว่า " ข้าพเจ้าถือตนด้วยความหยิ่งว่า ข้าพเจ้าเป็นไทยแท้สมบูรณ์ทั้งชีวิตและจิตใจ เป็นคนไทยทุกกระเบียดนิ้ว ไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนอื่น รักถิ่นไทย รักวัฒนธรรมไทย เพราะข้าพเจ้าเกิดในประเทศไทย และในวัฒนธรรมไทยที่ปั้นข้าพเจ้าทั้งชีวิตและจิตใจ ให้เป็นไทยมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก ตราบเท่าทุกวันนี้ " บิดาของพระยาอนุมานราชธนชื่อ นายหลี หรือมะลิ แซ่หลี เป็นคนรูปร่างผอมสูง เดินเนิบนาบมีสง่า ผิวไม่ขาวจัดอย่างจีน ไว้หนวดตัดแต่งเข้าที่ บิดาท่านได้เรียนหนังสือไทยครั้งแรกที่วัดเสาประโคน ( วัดดุสิตาราม ) จากนั้นได้เรียนภาษาจีนที่สำเพ็ง เมื่อรุ่นหนุ่มเข้าทำงานที่บริษัท บอร์เนียว จึงได้เรียนภาษาอังกฤษ อาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์ ธิดาของพระยาอนุมานราชธนได้เขียนถึงปู่ไว้ว่า " สิ่งที่พ่อรับจากปู่โดยตรงคือ เป็นคนชอบก้าวหน้า คิดก้าวหน้าอยู่เสมอ และข้อสำคัญมีนิสัยรักอ่านหนังสือ รักรู้เรื่องเก่าเรื่องใหม่ และความเป็นไปของบ้านเมือง และชอบถ่ายทอดด้วยการเล่าให้ผู้อื่นฟัง ปู่เล่าอะไรได้สนุกมีอารมณ์ขันและพูดคุยกับเด็กรุ่นหลาน อย่างรู้เรื่องเข้าใจกันดี ลูกของท่านประทับใจในลักษณะของนี้ของปู่มาก " นอกจากความรอบรู้จากการอ่านแล้ว ท่านยังมีความสามารถในทางช่างออกแบบที่ ขูดมะพร้าวให้ถอดเปลี่ยนหัวได้ออกแบบและสร้าง ตู้กับข้าวทำด้วยไม้ ถอดออกเป็นชิ้น ๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีงานทางช่างที่ท่านคิดประดิษฐ์อีกหลายอย่าง พระยาอนุมานราชธนไม่ได้รับมรดกทางช่างจากบิดา ความสามารถด้านนี้ไปปรากฏที่น้องชายและที่คุณณานิน อนุมานราชธน บุตรของท่าน มารดาท่านชื่อนางเฮียะ จากภาพถ่ายภาพแรกในชีวิต ซึ่งถ่ายกับมารดาเมื่ออายุสามเดือน บอกให้ทราบว่า มารดาของท่านเป็นหญิงงาม คิ้วเข้ม ตาโต จมูกโดง และมีริมฝีปากงามได้รูป การ นุ่งห่มสวยงามเรียบร้อย ดังที่อาจารย์สมศรี สุกุมลนันท์ กล่าวถึงย่าว่า " ย่ามีรูปร่างสันทัด ผิวพรรณขาวสะอาด และมีความประณีตในการแต่งกายให้หมดจดเรียบร้อยเสมอ " พระยาอนุมานราขธนมีรูปร่างหน้าตากระเดียดไปทางมารดารวมทั้งกิริยาท่าทางเดินเหินด้วย มารดาท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน มัธยัสถ์ มีวินัย เจ้าระเบียบ เป็นคนเจ้าอารมณ์ ใจน้อย และโกรธง่าย พระยาอนุมานราชธนได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้มงวดจากมารดา เวลาทำผิดจะถูกเฆี่ยนตี กักบริเวณหรือล่ามโซ่ หนักเบาแล้วแต่ความประพฤติของท่าน ท่านกล่าวถึงมารดาว่า " ผมเป็นตัวในเรื่องความประพฤติก็ส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ ท่านเป็นคนไม่รู้หนังสือก็จริง แต่ท่านเป็นคนขยัน มีความรู้จักกระเหม็ดกระแหม่และอดทน แต่ว่าท่านออกจะโทสะร้ายอยู่สักหน่อย ถ้าโกรธ ถ้าผิดละก็ เฆี่ยนเอา เรื่องที่มีความขยัน และรู้จักเลี้ยงลูกเต้า เลี้ยงน้อง มาจนเติบโตนี่ ก็เพราะคุณแม่ทั้งนั้น และท่านก็ดูแลบ้านช่อง ไม่ให้มันเสียหายไปเลยทีเดียว เป็นวางภาระได้อย่างหนึ่ง ผมอาจจะติดข้อนี้มาก็ได้ โดยเฉพาะอิทธิพลของท่านในการที่มีมานะ มีความเพียรและกระเหม็ดกระแหม่ "
วัยเด็กกับนักเลงโต
พระยาอนุมานราชธนเกิดที่เรือนไม้หลังหนึ่งซึ่งอยู่ติดคูด้านใต้ของวัดพระยาไกร บริเวณโรงเลื่อย บริเวณโรงเลื่อยจักรบริษัทบอร์เนียว บริเวณนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดพระยาไกร อ.ยานนาวา จังหวัดพระนคร อำเภอยานนาวา แต่เดิมเรียกว่าอำเภอบ้านทวาย และก่อนที่จะเรียกว่าอำเภอบ้านทวายนั้น มีชื่อปรากฏในพงศาวดารรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า ตำบลคอกควาย ในสมัยนั้นเป็นสถานที่ซึ่งพระยาทวายได้อพยพครอบครัวและไพร่พลเข้ามาขอ พึ่งพระบรมโพธิสมภาร เพราะเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกในภายหลังว่า บ้านทวาย บ้านทวายสมัยก่อน มีหัวหน้าเชื้อสายทวายดูแลปกครองเรียกว่าจางวาง ในชีวิตของ พระยาอนุมานราชธนได้พบ เห็นจางวางถิ่นนี้ถึงสองคน ท่านจำได้ว่าในละแวกนี้มีตลาดแห่งหนึ่งชื่อตลาดมะเทิ่ง ท่านประทับใจชื่อนี้มาก และรู้สึกเสียดายที่ต่อมาตลาดนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นตลาด วัดพระยาไกร วัยเด็กของพระยาอนุมานราชธน เป็นวัยที่วิ่งเล่นอยู่ในละแวกบ้านกับเด็กหลายพวกหลายเผ่าพันธุ์ เด็กหนุ่มแถวนั้นมักประพฤติตนเป็นนักเลงโต และเป็นที่นิยมชมชอบของเด็ก ๆ ดังท่านเคยเขียนไว้ในหนังสือฟื้นความหลังว่า " ด้วยอิทธิพลนักเลงโต กระทำให้ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ซึ่งมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน มีจิตใจโน้มเอียงไปในทางอยากเป็นนักเลงโตด้วย เพราะผู้หญิงชาวบ้านร้านตลาดก็รักนักเลงโตด้วย อยากได้ไว้เป็นผัว นอกจากได้หน้าแล้ว ตนเองจะไปไหนมาไหนตามลำพังก็สะดวก ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกใครกล้าเกาะเกะก้ำเกิน " ด้วยอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม พระยาอนุมานราชธนจึงมีจิตใจโน้มเอียงไปในทางอยากเป็นนักเลงโตด้วย เคยเป็นลูกสมุนติดตามนักเลงโตไปขอเงินเมีย เคยถูกเด็กอื่นแทงเอาที่ชายโครงข้างซ้าย เคยถูกตีที่ศีรษะแตก ท่านกล่าวถึงชีวิตในเวลานั้นว่า " จำได้ว่าความเกกมะเหรกของข้าพเจ้า ทำให้ผู้ใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเสมอ ด่าว่าก็แล้ว เฆี่ยนตีก็แล้ว ก็ไม่ได้ผล ห้ามไม่ให้ออกนอกเขตบ้านก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดถึงกับต้องเอาโซ่ล่าม ก็ไม่สำเร็จอีก เพราะหักโซ่หนี " มารดาของท่านไม่ได้ออกติดตาม เพราะทราบว่าท่านหนีไปอยู่กับพระที่วัดยานนาวา ท่านอยู่นานจนทราบว่ามารดาหายโกรธและลืมเรื่องราวไปแล้ว จึงกลับมาอยู่บ้านดังเดิม
ความทรงจำในวัยเรียน
พระยาอนุมานราชธนเริ่มเรียนหนังสือที่บ้านโดยมีบิดาเป็นผู้สอน ท่านบิดาไม่ใคร่จะมีเวลามากนัก ทุกวันเวลาตีห้า ท่านจะถูกบิดาปลุกลุกมาอ่านหนังสือ จนท่านติดนิสัยยึดถือปฏิบัติเช่นนั้นมาจนชั่วชีวิต เมื่ออายุ ๙ - ๑๐ มารดาได้พาท่านไปฝากเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านพระยานานาซึ่งเคยเป็นนิวาสสถานของพระยานานาพิพิธภาษี ( โต บุนนาค ) ผู้เป็นบุตรของชายคนหนึ่งของ สมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ปากคลองวัดทองเพลงรูปร่างอาคารที่ใช้เป็นโรงเรียน เป็นตึกวางรูปร่างอาคารเป็นสถาปัตยกรรมจีนกลาย ๆ แต่มีแบบทางตะวันตกเจือปนอยู่บ้าง โรงเรียนบ้านพระยานานา สอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ท่านเรียนหนังสือแบบเรียนเร็วเล่มหนึ่ง ยังไม่ทันถึงปีก็อ่านได้คล่อง เพราะบิดาเคยสอนปฐม ก.กา มาก่อนแล้ว ท่านมี ครูประจำชั้นชื่อ ครูสี ส่วนครูใหญ่ชื่อครูกร อมาตยกุล ภายหลังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวินิจวิทยากร เพื่อนร่วมโรงเรียนบ้านพระยานานาที่ท่านเคยเล่าถึงคือ พระยามไหสวรรค์ ( กวย สมบัติศิริ ) อายุต่างกันหนึ่งปี มากล่าวถึงความหลังและจำได้เมื่อโตแล้ว แต่ในวัยเด็กเพื่อนร่วม โรงเรียนที่จำเด็กชายยง ( พระยาอนุมานราชธน ) ได้ไม่เคยลืมคือ เด็กชายยิ้ม เขตตศิริ ( หลวงธำรงโทรเลข ) เพราะเหตุว่าวันหนึ่งเด็กชายทั้งสองเกิดผิดใจกัน เด็กชายยงซึ่งคงจะซนและดุไม่น้อย ได้กัดเด็กชายยิ้มเข้าที่มือจนเป็นแผลลึก แผลเป็นนั้นติดตัวไปชั่วชีวิต และเป็นเรื่องที่กระเซ้าเย้าแหย่กันได้ใน วัยชรา เมื่อท่านเรียนแบบเรียนเร็วเล่มสองไปได้ไม่นาน มารดาได้พาท่านไปเข้าโรงเรียน อัสสัมชัญ ท่านเรียนภาษาอังกฤษได้เร็วมาก เพราะบิดาเคยสอนอ่านมาก่อน ดังนั้นจึงเรียน ชั้นประถมเพียงหนึ่งปี พอรุ่งขึ้นปีที่สอง ได้เลื่อนข้ามขั้นไปเรียนชั้นมัธยมหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า สแตนดาดวัน ( Standard One ) มีครูประจำชั้นเป็นฝรั่งโปรตุเกสชื่อ กอเดโร ( Cordeiro ) โรงเรียนอัสสัมชัญสมัยนั้น ไม่ได้ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยตลอด นักเรียนต้องท่องจำขึ้นใจมาให้ครูฟังทุกวัน ที่นี่ห้ามพูดภาษาไทย บังคับพูดภาษาอังกฤษ ถ้าเผลอตัวพูดภาษาไทย จะได้ยินเสียงนักเรียนที่มีหน้าที่จับเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า " You speak Siamese. Go upstair. " แปลว่า " ท่านพูดไทยไปข้างบน " ข้างบนนั้นเป็นห้องบาทหลวง ถ้าผู้พูดไทยเป็นเด็กเล็ก ก็จะได้รับ การตักเตือนให้พยายามพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นนักเรียนหน้าเก่าจะถูกลงโทษให้ไปยืนเสา จะเป็นกี่เวลา ขึ้นอยู่กับความเป็นนักเรียนหน้าเก่าของผู้นั้น ยิ่งเป็นนักเรียนเขื่อง ก็จะยิ่งถูกยืนเสาหลายเวลา พระยาอนุมานราชธน เคยถูกรับหน้าที่เป็นผู้จับครั้งหนึ่งซึ่งท่านกล่าวว่า " ตามปกติ พวกนักเรียนเขื่อง ๆ ก็ไม่ใคร่ถูกจับถ้าขืนไปจับเข้า พอเอ่ยปากว่า " You speak Siamese. Go upstair " ยังไม่ทันจบประโยคดี อาจถูกมันไล่เตะเอาทันที่ก็ได้ เคยมีตัวอย่างบ่อย ๆ จึงไม่มีเด็กคนไหนกล้าไปจับเด็กโค่งพูดไทย " ที่โรงเรียนอัสสัมชัญมีการสอนภาษาไทยเหมือนกัน สอนสัปดาห์ละสองชั่วโมง มีครูเป็นเปรียญชื่อครูทิม ตำราภาษาไทยเป็นตำราของพระยาศรีสุนทรโวหาร ( น้อย อาจารยางกร ู) ชุด ที่หนึ่งมี ๖ เล่มเริ่มจากมูลบทบรรพกิจ และไปสิ้นสุดที่พิลาศการันต์ใครเรียนจบทั้งหกเล่ม จะเป็น ผู้แตกฉานในวิชาภาษาไทย พระยาอนุมานราชธนจำไม่ได้ว่าเรียนถึงเล่มใด แต่ท่านเป็นนักเรียน อัสสัมชัญคนแรก ที่สอบภาษาไทยของกระทรวงได้ โรงเรียนอัสสัมชัญสมัยนั้นเปิดสอนถึงชั้นมัธยมที่หก พระยาอนุมานราชธนเรียนจบชั้นมัธยมที่สี่ เพิ่งขึ้นชั้นมัธยมห้าได้ไม่นาน อาของท่านซึ่งเป็นหมอชื่อขุนวิรัชเวชกิจมาบอกว่าเขาจะตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น อยากให้ท่านเรียนโรงเรียนแพทย์ ท่านก็เลยลาออกจากโรงเรียนอัสสัมชัญ แต่สุดท้าย โรงเรียนแพทย์ไม่ได้ตั้ง ท่านจึงไปทำงานที่โอสถศาลา ทำงานกลางวัน และเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มเติมในเวลากลางคืน
คนเดียวในดวงใจ
สตรีสองคนผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของพระยาอนุมานราชธน คือ มารดาและภรรยา มารดาเป็นผู้กำกับและเปลี่ยนเส้นทางชีวิตจากเด็กเกเรให้เป็นคนดี เป็นผู้สร้างนิสัยที่ดีหลายสิ่งหลายประการแก่ท่าน โดยเฉพาะด้านความเข้มแข็ง มีมานะ มีความเพียร อันเป็นสิ่งส่งเสริมให้ท่านสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมได้เป็นจำนวนมาก ส่วนภรรยาเป็นพลังคนสำคัญที่สุดที่ทำให้ทุกชีวิตที่อยู่ด้วยกันราวยี่สิบคน ได้อยู่รวมกันอย่างสงบสุขและราบรื่น ส่งผลให้พระยาอนุมานราชธนทำงานได้อย่างสบายใจ ภรรยาจึงเป็นคนสวยคนเดียวในชีวิตของท่านตลอดกาล คุณหญิงละไม นามสกุลเดิมว่า อุมารัตน์ มีบิดาชื่อ อุ่ม มารดาชื่อ หุ่น บิดามารดาแยกทางกันเดิน ต่างคนต่างไปมีครอบครัวใหม่ คุณหญิงละไมจึงไปอยู่กับป้าซึ่งเป็นชีในศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก ป้าของท่านคือ แม่หมออี้ เป็นแพทย์แผนโบราณผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น คุณหญิงละไมเป็นเข้ารีต ซึ่งเป็นวัดนิกายโรมันคาทอลิกได้จัดงานประจำปี มีการจัดขบวนริ้วสวยงาม คุณหญิงละไมเป็นสาวผู้หนึ่งซึ่งถือธงในขบวน พระยาอนุมานราชธนเห็นคุณหญิงละไม แล้วบังเกิดความประทับใจ จึงทำความรู้จักและขอแต่งงานในที่สุด โดยท่านให้เหตุผลว่า " ที่ฉันรักเธอ ก็เพราะมองเห็นบ้านเธอเล็กนิดเดียว แต่แสนจะเรียบร้อยทุกอย่าง เธอคงจะปฏิบัติบิดามารดาของฉันได้ ฉันต้องการเธอมาปรนนิบัติพ่อแม่ของฉันและน้องฉัน ๕ - ๖ คน " ชีวิตแต่งงงานของพระยาอนุมานราชธนกับคุณหญิงละไมมีอุปสรรคพอสมควร ด้วยเหตุผลสองประการคือ ประการแรกเพราะท่านเป็นลูกชายคนโต มีค่าควรแก่การหวงแหน ประการที่สองเพราะนับถือศาสนาต่างกัน เพราะท่านเคยให้สัมภาษณ์อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่ถามว่า " ตอนแต่งงานอาจารย์เลี้ยงหรือเปล่า " ท่านตอบว่า " ก็ไม่ได้ทำอะไร ทางบ้านก็ไม่ชอบด้วย ที่ได้เมียคนนี้เพราะเข้ารีตนี่ ชาวบ้านเขาว่า เข้าที่สว่างแล้ว ไปอยู่ที่มือทำไม เราก็เฉย ๆ ไม่ว่าอะไร " พระยาอนุมานราชธนเป็นลูกคนโต ซึ่งรับหน้าที่เลี้ยงดูพ่อแม่และน้องอีกหกคน รวมทั้งภรรยาและบุตรธิดาเก้าคน ทุกคนอยู่ในบ้านเดียวกัน โดยมีคุณหญิงละไมเป็นผู้รับใช้คนทั้งบ้าน บ้านนี้ถือว่าเรื่องกินเป็นเรื่องใหญ่ คุณหญิงต้องไปตลอดซื้ออาหารสดทุกวัน และต้องระวังเตรียมอาหารให้ถูกใจคนทั้งบ้าน การปรุงอาหารให้ถูกปากทุกคนเป็นงานยาก ถูกปากก็ดีไป ไม่ถูกปากก็ถูกบ่นว่า แต่คุณหญิงละไมเป็นผู้มีความอดทนสูงมาก ได้พยายามแก้ไขให้รสมือถูกปากคนทุกคนโดยทั่วหน้า แม้บางครั้งมีการกระทำเกินเลยไปบ้าง ก็ไม่เคยบ่นว่าอะไร มีครั้งหนึ่งในสมัยที่น้องชายของพระยาอนุมานราชธนยังอยู่ในบ้านเกิดรับประทานข้าวเหลือ จะด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ ได้นำข้าวทั้งจากมาเทให้สุนัขกินต่อหน้าคุณหญิงละไม ท่านวางเฉยไม่ว่าอะไร แต่ ลูก ๆ ของท่านจดจำเหตุการณ์นั้นได้ดี อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ ได้เขียนถึงชีวิตครอบครัวของบิดามารดาว่า " ถ้ามีสิ่งใดที่พ่อทำให้ขัดใจย่า สิ่งนั้นน่าจะได้แก่การที่พ่อแต่งงานกับแม่ ผู้เขียนเกิดเมื่อพ่อแม่แต่งงานกันมาแล้วสิบปี กว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ล่วงมาอีกห้าปีเป็นอย่างน้อย เมื่อคิดอย่างผู้หญิงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รู้สึกว่าแม่คงต้องมีความอดทนอย่างยิ่งในฐานะสะใภ้ ไม่เคยเห็นแม่ถูกดุว่าหรือกลั่นแกล้งอย่างในหนังหรือละครน้ำเน่า แต่รู้สึกว่ามีคลื่นใต้น้ำอยู่ในครอบครัวตลอดเวลา เห็นเองโดยที่แม่ไม่เคยปริปากเล่าให้ฟัง " พระยาอนุมานราชธนเป็นผู้ไม่พิถีพิถันเรื่องการกิน คุณหญิงละไมทำอาหารถูกปากจนไม่ชอบรับประทานอาหารที่ผู้อื่นทำ ของชอบของท่านได้แก่ ยำผลไม้ต่าง ๆ เช่น ยำลางสาด ยำมะม่วง ที่ชอบมากที่สุดได้แก่มังคุดกับไข่เต่า ใส่น้ำปลา มะนาว หัวหอม พริกขี้หนู ส่วนอาหารที่คุณหญิงละไม่มีฝีมือจนขึ้นชื่อได้แก่ห่อหมกและแกงบวน พระยาอนุมานราชธนเป็นผู้ที่มีรักเดียวใจเดียว เห็นคุณหญิงละไมเป็นคนสวยคนเดียวตลอดชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องแปลกของผู้ชายในสมัยนั้นที่มักจะมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน ท่านมีเพื่อนสนิทเป็นชายเจ้าชู้ ชอบเที่ยวเตร่ เวลาที่เขาชวนท่านไปเที่ยวโรงผู้หญิงคนชั่วท่านก็ไป แต่ไม่ได้ไปเกี่ยวข้องกับผู้หญิงเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะท่านมีความรับผิดชอบสูง รักลูกรักภรรยาอย่างยิ่ง จนเพื่อน ๆ รู้สึกนับถือระคนหมั่นไส้ จึงอยากพิสูจน์น้ำใจที่หนักแน่นมั่นคงของท่านและคุณหญิงละไม ดังที่ท่านให้สัมภาษณ์อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ " ก็วันหนึ่งพระสมบัติฯ น่ะ จะลองดี เห็นว่า เราอวดดีนัก เราก็ไม่รู้ เพราะกลางคืนก็มารับไปเที่ยว มีรถยนต์แล้วเขาซื้อรถยนต์คันหนึ่ง ก่อนจะเลิกงาน ก็ฝากห่อไว้ห่อหนึ่ง ห่อแบน ๆ คล้าย ๆ ซอง เวลากลางคืนจะมาไปเอา แล้วคืนนั้นก็ไม่มาเอา พอรุ่งเช้าเมียเขาไปเปลี่ยนเสื้อ ไปเห็นห่อก็ถามว่าห่ออะไร พอแก้ดูก็มีรูปหญิงสาวเซ็นว่า " ให้คุณที่รัก " เสียดายรูปผู้หญิงนั้นไม่ได้เก็บเอาไว้ เมียเขาก็อ่านดู ถ้าเป็นคนขี้หึงก็เอาเรื่อง เราก็บอกว่า พระสมบัติฯ เล่นสกปรก มาทำยังงี้ เราก็รอดตัวไป " ศาสตราจารย์มัลลี ( อนุมานราชธน ) เวชชาชีวะ เล่าในวันครบแปดรอบนักษัตรของบิดา ๑๔ ธันวาคม ๒๕๒๗ ว่า " จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เคยยกที่ดินให้ สมัยนั้นมีการแบ่งสรรที่ดินให้แก่ข้าราชการ ท่านก็ไม่รับ ส่งคืน แนะนำผู้หญิงให้ท่านก็ปฏิเสธ โดยอ้างว่า ถ้าพ่อคล้อยตามไปกับสิ่งเหล่านี้ ชีวิตของลูก ๆ จะเป็นอย่างไร นอกจากนี้เป็นเพราะท่านใจเดียว รักแม่มาก " อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ เขียนถึงมารดาว่า " สำหรับแม่ ความรักของพ่อนั้นเอง เป็นน้ำหล่อเลี้ยงชีวิตของแม่ให้อดทนอดกลั้นต่อความทุกข์นานัปการ อันเกิดจากบรรยากาศในครอบครัว ลูกสาวของแม่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สงสารแม่ ถ้าแม่ไม่อดทนและจงรักภักดีต่อพอจริงจัง พ่ออาจไม่มีจิตใจและเวลาที่จะอุทิศให้แก่งานเขียนอ่าน ที่พ่อรักอย่างที่เป็นมาแล้ว " กล่าวได้ว่า คุณหญิงละไม เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ของพระยาอนุมานราชธนอย่างแท้จริง เพราะนอกจากความอดทนอดกลั้น และมีความจงรักภักดีต่อพระยาอนุมานราชธนอย่างยิ่งแล้วคุณหญิงยังประสบความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรธิดา ให้มีความรู้ความสามารถในหลายสาขาวิชา ท่านเหล่านี้ล้วนแต่ใช้ความสามารถไปในทางที่สุจริต ถูกต้องดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคม บุตรธิดาของท่านอาจจะมิได้เป็นอภิชาตบุตรแต่ทุกท่านเป็นมนุษย์ ที่มีประโยชน์อันควรยกย่องอย่างยิ่ง สมกับที่เกิดมาเป็นบุตรธิดาของพระยาอนุมานราชธนและคุณหญิงละไม อนุมานราชธน คนดีของแผ่นดินไทย
ผลงานนิพนธ์ของท่าน
งานนิพนธ์ของพระยาอนุมานราชธนมีมากกว่า ๒๐๐ เล่ม สุดที่จะนำมารวบรวมได้หมดในที่นี้ ได้แต่นำมาผลงานมาเรียงลำดับตามตัวอักษรอย่างหยาบ ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จาก บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสริฐ เพิ่มเติม
กถาสริตสาคร ( สาครเป็นที่รวมกระแสนิยาย ) กถาบิฐและกถามุข แปลจากกาพย์ภาษาสันสกฤต
กวนอิม
กามนิต โดย คาร์ล อดอล์ฟ เจเลอรูป แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย จอห์น อี โลกี แปลร่วมกับ นาคะประทีป
การเกิด
การตาย
การศึกษาเรื่องประเพณีไทย
การศึกษาเรื่องประเพณีไทยและชีวิตไทยสมัยก่อน
การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์
การศึกษาศิลปและประเพณี
กำเนิดคน
กินโต๊ะจีน
ขวัญและประเพณีการทำขวัญ
ขุมทรัพย์ของเด็กเรื่องคนมีประโยชน์
ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีและเทพนิยายสงเคราะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาพราหมณ์ พุทธ และชิน ในแง่ประวัติศาสตร์
คำแก้ว
คำสอนของพระพุทธเจ้า งานแปล
เครื่องราชูปโภคและเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์
ค่าของวรรณคดี
จดหมายจากพ่อถึงลูก
จดหมายโต้ตอบระหว่างเสฐียรโกเศศ กับ ส. ศิวรักษ์ พร้อมด้วยประวัติและข้อเกี่ยวกับพระยาอนุมานราชธน
ชาติ-ศาสนา-วัฒนธรรม
ชีวิตของชาวนา
ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน
ชีวิตพระสารประเสิรฐที่ข้าพเจ้ารู้จัก
เชื้อชาติ ภาษา และวัฒนธรรม
โซไรดา นางพญาแห่งทะเลทราย
ตำนานศุลกากร
แต่งงาน
ทศมนตรี
เทศกาลลอยกระทง เล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เทศกาลสงกรานต์
ไทย-จีน
ท้าววิศวามิตร
นานานีติ
นิยายเบงคลี
นิยายเอกของปาชา
นิรุกติศาสตร์
บันทึกความรู้
ประชุมเรื่องพระรามและแง่คิดจากวรรณคดี
ประติมากรรมไทย โดยศิลป พีระศรี งานแปล
ประเพณีเรื่องแต่งงานบ่าวสาวของไทย
ประเพณีการทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชาวไทยเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตแต่งงาน
ประเพณีเก่าของไทย ๕ ประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเก่าของไทย ว่าด้วยการเกิด การปลูกบ้านสร้างเรือน ว่าด้วยการตาย
ประเพณีต่าง ๆ ของไทย
ประเพณีต่าง ๆ บางเรื่อง
ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาล
ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลเข้าพรรษา สารท ออกพรรษา
ประเพณีไทยเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทง
ประเพณีไทยเก่ยวกับเทศกาลสงกรานต์
ประเพณีเนื่องในการเกิด
ประเพณีเนื่องในการเกิดกับประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเนื่องในการตาย
ประเพณีเนื่องในการแต่งงานและประเพณีในการปลูกเรือน
ประเพณีในการสร้างบ้านปลูกเรือน
ประเพณีเนื่องในเทศกาล
ประเพณีเบ็ดเตล็ด
ประเพณีปลูกเรือน-แต่งงาน
ประเพณีและความรู้ทั่วไป
ประวัตินานาประเทศ
ประวัติศาสตร์โลกสมัยโบราณ
ปลูกเรือน
ปลูกเรือน-แต่งงาน
โปแลนด์ราชย์
เผชิญหน้ากับพระเจ้านโปเลียน
พงศาวดารธรรมชาติของสัตว์
พระคเณศเทพนิยายสงเคราะห์ ภาค ๔
พระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง
พันหนึ่งทิวา
ฟอลคอน
ฟื้นความหลัง
เมืองสวรรค์และผีสาง เทวดา
รสวรรณคดี
รู้ไว้
เรื่องของชาติไทย
เรื่องคนมีประโยชน์
เรื่องเจดีย์
เรื่องไทย - จีน
เรื่องผีสางเทวดา
เรื่องพระโพธิสัตว์
เรื่องพระโมหมัด นะปีของอิสามิกชน
เรื่องพระราชลัญจกรและตราประจำตัวประจำตำแหน่ง
เรื่องเล่นสาดน้ำวันสงกรานต์ เทศกาลลอยกระทง และประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เรื่องวัฒนธรรม
เรื่องสั้นเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ เทศกาลลอยกระทง ประเพณีทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ
เรื่องแหลมอินโดจีนสมัยโบราณ
เรื่องอัศจรรย์ของโลก
ลัทธิ-ศาสนา
ลัทธิของเพื่อน
ลัทธิธรรมเนียมและประเพณีของไทย
เลิกทาสในรัชกาลที่ ๕
เล่าเรื่องในไตรภูมิ
โลกนิติ ไตรพากย์
โลกยุคดึกดำบรรพ์
วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ
วรรณกรรมเลือกสรรสำหรับเด็ก
วรรณคดีที่น่ารู้
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมเบื้องต้น
วัตนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ของไทย
วิจารณ์เรื่องประเพณีทำศพ
วิวัฒนาการแห่งวัฒนธรรม
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศิลปสงเคราะห์ โดยศิลป์ พีระศรี งานแปล
สดุดีเด็ก ๆ
สมญาภิธานรามเกียรติ์
สารานุกรมของเสฐียรโกเศศ
หิโตปเทศ การผูกมิตร การแตกมิตร สงคราม ความสงบ
อสูรและยักษ์ต่างกันอย่างไร เทพนิยายสงเคราะห์ ภาค ๒
อธิบายนาฏศิลป์ไทย พร้อมด้วยคำนำเรื่องคีตศิลป์
อัตชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน
อารยธรรมยุคดึกดำบรรพ์
อาหรับราตรี
อำนาจแห่งความพยายาม
อุปกรณ์รามเกียรติ์
ผู้สนใจสามารถสืบค้นได้จาก บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน เพิ่มเติม
บรรณานุกรมงานนิพนธ์ ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน และพระสารประเสิรฐ
งานนิพนธ์ชุดสมบูรณ์ของศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน 2531 - 2533
https://ecurriculum.mv.ac.th/thai/m.6/unit5/lesson1/toonbuly2/anumanrahchaton.html
โดย: สมงิ [30 เม.ย. 51 16:50] ( IP A:58.64.104.23 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม
ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน