ความคิดเห็นที่ 1 สอนแบบอินเตอร์ก็ต้องสอนภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร อาจารย์แพทย์ก็จะรวยกันบ้างละ ยิ่งพวกจบนอก ภาษาดี แต่ก็ไม่น่าจะเสียหายนะ ดีกว่ามีคนสอน แต่ไม่มีคนเรียน เพียงแต่ว่าจะมีคนมาเรียนหรือเปล่า และคนมาเรียนเขาจะมีคุณภาพเรียนจบไหม เวลารักษาคนไทย(เรียนคนไข้ไทย) ภาษาจะลำบากไหม แต่ก็น่าจะพอทนเรียนได้ ส่วนเรื่องคนไทยก็ไม่ยาก ก็ให้รับเด็กไทยสักครึ่งหนึ่ง ราคาค่าเรียนต้องเท่ากัน หากไม่เท่ากันเริ่มต้นไม่แฟร์ ชีวิตมีปัญหาแน่นอน แต่ในความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่เสียหาย เปิดออนไลน์ยังได้เลย | โดย: ฟฟ [27 ม.ค. 53 22:39] ( IP A:58.8.18.140 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ท่านจะทำอะไรก็สุดแล้วแต่ท่าน ชาวบ้านที่เป็นผู้เสียหายอย่างพวกเราคงไม่มีสิทธิ์มีเสียงต่อเรื่องนี้ ชีวิตก็จะเอาไม่รอดกันอยู่แล้ว แต่ที่แน่ ๆ คือเมื่อผลิตแพทย์ ออกมาแล้ว ขอให้มีคุณธรรม มีจิตใจที่มีเมตตาธรรมต่อคนไข้ ทำเขาเสียหายแล้วรู้จักรับผิดชอบ ขอให้คัดเอาอาจารย์แพทย์ ที่ดีมีคุณธรรมหน่อย
พวกเราผู้เสียหายขอฝากสอนวิชาจริยธรรม และมีชั่วโมงเรียนรู้ จากความผิดพลาด เพื่อป้องกันความผิดพลาด | โดย: ได้แต่ฝาก คงทำอะไรได้ไม่มากไปกว่านี้ [28 ม.ค. 53 21:19] ( IP A:58.9.204.42 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 คุณธรรมแปลว่าไร อธิบายหน่อยสิ แค่เป็นแพทย์ได้ ก็เก่งอยู่แล้ว จะเอาไรกับเค้าอีก | โดย: รักปลาเน่า [29 ม.ค. 53 23:47] ( IP A:115.67.75.55 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ฤๅแพทยสภาจะไร้เดียงสาทางเกมธุรกิจ โดย : ธงชัย สันติวงษ์ ที่มา https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1265151137 เขาบอกว่าเครือข่ายฯ ไม่ทันเกม ผมได้เคยเขียนเรื่อง โรงงานยาสูบที่รัก นานแล้ว และต่อมาไม่นานมานี้ ได้เขียนเรื่อง ระวังเขาจะแปรรูป รพ.โรงงานยาสูบ ด้วย เพราะ ก่อนหน้านี้ผมได้เคยชี้แนะการทำแผนวิสาหกิจให้โรงงานยาสูบนานมาแล้ว โดยมีแผนเรื่องโรงพยาบาลอยู่ด้วย โดยตามแผน จะให้มีการประสานร่วมมือกันกับ มศว ที่จะมีโครงการตั้งโรงเรียนแพทย์ ซึ่งต่างจะประสานกันได้ทั้ง การรักษาพยาบาลและการฝึกแพทย์ จึงเสนอให้ย้ายมาจากที่เดิม ที่ถนนสาทร ให้มาอยู่ที่โรงงานยาสูบ ถนนพระรามสี่ ในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ใกล้กันกับ มศว แต่ต่อมาแผนการนี้เปลี่ยนไป โดยที่ไม่ทราบว่ามีอะไรเป็นเบื้องหลังหรือไม่ นอกจากข่าวว่า ร.พ.บำรุงราษฎร์ จะร่วมมือกับ มศว แล้วเรื่องก็เงียบหายไป ทั้งนี้ เหตุผลมีอะไรหรือไม่ไม่อาจทราบได้ แล้วต่อมา มศว ได้เปลี่ยนแผนโดยได้สร้างโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลขึ้นที่นครนายก โรงพยาบาลยาสูบจึงคิดและติดต่อประสานความร่วมมือกับพันธมิตรใหม่คือ รพ.จุฬาฯ ที่จะสนับสนุนไปมาได้อย่างดีและสะดวก ซึ่งจะทำให้ทั้งสองหน่วยขยายเพิ่มการรักษาพยาบาลได้ในขอบเขตที่ดีขึ้น แต่ที่ไม่น่าจะเกี่ยวกันแต่ก็แยกกันไม่ออก ก็คือ เมื่อวันที่ 27 ม.ค.53 ข่าวไทยรัฐออนไลน์ รายงานว่า คณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทร์วิโรจน์ (มศว) ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง บทบาทของแพทยสภากับการผลิตบัณฑิตแพทย์เพื่อคนไทย โดย จวกแพทยสภาอนุมัติหลักสูตรคนรวย คัดค้านการเร่งรัดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ ซึ่งเสนอโดยคณบดีคณะแพทย์ ม.ศ.ว.นั่นเอง โดยแพทย์สภาได้มีมติอนุมัติอย่างเงียบๆ ไปเมื่อ 14 ม.ค.และจะมีการรับรองมติในช่วงต้นก.พ. ซึ่งการเร่งรัดอนุมัติหลักสูตร เป็นการกระทำที่ไม่ตอบสนองต่อการขาดแคลนแพทย์ของประเทศ แม้ว่าจะมีการระบุให้ต้องใช้ทุนก็ตาม ทั้งนี้ การใช้ทุนไม่ใช่ทางแก้ และไม่เป็นปัญหาสำหรับคนรวย โดยแพทย์จะหลั่งไหลเข้าไปในระบบเอกชนที่ต่างชาตินิยมมารักษาในไทย เพราะการเอาเงินมาใช้ทุนนั้นง่ายมากสำหรับคนรวย ดังนั้น การหวังให้ไปรักษาคนในชนบทคงไม่เกิดขึ้นแน่ ทำให้สงสัยว่า การเร่งรัดดังกล่าวอาจมีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เอื้อต่อโรงพยาบาลเอกชนหรือเอื้อต่อโรงเรียนแพทย์ที่ต้องการเปิดหลักสูตร นานาชาติแห่งต่อไป กลุ่มคณาจารย์แพทย์จึงได้ยื่นเรื่องให้ รมต.คนใหม่และปลัด กท.สาธารณสุข ซึ่งเป็นกรรมการแพทยสภาด้วย โดยขอให้ทบทวนเรื่องดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เรื่องนี้บางคนอาจคิดว่าไม่น่าเป็นประเด็นใหญ่โตหรือถือเป็นธรรมดาของ กลไกตลาด แต่ขออย่าได้ประมาท เพราะ หากอ่านกลเกมต่อไปจะรู้ว่า มีเรื่องใหญ่ที่มีผลสภาพ เหนือคำบรรยาย เพราะ โดยมตินี้จะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้
1. เป็นการเปิดเสรีการผลิตแพทย์โดยทางอ้อม แล้วระบบแพทย์จะกลายเป็นระบบแพทย์พาณิชย์ ที่จะทำลายระบบแพทย์ปัจจุบันโดยปริยาย กล่าวคือ การเรียนแพทย์ตามหลักสูตรนานาชาตินี้ คนรวยจะได้เปรียบและเข้าได้ง่าย เพียงการใช้ "ระบบรับตรง" โดยจัดสอบเองกับเอาภาษาเป็นตัวคัด จึงไม่ยุติธรรมในชิงความเท่าเทียมของโอกาสและการแข่งขัน 2. เกิดระบบแพทย์พาณิชย์ เพราะ ระบบการผลิตแพทย์จะถูกแยกเป็น 2 ระบบ คือ แพทย์อุดมการณ์ กับ แพทย์พาณิชย์ โดยกลุ่มแรก จะต้องใช้ทุนและออกให้บริการรักษาผู้ป่วยในท้องถิ่นห่างไกล กับ แพทย์พาณิชย์ ที่จะเข้าสู่เส้นทางการหาเงินจากโอกาสที่เปิดขึ้นตามนโยบาย Medical Hub ที่เป็นธุรกิจการรักษาพยาบาลเพื่อกำไรล้วนๆ 3. ปัญหาการขาดแคลนแพทย์จะหนักขึ้น จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ ที่จะกระทบทำให้ระบบและคุณภาพการรักษาพยาบาลเกิดการเหลื่อมล้ำ และทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการยากขึ้น โดยมาตรฐานการรักษาต่ำลง ซ้ำเติมปัญหาสังคมให้หนักขึ้น เพียงแค่นี้ก็สะท้อนว่า การอนุมัติหลักสูตรนานาชาตินั้นเป็นวิธีการที่เป็น กลยุทธ์มาแบบเหนือเมฆ เสมือนเป็นการเปิดเสรีการผลิตแพทย์ในประเทศ เพราะสามารถเดินไปตามระบบ "อุดมศึกษาที่ออกนอกระบบ" ไม่ต้องโยงใยหรือต้องผูกมัดทำอะไรให้รัฐในทางไหนบ้าง อะไร เท่าใดบ้าง อยู่แล้ว ดังนี้การผลิตแพทย์จึงเป็นการใช้ทรัพยากรภาษีรัฐเพื่อประโยชน์แก่เอกชน หรือ คนบางกลุ่ม ด้วยนโยบายเปิดข้างต้น กลุ่มเอกชน ทุนใหญ่ ทั้งไทย-เทศในไทยก็จะสามารถดำเนินการด้านจัดทำ ธุรกิจการศึกษาทางการแพทย์ โดยผลิตตามเกณฑ์หลักสูตรใหม่ของแพทย์สภาที่ออกมานี้ได้อย่างเต็มรูปแบบได้ ไม่ยาก การอนุมัติหลักสูตรนานาชาติครั้งนี้จึงทำให้ นโยบายการผลิตแพทย์เบี่ยงเบนไป และจะทำให้มีการแบ่งแยกชั้นฐานะแพทย์ไทยจนเกิดช่องว่างใหญ่ทาง จิตสำนึกแพทย์ ได้ ด้วยเหตุเพราะยุคโลกาภิวัตน์นั้น พลังทุน เติบใหญ่ทำให้เงินมีอิทธิพลเข้ามาละลายอุดมการณ์ทางการแพทย์ได้อย่างไม่ต้อง สงสัย 4. เหนือกว่านั้นยังอาจเป็น กลเกมการแสวงหาประโยชน์แอบแฝง เพราะ พลังทุนและนักผูกขาดรายใหญ่ ที่หัวใจพองโต ยังคงชูหัว ส่ายไป-มาเพื่อการหารูปแบบการหาประโยชน์แบบไม่อั้น โดยไม่จำต้องแคร์ต่อจิตสำนึกด้าน CSR ซึ่งมักทำโดยให้ลูกน้องสร้างภาพไว้ประกอบเรื่องเท่านั้นก็พอ และด้วย ตลาดทุน ที่โยงกับพลังกิเลส กับนโยบายการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหุ้นนั้น เอง ไม่ช้าไม่นานก็จะเปิดโอกาสให้ ธุรกิจการเมือง เข้ามาดำเนินการรุกขยายและยึดครองอุตสาหกรรมการรักษาพยาบาลของไทย โดยวิธีการจะง่ายมาก คือ การให้โรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจ เช่น รพ.ยาสูบ รพ.รถไฟ รพ.ท่าเรือ รพ. การไฟฟ้า รพ.การประปา และอื่นๆ เปลี่ยนสภาพเป็น นิติบุคคล บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจ แล้วให้ไปเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น จากนั้นก็จะมีการหย่อนมือของทุนใหญ่ให้เข้ามาประสานการขยายงานให้บริการให้ กว้างขึ้น แล้วตามด้วยการผลิตนักบริหารโรงพยาบาลเป็นอันดับต่อไป โดยเป้าหมายที่ใหญ่กว่าคืออะไรนั้น คงต้องขอขยายความต่อเรื่อง กลยุทธ์ขอมดำดิน ที่จะเล่าต่อไปในคราวหน้า | โดย: เรื่องเล่า [3 ก.พ. 53 15:18] ( IP A:58.9.196.201 X: ) |  |
|