"จุรินทร์" ควักเงินฉุกเฉิน 200 ล้านช่วยรักษาคนไร้สัญชาติ
   "จุรินทร์" ควักเงินฉุกเฉิน 200 ล้านช่วยรพ.กันดาร-ชายแดนรักษาคนไร้สัญชาติ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
1 กุมภาพันธ์ 2553 17:51 น.

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000014440[/b>

"จุรินทร์" สั่งควักเงินกองกลางฉุกเฉินของสธ. 200 ล้านแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โรงพยาบาลกันดาร - ชายแดน ติดหนี้รักษาพยาบาลคนไร้สถานะ ตั้งกองทุนช่วยเหลือ ระยะยาวมอบ 4 องค์กรถกหาทางแก้ปัญหาการเงินการคลัง เสร็จภายใน 2 สัปดาห์ ปลัดสธ.เผยรพ.สังกัดสธ.ประสบภาวะเป็นหนี้กว่า 40 แห่ง รพ.แม่สอดอ่วม ติดหนี้ 100 ล้าน หมดเงินรักษาทั้งต่างด้าว-คนไร้สถานะ

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาเกี่ยวกับการให้บริการสาธารณสุขในพื้นที่กันดารและพื้นที่เฉพาะ ซึ่งสธ.ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของประเทศถึง 49 จังหวัด 479 อำเภอและ 4,128 ตำบล โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.พื้นที่บริเวณแนวชายแดน 4 ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย 2.พื้นที่ชายแดนภาคใต้ 5 จังหวัด 3.พื้นที่ห่างไกลที่มีลักษณะเป็นเกาะและติดชายทะเล ห่างไกลและ4.พื้นที่สูง

“ ปัจจุบันสถานพยาบาลในพื้นที่เหล่านี้ประสบปัญหา การให้บริการสุขภาพประชาชนด้านการเงินการคลัง โดยเฉพาะพื้นที่แนวชายแดน ทั้งแง่ของการรักษาและการควบคุมโรคจากการแพร่ระบาด ซึ่งผู้ติดเชื้อต่างๆที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติและแรงงานที่ข้ามเข้ามาทำงานในไทยแพร่เชื้อให้กับคนไทย ส่วนการรักษา โรงพยาบาลก็ไม่สามารถปฏิเสธคนไร้สถานะ คนรอการพิสูจน์สถานะและแรงงามต่างชาติได้ จึงต้องเจียดเงินเหมาจ่ายรายหัวไปรักษาคนกลุ่มนี้ด้วย ส่งผลกระทบต่อการรักษาคนไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในการแก้ปัญหานี้ก็เพื่อช่วยคนไทยไม่ให้ติดโรคและไม่ถูกเจียดเงินไปรักษาคนกลุ่มนี้ แต่ไม่ใช่ปฏิเสธการให้บริการคนกลุ่มนี้ ” นายจุรินทร์กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ปัญหาระยะยาวได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กรมควบคุมโรค(คร.)และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่ 1.มาตรการคุมโรคตามแนวชายแดนให้มีคุณภาพ นอกเหนือจากการใช้งบประมาณปกติ เช่น การจัดตั้งกองทุน เป็นต้น 2. ระบบการดูแลกลุ่มคนที่รอพิสูจน์สัญชาติที่มีประมาณ 570,000 คนทั่วประเทศ ไม่ให้กระทบการรักษาคนไทยบริเวณแนวชายแดน ซึ่งจะต้องใช้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นนำเข้าสู่ที่ประชุมผู้บริหารสธ.อีกครั้งหนึ่ง หากจำเป็นต้องเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของครม.ตนก็จะดำเนินการต่อไป

“การดูแลรักษาแรงงานต่างชาติมีระบบอยู่แล้ว เช่น แรงงานที่จดทะเบียนจะต้องซื้อบริการสุขภาพหัวละ 1,300 บาท แต่อยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรับจดทะเบียนแรงงาน ควรตรวจสุขภาพก่อนขึ้นทะเบียน มิเช่นนั้นจะเป็นภาระค่ารักษาพยาบาลของไทยต่อไป”นายจุรินทร์กล่าว

นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า เบื้องต้นสั่งการให้นำเงินจากกองทุนฉุกเฉินที่มีประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งตามปกติจะจัดสรรให้กับสถานพยาบาลที่ประสบปัญหาภาวะทางการเงิน โดยให้พิจารณาเกลี่ยเงินส่วนนี้ให้กับสถานพยาบาลในพื้นที่พิเศษทั้ง 4 กลุ่มด้วย เนื่องจากต้องแบกรับผู้ป่วยที่เข้าใช้บริการจริงสูงกว่าเงินเหมาจ่ายรายหัวที่ได้รับการจัดสรร ทำให้เกิดปัญหาทางการเงินการคลัง และมอบหมายให้นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดสธ.ไปศึกษาว่าโรงพยาบาลตามแนวชายแดนจะสามารถรวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการบริหารจัดการ วิชาการ การควบคุมโรคและการรักษาพยาบาลภายใต้งบประมาณที่จำกัดได้หรือไม่

ด้านนพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดสธ. กล่าวว่า ในการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนฉุกเฉินจะมีคณะกรรมการในการพิจารณา โดยตามระเบียบเงินจากส่วนนี้จะจัดสรรให้กับสถานพยาบาลที่ประสบภาวะหนี้สิน ปัจจุบันมีอยู่กว่า 40 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งคณะกรรมการจะพิจารณาตามความเหมาะสมว่าสถานพยาบาลแห่งใดควรได้รับการจัดสรรงบฯเพิ่มเติม เพื่อให้สถานพยาบาลใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเวลา 14.30 น. เครือข่ายโรงพยาบาลชายแดน ได้แก่ โรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก โรงพยาบาลปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก เป็นต้น ได้เข้าพบนายจุรินทร์ เพื่อหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของโรงพยาบาลแนวชายแนวซึ่งดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นบุคคลไร้สถานะจำนวนมากจนทำให้เกิดหนี้สินขึ้น

โดย นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า ถือว่า นายจุรินทร์ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา โดยการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ปัญหาร่วมกัน โดยเฉพาะการช่วยเหลือคนกลุ่มที่อยู่ในเมืองไทยมาเป็นเวลานานแต่อยู่พื้นที่ห่างไกลทำให้ไม่ได้รับสัญชาติ ซึ่งคนกลุ่มนี้หากได้รับการดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกับคนไทยทั่วไป ในด้านความมั่นคงก็จะทำให้เกิดความรู้สึกรักประเทศไทยและร่วมกันดูแลประเทศด้วย สำหรับกลุ่มคนต่างด้าวซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่และเป็นกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมือง การให้หลักประกันคงไม่เหมาะสม แต่สามารถช่วยเหลือได้ด้วยการตั้งกองทุน ในการสนับสนุนโรงพยาบาลในพื้นที่ต่างๆได้

“การจัดระบบการดูแลคนทั้งสองกลุ่ม หากสามารถทำได้จะถือเป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่นๆ และกองทุนดังกล่าวจะถือเป็นช่องทางในการรับความช่วยเหลือจากองค์กรระดับโลก เช่น ยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก ถือเป็นการดูแลร่วมกันกับคนทั้งโลกและไม่ว่าจะเป็นคนชนชาติใด ทางสาธารณสุขไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าจะไม่ช่วยเหลือหากไม่ใช่ชาติเดียวกัน นอกจากเรื่องมนุษยธรรมยังเป็นการป้องกันปัญหาโรคระบาดต่างๆด้วย”นพ.วรวิทย์ กล่าว

นพ.รณไตร เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการรพ.แม่สอด กล่าวว่า สัดส่วนการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลถือว่ามีกลุ่มคนต่างด้าวเข้าใช้บริการมากที่สุดในประเทศ คือ ร้อยละ 28 ของผู้ป่วยทั้งหมด โดยใช้งบประมาณในการดูแลคนกลุ่มดังกล่าวประมาณปีละ 50 ล้านบาท ขณะนี้มีโรงพยาบาลมีหนี้สินอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท ครึ่งหนึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการดูแลคนต่างด้าว และอีกครั้งเป็นหนี้ที่เกิดจากการดูแลผู้ป่วยไทยไร้สถานะ ที่ผ่านมา ใช้วิธีการช่วยเหลือกันเองภายในจังหวัด ซึ่งโรคที่พบโดยส่วนใหญ่จะมีทั้งโรคติดต่อชายแดน มาเลเรีย วัณโรค โรคติดต่อทางเดินหายใจ
โดย: แล้วผู้เสียหายคนไทยล่ะ [1 ก.พ. 53 19:12] ( IP A:58.11.27.99 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ไม่เกี่ยวกัน
โดย: อย่าสับสน [1 ก.พ. 53 19:42] ( IP A:58.8.91.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ไม่เกี่ยวกันก็จริง
แต่เปรียบเทียบกับสิ่งที่คนไข้เรียกร้องให้กระทรวงช่วย
มานานหลายปี ไม่ลงมือช่วยจริงจัง จนทุกวันนี้หลายคดี
ที่ชนะเขาก็อุทธรณ์สู้กับคนไข้ ซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน
แต่..กับต่างชาติ เขาบอกว่าเพื่อมนุษยธรรม
หรือว่าคำว่า "มนุษยธรรม" ไม่มีสำหรับคนไทยด้วยกัน
ตาย พิการ ก็ให้ทำใจเอา ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไม่ดูแล
แต่ทีหมอเสนออะไร ให้หมดทุกอย่าง คนไข้ขอแค่ความเมตตา
ก็ไม่มีให้
โดย: กระทรวงสาธารณทุกข์ [1 ก.พ. 53 22:55] ( IP A:61.90.86.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   เพราะวิชาชีพนี้ เป็นไปด้วย ร่างกายและหัวใจที่ต้องเต็มที่
น่าสงสารวิชาชีพนี้นะ ถ้าประมาท จริง ก็ตรงกันข้าม

อยากให้มีหนังสือเกี่ยวกับ การต่อสู้ ของผู้เสียหาย และ฿฿฿...
ออกมาสู่สายตา ประชาชน เผื่อจะช่วยอะไรได้บ้าง ในสังคม

รวมเรื่อง รวมเล่ม แต่ไม่ทราบข้อเท็จจริง ทำได้หรือไม่ (ไม่มีความรู้ด้านนี้)
โดย: คนดีสังคม [3 ก.พ. 53 10:49] ( IP A:115.67.25.0 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ประธานเครือข่ายฯ เคยเขียนหนังสือชื่อ
"นางปีศาจร้ายในสายตาหมอ" แต่ไม่ได้วางแผงแล้ว
คงพอจะหาได้บ้างลอง search ดูใน google
สะท้อนทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องส่วนรวม
โดย: แนะนำ [3 ก.พ. 53 12:48] ( IP A:58.9.196.201 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   แล้วทำไม กระทรวงถึงชอบบอกคนไข้ ว่า ไม่มีเงินกองทุนช่วยเหลือ
ผู้เสียหาย เวลาจะจ่ายเงินให้ผู้เสียหายชอบอ้างว่าไม่มีกองทุน


มันอยู่ที่ว่ามีแล้วจะมีน้ำใจจ่ายหรือเปล่ามากกว่านะแบบนี้
โดย: จีเอ็น [3 ก.พ. 53 15:23] ( IP A:114.128.42.118 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   อยากให้รวมเล่ม แบบหลายเรื่องราว หลายผู้เสียหาย การต่อสู้แบบสุดไม่....ซึ้ง จะได้ทำให้สังคม ได้มองเห็นอะไรมากกว่านี้นะ

หนังสือที่ว่า.... นี้ เห็นมีที่ร้านขายหนังสือ ร้านอาหารโรงพยาบาลศิริราช หรือบางแห่ง น่าจะมีหลงเหลืออยู่ ถ้าพิมพ์ออกมาอีก คิดว่า คงขายได้อยู่สำหรับคนที่ยังไม่มี ไม่ได้ซื้อ หรือหาไม่ได้
โดย: บอก [4 ก.พ. 53 12:59] ( IP A:111.84.19.244 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   หลายคดีน่าสนใจมาก
แต่ต้องรอศาลฎีกาตัดสินให้จบเสียก่อน
คดีของประธานเครือข่ายฯ ก็คงมีการ rewrite ใหม่
น้อง ๆ นักศึกษาแพทย์หลายคนบอกว่าเปลี่ยนปกก็น่าจะดี
โดย: เล่า [4 ก.พ. 53 19:15] ( IP A:58.9.217.213 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   หลายคดีสัพเพเหระ บางคดี ก็ไร้สาระ สร้างปัญหากันวุ่นวายไปหมด (จำเลยตัวแสบบางคน) โดยคดีหลายคดีน่าจะจบลงโดยเร็ว แต่สู้ยิบตา เหตุ 1 เป็นเพราะพวกนักธุรกิจ หรือบางคน หัวหม..มา ต่อสู้ ยึกยักอยู่นั่น

ทำให้มีคดีในศาลมากมายทวีคูณ ทุกวันนี้ รวมกี่หมื่นคดี สิ้นเปลืองงบประมาณ ภาษี สิ้นเปลืองเวลา ทำให้คดีอื่น ๆ ผู้เสียหายต้องเครียด ครอบครัวเครือญาติเงาตามตัว

พวกคดีที่ผิดไม่ยอมรับผิด สิ้นสุดคดีน่าจะปรับให้หนัก ๆ ลงโทษให้อ่วม ทำให้ประเทศเสียหาย คดีคั่งค้าง และมีส่วนกระทบคดีอื่น ๆ ที่ต้องใช้เวลาและความละเอียดมากกว่า อีกทั้งจำนวนทรัพยากรคุณวุฒิที่มีจำกัด


พวกผิดไม่ยอมรับผิด สู้ยิบตา พวกนี้ ต้องใช้กฎหมายบทลงโทษสูงสุด น่าจะดี อาจทำให้บ้านเมืองเป็นระเบียบมากกว่า จะ...ขอโทษขอออมชอมค่าเสียหายที่น่าจะยอมรับได้ไม่มีหรอก ผู้เสียหายต้องฝัน

ควรต้องเพิ่มโทษทั้งอัตราดอกเบี้ย บทลงโทษที่รุนแรง หากพินิจพิเคราะห์ได้ว่า ตอแห...เก่ง แต่ถูกจับได้ เพราะความเท็จ ท้ายที่สุด จะได้เป็นเยี่ยงอย่าง
โดย: (มนุษยธรรมตกต่ำ) [5 ก.พ. 53 17:57] ( IP A:115.67.123.223 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   มีปัญหาตรงที่ หลายเคสไปตกอยู่ในมือของคนกลางที่มีลูกเป็นหมอ
แล้วมีอคติต่อผู้เสียหายอย่างมาก ไม่บันทึก ชอบดุเสียงดัง อะไร ๆ
ก็ไม่พอใจเหมือนอารมณ์เสียมาจากไหน แล้วมาลงกับคนไข้ที่เขาเสีย
หาย ผู้เสียหายกลัวซะตัวลีบ ไม่กล้าเถียง กล้วละเมิดอำนาจ
ยิ่งร้องเรียนยิ่งโดนหนัก
โดย: เสียหาย แล้วยังมาเจอแบบนี้อีก [8 ก.พ. 53] ( IP A:58.9.197.104 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
    ถ้าเป็นเช่นนี้จริง

ก็แย่ มาก แย่ตรงที่ใครต้องไปเจอสภาพนั้นนะ
โดย: น่าสงสาร [10 ก.พ. 53] ( IP A:115.67.15.102 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน