หมอหลักสูตรอินเตอร์
   **แพทยสภาเตรียมถกร่างหลักสูตรหมออินเตอร์ มศว 11 ก.พ.นี้
5 กุมภาพันธ์ 2553 16:20 น.


แพทยสภาเตรียมถกร่างหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ ของมศว 11 ก.พ.นี้ ชี้เปิดสอนแพทย์แบบอินเตอร์เคยใช้ที่รามาธิบดีมาแล้วไม่ใช่เรื่องใหม่ ขณะที่อาจารย์ มศว ยัน ต้องทบทวนมติการอนุมัติหลักสูตร เพราะไม่ใช่หน้าที่แพทยสภา อัดไม่เข้าใจคำว่านโยบายสาธารณะ

เมื่อวันที่ 5 ก.พ. กลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว) กลุ่มที่คัดค้านการเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ นำโดย นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม ผศ.นพ.วิชิต ลีละศิธร ภาควิชารังสีวิทยา ผศ.พญ.สมัญญา ทิศาวิภาต ภาควิชาวิสัญญีวิทยา และผศ.นพ.ชัยพฤกษ์ กุสุมาพรรณโญ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา เดินทางเข้าพบ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ที่เรียกพบเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว


นพ.สุธีร์ กล่าวว่า แพทยสภา เชิญมาหารือถึงการคัดค้านการอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ มศว ที่เสนอเมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยแพทยสภาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหลักสูตรโปรแกรมภาษาอังกฤษ รวมทั้งยังมีเงื่อนไขว่าผู้เรียนต้องมีสัญชาติไทยและต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุน ซึ่งเป็นเพียงการลดแรงต้านจากสาธารณะ แต่ความเป็นจริงไม่แตกต่างนัก ที่สำคัญการอนุมัติหลักสูตรครั้งนี้เท่ากับเป็นการอนุมัติเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายนโยบายของประเทศ ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบอยู่แล้ว ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของแพทยสภา ที่มีหน้าที่เพียงการอนุมัติเพื่อกำกับควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน เป็นการทำงานที่ผิดหน้าที่ และไม่เข้าใจคำว่านโยบายสาธารณะ

“พวกผมได้เสนอข้อเรียกร้องต่อแพทยสภา 2 ข้อ คือ ขอให้แพทยสภาทบทวนและยกเลิกมติเรื่องอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว และ ขอให้แพทยสภาเสนอเรื่องต่อฝ่ายนโยบาย คือ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และที่ประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เพื่อให้ศึกษาวิจัยผลกระทบอันเกิดจากนโยบายสาธารณะนี้ และเร่งประชุมหารือให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนจะมีการอนุมัติใดๆ ของแพทยสภาเกี่ยวกับหลักสูตรแพทยบัณฑิตนานาชาติหรือภาษาอังกฤษต่อไป” นพ.สุธีร์ กล่าว

นพ.สุธีร์ กล่าวอีกว่า หากไม่มีการศึกษาเชิงนโยบายก่อนอาจเกิดปัญหาต่อระบบการบริการของผู้ป่วยของประเทศได้ โดยเฉพาะในภาวะที่มีแนวคิดเมดิคัล ฮับ หรือ ศูนย์กลางทางด้านสุขภาพแห่งเอเชีย ซึ่งกำลังได้รับการตอบสนองโดยภาครัฐและเอกชน แต่หลักสูตรนี้จะยิ่งส่งผลทางลบต่อระบบการบริการและการผลิตแพทย์ เนื่องจากปกติก็มีการไหลออกของแพทย์จากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชนอยู่แล้ว ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะยิ่งสร้างปัญหาขึ้น

ด้านนพ.สมศักดิ์ กล่าวภายหลังการหารือ ว่า ในวันที่ 11ก.พ.นี้จะนำเรื่อง ที่กลุ่มคณาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ มศว คัดค้านร่างหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาคภาษาอังกฤษ เข้าที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา เป็นวาระเร่งด่วน พร้อมย้ำว่าการจัดทำหลักสูตรมุ่งหวังการพัฒนาการแพทย์และทักษะด้านภาษา และไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในอดีตที่การเรียนการสอนของคณะแพทย์ฯ รพ.รามาธิบดีก็เคยมีการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เชื่อเป็นผลดีกับนักศึกษาแพทย์ไทย ไม่ต้องไปเรียนต่างประเทศ และเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียน 2 ภาษา หรือโรงเรียนนานาชาติในไทย ที่มีความสามารถ ต้องการเรียนแพทย์ สามารถสานฝัน เรียนต่อคณะแพทยศาสตร์ในไทยได้โดยไม่ต้องไปศึกษาต่อต่างประเทศ และทำงานต่างประเทศ ทำให้สูญเสียทรัพยากรบุคคลาที่มีความสามารถ

“ หลักสูตรที่จะเปิด รับเฉพาะเด็กไทยไม่ใช่ต่างชาติ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่า เป็นการผลิตแพทย์ชาวต่างชาติ ส่วนการแก้ไขปัญหาบุคลากรแพทย์ในระบบไหลออกไปภาคเอกชนนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องแก้ไข เพิ่มการดูแลรักษาแพทย์ให้คงไว้ในระบบ ซึ่งปัจจุบันก็พบว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น”นพ.สมศักดิ์ กล่าว
โดย: ผมไม่เห็นด้วยเท่าไหร่ [5 ก.พ. 53 19:22] ( IP A:58.8.10.106 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ผมว่าวงการแพทย์เราปัญญาอ่อน
เราหาเงินจากฝรั่งโดยการรักษาโรคได้ ทำไมเราจะหาเงินจากการสอนแพทย์ไม่ได้ ทั้งๆที่แพทย์เมืองนอกขาดแคลนทุกประเทศ ค่าเรียนแพง โรงพยาบาลเรามีทั่วประเทศ ศักยภาพสอนแพทย์ได้
เราควรเปิดหลักสูตรอินเตอร์ ไม่ใช่หลักสูตร์ภาษาอังกฤษ ใครจะต่อต้านช่าง แม่มัน
การเปิดเรียนหลักสูตรอินเตอร์ไม่ใช่ยาก
1 ตำราทุกชนิดไม่ต้องแต่ง มันมีอยู่แล้ว สบายไปอย่างแล้ว
2 คนสอน ก็จ้างฝรั่งที่แต่งตำราเล็กเช่อร์ ออนไลน์
3 ทำแต่การสอบ และการสอนในโรงพยาบาลซึ่งก็ไม่ใช่ยาก โรงพยาบาลไหนสอนแล้วเด็กผ่าน ก็ให้ค่าแรงแพง สอนแล้วสอบตกก็ให้ค่าแรงน้อยๆ
แบบนี้จะมีคนเรียนทั่วโลกมากมาย ที่เขามีศักยภาพเรียนจบ เขาก็มาเรียน(ราคามันถูก)
รับแต่คนไทย ก็ชิบหายกันพอดี รับครึ่งๆซิ คนไทยครึ่งหนึ่ง ฝรั่งครึ่งหนึ่ง เอาซักหมื่นคน เก็บคนละ 5 แสน ก็ได้ 5 พันล้าน
โดย: อย่าเป็นอีแอบ กล้าๆหน่อย [5 ก.พ. 53 19:27] ( IP A:58.8.10.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ผมไปเรียนกฎหมาย ที่รามคำแหง และมสธ เรียนกับเด็ก ไม่กล้าเรียนภาคพิเศษ เดี๋ยวเขาว่าเอาเงินฟาดหัวได้ปริญญามา
ผมมีศักยภาพเรียนอะไรก็เรียนจบ
ในโลกนี้มีคนแบบผมเป็นล้านๆ ถ้าเขาอยากเรียนแพทย์เขาก็เรียนจบ เช่นพวกจบวิทยาศาสตร์ชีวภาพทั้งหลาย ตั้งแต่ชีวเคมี ชีววิทยา สรีรวิทยา กายวิภาค พยาบาลฯลฯ พวกนี้เรียนแพทย์จบได้ทุกคน
ถ้าคิดเขาปีละ แสนเขาน่าจะเรียนได้
ผมเคยพูดกับเพื่อนเวลานั่งกินเหล้า บอกอยากเป็นอธิการ มสธ
จะเปิดแม่งออนไลน์ทุกวิชา
ตำราไม่ต้องแต่ง ใช้ของฝรั่งมันมีทุกวิชา
อาจารย์ไม่ต้อง ใช้คนที่แต่งตำราจ้างมันเล็กเช่อร์ชั่วโมงละ 5 ล้าน
ออนไลน์เก็บไว้
ทำแต่ข้อสอบและประเมินผล ให้สอบได้ออนไลน์ทุกวัน สอบตกพรุ่งนี้สอบใหม่ได้ สอบจากโง่ไม่รู้เรื่องจนสอบได้ก็แล้วกัน
เก็บคนละ 5 หมื่น ต่อปี มีคนเรียนสัก 2 ล้านคน ก็ได้แสนล้าน
นักเรียน 2 ล้านนี้กะว่าจะจบได้สัก 1 ล้านคน (คนมาเรียนมันพวกมีศักยภาพ เรียนจบแน่)
คิดดูว่าจะเป็นไง หาก มสธ หาเงินได้ปีละ แสนล้าน
คนไทยอยากเรียนก็ได้หลักสูตร์อินเตอร์ แต่จ่ายแพงนะราคาต้องเท่ากัน ไม่งั้นไม่แฟร์
โดย: ฟฟ [5 ก.พ. 53 19:35] ( IP A:58.8.10.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   วันที่ 04 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เวลา 14:26:55 น. มติชนออนไลน์
หมอชนบทออกแถลงการณ์ต้านมศว.เปิดหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษ ชี้ส่งผลขาดหมอในท้องถิ่น


แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
ต่อกรณี มศว.จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ
อันจะส่งผลในทางลบต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท


วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553

โดยนายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท







สืบเนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความพยายามที่จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ โดยให้เหตุผลเพื่อให้การแพทย์ไทยสามารถก้าวทันกระแสโลกได้ โดยได้ผลักดันผ่านสภามหาวิทยาลัยไปแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากแพทยสภา ซึ่งหากอนุมัติก็จะสามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ในปีการศึกษา 2553 นี้



ท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และความคลุมเครือไม่ชัดเจนต่อนโยบายการผลิตแพทย์นานาชาติของประเทศไทย ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมาแพทยสภาก็ได้อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นที่เรียบร้อยอย่างเงียบ ๆ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 และจะมีการรับรองมติการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์2553 นี้ โดยมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากหลักสูตรนานาชาติมาเป็นหลักสูตรโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English program) เพื่อลดแรงต้านจากสาธารณะ อย่างไรก็ตาม หลักสูตรนี้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายการผลิตบัณฑิตแพทย์ในสถาบันของรัฐของประเทศไทย



แม้ว่าในเบื้องต้นหลักสูตรดังกล่าวจะระบุว่าผลิตบัณฑิตแพทย์เพียงแค่ปีละ 20 คน รับเฉพาะสัญชาติไทย เรียนจบต้องใช้ทุน 3 ปี เช่นเดียวกับแพทย์ในหลักสูตรอื่น อย่างไรก็ตามด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนต่อปีของหลักสูตรนี้ที่มีราคาสูงถึงคนละ 1.2 ล้านบาทต่อปี ตลอด 6 ปีต้องใช้เงินเป็นค่าเล่าเรียนกว่า 7.2 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งย่อมจะสะท้อนให้เห็นว่า หลักสูตรนี้จะมีก็แต่ลูกหลานของคนมีเงินเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าเรียนได้



ประกอบกับมาตรการปกติในปัจจุบันที่บังคับให้ใช้ทุน 3 ปีนั้น หากบัณฑิตแพทย์คนใดไม่ประสงค์จะใช้ทุน ก็สามารถใช้เงินเพียง 4 แสนบาทเท่านั้น จ่ายคืนรัฐบาลเป็นการชดใช้ทุนแทน ซึ่งคิดเป็นปริมาณเงินที่จ่ายเพื่อที่จะไม่ต้องใช้ทุนเพียง 5% ของค่าเทอมตลอดหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้เท่านั้น ซึ่งก็พอจะทำนายได้ว่า ยากที่บัณฑิตแพทย์ที่พ่อแม่ผู้มีอันจะกินลงทุนลงเงินมามากขนาดนี้จะให้ลูกหลานบัณฑิตแพทย์ไปใช้ทุนยังโรงพยาบาลที่มีความขาดแคลนในชนบท ใช้เงินอีกเพียง 4 แสนบาทในการชดใช้ทุนแทนการออกไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากเย็นเลย



และที่สำคัญกว่านั้น การผลิตบัณฑิตแพทย์ด้วยการเก็บค่าเทอมสูงถึง 1.2 ล้านบาท/ปีนั้น เป็นเงินที่สูงมากนั้น น่าจะเป็นการมุ่งเน้นการทำรายได้ให้กับคณะและผู้บริหารของคณะมากกว่าที่จะเกิดประโยชน์ใดๆกับสังคมไทย การเรียนแพทย์ต้องมีการฝึกเย็บแผลผ่าตัดจริงกับผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่มาเป็นเสมือนผู้เสียสละให้นักศึกษาแพทย์ฝึกฝนความเชี่ยวชาญ จนเมื่อเก่งแล้วจบการศึกษาแล้วก็หวังว่าจะได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนธรรมดาต่อไป แต่การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษครั้งนี้ กลับเป็นการตอบสนองกระแสการผลิตแพทย์เพื่อการพานิชย์อย่างชัดเจน



มศว.เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นองค์กรที่ควรจะเป็นแบบอย่างในการผลิตแพทย์เพื่อดูแลคนไทย โดยเฉพาะคนไทยในชนบทที่ยังขาดแคลนแพทย์อยู่อีกมาก มศว.มิต้องเป็นห่วงการแพทย์เชิงพานิชย์ว่าจะไม่มีแพทย์ที่เก่งภาษาอังกฤษมาเข้าสู่ระบบ เพราะสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มีภาวะสมองไหลจากชนบทสู่เมือง จากโรงพยาบาลรัฐสู่โรงพยาบาลเอกชน และจากประเทศไทยสู่ประเทศตะวันตกอยู่แล้ว โดยที่มีต้องไปผลิตแพทย์เป็นการเฉพาะเพื่อป้อนตลาดระดับบน


มศว.ในอดีตได้ผลิตแพทย์ที่มีอุดมการณ์ในการดูแลประชาชนในชนบทอย่างทุ่มเทหลายคน ที่โดดเด่นมากคือ นายแพทย์วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ แพทย์มศว.รุ่น 1 ซึ่งจบแล้วก็อาสาไปทำงานดูแลประชาชนที่ยากไร้ในพื้นที่ชายแดนที่กันดารที่วสุดที่โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี นี่คือต้นแบบและภารกิจที่ คณะแพทย์ มศว. ควรทำมากกว่าหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการตอบสนองความต้องการของสังคมไทย



ชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่า การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษดังกล่าว มีความรีบเร่งในการอนุมัติหลักสูตรโดยขาดความรอบคอบและขาดการตรวจสอบจากสาธารณะถึงข้อดีข้อเสียอย่างถี่ถ้วน การผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์นั้นจะส่งผลในเชิงลบต่อระบบการกระจายแพทย์ในระยะยาว และการอนุมัติในครั้งนี้จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยอื่นๆเอาเป็นแบบอย่างได้ จนเชื่อว่าจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ต่อไปในอนาคตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของรัฐอาจสนใจผลิตแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษมากกว่าหลักสูตรปกติก็เป็นได้ เพราะมีผลประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยมากกว่าหลักสูตรการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนค่าเทอมเพียงปีละ 3 แสนบาทเท่านั้น


ชมรมแพทย์ชนบทขอเชิญชวนคณาจารย์ชาวศรีนครินทรวิโรฒ ศิษย์เก่าของ คณะแพทย์ มศว. รวมทั้งนิสิตแพทย์ทุกคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการตัดสินใจที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนน้อยในครั้งนี้ และขอเชิญร่วมชื่นชมและเป็นกำลังใจกับอาจารย์ 6 ท่านที่กล้าออกมาสะท้อนความไม่ชอบธรรมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ


ดังนั้นชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ทบทวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้ และขอให้แพทยสภายุติการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในระยะยาว


วันนี้แพทยสภามีแนวทางในการแก้ปัญหาสมองไหลจากชนบทสู่เมือง และการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างไร สิ่งนี้คือภารกิจของแพทยสภามากกว่าการไปผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์อย่างเช่นหลักสูตรนี้
โดย: อันนี้ผมก็ไม่เห็นด้วย [5 ก.พ. 53 20:04] ( IP A:58.8.10.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ผมเห็นว่า แพทยสภามีหน้าที่เพียงอนุมัติหลักสูตร์ และสอบวัดผล
ส่วนใครจะเปิดสอน เปิดติว ไม่ใช่หน้าที่
สมัยก่อนมีหลักสูตรอะไร ก็เห็นเป้นหมอดีดีกันมากมาย
หลักสูตรเข้มมากมันก็ฆ่าตัวเอง ชาติไม่พัฒนา
สมัยก่อนก็ว่าโรงเรียนแพทย์ ตจว มันจะไหวหรือ
โดย: ฟฟ [5 ก.พ. 53 20:06] ( IP A:58.8.10.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ก็มันมีเบื้องหลังกันอยู่มังครับ ตอนอนุมัติหลักสูตรใครได้รับเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนอะไรบ้างหรือเปล่า
โดย: เจ้าบ้าน [7 ก.พ. 53 23:25] ( IP A:124.121.144.90 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   กลียุคแบบนี้ มือใครยาวสาวได้สาวเอา
ไม่มีใครสนใจแก้ไขปัญหาเรื้อรัง มันไม่ได้ตังค์
คงรีบหาเงินใช้ ก่อนโลกจะแตก
โดย: พวกหน้ามืดตามัว แต่ดันมีอำนาจใครเลือกมันฟะ [8 ก.พ. 53] ( IP A:58.9.197.104 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ผมว่านะ งานนี้มีผลประโยชน์แอบแฝงเฉพาะกลุ่มอยู่มากมายเหลือคณา โดยเฉพาะกับแนวร่วมกลุ่มเมดิคอลฮับสามาน

เหตุผลของกลุ่มแพทย์ชนบทที่ออกมาคัดค้าน มีน้ำหนักเต็มเนื้อเลย

เหตุผลของนายกฯแพทยสภาเนี่ย อ่อนหัดมากๆเลยเมื่อเทียบกับผลประโยชน์สาธารณะทางการสาธารณสุขของประเทศไทยนี้ ไม่สมกับที่อุตส่าห์ได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปจบแพทย์มาจากเมืองนอกเมืองนาเล้ย

หลักสูตรแพทย์อินตงอินเตอร์เนี่ย ลงทุนไป 5-6 ปีปีละกว่าหนึ่งล้านบาท
ถามตาสีตาสาที่สติดีทั้งหลาย ก็ต้องพากันตั้งเป้าว่า ลงทุนแล้วก็ต้องถอนทุนคืนแหงๆอยู่แล้ว หมอที่จบหลักสูตรราคาแพงระยับแบบนี้ ขืนจบมาแล้วคงรับอาสาไปอยู่โรงพยาบาลชุมชน ไม่โง่ก็คงเสียจริตไปแล้ว หมอแบบนี้ ถ้าพ่อแม่ไม่ใช่พระใช่ชีที่ถือศีลมาก่อน ที่มีประวัติเสียสละเพื่อสังคมมา สอนลูกหลานให้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม

รับรองว่าผมไม่เอาชีวิตไปฝากไว้กับหมอที่จบในหลักสูตรนี้ แล้วยังอาสาไปใช้ทุนคืนตามบ้านนอกอีก

เฮ้อ ท่านนายกฯ + ท่านเลียขาฯ น่ะ พวกท่านกรรมการแพทยสภาทั้งก๊กทั้งแก๊งค์นั่นน่ะ แค่ทำงานในหน้าที่ที่กฎหมายนี้กำหนดให้น่ะ

ทำได้ดีครบถ้วนหรือยัง ????!!!!!

ไอ้พวกแผลทุจริตที่ทำไว้เป็นสิบปี กับคนเป็นร้อยเป็นพันคนน่ะ

กลบเกลื่อนหรือทำลายหลักฐานเอกสารจนสิ้นตอสิ้นใยให้สาวได้หมดหรือยัง?????

เฮ้อ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [10 ก.พ. 53 8:13] ( IP A:58.8.101.227 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   

เดี๋ยวนี้มี มหาวิทยาลัย เปิดระบบอินเตอร์ เยอะมากๆๆ

อย่าง จุฬาฯ ตอนนี้มีเกือบ 10 คะแนน หากเพื่อนคนไหนสนใจลองเข้าไปดูนะ

bascii chula

JIPP CU

CommArts CU

BALAC CU

BSAC CU

INDA CU

CommDe CHULA

ISE CU

BBA Chula

EBA CU

 

โดย: เข็ม [6 พ.ค. 62 11:20] ( IP A:171.96.191.66 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน