ความคิดเห็นที่ 1 **จี้แก้กฎหมาย รุกแพทยสภาต้องมีคนนอกเป็นกรรมการ รับไม่ได้รับรองหลักสูตรให้ มศว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 กุมภาพันธ์ 2553 18:45 น. เอ็นจีโอร้อง สธ.แก้กฎหมาย รุกถึงเวลาต้องมีตัวแทนบุคลคลภายนอกนั่งเป็นบอร์ดแพทยสภา เหตุแพทย์ขาดความเข้าใจสังคม เอื้อประโยชน์โรงพยาบาลเอกชน โดยเฉพาะคณะกรรมการที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารของโรงพยาบาลเอกชนเป็นกรรมการตัดสินใจมีผลประโยชน์ขัดแย้ง ยกกรณีหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษเป็นตัวอย่าง ลั่นรับไม่ได้ตอบสนองโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของอาเซียน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัด ใน 46 จังหวัด เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมเพื่อนโรคไต คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สมาคมผู้บริโภคขอนแก่น สมาคมผู้บริโภคสงขลา กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ไขกฎหมายประกอบวิชาชีพเวชกรรม พศ. 2525 ให้คณะกรรมการแพทยสภามีบุคคลภายนอก ดังเช่นกรรมการแพทยสภาในหลายประเทศที่มีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์เป็นกรรมการ เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ แคนาดา อินโดนีเซีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ มาลาวี อังกฤษและสิงคโปร์ที่มีกรรมการบุคคลภายนอกมากถึงร้อยละ 50 เนื่องจากการตัดสินใจของแพทยสภาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสังคม กระทบต่อสาธารณะเกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุขที่เป็นบริการจำเป็นพื้นฐานของทุกคน ดังนั้นจึงต้องโปร่งใส มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และมีผู้มีส่วนได้เสียร่วมพิจารณา จากกรณีที่แพทยสภาได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาษาอังกฤษ (English program) ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าเป็นหลักสูตรที่ก่อให้เกิดประโยชน์ และไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติ เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะจำนวนอาจารย์แพทย์ ไม่ได้เพิ่มขึ้น ทุกอย่างเท่าเดิม แต่เมื่อมีผู้เรียนมากขึ้นแถมยังกำหนดให้ได้เรียนกับอาจารย์ตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เป็นการเปิดโอกาสให้กับคนรวยเท่านั้น เพราะใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 ล้านบาทในการเรียนแพทย์หลักสูตรนี้ ดังนั้นกระทบกับหลักสูตรปกติที่ให้โอกาสทุกคนในการเข้าเรียนแน่นอน ซึ่งการผลิตแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษนี้ หากพิจารณาให้ดีก็เหมือนการเตรียมการตอบสนองโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของอาเซียน (Medical Hub) น.ส.สารีกล่าว น.ส.สารรี กล่าวต่อว่า การอ้างว่าคณะที่จะดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรได้จะต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยของตน ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของแพทยสภา เป็นการปัดความรับผิดชอบ เพราะแพทยสภาควรเสนอให้คณะแพทย์ มศว ขอความเห็นชอบหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยก่อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการเรียน รวมถึงละเอียดเรื่อง ค่าเทอม การจัดการและความพร้อม ตลอดจนกำหนดการเปิดรับนักศึกษาเป็นต้น ไม่ใช่ทำผิดขั้นตอนโดยเห็นชอบข้อเสนอจากคณะแพทย์โดยตรงทั้งที่ยังไม่ผ่านสภามหาวิทยาลัย น.ส.สารี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ตาม มาตรา 7 (5) แพทยสภามีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำแก่รัฐในประเด็นสุขภาพและปัญหาทางการแพทย์ ดังนั้นการให้ข่าวของแพทยสภาที่อ้างว่า แพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในด้านนโยบายเมดิคอลฮับ (medical hub) และแพทย์ต่างชาติ (อินเตอร์) นั้น เพราะเป็นเรื่องของนโยบายประเทศ เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและหน่วยกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นจริง เพราะแพทยสภามีหน้าที่โดยตรงในการให้คำแนะนำเรื่องนี้ และสะท้อนให้เห็นว่า การตัดสินใจขาดความเข้าใจวัตถุประสงค์ของตนเองและขัดต่อกระบวนการที่ดีในการตัดสินใจทางนโยบายที่ส่งผลต่อผู้ใช้บริการสาธารณสุข ผลประโยชน์สาธารณะ ตัดสินใจโดยไม่รับฟังความเห็นผู้แทนผู้บริโภค ผู้ป่วยตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 61 ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม และกระทบต่อการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติ หากแพทยสภามีหน้าที่รับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของแพทยสภาเพื่อให้มีสิทธิสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น น่าจะผิดวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งเพราะกระทำการไม่ต่างจากการอนุญาตสอบใบขับขี่รถยนต์ | โดย: aa [14 ก.พ. 53 19:31] ( IP A:58.8.6.10 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 ภรรยาเป็นหมอ ที่มีเมตตา ช่วยรักษาพยาบาลทั้งไทยและเทศ จนเป็นที่เคารพนับถือและยกย่องว่าใจบุญมาหลายปี แต่ภรรยายังต้องจ่ายค่าประกันสำหรับช่วยจ่ายเงินในยามที่มีคนใข้มาฟ้องศาล ซึ่งก็เป็นจำนวน เงินที่เยอะมาก แต่โชคดีสุดที่ยังไม่มีคนใข้มาฟ้องจนบัดนี้ ถึงอย่างไรเขาก็ไม่ประมาท ผมคิดว่าภรรยาทำทุกอย่างดีที่สุดเพื่อคนใข้ หวังว่าทุกคนควรยอมรับว่าการผิดพลาดเป็นสามัญของมนุษย์ ไม่มีหมอคนใหนอยากจะรักษาคนใข้ผิดพลาดหรอกครับ วิศวกร ผมไม่เชื่อคุณ ผมว่าคุณโกหก มีอย่างที่ไหน รักษาทั้งไทยและเทศ มีคนยกย่องว่าใจบุญ แบบนี้มันทำงานหลวง จะไปทำประกันทำไม ฟ้องหมอของหลวงไม่ได้อยู่แล้ว ลักษณะโกหกเรียกร้องความเห็นใจ ถ้าอยู่เอกชนว่าไปอย่าง ต้องทำประกัน ร้อยหนึ่งแค่ 3-5 บาท คนไข้จ่ายจะโวยทำไม เศษเงิน คนไข้เขาจ่ายได้ | โดย: จับโกหก [15 ก.พ. 53 4:32] ( IP A:58.8.6.10 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัด ใน 46 จังหวัด เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมเพื่อนโรคไต คณะกรรมการองค์กรพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา สมาคมผู้บริโภคขอนแก่น สมาคมผู้บริโภคสงขลา กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ไขกฎหมายประกอบวิชาชีพเวชกรรม พศ. 2525 ให้คณะกรรมการแพทยสภามีบุคคลภายนอก ดังเช่นกรรมการแพทยสภาในหลายประเทศที่มีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์เป็นกรรมการ เช่น ประเทศนิวซีแลนด์ แคนาดา อินโดนีเซีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ มาลาวี อังกฤษและสิงคโปร์ที่มีกรรมการบุคคลภายนอกมากถึงร้อยละ 50 เนื่องจากการตัดสินใจของแพทยสภาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสังคม กระทบต่อสาธารณะเกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุขที่เป็นบริการจำเป็นพื้นฐานของทุกคน ดังนั้นจึงต้องโปร่งใส มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และมีผู้มีส่วนได้เสียร่วมพิจารณา
ข้อความข่าวนี้ เห็นด้วยอย่างแรง และคิดว่า ประชาชนทั่วประเทศ หากลงมติแล้ว คาดว่า น่าจะได้คะแนนมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ ขึ้นไป | โดย: ชัดเจน [15 ก.พ. 53 9:26] ( IP A:115.67.50.234 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 ร่วมกันออกแถลงการณ์ เรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ไขกฎหมายประกอบวิชาชีพเวชกรรม พศ. 2525 ให้คณะกรรมการแพทยสภามีบุคคลภายนอก ดังเช่นกรรมการแพทยสภาในหลายประเทศที่มีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์เป็นกรรมการ เช่น ประเทศ นิวซีแลนด์ แคนาดา อินโดนีเซีย ฮ่องกง ออสเตรเลีย ไอซ์แลนด์ มาลาวี อังกฤษและสิงคโปร์ ที่มีกรรมการบุคคลภายนอกมากถึงร้อยละ 50 เนื่องจากการตัดสินใจของแพทยสภาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสังคม กระทบต่อสาธารณะเกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุขที่เป็นบริการจำเป็นพื้นฐานของทุกคน ดังนั้นจึงต้องโปร่งใส มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และมีผู้มีส่วนได้เสียร่วมพิจารณา | โดย: อีกขั้น [16 ก.พ. 53 20:49] ( IP A:111.84.107.109 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 อีกหน่อยมี พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เราก็ไม่ให้ความสำคัญกับแพทยสภาอีก ปล่อยให้เขาเข้าข้างกันต่อไป แต่.... จะว่าไป...นานวันเข้า ต้องมีคนนอก จะเป็นเหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน ทำอะไรตามใจแบบทุกวันนี้ คงไม่ได้ อย่างน้อยแพทย์ดี ๆ รุ่นใหม่เขาก็คงรัรบไม่ได้กับ วิธีหน้าด้าน ๆ แบบนี้ไม่ได้เช่นกัน | โดย: แพทยสภาบางคนหน้าด้าน [17 ก.พ. 53 8:39] ( IP A:58.9.218.146 X: ) |  |
|