นักเรียนแพทย์ตีแผ่ขยะใต้พรมวงการหมอ
   นักเรียนแพทย์ตีแผ่ขยะใต้พรมวงการหมอ

โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
...ชนิกานต์ กาญจนสาลี

ในขณะที่แพทย์รุ่นใหญ่กำลังระเบิดศึกถกเถียง ตั้งคำถามถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท รวมถึงความจำเป็นในการเปิดหลักสูตรแพทย์นานาชาติ รวมถึงการเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ (English Program)ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ซึ่งแพทยสภาเพิ่งมีมติให้การรับรองไปเมื่อไม่นานมานี้
คำถามที่ตามมาก็คือ ทางออกดังกล่าวใช่ทางออกที่แท้จริงหรือไม่
ปัจจุบันตัวเลขจากสำนักงานเลขาธิการแพทยสภาระบุว่า ในปี 2552 มีแพทย์ทั้งประเทศ 3.9 หมื่นคนทำงานอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ ถึง 1.5 หมื่นคน กระจายไปอยู่อีก 75 จังหวัด เพียง 2 หมื่นคนเท่านั้น ในขณะที่มีแพทย์ที่อยู่ต่างประเทศ 492 คน และมีแพทย์ที่ไม่ทราบที่อยู่อีกกว่า 1,334 คน
นักศึกษาแพทย์ถือเป็นกลุ่ม "พลังเงียบ"ที่กำลังเฝ้ามองการปะทะกันทางความคิดของแพทย์ผู้รู้ทั้งสองฝ่าย มีมุมแย้งที่ผู้ใหญ่ควรรับฟัง
นิธิวัชร์ แสงเรืองนักศึกษาแพทย์ (นศพ.) ชั้นปี5 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล สะท้อนมุมมองต่อการเปิดหลักสูตรแพทย์ว่า การรับนักเรียนแพทย์ในปัจจุบันผิดพลาดมาตั้งแต่ต้น เพราะเน้นการแข่งขัน รับแต่เด็กเก่ง โอกาสจึงเปิดให้แต่เด็กในเมืองใหญ่เท่านั้น ซึ่งธรรมชาติของเด็กเก่งและต้นทุนดีเหล่านี้ เมื่อเรียนจบรัฐบาลมักไม่สามารถควบคุมให้อยู่ใช้ทุน 3 ปีตามกำหนดได้ แม้ว่าโรงพยาบาลเหล่านี้จะขาดแคลนหมอมากแค่ไหนก็ตาม
"มีหลายเหตุผลที่หมอจะไม่อยู่โรงพยาบาลชุมชนรุ่นพี่บอกกันว่า เพราะหมอไม่ใช่คนท้องถิ่น เมื่อเรียนจบแล้วส่วนใหญ่ก็อยากกลับไปบ้านเกิดมากกว่า ซึ่งก็อยู่ในกรุงเทพฯ กันไม่น้อย อีกส่วนคือเพื่อครอบครัวโดยหมอมักเห็นว่าลูกพวกเขาต้องมาเรียนโรงเรียนประจำ อำเภอ ประจำจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มักสอบเอนท์เป็นหมอก็ไม่ได้ พวกเขาก็จำเป็นต้องย้ายตัวเองและครอบครัวมาอยู่ในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ๆ ปัจจัยสุดท้ายก็คือ เงินก็มีส่วน และยังมีบางส่วนไม่สนใจเรื่องเงินมาก แต่ไม่อยากทำงานหนักมาก" ว่าที่หมอหนุ่มประมวลเหตุผลที่หมอชนบทขาดแคลน
แน่นอนว่า สำหรับนักเรียนแพทย์ผู้นี้ เขาเห็นด้วยว่า การเรียนแพทย์จะต้องนำคนท้องถิ่นมาเรียน เพื่อรับใช้บ้านเกิดตัวเองเป็นสำคัญ เพราะเมื่อหมอเหล่านี้เรียนจบแล้วก็จะไม่ไปไหน นอกจากไปอยู่กับเครือญาติในถิ่นฐานของตัวเองเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น และหลักสูตรที่สำคัญที่หมอควรเรียนกันให้มากขึ้นคือ "หลักสูตรเวชศาสตร์ครอบครัว" เพราะเป็นเรื่องของสภาพการรักษาโรคเรื้อรัง อย่างเบาหวาน ความดัน หัวใจ ที่กำลังเพิ่มขึ้นมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่เรื่องจริงกลับมีผู้เรียนลดลงเรื่อยๆ
โดยเฉพาะสถานการณ์ล่าสุด ที่แพทยสภาอนุมัติรับรองการเปิดหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ภาษาอังกฤษ เขาเชื่อว่า ยิ่งจะกลายเป็นการเปิดช่องว่างให้เด็กเก่ง และมีฐานะการเงินระดับต้นๆ ในสังคมเข้าเป็นแพทย์ได้มากขึ้น เพราะคณะที่ว่ามีค่าเทอมถึงปีละ1.2 ล้านบาท รวม 6 ปี ประมาณ 7 ล้านบาท แม้จะกำหนดข้อบังคับไว้ว่าต้องใช้ทุน 3 ปี แต่แพทย์หน้าใหม่จากหลักสูตรฟุด ฟิด ไฟ รุ่นนี้ ย่อมไม่มีใครออกมาใช้ทุน 3 ปีอย่างแน่นอน
"มันคอมมอนเซนส์ครับ เป็นเรื่องการลงทุนเปรียบเทียบกับพวกผม ผมเรียนด้วยค่าเทอมปีละ8,000-1 หมื่นบาท ส่วนเขาลงทุนไปขนาดนั้นเรื่องอะไรจะมายอมเป็นแพทย์ในชนบท สู้ยอมจ่ายอีก 4 แสน เร่งไปเรียนต่อเป็นแพทย์เฉพาะทางเลยอีก 3-4 ปีก็จบ หรืออาจจะไหลไปเป็นหมอเมืองนอกเลยก็ยังได้ดีกว่าจะเสียเวลาอีก 3 ปี เรื่องนี้ผมว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวกับเมดิคอล ฮับ ที่มีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกันอยู่ ผมไม่เข้าใจว่าแพทยสภากำหนดเรื่องการใช้ทุนมาตั้งแต่20 ปีแล้ว ทำไมไม่ยอมเพิ่มปรับเลย"
ว่าที่หมอหนุ่มยังบอกด้วยว่า เท่าที่คุยกันกับเพื่อนๆพบว่า มีนักเรียนแพทย์ประมาณ 20% ที่เรียนจบแล้วยอมเสียค่าใช้ทุน 4 แสนบาท จากนั้นหลุดจากแพทย์ทุนหลวงโบยบินติดปีกเป็นอิสระ ทั้งที่ขั้นตอนการเรียนจบแพทย์ 6 ปี ใช้ทุนในโรงพยาบาลจังหวัด 1 ปี และต่อด้วยโรงพยาบาลอำเภอ หรือในชุมชนอีก 2 ปี ไม่ได้เป็นเรื่องยากลำบากเกินทน ตรงกันข้ามกลับเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ในเชิงวิชาชีพมากกว่า
"ผมมองว่าเดี๋ยวนี้นักเรียนแพทย์ไม่ได้รับการปลูกฝังเรื่องการไปทำงานเพื่อ ส ังคม หรือชนบท แต่ที่รามาฯ จะเน้นเรื่องนี้ ผมเคยไปออกค่ายจิตอาสาไปตั้งแต่ปี 3 ไปอยู่กับชาวบ้านเกือบเดือน แรกๆ เพื่อนๆอยู่กันไม่ได้เลย ลำบากต้องหาบน้ำ กางมุ้งกันเอง แต่ตอนที่จะออกมา เราก็เข้าใจความหมายว่าเป็นแพทย์เพื่ออะไร ผมอยากให้หลักสูตรเน้นเรื่องการออกค่ายเยอะๆ เพราะปีเดียวมันยังไม่ได้ผลซึมซับ แต่ก็ดีกว่าไม่ได้ออกค่ายเลย" อดีตผอ.ค่ายอาสาพัฒนา ครั้งที่ 41 กลุ่มอาสามหาวิทยาลัยมหิดล ตอกย้ำถึงรากฐานการเป็นนักเรียนแพทย์ที่ดี
ประเด็นที่อาจารย์หมอบางคนระบุว่า หลักสูตรการเรียนแพทย์ภาษาอังกฤษ เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นเสมือนการบ่มเพาะนักเรียนแพทย์ที่เชี่ยวชาญภาษาและเป็นอาจารย์หมอ เป็นนักวิจัยพัฒนาวงการแพทย์ได้ในอนาคต ว่าที่แพทย์หนุ่มเห็นว่าเป็นคนละเรื่องกัน เพราะปกติเด็กที่มีหน่วยก้านเป็นอาจารย์หมอได้ก็จะส่องประกายให้สถาบันทาบทา มตัวเป็นพิเศษอยู่แล้ว
สำหรับมีมติรับรองหลักสูตรภาษาอังกฤษของแพทยสภานั้น แม้นิธิวัชร์จะไม่ได้เรียนนิติศาสตร์ แต่เขาก็พยายามศึกษาและเห็นว่า ขณะนี้จำเป็นต้องต่อสู้โดยใช้ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ซึ่งทำได้ 2 ทาง คือ ผ่านทางกระทรวงสาธารณสุขและแพทยสภา โดยตีความคำว่าหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 สอดคล้องกันหรือไม่กับกรณีที่แพทยสภาได้กำหนดข้อบังคับว่าด้วยกระบวนวิธีพิจ ารณารับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2547 หมวด 1 ข้อ 6 เรื่องการรับรองหลักสูตรว่า "การเห็นชอบ (หลักสูตร) โดยมีเงื่อนไข" นั้น เพื่อดูว่าตรงกับธรรมนูญของพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 หรือไม่
"ผมขอตั้งข้อสังเกตว่าแพทยสภาอาจใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในการออก ข้อ บังคับแพทยสภาฉบับดังกล่าว เนื่องจากในมาตรา 21(3) แห่งพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ไม่ได้มีการระบุถึงเรื่องการรับรองหลักสูตรและสถาบันผลิตแพทย์ไว้เพราะฉะนั้ นเมื่อแพทยสภาไม่มีอำนาจในการออกข้อบังคับ ก็ถือได้ว่าข้อบังคับแพทยสภาฉบับนี้เป็นโมฆะ"นักเรียนแพทย์จากมหิดลระบุ
ศุภชัย ครบตระกูลชัยนักศึกษาแพทย์ ชั้นปี 6 จากสถาบันเดียวกัน ลุกขึ้นแสดงความเห็นระหว่างร่วมฟังเสวนาเรื่อง "หลักสูตรแพทย์นานาชาติ คนไทยได้อะไร"เมื่อไม่นานมานี้ว่า เรื่องเร่งด่วนของหลักสูตรการเรียนการสอนแพทย์ คือ การเน้นเรื่องคุณภาพเป็นสำคัญ เพราะทุกวันนี้นักเรียนแพทย์ที่ใกล้จะจบ และกำลังหาโรงพยาบาลชุมชนใช้ทุน ก็ต่างคุยกันว่าใช้ทุนกันที่ไหนดี โดยมีคำถามแรกคือ ที่ไหนได้เงินเยอะ ที่ไหนงานน้อยบ้าง
เขาบอกว่า หลักสูตรโรงเรียนแพทย์วันนี้ยังไม่ได้ทำให้นักศึกษาแพทย์ที่จบไปเห็นคุณค่าข องโรงพยาบาลชุมชนมากพอ บางคนก็พูดเพียงว่า ไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนก็ทำอะไรไม่ได้ เจอแต่เคสเจ็บป่วยโรคเรื้อรังทั่วไป (Common Disease) เรียกว่า "ไปตรวจปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แจกยา" ส่วนใหญ่จึงไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะโรงพยาบาลชุมชนสามารถช่วยผู้ป่วยได้เยอะ ถ้ามีภาวะผู้นำ เนื่องจากโรงพยาบาลชุมชนถือเป็นผู้นำทางสุขภาพ และเป็นด่านหน้าของการรักษาทั่วประเทศ
"การรักษาโรคเรื้อรังทั่วไป เรื่องการเซตระบบเรื่องประวัติคนไข้ เช่น ความดัน ต่างๆ ถามว่านักเรียนโรงเรียนแพทย์มั่นใจในการรักษาหรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่มั่นใจ เพราะส่วนใหญ่หลักสูตรที่สอนอยู่ที่บอร์ด คนไข้ส่วนใหญ่ที่มีปัญหาต่างๆ มากมาย นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่อยู่ที่บอร์ดก็งง แล้วถามว่าอาจารย์คือใคร เพราะว่าอาจารย์จริงๆ ไม่ค่อยอยู่กันไม่ค่อยเจอหน้ากัน
แต่ที่ฟังนักศึกษาแพทย์นินทา คุยกัน ขาหนึ่งอยู่เอกชน ขาหนึ่งเป็นอาจารย์ วันนี้ถ้าถามว่าอาจารย์เพียงพอหรือไม่ กล้าตอบได้เลยว่า อาจารย์ที่สามารถสอนให้นักศึกษาให้เป็นแพทย์ที่จบใหม่ได้อย่างมั่นใจยังไม่พ อครับ" ว่าที่หมอหนุ่มสะท้อนภาพโรงเรียนแพทย์
ภาพสะท้อนเหล่านี้เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่ง ฉะนั้นการหาทางออกของปัญหาในวงการแพทย์ไม่ว่าภาวะการขาดแคลนแพทย์ ปัญหาจริยธรรมแพทย์คงต้องมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนให้วงกว้างอีกมาก ไม่ใช่ปล่อยให้บางกลุ่มบางพวกกำหนดชะตาอยู่ฝ่ายเดียว เพราะท้ายที่สุดอาจไม่เจอทางออกที่แท้จริง

"...เท่าที่คุยกันกับเพื่อนๆ พบว่า มีนักเรียนแพทย์ประมาณ 20% ที่เรียนจบแล้ว ยอมเสียค่าใช้ทุน 4 แสนบาท จากนั้นหลุดจากแพทย์ทุนหลวงโบยบินติดปีกเป็นอิสระทั้งที่ขั้นตอนการเรียนจบแ พทย์6 ปี ใช้ทุนในโรงพยาบาลจังหวัด1 ปี และต่อด้วยโรงพยาบาลอำเภอ หรือในชุมชนอีก 2 ปี ไม่ได้เป็นเรื่องยากลำบาก..."

https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1266759229
โดย: 222 [1 มี.ค. 53 3:19] ( IP A:58.8.92.223 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   นอกจากอาจารย์จะไม่อยู่สอนนักศึกษาแพทย์แล้ว
ยังกีดกันไม่ให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดอีก
ประธานเครือข่ายฯ ได้มีโอกาสพาผู้เสียหายไปบรรยายพิเศาให้
น้อง ๆ นักศึกษาแพทย์ฟัง แต่ถูกอาจารย์แพทย์ที่ไม่ชอบใจสั่ง
ให้งดการเรียนการสอนที่มีประโยชน์นั้นเสีย

น้องนักศึกษาแพทย์ฝากบอกว่า...
โรงเรียนแพทย์ไม่ได้เป็นของอาจารย์
เขามีสิทธิที่จะเรียนรู้จากโลกภายนอก
เพราะอีกหน่อยเขาต้องไปสัมผัสกับโลกภายนอก

หรือกลัวว่าเด็ก ๆ รุ่นน้องจะเห็นความเลวร้ายของ
คนบางกลุ่มกันแน่
โดย: ชื่นชมน้องนักศึกษาแพทย์ [1 มี.ค. 53 9:27] ( IP A:58.9.203.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ทำอย่างกะว่า ประธานเครือข่ายเป็นผู้ก่อการร้าย
ไม่มองปัญหาเลย ว่าควรให้ความร่วมแก้ไข มองแต่ว่า
พวกผู้ก่อการร้ายเป็นผู้ปลุกระดมความคิดเด็กที่เรียนแพทย์ได้
เด็กที่เรียนมาระดับนี้ ความคิด ความอ่านก็ยกให้เป็นขั้นเทพ อยู่แล้ว
ยอมรับว่า ไอคิวสูง ถือว่าจัดอยู่ในพวกโคตรฉลาดในทางทฤษฎีและปฎิบัติ แต่อย่าลืมว่า พวกฉลาด ๆ ก็แฝงความโง่ไว้ในตัวเหมือนกัน
อนาคตจะเป็นหมอที่ดีได้ ต้องให้เขาได้รับรู้ความเป็นจริงที่จะเกิดในวิชาชีพของเขาด้วย ว่าจะต้องดำเนินวิชาชีพของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่าให้ประชาชนมองว่า คนอยากเป็นหมอเพราะว่าอยากรวย .....

ชื่นชมหมอทุกคนที่คิดดี ทำดี พลาดได้แต่ขอให้รู้รับผิด
โดย: จีเอ็น [1 มี.ค. 53 10:16] ( IP A:114.128.12.183 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ไม่เป็นไร เอาไว้เอาคำฟ้องและคำพิพากษาให้เขาอ่าน เขาก็พอรู้ได้ดีกว่าไม่ได้รู้อะไรเลย แล้วจะทะยอยเอามาลงให้อ่าน
โดย: ฟฟ [1 มี.ค. 53 13:55] ( IP A:58.8.11.139 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   พระพุทธเจ้า พระองค์ยังอยากให้ชาวโลกรับรู้ ถึงการตรัสรู้เลย

แล้วจะปิดบัง ทำไม เพื่อป้องกันความผิดพลาดหรือเสียหายที่จะมีต่อไป

ทำอะไรที่เป็นประโยชน์กับชาวโลก ก็ทำเถอะ เพียงแค่วิชาชีพที่ไม่กลัวเลือด พอแล้วหรือจ๊ะ...
โดย: ไม่พอเพียง [1 มี.ค. 53 15:17] ( IP A:115.67.7.100 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ท่านน่าจะพิมพ์จำหน่ายเลย รับรองขายดี ถ้ามีโฆษณานิดหน่อย

คงสนใจกันทั้งวงการแพทย์ ทนายควาย ดารา นักแสดง ตำรวจ นักศึกษาฯ โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น

เป็นกุศลผลบุญอีกทางหนึ่งด้วย...
โดย: คิดดีทำดี [1 มี.ค. 53 15:26] ( IP A:115.67.7.100 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   อุ๊ย ขอโทษ พิมพ์ส่งเร็วไปนิด พิมพ์ผิด ขอโทษที ทนายความ

ไม่ใช่ทนายควาย เดี๋ยวเป็นเรื่อง กลางวันแดดแรง ร้อน พิมพ์เร็ว

เลยพิมพ์ผิด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

เดี๋ยว ถูกฟ้อง เพราะพิมพ์ผิด (ขำ) ขอโทษ หลายที
โดย: คนพิมพ์ผิด [1 มี.ค. 53 15:29] ( IP A:115.67.7.100 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   เคยเห็นใครปิดควันไฟได้บ้างล่ะ

เข้าทำนอง
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิดก็ไม่มิด
โดย: เบื๊อกสภา [2 มี.ค. 53] ( IP A:58.9.203.8 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   Very good topic! flower
โดย: brave student [2 มี.ค. 53 9:17] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เด็กเขาอยากเรียนรู้จากความผิดพลาด เพื่อที่เขาจะได้ไม่ต้อง
ทำผิดพลาด เขาไม่อยากถูกฟ้อง เขาไม่อยากทำคนไข้เสียหาย
ทำไมอาจารย์ถึงไม่ให้เขาได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ในเมื่อมันคือเรื่องจริง และพวกเราก็พร้อมที่จะเป็นกรณีศึกษาให้
น้องนักศึกษาแพทย์
โดย: เราผิดตรงไหน [2 มี.ค. 53 13:57] ( IP A:58.9.194.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   น้ำดีไล่น้ำเสีย
น้ำใหม่ไล่น้ำเก่า
คลื่นลูกใหม่มาแทนคลื่นลูกเก่า
โดย: รอวันนี้มานาน [3 มี.ค. 53 2:19] ( IP A:58.9.194.74 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   เลิกคิดเถอะว่า หมอผิดไม่ได้ รับผิดแล้วเสียศักดิ์ศรี การยอมรับนั่นละคือศักดิ์ศรี มากกว่า การตั้งใจทำผิด แล้วดีแต่จะแก้ตัว
สังคมจะยกย่องกว่า
โดย: หยุดคิด [4 มี.ค. 53] ( IP A:115.67.137.14 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   แล้วถ้าไม่ได้ทำผิด ต้องยอมรับผิดไหมครับ
โดย: สงสัยมานาน [4 มี.ค. 53 1:05] ( IP A:58.8.89.13 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   สงสัยเหมือน คห.13
โดย: สงสัยเหมือน คห.13 [4 มี.ค. 53 8:52] ( IP A:124.157.149.7 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ตอบความเห็น 13+14

รบกวนหน่อยว่า เวลาจะถามอะไร อย่าถามลอย ๆ ได้โปรดยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เพราะคนตอบที่นี่เขามีวุฒิภาวะไม่ได้ตัดสินอะไรด้วยอารมณ์เพียงอย่างเดียว

อย่าเพียงแต่สงสัยแล้วเก็บความสงสัยเอาไว้ในใจ แล้วแสดงออกแบบคนไม่มีเหตุผล ไม่รู้อะไรต้องถาม แต่ต้องถามด้วยเหตุด้วยผล คนที่นี่เวลาเขาโกรธ เวลาเขาเจ็บ มันมีที่มาที่ไปชัดเจน ไม่ได้เอามันอย่างเดียว แบบใครบางคน
โดย: ขอเหตุผลหน่อย [4 มี.ค. 53 9:21] ( IP A:58.9.196.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   การจะตอบผิด หรือไม่ผิด อันที่จริงคนตอบคือแพทยสภา แต่ทุกวันนี้ไม่ทำหน้าที่ เวลาไปบรรยายนักศึกษาแพทย์ ก็ดันไปบอกว่าไม่ต้องกลัว มีอะไรเกิดขึ้นเราช่วยกันเต็มที่ (หรือว่าไม่จริง) แบบนี้มันก็จะเป็นแบบแม่ปูกับลูกปู สังคมไม่มีความเป็นธรรมสันติสุขจะเกิดได้อย่างไร

ก่อนจะตอบคำว่าผิดไม่ผิดนั้น ต้องดูข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่ายประกอบกัน

แต่ก่อนอื่นขอถามคุณคำหนึ่ง่า
การปิดบังความจริง ในทางจริยธรรมแล้วผิดหรือถูก อย่าตอบแบบศรีธนญชัยนะว่าเพื่อประโยชน์ผู้ป่วย
โดย: ขอถาม [4 มี.ค. 53 9:26] ( IP A:58.9.196.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ตลกรับประทานแล้ว สงสัยเกี่ยวกับอีคิว แบบนี้
โดย: เข้าใจยาก [4 มี.ค. 53 9:45] ( IP A:111.84.61.157 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   มีเวปไหน แนะนำบ้างไหม ช่วยกรุณาแนะนำหน่อย ประเภทวิชาชีพ

จะได้เข้าไปก่อกวนประสาท หรือกวน..ชาวบ้าน

เพื่อที่จะให้เค้ารู้ถึงอีคิว หรือ ตัวตนของเรา ไม่เชิง..ประจานตัวเอง

แต่จะเรียกอะไร ก็ช่างเถอะ ยอมรับได้ เพราะหน้าตาพิเรน จิตใจพิเรน ธรรมดา
โดย: ใครจะว่าอะไรก็ช่าง [4 มี.ค. 53 9:58] ( IP A:115.67.251.214 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   นี่แหละเว็บของหมอ ๆ เขา

https://www.thaiclinic.com/doctorroom/
เข้าไปที่ All Zone ห้องพักแพทย์ดั้งเดิม รวมกระทู้
เขาเรียกย่อ ๆ ว่าห้อง TCC ก็คือ https://www.thaiclinic.com
โดย: เว็บหมอ [4 มี.ค. 53 13:13] ( IP A:58.9.196.117 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
    ขอบคุณที่ กรุณา แนะนำ ให้กับคนพิเรนบางคนที่มาก่อกวนที่เวปนี้ เพราะด้วยตัวเองแล้วไม่รู้จักแน่นอน (ความหมายกลับกัน) เผื่อจะได้เชิญให้ไปเที่ยวที่อื่นบ้าง หรือเชิญให้กลับบ้านไป ไปให้ไกล ไกล อย่ามาป่วนที่นีบ่อย
โดย: 555 [5 มี.ค. 53 19:26] ( IP A:111.84.1.57 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   ใต้พรมหมอ...ไม่ได้มีแต่ขยะ...มีผลประโยชน์บริษัทยา บริษัทเครื่องมือแพทย์ เปอร์เซนต์การสร้างตึก ฯลฯ
โดย: มหาศาล [7 มี.ค. 53 11:57] ( IP A:58.9.186.138 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
    มาเฟียกลุ่มโรงพยาบาลเอกชน มาเฟียศัลยกรรมความงาม ...แถมให้
โดย: เจ้าบ้าน [8 มี.ค. 53 17:18] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 22
   ^
^
มาเฟียศัลยกรรมความงาม

ตั้งใจว่ากระทบใครหรือเปล่า ที่ไปเปิดโพลีคลินิคแถวๆ ประตูน้ำน่ะ
โดย: หมอก้อนหิน [8 มี.ค. 53 22:09] ( IP A:124.157.149.44 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน