จะยุติการฟ้องร้องทางอาญา ขณะประกอบวิชาชีพเวชกรรมกันอย่างไร
   จะยุติการฟ้องร้องทางอาญา ขณะประกอบวิชาชีพเวชกรรมกันอย่างไร

กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ข้ามปี สำหรับปัญหาการ ฟ้องร้องแพทย์ ปัญหาที่ทำให้แพทย์สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งวงการ คดีความที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีทั้งคดีความทางแพ่งและอาญา ซึ่งการพิพากษาลงโทษก็มีให้เห็นกันอยู่ ดังตัวอย่างที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ที่ท้ายสุดแล้ว ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกแพทย์ที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าวนี้ทำให้แพทย์ทั่วทั้งวงการเริ่มหันมาสนใจกฎหมายกันมากขึ้น เช่นเดียวกันกับเตรียมร่างเสนอกฎหมายเฉพาะกลุ่มวิชาชีพขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองและลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม อันมีความประมาทในการช่วยชีวิตผู้ป่วย อันที่จริงคดีอาญาที่พิพากษาให้แพทย์จำคุกตั้งแต่ปี 2548-2550 มีถึง 4 คดี
ตัวอย่างในปี 2545 ศัลยแพทย์ท่านหนึ่งได้ทำการตรวจเด็กสาวคนหนึ่ง โดยใช้เวลาในการตรวจถึง 33 ชั่วโมง จนกระทั่งเด็กสาวคนนั้นเสียชีวิต กลาย เป็นข่าวใหญ่โต และศาลพิพากษาให้จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพิพากษาแพทย์ให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา จากคำพิพากษานี้ได้รับรู้กันในหมู่แพทย์ ทำให้อกสั่นขวัญแขวนกันไปทั่ว ภายหลังศัลยแพทย์ท่านนี้ได้ทำการอุทธรณ์ ซึ่งสังคมได้เข้ามาตรวจสอบ จนเจ้าตัวไม่อาจไปชี้แจงกับประชาชนได้
ตัวอย่างต่อมา คลินิกแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เด็กสาว ใกล้คลอดมาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์เจ้าของคลินิกพยายามทำคลอดเด็กคนนี้ แต่ทำไม่สำเร็จ และได้ชี้แจงว่าแขนเด็กโผล่ออกมาจนต้องทำการตัดแขนทิ้ง เมื่อมีการฟ้องร้องแล้วเรื่องถึงศาล ก็โดนข้อหาทำแท้ง ให้จำคุก 4 ปี และแพทย์ไม่กล้าที่จะชี้แจงกับประชาชนเช่นเดียวกัน
กรณีตัวอย่างต่อมาเป็นแม่บ้าน ซึ่งมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และแพทย์ให้แอดมิต โดยไม่ทำการสืบหาสาเหตุใด ๆ แต่กลับให้ยาจำนวนมากแก่คนไข้ วันรุ่งขึ้นคนไข้เสียชีวิต โจทก์จึงทำการฟ้องศาลอาญา โดยไม่มีแพทย์เป็นพยาน ไม่มีจำเลย ซึ่งกรณีนี้ศาลมองว่า แพทย์เจ้าของไข้ แพทย์เวร และพยาบาลกะดึก มีความผิดฐานประมาทเลินเล่อให้จำคุก 4 ปี และเป็นครั้งแรกที่มีการพิพากษาจำคุกพยาบาล ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในขั้นตอนของการอุทธรณ์
กรณีที่ทำเอาช็อกวงการแพทย์ที่สุดคือ คดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งคนไข้เป็นผู้หญิงอายุ 52 ปี ปวดท้องมารักษาที่โรงพยาบาล ศัลยแพทย์ซึ่งเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้ทำการตรวจเช็กอาการทุกอย่าง และบล็อกหลังเพื่อ ลงมีดผ่าตัด ระหว่างที่ทำการผ่าตัดคนไข้ก็ฟื้นขึ้นมา และได้ส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลอื่น และมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมาใน 2 สัปดาห์ต่อมา คดีนี้ได้มีการฟ้องแพทย์ทางแพ่งไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2547 ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วประเมินว่ามีความประมาท แม้จะไม่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ด้วยเหตุที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลในการผ่าตัด คำตัดสินนั้นศาลยืนยันว่า ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติต้องจ่ายค่าเสียหาย 600,000 บาทบวกดอกเบี้ย เรื่องยังไม่จบ โจทก์ได้นำความไปฟ้องกับศาลอาญา ในช่วงระยะเวลาที่ดำเนินคดีอยู่นั้น ปรากฏว่าคดีหมดอายุความ กระทรวงจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย แต่แพทย์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับบทลงโทษให้พิพากษาจำคุก 3 ปี
ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นกลายเป็นคดีความที่แพทย์ตกเป็นจำเลย โดยมี ข้อกล่าวหาถึงเรื่องความประมาท แต่จะด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปัญหาการฟ้องร้องก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น นั่นอาจเป็นเพราะทัศนคติความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างแพทย์กับคนไข้ แล้วจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างเกราะคุ้มกันให้แก่แพทย์และผู้ป่วย หัวข้อประเด็นดังกล่าวนี้จึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันอีกครั้งในการบรรยายของแพทยสมาคม ในการประชุมวิชาการประจำปี โดยมี นพ.พินิจ หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา และ นพ.สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ร่วมบรรยาย
นพ.พินิจ หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา การร้องเรียนและฟ้องคดีมีคนกล่าวว่าถ้าคดีถึงแพทยสภาแล้วจะจบ นั่นอาจไม่ถูกต้องนัก เพราะการรักษาเป็นหน้าที่แพทย์ การวินิจฉัยผิดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ อาจเกิดจากความประมาทในการประกอบวิชาชีพได้ แต่ความผิดนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องมีเจตนาในการกระทำผิด และเมื่อเกิดเป็นคดีแล้วมีการไกล่เกลี่ยและเรื่องไม่จบแล้ว จะเกิดเรื่อง เสียหายตามหลัก 3 ประการในการรักษาคือ ลักษณะการกระทำของแพทย์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย การร้องเรียนทางปกครอง ทำให้เกิดคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งการร้องเรียนจะทำให้แพทย์เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชื่อเสียง ฉะนั้นเมื่อต้องรับผิดทางอาญา ก็ควรคำนึงถึงบทบัญญัติในเรื่องความประมาท ตรงนี้หากสามารถตอบสังคมได้ว่าไม่ประมาทก็ไม่ก่อให้เกิดความผิด แต่บางครั้งการรักษาด้วยเจตนาที่ดีก็อาจถูกฟ้องร้องได้ เรื่องนี้แพทย์ทุกท่านก็คงทราบกันดี
ตัวอย่างคดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์เป็นกรณีที่ดังที่สุด ถือเป็นคดีการผ่าตัดไส้ติ่งที่บรรดาแพทย์ทุกท่านต้องศึกษากฎหมายร่วมกับการรักษา โดยจะต้องดูที่เจตนาและความประมาทเป็นสำคัญ คดีของแพทย์ก็เหมือนกับการขับรถสิบล้อทับคนตาย บทสรุปบทลงโทษก็เหมือนกัน หากแต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์จะถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับการพิจารณาในคดีแต่ละคดีด้วย จึงมีแนวคิดออกมาว่าให้มีการออกกฎหมายเฉพาะกลุ่มขึ้นมา เพราะปัจจุบันมีแค่กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมเฉพาะส่วนรวม เท่านั้น
ความจริงแล้วการสร้างกฎหมายเฉพาะแพทย์ที่ทำให้เนื้อหาใจความครอบคลุมทั้งหมดได้นั้น จะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากรายละเอียดค่อนข้างเยอะ อีกทั้งประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการใช้กฎหมายอาญาอยู่มาก ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฟ้องร้อง เช่นว่า พอทำอะไรที่ไม่ดี ทำผิดไปก็ต้องได้รับโทษทางอาญา ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจกันในลักษณะนี้อยู่ หลักความประมาทที่บัญญัติไว้ในกฎหมายนั้นได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีความประมาทแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ก็จะต้องได้รับบทลงโทษ ส่วนการอธิบายชี้แจงต้องดูที่ประเด็นของเครือข่ายประชาชน ว่าจะมีวิธีการอธิบายต่อประชาชนอย่างไรให้เข้าใจถึงการกระทำของตนเอง อย่างกรณีที่โดนรถชน หากรักษาเท่าไรก็ไม่ดีขึ้น ผู้บาดเจ็บก็เตรียมที่จะฟ้องแพทย์ ถ้าเป็นกฎหมายต่างประเทศนั้น ผู้บาดเจ็บจะต้องฟ้องผู้ที่ขับรถชนไม่ใช่แพทย์ เพราะผู้ขับรถชนเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บตรงนี้มองว่าทัศนคติยังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
หากดูพฤติการณ์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เอง ซึ่งการมารักษาแต่ละครั้งย่อมมาพร้อมกับความคาดหวัง หากแต่เมื่อผู้ป่วยมาด้วยอุบัติเหตุรุนแรงแล้ว ก็จะทำให้มีเวลาในการตัดสินใจที่จะลงมือรักษาน้อยลง ด้วยเหตุที่มีความจำเป็นจะต้องรีบทำการรักษานี้เอง อาจทำให้เกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ เช่นเดียวกันกับข้อผิดพลาดในการรักษาที่ตัวแพทย์ เองอาจจะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นนั้น มองว่าแพทย์เป็นอาชีพที่มีการเสี่ยงภัยสูง กรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับแพทย์เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการปรับเปลี่ยน ข้อเสนอที่ว่าแพทย์ไม่ต้องได้รับผิดตามอาญา หากลงมือทำการรักษาแล้วไม่อาจช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้กำหนดเหตุผลในการแก้ไขปัญหาโดยใช้การเจรจา ประนีประนอมแทน ถ้าหากเกิดข้อเสนอดังกล่าวขึ้นจริง รัฐบาลจะต้องสร้างความเข้าใจอันดีให้แก่ประชาชนในเรื่องการรักษา
การแก้ไขตามร่างที่ได้เสนอมาก่อนหน้านี้ อาจทำการชดเชยในเชิงดำเนินคดีแพ่งต่อแพทย์ โดยตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งคดีทางแพ่งจะไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไร เพราะสามารถหากลไกชดเชยความผิดมาทดแทนได้ ส่วนเมื่อคดีไปถึงอาญาแล้วนั้น ก็อาจจะต้องวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ซึ่งอาจจะยากต่อการไม่ถูกรับผิดทางอาญา เพราะกฎหมายประเทศไทย คำว่าประมาทเลินเล่อกับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เหมือนเช่นที่กฎหมายต่างประเทศกำหนดเอาไว้ แต่จะแตกต่างกันตรงที่การอธิบายวิธีการตามที่ชี้แจงไว้ข้างต้น บทสรุปของร่างที่เสนอมานั้นจะนำเข้าในที่ประชุม และจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณา เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องด่วน แต่เวลามองต้องมองให้รอบด้านไว้ เพราะรายละเอียดที่จะถูกบัญญัติลงไปแต่ละครั้งอาจมีช่องว่างมากเกินไป
นพ.สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจการกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความดูแลผู้ป่วยและประชาชน ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75-80 โดยมีโรงพยาบาลรองรับในทุกจังหวัด บางจังหวัดมีโรงพยาบาลระดับจังหวัดมากถึง 6 แห่ง และมีโรงพยาบาลอำเภอ อีกจำนวนมาก การรองรับผู้ป่วยไม่ทำให้เกิดความรู้สึกระแวงเมื่อเกิดเหตุขึ้น แต่สิ่งที่ระแวงกลับกลายเป็นปัญหาการถูกฟ้องร้องของแพทย์มากกว่า กระทรวงสาธารณสุขมีทิศทางในการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในระดับอำเภอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงแพทย์ได้มากที่สุด โรงพยาบาลประจำอำเภอกลายเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดลงไปว่าต้องมีแพทย์กี่คน มีวิสัญญีแพทย์กี่คน มีเครื่องมือเท่าไร โรงพยาบาลอำเภอเป็นที่ที่ทำให้แพทย์ได้พัฒนาระดับการรักษาขึ้นมาได้มาก แต่จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลอำเภอคือ การผ่าตัดอาจใช้ได้แค่ทำหมันเท่านั้น จำนวนแพทย์และวิสัญญีแพทย์ที่กำหนดไว้ไม่ตรงกัน อีกทั้งแพทย์ก็แทบไม่ได้ทำงาน เพราะผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดกันหมด สมมติหากมีความจำเป็น ที่จะต้องทำการผ่าตัดแล้วจะไม่ตันหมดหรือ จะทำได้หรือ เดี๋ยวนี้ผ่าตัดไส้ติ่งก็ส่งกลับเข้าโรงพยาบาลจังหวัดหมดเพราะตอนเกิดปัญหาไส้ติ่ง พอคำพิพากษา ออกมาแพทย์ก็พากันหนักใจ มีโอกาสได้ไปเยี่ยมห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลอำเภอ ก็พบว่าไม่มีเครื่องมือในการผ่าตัด ต้องส่งตัวไปผ่าในโรงพยาบาลจังหวัดหรือโรงพยาบาลใกล้เคียงที่มีเครื่องมือพร้อมกว่า บางครั้งระยะทางก็ห่างไกลต้องข้ามเขาข้ามจังหวัดเพื่อไปรักษา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นผลกระทบต่อเนื่องอีกทอดก็คือ โรงพยาบาลจังหวัดไม่มีวิสัญญีแพทย์ ทำให้ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ ตัวอย่างที่โรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลจังหวัดถึง 126 กิโลเมตร เมื่อจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยก็ต้องข้ามป่าข้ามเขา และหากการรักษาเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็อาจถูกฟ้องร้องได้ แต่โชคดีประชาชนที่โรงพยาบาลอุ้มผางส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงทำให้ไม่มีการฟ้องร้อง ยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่ตั้งไว้นั้นไม่อาจดำเนินการตามที่ตั้งไว้เท่าใดนัก เนื่องจากโรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัดนั้นต้องลำบาก ต้องเหนื่อยมากในการช่วยเหลือตนเอง
อีกทั้งการย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ยังต้องใช้เวลา ผลกระทบตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องได้ง่ายขึ้น คดีความในช่วงปี 2547-2550 มีคดีความฟ้องร้องมากขึ้น เป็นคดีแพ่ง 66 คดี คดีอาญา 9 คดี ตัวเลขนี้นับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น คดีแพ่งทั้ง 66 คดียังอยู่ในศาลชั้นต้น 24 คดี ศาลอุทธรณ์ 15 คดี ศาลฎีกา 11 คดี และยุติคดีไปแล้ว 16 คดี เหตุที่ยุติเพราะสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหายได้ แต่วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยยังไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก คดีความที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง หากวิเคราะห์กันแล้วสามารถสอดคล้องได้กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเปลี่ยนแปลงของคำประกาศสิทธิผู้ป่วย สิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ และสิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการ ค่าเสียหายเบื้องต้น ทั้งหมดนี้อาจมีส่วนทำให้เกิดคดีความเพิ่มมากขึ้น มองว่า การให้สิทธิในบ้านเราบางครั้งอาจไม่สมดุล
ส่วนคดีอาญาทั้ง 9 คดีนั้น อยู่ในศาลชั้นต้น 1 คดี ศาลอุทธรณ์ 2 คดี ยุติไปแล้ว 2 คดี และอยู่ในขั้นพนักงานสอบสวนอีก 4 คดี ข้อกล่าวหาทั้งหมดก็คือ ความประมาท มีอยู่คดีหนึ่งที่พยาบาลทำคลอดแล้วโดนฟ้อง ก็เลยผวากันไปหมดทั้งแพทย์และพยาบาล ยิ่งเดี๋ยวนี้คนไข้ป่วยมาก็จะเข้าโรงพยาบาลจังหวัดกันหมด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการฟ้องร้องให้แก่โรงพยาบาลอำเภอมากขึ้น การเขียนบันทึกข้อความก็มีความสำคัญในการพิจารณาความในศาล โดยแพทย์จะต้องทำให้ชัดเจน อย่างที่กล่าวไปโรงพยาบาลอำเภอมีเครื่องพร้อมแต่ไม่ได้ใช้ รัฐบาลก็อาจจะต้องซื้อเครื่องมือใหม่เพื่อรองรับโรงพยาบาลอำเภอทั้งประเทศ การทำความเข้าใจกับหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรมก็มีความพยายาม พูดคุยกันอยู่ ในระยะยาวก็จะร่างกฎหมายมาตรฐานวิชาชีพหรือกฎหมายอื่น ๆ ขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เวลาอีกพอสมควร สำหรับในระยะสั้นจะต้องหันหน้า เข้าหากัน เพราะแต่ละวิชาชีพ แต่ละสังคม ย่อมมีความแตกต่างกัน
โดย: www.medicalthai.com [10 มี.ค. 53 15:56] ( IP A:58.11.30.220 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    จะยุติการฟ้องร้องทางอาญา ขณะประกอบวิชาชีพเวชกรรมกันอย่างไร
สิทธิในการฟ้องร้อง เป็นสิทธิพื้นฐาน ยุติไม่ได้หรอกครับ จะไปยุติทำไม เอาไว้เป็นการป้องปรามมิให้มีปัญหามากๆ จะได้ระมัดระวังกัน แพทย์ก็ไม่ใช่อภิสิทธิ์ชน จะไปได้สิทธิพิเศษได้อย่างไร อายเขาเปล่าๆ

กลายเป็นประเด็นปัญหาที่ถกเถียงกันอยู่ข้ามปี สำหรับปัญหาการ ฟ้องร้องแพทย์ ปัญหาที่ทำให้แพทย์สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งวงการ คดีความที่เกิดขึ้นทั้งหมดมีทั้งคดีความทางแพ่งและอาญา ซึ่งการพิพากษาลงโทษก็มีให้เห็นกันอยู่ ดังตัวอย่างที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ที่ท้ายสุดแล้ว ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุกแพทย์ที่เกี่ยวข้อง กรณีดังกล่าวนี้ทำให้แพทย์ทั่วทั้งวงการเริ่มหันมาสนใจกฎหมายกันมากขึ้น เช่นเดียวกันกับเตรียมร่างเสนอกฎหมายเฉพาะกลุ่มวิชาชีพขึ้น เพื่อเป็นการคุ้มครองและลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม อันมีความประมาทในการช่วยชีวิตผู้ป่วย อันที่จริงคดีอาญาที่พิพากษาให้แพทย์จำคุกตั้งแต่ปี 2548-2550 มีถึง 4 คดี
ตัวอย่างในปี 2545 ศัลยแพทย์ท่านหนึ่งได้ทำการตรวจเด็กสาวคนหนึ่ง โดยใช้เวลาในการตรวจถึง 33 ชั่วโมง จนกระทั่งเด็กสาวคนนั้นเสียชีวิต กลาย เป็นข่าวใหญ่โต และศาลพิพากษาให้จำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการพิพากษาแพทย์ให้จำคุกโดยไม่รอลงอาญา จากคำพิพากษานี้ได้รับรู้กันในหมู่แพทย์ ทำให้อกสั่นขวัญแขวนกันไปทั่ว ภายหลังศัลยแพทย์ท่านนี้ได้ทำการอุทธรณ์ ซึ่งสังคมได้เข้ามาตรวจสอบ จนเจ้าตัวไม่อาจไปชี้แจงกับประชาชนได้

หวังว่าคงไม่ใช่คดีนี้
https://thaidocscandal.com/drchalee.htm

ตัวอย่างต่อมา คลินิกแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เด็กสาว ใกล้คลอดมาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์เจ้าของคลินิกพยายามทำคลอดเด็กคนนี้ แต่ทำไม่สำเร็จ และได้ชี้แจงว่าแขนเด็กโผล่ออกมาจนต้องทำการตัดแขนทิ้ง เมื่อมีการฟ้องร้องแล้วเรื่องถึงศาล ก็โดนข้อหาทำแท้ง ให้จำคุก 4 ปี และแพทย์ไม่กล้าที่จะชี้แจงกับประชาชนเช่นเดียวกัน
คดีนี้ ถ้าจำไม่ผิด เป็นการทำแท้ง และศาลก็ตัดสินแล้วจะชี้แจงอะไรอีก แต่ก็ชี้แจงได้นะหาไม่พอใจ เอาข่าวมาลงซิ
กรณีตัวอย่างต่อมาเป็นแม่บ้าน ซึ่งมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง และแพทย์ให้แอดมิต โดยไม่ทำการสืบหาสาเหตุใด ๆ แต่กลับให้ยาจำนวนมากแก่คนไข้ วันรุ่งขึ้นคนไข้เสียชีวิต โจทก์จึงทำการฟ้องศาลอาญา โดยไม่มีแพทย์เป็นพยาน ไม่มีจำเลย ซึ่งกรณีนี้ศาลมองว่า แพทย์เจ้าของไข้ แพทย์เวร และพยาบาลกะดึก มีความผิดฐานประมาทเลินเล่อให้จำคุก 4 ปี และเป็นครั้งแรกที่มีการพิพากษาจำคุกพยาบาล ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในขั้นตอนของการอุทธรณ์
คดีที่สมุย ก็ชัดเจน ทำผิดสู้คดี ก็ไม่มีเหตุรอลงอาญา
กรณีที่ทำเอาช็อกวงการแพทย์ที่สุดคือ คดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์ ซึ่งคนไข้เป็นผู้หญิงอายุ 52 ปี ปวดท้องมารักษาที่โรงพยาบาล ศัลยแพทย์ซึ่งเป็น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้ทำการตรวจเช็กอาการทุกอย่าง และบล็อกหลังเพื่อ ลงมีดผ่าตัด ระหว่างที่ทำการผ่าตัดคนไข้ก็ฟื้นขึ้นมา และได้ส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลอื่น และมาเสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมาใน 2 สัปดาห์ต่อมา คดีนี้ได้มีการฟ้องแพทย์ทางแพ่งไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2547 ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วประเมินว่ามีความประมาท แม้จะไม่ประมาทเลินเล่อร้ายแรง ด้วยเหตุที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาลในการผ่าตัด คำตัดสินนั้นศาลยืนยันว่า ให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติต้องจ่ายค่าเสียหาย 600,000 บาทบวกดอกเบี้ย เรื่องยังไม่จบ โจทก์ได้นำความไปฟ้องกับศาลอาญา ในช่วงระยะเวลาที่ดำเนินคดีอยู่นั้น ปรากฏว่าคดีหมดอายุความ กระทรวงจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย แต่แพทย์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับบทลงโทษให้พิพากษาจำคุก 3 ปี
คดีนี้รอดได้ก็เป็นบุญแล้ว ต้องไปขอบคุณ รมต สมัยนั้น
ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นกลายเป็นคดีความที่แพทย์ตกเป็นจำเลย โดยมี ข้อกล่าวหาถึงเรื่องความประมาท แต่จะด้วยเหตุอันเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปัญหาการฟ้องร้องก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
เป็นหมอ เขาว่าต้องรอบคอบว่าชาวบ้าน
ประมาท = กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
คงอ้างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่ได้

นั่นอาจเป็นเพราะทัศนคติความเข้าใจที่ไม่ตรงกันระหว่างแพทย์กับคนไข้
มิใช่เหตุผลในการฟ้องร้อง
แล้วจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างเกราะคุ้มกันให้แก่แพทย์และผู้ป่วย หัวข้อประเด็นดังกล่าวนี้จึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันอีกครั้งในการบรรยายของแพทยสมาคม ในการประชุมวิชาการประจำปี โดยมี นพ.พินิจ หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา และ นพ.สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้ร่วมบรรยาย
บิดเบือนได้อุบาทว์ มาก มาตรา 59 ของประมวลกฎหมายอาญาเขาเขียนไว้ชัด อ่านดูหน่อย จบกฎหมายมายังบิดเบือนได้ขนาดนี้ เลวจริงๆ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59
มาตรา 59 " บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนาเว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือหรือเว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้กระทำโดยไม่มีเจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สึกนึกในการที่กระทำและขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย



นพ.พินิจ หิรัญโชติ กรรมการแพทยสภา การร้องเรียนและฟ้องคดีมีคนกล่าวว่าถ้าคดีถึงแพทยสภาแล้วจะจบ นั่นอาจไม่ถูกต้องนัก เพราะการรักษาเป็นหน้าที่แพทย์ การวินิจฉัยผิดอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและจิตใจ อาจเกิดจากความประมาทในการประกอบวิชาชีพได้ แต่ความผิดนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อต้องมีเจตนาในการกระทำผิด



และเมื่อเกิดเป็นคดีแล้วมีการไกล่เกลี่ยและเรื่องไม่จบแล้ว จะเกิดเรื่อง เสียหายตามหลัก 3 ประการในการรักษาคือ ลักษณะการกระทำของแพทย์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย การร้องเรียนทางปกครอง ทำให้เกิดคดีแพ่งและคดีอาญา ซึ่งการร้องเรียนจะทำให้แพทย์เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินและชื่อเสียง ฉะนั้นเมื่อต้องรับผิดทางอาญา ก็ควรคำนึงถึงบทบัญญัติในเรื่องความประมาท ตรงนี้หากสามารถตอบสังคมได้ว่าไม่ประมาทก็ไม่ก่อให้เกิดความผิด แต่บางครั้งการรักษาด้วยเจตนาที่ดีก็อาจ
โดย: [0 3> ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
ถูกฟ้องร้องได้ เรื่องนี้แพทย์ทุกท่านก็คงทราบกันดี
ตัวอย่างคดีที่อำเภอร่อนพิบูลย์เป็นกรณีที่ดังที่สุด ถือเป็นคดีการผ่าตัดไส้ติ่งที่บรรดาแพทย์ทุกท่านต้องศึกษากฎหมายร่วมกับการรักษา โดยจะต้องดูที่เจตนาและความประมาทเป็นสำคัญ คดีของแพทย์ก็เหมือนกับการขับรถสิบล้อทับคนตาย บทสรุปบทลงโทษก็เหมือนกัน หากแต่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์จะถูกนำมาเชื่อมโยงเข้ากับการพิจารณาในคดีแต่ละคดีด้วย จึงมีแนวคิดออกมาว่าให้มีการออกกฎหมายเฉพาะกลุ่มขึ้นมา เพราะปัจจุบันมีแค่กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมเฉพาะส่วนรวม เท่านั้น
ความจริงแล้วการสร้างกฎหมายเฉพาะแพทย์ที่ทำให้เนื้อหาใจความครอบคลุมทั้งหมดได้นั้น จะทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากรายละเอียดค่อนข้างเยอะ อีกทั้งประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องการใช้กฎหมายอาญาอยู่มาก ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการฟ้องร้อง เช่นว่า พอทำอะไรที่ไม่ดี ทำผิดไปก็ต้องได้รับโทษทางอาญา ซึ่งคนส่วนมากเข้าใจกันในลักษณะนี้อยู่ หลักความประมาทที่บัญญัติไว้ในกฎหมายนั้นได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีความประมาทแล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ก็จะต้องได้รับบทลงโทษ ส่วนการอธิบายชี้แจงต้องดูที่ประเด็นของเครือข่ายประชาชน ว่าจะมีวิธีการอธิบายต่อประชาชนอย่างไรให้เข้าใจถึงการกระทำของตนเอง อย่างกรณีที่โดนรถชน หากรักษาเท่าไรก็ไม่ดีขึ้น ผู้บาดเจ็บก็เตรียมที่จะฟ้องแพทย์ ถ้าเป็นกฎหมายต่างประเทศนั้น ผู้บาดเจ็บจะต้องฟ้องผู้ที่ขับรถชนไม่ใช่แพทย์ เพราะผู้ขับรถชนเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บตรงนี้มองว่าทัศนคติยังเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง
ยกตัวอย่างได้เลวมาก ใครเขาจะฟ้องแพทย์หากรักษาไม่ดี เช่นขับรถทับขาหัก (ทำยังไงก็ไม่ตาย) แต่ไปบล็อกหลังไม่ดี ตายจากบล็อกหลัง แบบนี้ ต้องฟ้องแพทย์สถานเดียวที่ทำเขาตาย ศาลเขาไม่ลงโทษคนชนหรอกครับ
หากดูพฤติการณ์ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์เอง ซึ่งการมารักษาแต่ละครั้งย่อมมาพร้อมกับความคาดหวัง หากแต่เมื่อผู้ป่วยมาด้วยอุบัติเหตุรุนแรงแล้ว ก็จะทำให้มีเวลาในการตัดสินใจที่จะลงมือรักษาน้อยลง ด้วยเหตุที่มีความจำเป็นจะต้องรีบทำการรักษานี้เอง อาจทำให้เกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ เช่นเดียวกันกับข้อผิดพลาดในการรักษาที่ตัวแพทย์ เองอาจจะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นนั้น มองว่าแพทย์เป็นอาชีพที่มีการเสี่ยงภัยสูง กรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับแพทย์เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการปรับเปลี่ยน ข้อเสนอที่ว่าแพทย์ไม่ต้องได้รับผิดตามอาญา หากลงมือทำการรักษาแล้วไม่อาจช่วยชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวได้กำหนดเหตุผลในการแก้ไขปัญหาโดยใช้การเจรจา ประนีประนอมแทน ถ้าหากเกิดข้อเสนอดังกล่าวขึ้นจริง รัฐบาลจะต้องสร้างความเข้าใจอันดีให้แก่ประชาชนในเรื่องการรักษา
ยกตัวอย่าง ตกตึก เข้าโรงพยาบาลตั้งแต่ 5 โมงเย็น ปล่อยไว้สองทุ่มเอาไปเจาะคอไม่ทัน ตายคาเตียงผ่าตัด แบบนี้อ้างเหตุผลอะไร (คดีนี้ศาลยกฟ้อง คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์) ตำราเขาเตือนไว้แล้วว่าเป็นความตายที่ป้องกันได้

การแก้ไขตามร่างที่ได้เสนอมาก่อนหน้านี้ อาจทำการชดเชยในเชิงดำเนินคดีแพ่งต่อแพทย์ โดยตั้งเป็นกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วย ซึ่งคดีทางแพ่งจะไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไร เพราะสามารถหากลไกชดเชยความผิดมาทดแทนได้ ส่วนเมื่อคดีไปถึงอาญาแล้วนั้น ก็อาจจะต้องวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ซึ่งอาจจะยากต่อการไม่ถูกรับผิดทางอาญา เพราะกฎหมายประเทศไทย คำว่าประมาทเลินเล่อกับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เหมือนเช่นที่กฎหมายต่างประเทศกำหนดเอาไว้ แต่จะแตกต่างกันตรงที่การอธิบายวิธีการตามที่ชี้แจงไว้ข้างต้น บทสรุปของร่างที่เสนอมานั้นจะนำเข้าในที่ประชุม และจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณา เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องด่วน แต่เวลามองต้องมองให้รอบด้านไว้ เพราะรายละเอียดที่จะถูกบัญญัติลงไปแต่ละครั้งอาจมีช่องว่างมากเกินไป
คำว่าประมาทเลินเล่อกับประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน
อันนี้ไม่ชัดเจน จึงต้องให้ศาลวินิจฉัย ทางฝ่ายแพทย์จะไปตั้งกฎเกณฑ์บีบศาลไม่ได้ เดี๋ยวโดนหนักกว่าเก่าจะหาว่าไม่เตือน

นพ.สถาพร วงษ์เจริญ ผู้ตรวจการกระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความดูแลผู้ป่วยและประชาชน ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75-80 โดยมีโรงพยาบาลรองรับในทุกจังหวัด บางจังหวัดมีโรงพยาบาลระดับจังหวัดมากถึง 6 แห่ง และมีโรงพยาบาลอำเภอ อีกจำนวนมาก การรองรับผู้ป่วยไม่ทำให้เกิดความรู้สึกระแวงเมื่อเกิดเหตุขึ้น แต่สิ่งที่ระแวงกลับกลายเป็นปัญหาการถูกฟ้องร้องของแพทย์มากกว่า
เขาว่าการแพทย์ทำคนไข้ตายจากสาเหตุที่ป้องกันได้มากกว่ารถชนกัน
พวกก็ยังไม่ยอมแก้ไข ยังพยายามแก้ตัว เลวไหมละคิดเอาเอง

กระทรวงสาธารณสุขมีทิศทางในการสร้างความเข้มแข็งขึ้นในระดับอำเภอ เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงแพทย์ได้มากที่สุด โรงพยาบาลประจำอำเภอกลายเป็นที่พึ่งสำคัญของประชาชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดลงไปว่าต้องมีแพทย์กี่คน มีวิสัญญีแพทย์กี่คน มีเครื่องมือเท่าไร โรงพยาบาลอำเภอเป็นที่ที่ทำให้แพทย์ได้พัฒนาระดับการรักษาขึ้นมาได้มาก แต่จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลอำเภอคือ การผ่าตัดอาจใช้ได้แค่ทำหมันเท่านั้น จำนวนแพทย์และวิสัญญีแพทย์ที่กำหนดไว้ไม่ตรงกัน อีกทั้งแพทย์ก็แทบไม่ได้ทำงาน เพราะผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดกันหมด สมมติหากมีความจำเป็น ที่จะต้องทำการผ่าตัดแล้วจะไม่ตันหมดหรือ จะทำได้หรือ เดี๋ยวนี้ผ่าตัดไส้ติ่งก็ส่งกลับเข้าโรงพยาบาลจังหวัดหมดเพราะตอนเกิดปัญหาไส้ติ่ง พอคำพิพากษา ออกมาแพทย์ก็พากันหนักใจ มีโอกาสได้ไปเยี่ยมห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาลอำเภอ ก็พบว่าไม่มีเครื่องมือในการผ่าตัด ต้องส่งตัวไปผ่าในโรงพยาบาลจังหวั
โดย: [0 3> ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 2
ดหรือโรงพยาบาลใกล้เคียงที่มีเครื่องมือพร้อมกว่า
ถ้าไม่พร้อม ส่งต่อก็ถูกแล้ว
บางครั้งระยะทางก็ห่างไกลต้องข้ามเขาข้ามจังหวัดเพื่อไปรักษา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นอันเป็นผลกระทบต่อเนื่องอีกทอดก็คือ โรงพยาบาลจังหวัดไม่มีวิสัญญีแพทย์ ทำให้ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ ตัวอย่างที่โรงพยาบาลอุ้มผาง ซึ่งอยู่ห่างจากโรงพยาบาลจังหวัดถึง 126 กิโลเมตร เมื่อจำเป็นต้องย้ายผู้ป่วยก็ต้องข้ามป่าข้ามเขา และหากการรักษาเกิดข้อผิดพลาดขึ้นก็อาจถูกฟ้องร้องได้ แต่โชคดีประชาชนที่โรงพยาบาลอุ้มผางส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงทำให้ไม่มีการฟ้องร้อง ยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่ตั้งไว้นั้นไม่อาจดำเนินการตามที่ตั้งไว้เท่าใดนัก เนื่องจากโรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัดนั้นต้องลำบาก ต้องเหนื่อยมากในการช่วยเหลือตนเอง
อย่ายกตัวอย่างที่เอาแต่ได้ เป็นข้อยกเว้น กรณีผิดพลาดที่อภัยไม่ได้

อีกทั้งการย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลศูนย์ยังต้องใช้เวลา ผลกระทบตรงนี้จะทำให้เกิดปัญหาการฟ้องร้องได้ง่ายขึ้น คดีความในช่วงปี 2547-2550 มีคดีความฟ้องร้องมากขึ้น เป็นคดีแพ่ง 66 คดี คดีอาญา 9 คดี ตัวเลขนี้นับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น คดีแพ่งทั้ง 66 คดียังอยู่ในศาลชั้นต้น 24 คดี ศาลอุทธรณ์ 15 คดี ศาลฎีกา 11 คดี และยุติคดีไปแล้ว 16 คดี เหตุที่ยุติเพราะสามารถเจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหายได้ แต่วิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยยังไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก คดีความที่เพิ่มขึ้นในช่วงหลัง หากวิเคราะห์กันแล้วสามารถสอดคล้องได้กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเปลี่ยนแปลงของคำประกาศสิทธิผู้ป่วย สิทธิมนุษยชน สอดคล้องกับเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพ และสิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการ ค่าเสียหายเบื้องต้น ทั้งหมดนี้อาจมีส่วนทำให้เกิดคดีความเพิ่มมากขึ้น มองว่า การให้สิทธิในบ้านเราบางครั้งอาจไม่สมดุล
ส่วนคดีอาญาทั้ง 9 คดีนั้น อยู่ในศาลชั้นต้น 1 คดี ศาลอุทธรณ์ 2 คดี ยุติไปแล้ว 2 คดี และอยู่ในขั้นพนักงานสอบสวนอีก 4 คดี ข้อกล่าวหาทั้งหมดก็คือ ความประมาท มีอยู่คดีหนึ่งที่พยาบาลทำคลอดแล้วโดนฟ้อง ก็เลยผวากันไปหมดทั้งแพทย์และพยาบาล ยิ่งเดี๋ยวนี้คนไข้ป่วยมาก็จะเข้าโรงพยาบาลจังหวัดกันหมด ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการฟ้องร้องให้แก่โรงพยาบาลอำเภอมากขึ้น
ถ้าไม่พร้อมส่งต่อก็ดีแล้ว การคมนาคมสมัยนี้ก็สะดวกกว่ากันเยอะ
แต่ขนาดส่งต่อมีการโทรแจ้งล่วงหน้า ยังไปตายเลย ที่จังหวัดเพชรบุรี ไม่ได้ให้เลือด ไม่มีการตระเตรียม สมควรฟ้อง โรงพยาบาลจังหวัด (คนตายเป็นพยาบาล คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์)

การเขียนบันทึกข้อความก็มีความสำคัญในการพิจารณาความในศาล โดยแพทย์จะต้องทำให้ชัดเจน
ขนาดเขียนโกหกชัดเจน ชนิดว่าหมอไม่ต้องรับผิด ยังไม่รอดเลย ศาลท่านไม่ได้กินแกลบ ผมเบิกความว่าเขียนทีหลัง ไม่ตรงความจริง คดีนี้ศาลลงโทษ คดีแถวสุรินทร์ศรีษะเกศ ไม่มีประโยชน์หรอก
นี่กำลังมีอีกคดีทำเอกสารเท็จ สงสัยจะติดคุกกันเป็นแถวๆ
เวชระเบียนตามธรรมชาติจะไม่เรียบร้อย ศาลไม่ถือสา แต่ผิดถูกตรวจสอบด้วยอย่างอื่นได้
เวชระเบียนที่เรียบร้อยไม่ธรรมชาติ ถ้าผิดจริงไม่รอดหรอกครับ

อย่างที่กล่าวไปโรงพยาบาลอำเภอมีเครื่องพร้อมแต่ไม่ได้ใช้ รัฐบาลก็อาจจะต้องซื้อเครื่องมือใหม่เพื่อรองรับโรงพยาบาลอำเภอทั้งประเทศ การทำความเข้าใจกับหน่วยงานอื่น เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรมก็มีความพยายาม พูดคุยกันอยู่ ในระยะยาวก็จะร่างกฎหมายมาตรฐานวิชาชีพหรือกฎหมายอื่น ๆ ขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เวลาอีกพอสมควร สำหรับในระยะสั้นจะต้องหันหน้า เข้าหากัน เพราะแต่ละวิชาชีพ แต่ละสังคม ย่อมมีความแตกต่างกัน
เท่าที่ฟ้องๆมา ไม่เคยมีการฟ้องว่าเครื่องมือไม่พร้อม มีแต่ฟ้องว่าหมอพยาบาลชุ่ย ขนาดโทรแจ้งล่วงหน้ายังไม่เตรียมเลือด จะไปซื้อเครื่องมือให้พุงกางทำไม (หวังว่ากางเฉพาะคนขาย คนซื้อไม่กาง )
บทความนี้ แก้ตัวเอียงตกขอบ ใครก็ตามเขียนบทความนี้ ควรพิจารณาตัวเอง
โดย: aa [10 มี.ค. 53 19:37] ( IP A:58.8.3.96 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ความเห็นท่าน aa รวบรัด+ชัดเจนแล้วครับ

ผมขอเสริมด้วยความเห็น + ความจริงที่พวกเราสอบค้นเอาเองได้ว่า

กระทู้นี้ ผมตีความว่า เป็นกระทู้ล่อเป้า / โยนก้อนหินถามทางมากกว่า

เชื่อมโยง URL ของชื่อเจ้าของกระทู้ ปลายทางเป็นแค่โดเมนเปล่าๆ ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องในกระทู้ที่แสดงไว้ แม้แต่น้อย

ตัวเจ้าของกระทู้ จึงเป็นเสมือน ปีศาจล่องหน หรือ สัมภเวสี

หมอสองคนที่ถูกอ้างชื่อในกระทู้ ก็ไร้ความสง่างามที่สาธารณชนจะเชื่อถือได้ในเรื่องที่ตัวเองพาดพิง เพราะมีพฤติการณ์ฉ้อฉลต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ผู้เสียหายทางการแพทย์

แม้ไม่มองที่ตัวคน แต่ดูเนื้อหาที่แสดง ก็เป็นอย่างที่ท่าน aa แสดงความเห็นแย้งไว้ ซึ่งสรุปได้ว่า เป็นการแสดงความเห็นออกมาในรูปวิชาการภาษาหมอ ที่จะทำให้คนอ่านแล้วหากไม่คิดอะไรก็จะคล้อยตามได้ง่ายๆ โดยลืมคิดย้อนกลับว่า ประเด็นด้านตรงข้ามกับเรื่องที่เสนอนั้น มันมีอยู่จริง และหนักหนาสาหัสกว่า ความลำบากลำบนของฝ่ายหมอที่เจ้าของกระทู้พยายามจะเรียกร้องความเห็นใจจากสาธารณชน

ผมสรุปรวบยอดนะ กระทู้นี้ เจ้าของกระทู้ดูเป็น "อีแอบ" ที่วางฟอร์มเนื้อเรื่องและวิธีการพูดให้ดูดีน่าเชื่อถือ แต่พูด/เล่าเรื่องออกมาไม่หมด พูดเอาดีกับฝ่ายหมอถ่ายเดียว

ขอชมเชยท่านเจ้าของกระทู้นะ ว่า ได้พยายามเต็มที่แล้ว ที่จะหลอกให้ผู้คนแถวๆนี้เขาคล้อยตามได้เนียนๆดีมาก

ก็ขอให้ไปพยายามฝึกมาใหม่ พยายามให้มากกว่านี้ หากจะให้ดี ลองไปปรึกษา 3 เกลอหัวขวด หรือ คุณหมอโหวงเหวง ดูว่า การตีหน้าเศร้า เล่าความเท็จน่ะ ทำยังไงให้มันเนียนๆแนบแน่นกว่านี้ ผมขออ่านตำนานจอมโจรฝรั่งเศสคนนึงที่ชื่อว่า โชแปงค์ เขาเคยบอกไว้ว่า ถ้าจะพยายามหลอกใครคนอื่นให้เชื่อเรื่องโกหกละก็ ให้หลอกให้ตัวเองเชื่อสนิทใจก่อน ผมว่านี่เป็นวาทะสุดยอดของการโกหกแล้วนะ

หรือท่านเจ้าของกระทู้มีอะไรเด็ดกว่านี้ ก็ลองบอกเล่ากันเป็นวิทยาทานหน่อยละกัน เผื่อพวกเราแถวนี้จะได้รู้ไว้เป็นแนวทาง เผื่อจะได้จับโกหกพวกที่ฝีมือดีกว่านี้

คราวหน้าถ้าจะมาอีกทำนองนี้ ก็ขอบอกให้รู้กันหน่อยนะว่า ผู้คนแถวๆนี้ เราเลิกกินหญ้ากินแกลบกันตั้งนานแล้ว เว้นแต่กลุ่มลิ่วล้อแพทยสภาและกองประกอบฯ ที่ยังชอบกินเศษแกลบซากหญ้าเล็กๆน้อยจากเจ้านาย นั่นก็เป็นเรื่องนานาจิตตังนะ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [11 มี.ค. 53 13:13] ( IP A:58.8.230.236 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   จะยุติการฟ้องร้องทางอาญา ขณะประกอบวิชาชีพเวชกรรมกันอย่างไร

1. จำกัดเวลาทำงานของแพทย์ และจำนวนผู้ป่วยต่อวัน จะได้รอบคอบ ไม่พลาด
2. คนไข้ทุกคนต้องจ่ายค่าประกันความเสียหาย ก็เหมือนคุณขึ้นเครื่องบิน low cost ก็ต้องจ่ายค่าประกันเอง
3. หมอต้องรับผิด ถูกต้องแล้ว แล้วคนไข้ก็ต้องรับผิดด้วย มีโอกาสถูกฟ้องเท่าเทียมกัน
4. ไม่จำเป็นต้องพัฒนารพ อำเภอ ให้มีแค่ตรวจรักษาทั่วไป ถ้าต้องนอนรพ ต้องผ่าตัด ให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รพ จังหวัด
5. ต้องรู้จักแยกแยะคำว่า เจตนา ประมาท ผลข้างเคียง %โอกาสในการผิดพลาด ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ
6. ถ้าคนไข้ต้องการ "ผิดพลาดไม่ได้" แต่แพทย์บอกว่าอาจผิดพลาด เมื่อคนไข้รับทราบข้อเท็จจริงแล้วถึงประสิทธิภาพของแทย์ คนไข้ก็ควรไปใช้บริการแพทย์ท่านอื่นที่เก่งกว่า ให้แพทย์ได้บอกปฏิเสธและแนะนำที่ดีกว่า เช่น อเมริกา
โดย: แพทย์ [11 มี.ค. 53 15:58] ( IP A:180.180.67.253 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    จะยุติการฟ้องร้องทางอาญา ขณะประกอบวิชาชีพเวชกรรมกันอย่างไร

1. จำกัดเวลาทำงานของแพทย์ และจำนวนผู้ป่วยต่อวัน จะได้รอบคอบ ไม่พลาด
2. คนไข้ทุกคนต้องจ่ายค่าประกันความเสียหาย ก็เหมือนคุณขึ้นเครื่องบิน low cost ก็ต้องจ่ายค่าประกันเอง
3. หมอต้องรับผิด ถูกต้องแล้ว แล้วคนไข้ก็ต้องรับผิดด้วย มีโอกาสถูกฟ้องเท่าเทียมกัน
4. ไม่จำเป็นต้องพัฒนารพ อำเภอ ให้มีแค่ตรวจรักษาทั่วไป ถ้าต้องนอนรพ ต้องผ่าตัด ให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่รพ จังหวัด
5. ต้องรู้จักแยกแยะคำว่า เจตนา ประมาท ผลข้างเคียง %โอกาสในการผิดพลาด ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ
6. ถ้าคนไข้ต้องการ "ผิดพลาดไม่ได้" แต่แพทย์บอกว่าอาจผิดพลาด เมื่อคนไข้รับทราบข้อเท็จจริงแล้วถึงประสิทธิภาพของแทย์ คนไข้ก็ควรไปใช้บริการแพทย์ท่านอื่นที่เก่งกว่า ให้แพทย์ได้บอกปฏิเสธและแนะนำที่ดีกว่า เช่น อเมริกา

ตอบข้อ 1 ก็ไม่เป็นไร ต้องการจำกัด คนไข้เขาก็ชอบ นัดหมายล่วงหน้า ไม่ฉุกเฉินก็ไม่ต้องตรวจ แต่เวลาโทรไปหรือส่งเน็ทไปจอง ก็ช่วยรับโทรศัพท์ด้วย และบริการด้วย ไม่ใช่ไม่รับโทรศัพท์ ลองต่อไปศิริราช ราม จุฬา ดู จะได้รู้ว่านรกมีจริงในการติดต่อ
คนไข้เขาก็เบื่อต้องไปนั่งรอ นั่งเข้าคิวตั้งแต่เช้า เจอแม่งแค่ 5 นาที ยังไม่ทันอ้าปากก็ได้ใบสั่งยา
แต่บอกตรงๆนะ ไอ้ที่พลาดๆแบบอุบาวท์มากๆนี่เอกชนก็เจอ คนไข้อยู่โรงพยาบาลเป็น 10 ตายห่าแบบคนรวย นอนไอซียู หมอพยาบาลเต็มไปหมอ แต่สาเหตุตายนี่อภัยไม่ได้เลย
ผมว่าข้อนี้แก้ปัญหาไม่ได้ ที่สำคัญที่คลินิกต้องจำกัดด้วย หมอคนไข้ตรวจคนไข้วันเป็นร้อย ก็ถือว่าผิดหมด ต้องแฟร์ๆ ไม่ใช่ราชการไม่อยากตรวจ ที่คลินิกวันละ 100 ไม่มีปัญหา
ตอบข้อ 2 คนไข้เขาพอใจจะจ่ายเพิ่มอีก 3 % แบบจ่ายแว็ด เวลาผิดเขาจะได้ช่วยกันเอง แต่พวกหมอไม่ยอมเข็นกฎหมายออกมาเอง
ตอบข้อ 3 ทุกวันนี้แม่งก็ฟ้องกลับคนไข้ จนศาลยกฟ้องจนเบื่อแล้ว ช่วยๆฟ้องหน่อย คนไข้เขาชอบ จะได้แฉว่าแพทย์มันเลวอย่างไร
ตอบข้อ 4 ถูกต้องแล้ว และโรงพยาบาลใหญ่ๆยังต้องแยกอีกว่าโรงไหนชำนาญอะไร ไม่งั้นก็ลองผิดลองถูกตายไปเรื่อยๆ ต้องมีศูนย์ผ่าถุงน้ำดีส่อง กล้อง ศูนย์ผ่าตัดหัวเข่า ศูนย์ผ่าตัดสันหลัง ฯลฯ ไม่ใช่ว่าโรงพยาบาลศูนย์จะผ่าตัดได้เหมือนกันหมด หมดยุคแล้ว ยุคนี้ ต้องเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะโรค จะได้ประสิทธิภาพดี ผลรักษาที่ดี หมดยุคโรงพยาบาลอำเภอใจแล้ว
ตอบข้อ 5 คนแยกแยะไม่ใช่หมอ ไม่ใช่คนไข้ ศาลท่านจะแยก ทุกวันนี้ แพทย์พยายามแยก และบังคับศาลให้แยกตามแพทย์ ชาติหน้าตอนบ่ายๆ นักกฎหมายที่ กฤษฏีกาเขาไม่เอาด้วยหรอก
ตอบข้อ 6 เห็นด้วย และต้องเป็นแบบเดียวกันทั้งเอกชนและของรัฐ ไม่มีปัญหา ผมก็เบื่อซ่อมพวกเยินมาก เยินดีเหมือนกัน ทำผ่าตัดโครตเยินแล้วยังด่าคนอื่นอีก ว่าเยินมาก หน้าหนาจริงๆหมอพวกนี้ วันไหนผมเลิกซ่อมจะรู้สึ
โดย: aa [11 มี.ค. 53 17:35] ( IP A:58.8.9.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ผมจะบอกให้วิธียุติคดีอาญา
1 หมอต้องห้ามสู้เรื่องอายุความ
2 ถ้าแพ้คดีแพ่งแล้วควรรีบจ่าย
ถ้าไม่งั้นคนไข้เขาจะลงโทษฟ้องอาญา (แบบนี้ทำกันในญี่ปุ่น ในเมืองไทยก็มีให้เห็นบ้างประปราย)
โดย: ฟฟ [11 มี.ค. 53 17:37] ( IP A:58.8.9.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เอไปอ่านไป๊
https://content.nejm.org/cgi/content/full/333/8/527
โดย: ห เอ้ย [11 มี.ค. 53 19:32] ( IP A:58.8.9.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ผมว่า จะยุติได้ ถ้า คนไข้ ไม่ไปหาหมอ แต่ไปให้หมารักษาแทน

หรือ กินน้ำบำบัดป้าเช็ง หรือ ไปหาหมอผี ครับ ยุติ ร้อยเปอร์เซ็นต์

ส่วนใครที่เต็มใจให้หมอรักษา ก็ไปโรงพยาบาลครับ
หมอ ยินดี และ เต็มใจรักษา ครับ

ใครไม่เต็มใจ อย่าไปนะ

ส่วนญี่ปุ่นนี้ หมอเค้ามีเวลาตรวจชั่วโมงละสี่คนครับ(ผมเทรนที่โตเกียว)
ถ้าผิดก็สมควรโดนนั่นแหล่ะ
โดย: เกรียน [11 มี.ค. 53 21:59] ( IP A:220.108.252.75 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   รู้สึกดี และตัดสินใจถูกมากๆในชีวิต ที่ลาออกแล้ว (ชดใช้ทุนให้รัฐครบแล้ว ทุกบาททุกสตางค์ ทุกหยาดเหงื่อและแรงกาย จนหมดแรงใจ)

มีลูกมีหลาน ถ้ามันอยากเป็นหมอก็จะส่งเรียน เรียนที่เมืองนอกจะได้ไม่ต้องมีคนมาอ้างว่าอาศัยภาษีประชาชนเรียน เรียนจบแล้วอย่ามาเป็นหมอบ้านเมืองนี้ หากจะมาอยู่บ้านเมืองนี้ก็ให้ใช้ความรู้รักษาตัวเอง ส่วนอาชีพทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่หมอ
โดย: พอใจรึยัง? [11 มี.ค. 53 22:43] ( IP A:58.8.170.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   ความคิดเห็นที่ 13
รู้สึกดี และตัดสินใจถูกมากๆในชีวิต ที่ลาออกแล้ว (ชดใช้ทุนให้รัฐครบแล้ว ทุกบาททุกสตางค์ ทุกหยาดเหงื่อและแรงกาย จนหมดแรงใจ)
---------------------------------------------------------------------
ตกลงว่าเลิกเป็นหมอแล้ว ผมจะได้สบายใจว่าจะไม่เสี่ยงที่ไปเจอคุณที่เอกชน
โดย: เจ้าบ้าน [12 มี.ค. 53] ( IP A:124.121.139.189 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   คนเราไปที่ไหนก็มีปัญหา เลิกเป็นหมอก็ไปเจอปัญหาใหม่
ปัญหากับสังคม และมนุษย์เป็นของคู่กัน
ความเป็นธรรม จะเป็นวิธียุติและแก้ปัญหา
การแก้ตัวและไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา และใส่ร้ายอีกฝ่าย มิใช่ทางออกของผู้มีปัญญา
โดย: ก็หวังว่าหมอจะเข้าใจคนไข้บ้าง [12 มี.ค. 53 11:06] ( IP A:58.8.212.135 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   คห 14
ผมยังไม่เลิก ผมก็ยังเสี่ยงว่าคุณจะมาเจอผมเมื่อไหร่
คงต้องกรวดน้ำให้ ว่าอย่ามาเจอกันอีกเลยไม่ว่าชาตินี้ชาติไหน

ส่วนคุณ aa เคยมาทำงานใช้ทุน รพ ตามต่างจังหวัดบ้างหรือเปล่า
หรือว่าจบแล้วก็เปิดร้านปั้มเงินอย่างเดียวแบบพวกผู้เชี่ยวชาญกากๆ
โดย: bb [12 มี.ค. 53 11:10] ( IP A:203.154.62.14 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   ผมใช้ทุนต่างจังหวัด มาก่อนคุณ
โรงพยาบาลที่ผมไปอยู่สมัยก่อนไม่มีน้ำไฟ ต้องใช้เครือ่งปั่นไฟ
เครื่องนึ่งใช้น้ำมันก๊าด
ผมเคยทำแทงหลัง ผมเคยผ่าตัดไส้ติ่ง ใช้ยาชา ยาสลบ
ผมเคยทำหมันหญิงวันละ 14 ราย
เคยซ่อมหมันหญิงที่หมอคนอื่นทำไม่ได้แล้วเย็บปิด ให้คนไข้ไปด่าทุกวันในตลาดจนโรงพยาบาลไม่มีคนไข้ทำหมัน
ทุกวันนี้ก็ซ่อมคนไข้ทั่วราชอาณาจักรและนอกอาณาจักร
ที่ทำมาจากผู้เชี่ยวชาญของแพทยสภาและโรงเรียนแพทย์เก่าผมก็มี
ไม่มีใครเก่งกว่าใครหรอกครับ อยู่ที่ใครทำมากกว่าใคร ทำมาก่อนใครและตั้งใจทำแค่ไหน
ผมทำงานก็ไม่ได้ดี 100 % มีที่ต้องแก้บ้างก็ตามปกติทั่วๆ แต่ที่ผิดมากๆแบบรับไม่ได้เขากลับไปให้หมอในต่างประเทศด่าประเทศไทยแบบที่ด่าในเมืองนอก ยังไม่มี
https://www.pantown.com/board.php?id=12163&area=&name=board12&topic=957&action=view
โดย: ฟฟ [12 มี.ค. 53 13:57] ( IP A:58.8.209.222 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   รื้อโครงสร้างใหม่ถ้าจะดี เช่น ลดจำนวนผู้ป่วยต่อแพทย์ 1 คนต่อวัน เก็บค่ารักษาต่อหัวเพิ่ม ถ้ามาไม่ทันให้นัดทบเป็นคิวรอวันถัดๆ ไป
ถ้าใครมีอำนาจก็ช่วยหน่อยเถอะ เพราะผู้ป่วยก็ได้ประโยชน์จากที่หมอมีเวลามากขึ้น
โดย: oo [12 มี.ค. 53 20:20] ( IP A:58.8.211.252 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   เรียนความเห็นที่ 18
คิดแบบนั้นก็เห็นชาวบ้านโง่
ให้นำเข้าแพทย์ หรือผลิตแพทย์มากๆจนตกงาน ราคาจะได้ตก
ค่าแรงหมอจะได้ถูก และคนไข้จะได้ไม่ต้องเข้าคิว
โดย: ปัญญาไม่ได้อ่อน [12 มี.ค. 53 23:46] ( IP A:58.8.209.222 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   เรียน ความเห็น 19
เอาเถอะพ่อคุณ ยังไงมันก็ต้องมีทางสายกลางที่อยู่ได้ทั้งสองฝ่ายมั่ง
เห็นที่เสนอมาแต่ล่ะอย่างกะเอาหมอตายกันทั้งนั้น ผมก็เลยเสนออะไรให้หมอบ้าง ก็โดนด่า ตามเคย
โดย: oo [13 มี.ค. 53] ( IP A:58.8.211.252 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   ข้อเสนอของ #19 นี่...
ไม่สมกับชื่อเลยนะ
โดย: 7721 [13 มี.ค. 53 3:43] ( IP A:58.8.221.173 X: )
ความคิดเห็นที่ 17
   ผลิตหมอ แบบผลิตพยาบาลดมยาก็ได้ จะเอาวันละเท่าไหร่
.cnn.com/2010/03/11/news/economy/health_care_doctor_incomes/index.htm?section=money_latest target=_blank>http:money.cnn.com/2010/03/11/news/economy/health_care_doctor_incomes/index.htm?section=money_latest
โดย: สมองขี้เลื่อยหรือหวงก้าง [13 มี.ค. 53 8:15] ( IP A:58.8.209.222 X: )
ความคิดเห็นที่ 18
   ทุกวันนี้แพทยสภาก็ผลักดันผลิดแพทย์เพิ่มทุกปีอยู่แล้ว แต่คนผลิตก็ต้องคิดถึงคุณภาพด้วย ถ้าผลิตมาเน้นปริมาณอย่างเดียว คุณภาพแย่ลงกว่านี้ สถานการณ์ก็จะแย่กว่าตอนนี้อีก
โดย: oo [13 มี.ค. 53 10:47] ( IP A:58.8.15.133 X: )
ความคิดเห็นที่ 19
   สมัยก่อนเขาก็ว่า มข จะไหวหรือ มอ จะไหวหรือ
ทุกวันนี้เป็นกำลังสำคัญ
รามคำแหงก็ว่าจะไหวหรือ ทุกวันนี้ทั้งศาล อัยการ ทนายจ บรามมากที่สุด
การเรียนขึ้นกับผู้เรียนด้วยไม่ใช่ผู้สอน ถ้าคนเรียกกระเสือกกระสนมันก็ได้ดีได้
เปิดฟรี สอบผ่านก็โอเค เปิดเป็นตลาดวิชาหน่อย จะได้เห็นดีกัน
ดีกว่าหมกเม็ดผูกขาด อ้างคุณภาพ ทีพวกกันสอบตกก็ปล่อยผ่าน
โดย: ฟฟ [13 มี.ค. 53 11:55] ( IP A:58.8.209.222 X: )
ความคิดเห็นที่ 20
   อีกนิดนึงละกัน ถ้าจะผลิตหมอออกมาทีละมากๆ การสอบตอนจบแค่ครังเดียวคงไม่ได้วัดสิ่งที่ควรรู้ทั้งหมดในเวลา 6 ปี ควรจะจัดสอบข้อสอบกลางถี่หน่อยเพราะ ถ้าสถาบันจัดสอบกันเองหากผู้สอนแตกต่างข้อสอบบางที่อาจจะไม่ได้มาตรฐาน
โดย: ด้วยความเคารพ [5 พ.ค. 53 16:59] ( IP A:58.8.7.217 X: )
ความคิดเห็นที่ 21
   ผมขอเป็นตอบ จขกท. และกันว่า

ยาก..แต่ก็ใช่ว่าไม่มีทาง..แต่ก็คงไม่มีวัน สังคมปัจจุบันเป็นสังคมวัตถุนิยม ทุกอย่างมุ่งเน้นไปที่การคุ้มครองบริโภค ผมไม่อยากพูดว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด เพราะมันมีด้านจริงอยู่ทั้งสองฝ่าย แพทย์ *** ๆประมาทก็มี แพทย์หมาๆหาแต่เงินก็มี แต่คนไข้อย่างไงก้มาด้วยความคาดหวังในการรักษาอยู่แล้ว และแพทย์บางคนก้มีเจตนาที่ดีในการรักษา แต่ก็ไม่มีอะไร 100% ใน Medicine ถูกไหม? ทุกวันนี้คนไข้หลายคนมาหาหมอไม่ใช่แค่มาด้วยเพราะแค่อยากหาย แต่กับมาพร้อมอคติที่มีต่อหมออยู่แล้ว และหมอเองก้มีอคติ อคติต่างๆที่สังคมสร้างไว้ให้ ฉะนั้นรูปแบบระหว่างผู้บริการและผู้ให้บริการแบบนี้ไม่มีทางที่การฟ้องจะลดลง"

ตอบหมอทั้งหลาย

"การให้บริการทางการแพทย์บ้านเรามันหนักหนาจริง OPD โรงพยาบาลชุมชน รับคนไข้ต่อวันไม่รู้เท่าไหร่ ยิ่งเดี๋ยวนี้ด้วย มีเครสหนักๆเฉียบพลันมา ก็ไม่จะทำอะไรแล้ว refer ให้หมด ต่อให้คุณลุง aa บอกว่าควรจะส่งให้สถาบันเชี่ยวชาญที่เหมาะสม ถึงนั่นจะเหมาะก็จริงเถอะ แต่มันก็มีศูนย์พวกนั้นอยุ่จำกัด บุคลากรก็จำกัด จะให้เป็นศูนย์ผลิตเพิ่มผู้ฝึกสอนก็จำกัด ของอย่างงี้ ผมว่าอย่างไงก็คงต้องประเมินความเสี่ยง แต่ต่อไปนี้ หมอคงจะไม่ยอมเสี่ยงกันแน่ๆ ใครจะกลายเป้นที่เสี่ยงแทนล่ะ ก็ต้องเป็นคนไข้
ไม่ว่าพวกคุณหมอทั้งหลายจะคิดอย่างไง อายุเท่าไหร่กันแล้ว หรือจะอาจผิดหวังจากระบบจากสังคมก็เถอะ ถ้าคนยังยึดวิชาชีพนี้หากินกันอยู่ ก็ขอให้นึกเสมอว่าคนที่สำคัญที่สุดคือ คนไข้ ไม่ใช่คุณ สำหรับคนที่ชอบดูถูกระบบของประเทศไทยนะ พวกที่ชอบมาด่าเรื่องภาษีประชาชนอะไรเนี่ย คุณด่าระบบได้นะ แต่อย่ามาด่าประชาชนหรือคนไข้ เขาไม่โอกาสเหมือนคุณไม่มีความพร้อมเหมือนกัน คุณก็พูดได้ปากดีได้ซิ ในเมื่อคุณมีความพร้อมแล้ว แต่ก็อย่างว่าแหละ อุดมการณ์มันกินไม่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับแต่ล่ะบุคคลกันไปแล้วกัน ผมได้แค่แสดงความคิด *** นเท่านั้น"


ถึงคนไข้

"หมอแย่ๆไม่ดี มันก้มีอยู่เยอะ แต่หมอที่เจตนาดีๆมันก็มีอยู่เยอะเช่นกัน อยากให้เข้าใจด้วยในเรื่องกรอบจำกัดของเวลา ที่บ่นๆกันรอตั้งนาน ตรวจไม่ถึง5นาที มันมีข้อจำกัดอยู่ แต่ผมว่าปัญญาที่เกิดขึ้นสำหรับเรื่องนี้ มันน่าจะเกิดจากเรื่องการสื่อสารกันมากกว่า เพราะหมอส่วนใหญ่ไม่ค่อยพูด ปากหมาปากไว หลายคนบอกให้ผลิตแพทย์เพิ่ม ใครๆก็อยากผลิตเพิ่มอยู่แล้ว จริงๆก้มีอยู่เยอะด้วย เพียงแค่การกระจายมันน้อย กระจุกอยู่แค่จุดที่มีเงิน เพราะอยู่ชุมชนมันโครตเหนื่อย จะเอาปริมาณมาก่อนคุณภาพหรอ? จะเสี่ยงกันไปในยุคแรกๆหรอ? นี่เราพูดถึงวิชาชีพนะครับ ไม่ใช่อาชีพทั่วไป มันต้องสอนด้วยผุ้เชี่ยวชาญ ซึ่งส่วนใหญ่เก่งก็ออกไปทำงานข้างนอกหมด ไม่ค่อยเหลืออยู่ในโรงเรียนแพทย์หรอก มันเรียนกับคนนะครับ ไม่ใช่แค่ท่องหนังสือไปสอบแบบอย่างอื่นก็ได้ นศพ.ที่เรียนก็อยู่ก็รับภาระเยอะมากแล้ว ถ้าเทียบสำหรับช่วงอายุของเขา ยิ่งต้องออกมารับภาระของสังคมอีก ยิ่งแล้วใหญ่ ชวนให้หมดเจตนาดีๆของเด็กๆไปง่ายๆ ที่พูดก้อยากให้ *** นใจหมอบ้าง บางอย่างมันก็ไม่มีอะไร100% จริงๆน่ะ อยากให้ลดอคติลงบ้าง ลองคิดง่ายๆถ้ามีคติแล้วหมอมาอธิบาย 70%แล้วมั้งที่ความคิดคุณจะคิดว่า "ไอ้เชี่ยนี่แม่ง หาข้ออ้างอีกแล้ว" จริงรึเปล่าถามใจตัวเอง? มันก็ไม่ผิดหรอกที่คุณจะคิดแบบนั้นกัน แต่น่ากลัวตรงที่ ความคิดแบบนี้มีมากขึ้นนะซิ จนการเป็นหมอตกเป้นจำเลยง่ายๆไปแล้ว ตกเปนจำเลยของสังคม ตกเป็นจำเลยของประชาชน การทำงานของมอมันถูกกดดันในหลายๆด้านมากนะครับ แค่จะทำงานรักษาคนไข้ให้หายมันก็เหนื่อยแล้ว ยิ่งต้องมาแบกภาระเรื่องทำตามนโยบายกระทรวงอีก ความคาดหวังของคนไข้ รวมถึงอคติที่มอบให้ ผมว่า แบบนี้ก้น่าเห็นใจหมอเหมือนกันนะ ระวังไว้ว่า ท้ายที่สุด หมอจะยิ่งขาดแคลนไปมากกว่านี้ หมอไม่ใช่เทวดาครับ คนเหมือนกัน มีชั่วมีดี มีสุขมีทุกข์ มีความรู้สึกเหมือนพวกคุณ อย่าเอาภาพลักษณ์หรืออคติหรือทัศนคติที่คุณคิดว่าชีวิตหมอจะแสนสบายที่พวกคุณวาดไว้ มาปิดกั้น จนหลงลืมไปว่า หมอก็แค่ คน คนนึง"



ปล.แค่แสดงความเห็นส่วนตัว ไม่ได้ว่าใคร ถ้าพาดพิงอะไรก้ขออภัยด้วย
โดย: กุเกรียน [31 ม.ค. 54 3:59] ( IP A:183.89.239.139 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน