ความคิดเห็นที่ 5 ความคิดเห็นที่ 3 == ปลัดสธ.สั่งสอบแม่ลูกอ่อนทำหมันตาย(8/3/48) === สลด! แม่ลูกอ่อนทำหมัน ตาย ปลัด สธ.สั่งสอบด่วน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2548 15:44 น.
ปลัดสธ. สั่งสอบหาสาเหตุการเสียชีวิตของคนไข้หญิงหลังคลอดและทำหมัน ที่รพ.ประจวบคีรีขันธ์ ระบุต้องรายงานผลภายใน 15 วัน เบื้องต้นแพทย์ชี้เหตุอาจมาจากภาวะแทรกซ้อนของการฉีดยาชา ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2-5 คน ต่อ 10,000 คน ชี้เป็นเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถป้องกันได้ พร้อมรับผิดชอบเหตุการณ์
ตามที่ปรากฏข่าวการเสียชีวิตของนางรุ้งลาวัลย์ พันธ์เจริญ อายุ 22 ปี หลังผ่าตัดทำหมันหลังคลอดที่ รพ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2548 นั้น เกี่ยวกับความคืบหน้าเรื่องนี้ นายแพทย์วิชัย เทียนถาวร ปลัดสธ. ให้สัมภาษณ์ว่า ได้สั่งการให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุอย่างเร่งด่วน และรายงานผลภายใน 15 วัน โดยมีนายแพทย์พิภพ เจนสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธาน เพื่อให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
นายแพทย์วิชัย กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับรายงานจากนายแพทย์สนิท อาชีพสมุทร ผู้อำนวยการ รพ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่า ในวันเกิดเหตุวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 09.30 น. แพทย์ที่ทำการผ่าตัดทำหมันคือ นายแพทย์ ช. วิทวัส เพ็ชญไพศิษฎ์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช และเป็นผู้ฉีดยาชาชื่อ เฮฟวี่มาร์เคน ความเข้มข้น 0.5% (0.5% heavy marcaine) จำนวน 3 ซี.ซี. ซึ่งเป็นขนาดปกติทั่วไปที่ใช้กัน ฉีดเข้าทางไขสันหลังเพื่อระงับความเจ็บปวด ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและมีอาการชาเฉพาะท่อนล่าง
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพและพิษปนเปื้อน โดยให้เก็บตัวอย่างยาชาที่เหลือและยาในล็อตเดียวกัน ส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นการด่วน พร้อมทั้งกำชับให้สถานบริการในสังกัดทั่วประเทศใช้ยาชาด้วยความระมัดระวังที่สุด
ด้านนายแพทย์สนิท อาชีพสมุทร ผู้อำนวยการ รพ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า นางรุ้งลาวัลย์ พันธ์เจริญ อายุ 22 ปี ตั้งครรภ์ที่ 2 และเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 เวลา 05.16 น. ได้คลอดบุตรด้วยวิธีปกติ เป็นเพศหญิง น้ำหนัก 3,700 กรัม สุขภาพแข็งแรง นอนพักฟื้นอยู่ในห้องพักฟื้นหลังคลอด และส่งตัวเข้าห้องผ่าตัดทำหมัน เวลา 09.00 น.
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้เรียกประชุมคณะแพทย์ของ ร.พ.ประจวบฯ และลงความเห็นว่าสาเหตุน่าจะเกิดมาจากการแพ้ยาชา โดยยาชาดังกล่าวเป็นยาชาสำหรับฉีดเข้าช่องไขสันหลังเพื่อทำการผ่าตัดมา ซึ่งมีใช้นานแล้วและใช้ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ จากการติดตามอาการที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาดังกล่าว ของ อย. พบภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น มีอาการช็อค หัวใจหยุดเต้น หยุดหายใจ และชัก เป็นต้น โดยมีโอกาสเกิดขึ้นได้ 2-5 คนต่อผู้ใช้ยา 10,000 คน ในส่วนของประเทศไทย สำนักระบาดวิทยา มีรายงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546-เมษายน 2547 พบผู้ป่วยที่มีภาวะเดียวกัน 125 ราย จากจำนวนผู้ที่ใช้ยามาร์เคนฉีดเข้าทางไขสันหลัง 2,800 คน ในจำนวนนี้ มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง 13 ราย เสียชีวิต 6 ราย
นายแพทย์สนิท กล่าวต่อไปอีกว่า ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อน มักจะเป็นผู้ที่มีอายุน้อย สุขภาพดี แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถทำนายได้ก่อนล่วงหน้า และไม่สามารถป้องกันได้ โดย อย.ได้เคยเก็บตัวยามาร์เคน ที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ผ่านมา มาตรวจวิเคราะห์แต่ไม่พบความผิดปกติใดๆ และได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ร.พ.ประจวบฯ ได้ให้การรักษาอย่างดีที่สุด และสุดความสามารถของแพทย์เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย และรู้สึกเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง แพทย์ทุกคนตั้งใจให้การรักษาอย่างดีที่สุด และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเรื่องนี้อย่างเหมาะสมต่อไป
ข้อมูลข่าวจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที่ 7 มีนาคม 2548 เวลา 15:44 โดย: ซ้ำที่ 2 [20 ก.พ. 52 2:25> ( IP A:58.8.2.172 X: ) |