consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
บ้านเขาเรียนพยาบาลออนไลน์
บ้านเขา
https://education.yahoo.net/articles/top_job_of_decade_nursing.htm?kid=YSL7
บ้านเรา
ชัยวุฒิสั่งสกอ.ลงพื้นที่สอบม.ราชธานีเล็งหาที่เรียน
Share Share คมชัดลึก : ชัยวุฒิสั่งสกอ.ลงพื้นที่ตรวจสอบมหาวิทยาลัยราชธานี หลังนศ.บุกศธ.ร้องถูกหลอกเรียนพยาบาล เล็งช่วยหาที่เรียนพร้อมให้มหาวิทยาลัยแสดงความรับผิดชอบ เตรียมใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา เร่งคลอดพ.ร.บ.อุดมศึกษาคุมเข้มหลักสูตร ตั้งหน่วยติดตามหลักสูตร สธ.พร้อมช่วยนศ.พยาบาลในวิทยาลัยไม่ผ่านหลักสูตร
โฆษณาโดย Google
เพิ่มยอดขาย ขยายลูกค้า
โปรโมทเว็บแบบ ยั่งยืน ไม่แพง เห็นผล รับคูปองทดลองฟรี 1,500 กับ AdWords
https://www.Google.co.th
เมื่อวันที่ 23 ก.พ.53 เวลา 10.30 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี ประมาณ 50 คนได้เดินทางมาเข้ารับฟังการชี้แจงถึงการเยียวยาให้ความช่วยเหลือของ ศธ. จาก นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) หลังจากเมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากถูกหลอกให้เข้าศึกษาต่อในคณะพยาบาลศาสตร์ แต่เมื่อเข้าเรียนจริงกลับได้เรียนในคณะศิลปศาสตร์ (การพยาบาล)
นพ.กำจร กล่าวว่า ขณะนี้ สกอ.ได้รับข้อมูลจากนักศึกษาเพียงฝ่ายเดียว จะต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัยด้วย และนำข้อมูลของทั้งสองฝ่ายมาประมวลอีกครั้ง ก่อนที่จะหาทางเยียวยาช่วยเหลือต่อไป โดยในเบื้องต้นได้ให้นักศึกษากรอกใบคำร้องแล้วว่าจะให้ ศธ.ช่วยเหลือในกรณีนี้อย่างไรบ้าง แต่เท่าที่สอบถามพบว่า บางคนอยากเรียนต่อในคณะพยาบาลศาสตร์ บางคนก็อยากให้มหาวิทยาลัยชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมด รวมทั้งค่าเสียโอกาส และเสียเวลา ทั้งนี้ คงต้องเร่งดำเนินการในเรื่องนี้ เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหากับเด็กที่จะต้องเข้าศึกษาต่อในปีต่อไป เนื่องจากหากให้เด็กไปสอบแอดมิชชั่นส์ใหม่ ก็จะเป็นปัญหาเนื่องจากเด็กยังไม่ได้สอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) ซึ่งจะทำให้แอดมิสชั่นส์ไม่ได้
ผมคิดว่านักศึกษาเป็นผู้รับกรรมอยู่ จะต้องช่วยให้รอด แต่เด็กจะได้เรียนพยาบาลต่อหรือไม่นั้นยังคงเป็นประเด็นใหญ่ที่ยังไม่มีวิธีแก้ปัญหาที่ชัดเจน เพราะขณะนี้สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนคณะพยาบาลศาสตร์ส่วนใหญ่จำนวนนักศึกษาก็เต็มอัตราแล้ว ซึ่งกรณีของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลนครราชสีมาก็ยังแก้ปัญหาไม่แล้วเสร็จ และหากมีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยราชธานีเพิ่มขึ้นมาอีกเกือบ 200 คน ก็คงจะแก้ปัญหาไม่ได้ คงต้องสอบถามไปยังผู้บริหารมหาวิทยาลัยด้วยว่าจะช่วยเหลืออย่างไรรองเลขาธิการกกอ. กล่าว
นพ.กำจร กล่าวด้วยว่า ปัญหาใหญ่ของการจัดการศึกษาพยาบาลในขณะนี้มีสถาบันอุดมศึกษาประมาณ 2-3 แห่งได้ประกาศงดรับนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ในปีการศึกษา 2553 แล้ว ตามที่สภาการพยาบาลได้แนะนำไปแล้ว เนื่องจากคุณภาพการจัดการศึกษายังไม่ได้มาตรฐาน
รองเลขาธิการ กกอ. ยังกล่าวถึงความคืบหน้าถึงการเยียวยาช่วยเหลือกลุ่มนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนครราชสีมาว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลการเทียบโอนวิชา และที่นั่งของสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งกำหนดให้ส่งมาภายในสัปดาห์นี้ จากนั้นในสัปดาห์หน้าจะนำข้อมูลดังกล่าวมาหารือร่วมกับสภาการพยาบาลอีกครั้ง
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ประสานกับสภาการพยาบาล เพื่อลงพื้นที่หารือร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว เพื่อหาแนวทางเยียวยานักศึกษาที่ได้รับผลกระทบโดยได้เร่งให้ได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะเร่งแก้ไขใน 2 กรณีคือ 1.แก้ปัญหาให้นักศึกษาในเรื่องของที่เรียน 2.มหาวิทยาลัยจะรับผิดชอบในเรื่องใดบ้าง อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเป็นไปตามเรื่องที่ร้องเรียนหรือไม่
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำเนินคดีอาญากับผู้บริหารนั้น ต้องขอเวลาในการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ เพราะที่ผ่านมาได้เกิดกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยโดยเฉพาะนักศึกษาในคณะพยาบาลศาสตร์ ที่ต้องได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล ดังนั้น สกอ.จึงต้องใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือ TQF และเร่งดำเนินการศึกษาเพื่อออก พ.ร.บ.อุดมศึกษาในการเข้าไปควบคุมหลักสูตรและการบริหารจัดการต่างๆ ให้มีคุณภาพ รวมทั้งจะมีการตั้งหน่วยติดตามหลักสูตร เพื่อเข้าไปตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรในแต่ละมหาวิทยาลัยด้วย
นายอนุพร นาพระพล นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบเป็นที่น่าพอใจจากทางกระทรวงศึกษาธิการ ว่าจะดำเนินการช่วยเหลือพวกตนอย่างไรได้บ้าง อาจจะเป็นเพราะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ
สิ่งที่พวกผมต้องการคือ การโอนย้ายเข้าเรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ตามที่ตั้งใจไว้ เพราะจะให้ซิลแล้วกลับไปสอบใหม่คงลำบากเนื่องจากพวกไม่ได้สอบแบบทดสอบวัดความถนัดทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบวัดความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) จึงขอวิงวอนให้สถาบันอุดมศึกษาที่มีคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งสภาการพยาบาลให้การรับรองขยายจำนวนรับพวกผมเข้าเรียน อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ได้เข้าเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ตามที่ต้องการ ก็คงต้องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากมหาวิทยาลัยที่ทำให้พวกผมต้องเสียเงินจำนวนถึงคนละ 130,000 บาท ในการลงทะเบียนเรียน และเสียเวลาเรียนมาแล้ว 1 ปี นายอนุพร กล่าว
สธ.พร้อมช่วยนศ.พยาบาลในวิทยาลัยไม่ผ่านหลักสูตร
ที่กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเวลา 13.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่มีนักเรียนพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี จ.อุบลราชธานี เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี กรณีที่มหาวิทยาลัยราชธานีเปิดรับนักเรียนพยาบาลเกินจำนวนที่สภาการพยาบาลให้การรับรองว่า เรื่องนี้ตนตั้งใจดูแลและให้การช่วยเหลืออยู่แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้กรณีของวิทยาลัยนครราชสีมาได้มีการหารือในที่ประชุมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาทางออก โดยมีมติให้สถาบันพระบรมราชชนกพร้อมด้วยวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเข้าไปช่วยดูว่าจะสามารถรองรับนักศึกษาพยาบาลเหล่านั้นเข้าเรียนต่อ โดยโอนถ่ายหน่วยกิตมาได้หรือไม่ แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมากลับมีกรณีเช่นเดียวกับวิทยาลัยนครราชสีมาเข้ามาอีก
ดังนั้นตนจึงได้มอบให้รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขหารือกับทางสภาการพยาบาลเพื่อตรวจสอบข้อมูลและข้อเท็จจริงว่ามีวิทยาลัยที่มีปัญหากี่แห่ง เพื่อที่จะได้วางแผนที่เป็นการช่วยเหลือทั้งระบบ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้จะนำเข้าหารือในที่ประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขในสัปดาห์หน้า และจะเชิญสภาการพยาบาลมาให้ข้อมูลด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า กรณีที่สถาบันการศึกษาเปิดรับสมัครนักเรียนพยาบาล ทั้งๆ ที่ทราบแล้วว่า หลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรองจากสภาการพยาบาล ซึ่งกรณีนี้เข้าข่ายลักษณะ คงไม่ต้องบอกว่าลักษณะใด เพราะคงทราบดีกันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามนักศึกษาพยาบาลที่เข้าเรียนถือว่าเป็นผู้สุจริต หากต้องการให้กระทรวงสาธารณสุขช่วยเหลืออย่างไรก็พร้อมเต็มที่ รวมถึงการประสานไปยังวิทยาลัยพยาบาลอื่นๆ ทั้งที่สกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรับโอนย้ายนักศึกษาพยาบาล
แนวทางในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเห็น หากวิทยาลัยพยาบาลใดที่มีปัญหา หลักสูตรไม่ผ่านการรับรอง ก็ควรเปิดเผยรายชื่อเพื่อให้เป็นที่ทราบโดยทั่วไป รมว.สาธารณสุข กล่าว
โดย: คนบ้านเราเท่ากับควายบวกกระบือ [6 พ.ค. 53 7:30] ( IP A:58.8.12.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
บ้านเขามองเห็นอินเตอร์เน็ทเป็นโอกาส
ถ้าไม่แน่ใจเขาก็วิจัย (วิจัยแล้วว่าเรียนกายวิภาคศาสตร์ในห้องแล็บกับศพ ได้ผลการเรียนเท่ากับเปิดซีดีดู)
บ้านเรามองทุกอย่างเป็นอุปสรรค แล้วก็นั่งเฉยๆ รอเรียตู ด ฝรั่ง
มันจูงจมูกก็เดินตามมัน เท่ห์ อยากไปเรียนเมืองนอก
พยาบาลเขาเรียนออนไลน์ อีกหน่อยคนไทยสมัครเรียนสหรัฐได้
คนไทยจ่ายตังค์ สหรัฐรวย
วิชาแพทย์คงได้เรียนออนไลน์เร็วนี้แบบพยาบาล
โดย: ควายเรียกพี่ [6 พ.ค. 53 7:35] ( IP A:58.8.12.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
จีนแดงมีหลักสูตรแพทย์อินเตอร์
บ้านเราต้องคนไทยเท่านั้น
https://www.bestcollegechina.com/
โดย: ใครว่าเจ็กโง่ [6 พ.ค. 53 7:39] ( IP A:58.8.12.66 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1273153254&grpid=03&catid=
โดย: เพิ่งว่าไปตะกี้ มาอีกแล้ว [7 พ.ค. 53] ( IP A:58.8.11.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
https://www.rssthai.com/reader.php?t=education&r=14958
โดย: ........ [12 พ.ค. 53 12:12] ( IP A:203.131.217.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ผมจะบอกให้นะว่า หมอทั่วโลกก็ส่งไกลไปทั่วโลก
สมัยสงครามเวียตนาม สหรัฐ รับไม่อั้น หมอไทยเหมาเครื่องบินไปทั้งรุ่น (เขาว่ารามารุ่นอะไรรุ่นหนึ่งไปเกือบทั้งรุ่น)
พวกนี้ที่ผมรู้จักหลายคนก็กลับมาพร้อมความรู้และประสบการณ์
แต่มันก็มีวันเต็ม เขาก็งดและบีบให้เข้าสหรัฐยาก ตัดงบอบรม
การส่งออกก็มีประโยชน์ ดังนั้นก็ต้องมีบ้าง แต่หากว่าผลิตจนพอ ภายในก็ไม่น่าจะมีปัญหา
การจำกัดโดยวงการแพทย์ จึงเป็นตัวปัญหา แม้กระทั่งสหรัฐเอง สมาคมแพทย์เขาก็ออกมารับว่ามองพลาดไปจนเป็นปัญหาหมอขาดแคลน
เมืองไทยก็น่าจะขยับตัว อย่าเดินตามแก้ปัญหา ต้องแก้ให้เกินปัญหา ซึ่งการผลิตคนโดยเฉพาะหมอพยาบาลซึ่งไม่เคยมีปัญหาตกงาน ก็ควรผลิตให้ล้นไว้ และผลิตไม่ยาก เพราะพวกนี้เรียนดี มีปัญญาเรียน
ปัญหาส่งออกหมอนี้เป็นปัญหาที่อ้างและกลัวกันมาตลอด ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่ากลัวเท่ากับไม่มีหมอพยาบาลใช้ แม้ให้คนที่ไป ตปท ทุกวันนี้กลับมาก็ไม่พออยู่ดี
อีกหน่อยอินเตอร์เน็ทจะแก้ปัญหาหมอขาดแคลนได้ด้วย
โดย: ฟฟ [13 พ.ค. 53 8:00] ( IP A:58.8.240.210 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
-อะไร คือ แรงจูงใจ ในการคิดเปิด หลักสูตรนานาชาติ ???
(การเพื่อให้ได้ Ranking ระดับโลกเช่นนั้นหรือ)
- ต้องใช้ทุน เหมือนใน หลักสูตรนานาชาติสิงคโปร์หรือไม่
และเหมือนนักศึกษาแพทย์ในหลักสูตรปกติหรือไม่
- แพทยสภาคิดเกณฑ์ที่จะรับรอง คณะแพทย์ ที่จะเปิดหลักสูตรนานาชาติแล้วหรือยัง ถ้าคิดแล้วมันคืออะไรบ้าง ได้คิดถึงบริบทของสังคม คุณภาพระดับนานาชาติ และ ผลกระทบหรือไม่
- มีการรับรองคุณภาพในระดับนานาชาติหรือไม่
เพราะถ้าไม่ได้รับรองก็เท่ากับได้เรียนหลักสูตรแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ต้องไปสอบ อะไร ต่ออะไรใหม่เองหมด
- จริง ๆ แล้วมีความพร้อมหรือไม่ คนไข้พูดภาษาอะไร กับ คนบรูไน คนอินโดนีเชีย ที่จะมาเรียน ต้องพูดภาษาอะไร
- การฝึกปฏิบัติในชุมชนทำอย่างไร
- อาจารย์แพทย์ เจ้าหน้าที่สนับสนุน และ ระบบรองรับต่อนักศึกษาต่างชาติเป็นอย่างไร
- ระบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างไร
- จะส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติทั่วไปหรือไม่
- ใช้โรงพยาบาลใด ผลิต รัฐหรือเอกชน
- เห็นด้วยที่จะเริ่มด้วยระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท ป.เอก) ก่อน
- เห็นด้วยถ้าแพทย์ไทยเริ่มอิ่มตัวแล้ว
- เห็นด้วยถ้ามีการเริ่มสอนเป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรปกติก่อนจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้วขยายออกไปสู่เป็นหลักสูตรระดับ นานาชาติ
"การมุ่งสู่นานาชาติทั้งหลายทั้งปวง สถาบันการศึกษากำลังตอบสนองใคร เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการจริง ๆ หรือ หรือเืพื่อตอบสนองชื่อเสียงคนในสถาบันตัวเองเพื่อรายได้ โดยไม่ได้คิดถึง สังคมผู้เป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่ใช้กันอยู่"
ไม่มีสถานศึกษาใดในประเทศไทย ที่บอกว่า "การศึกษาคือสินค้า" แต่ผุ้บริหารต่างหากที่กำลัง "เสนอขายการศึกษา"
โดย: ..... [13 พ.ค. 53 13:39] ( IP A:58.9.246.62 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
-อะไร คือ แรงจูงใจ ในการคิดเปิด หลักสูตรนานาชาติ ???
(การเพื่อให้ได้ Ranking ระดับโลกเช่นนั้นหรือ)
ผมไม่สนใจหรอกว่าอะไร เพียงแต่หากผลิตคนมีความรู้ขึ้นมาได้ผมว่าไม่ขาดทุน คุณได้คน ส่วนผมก็ได้แหล่งผลิต
****
- ต้องใช้ทุน เหมือนใน หลักสูตรนานาชาติสิงคโปร์หรือไม่
และเหมือนนักศึกษาแพทย์ในหลักสูตรปกติหรือไม่
ผมว่าการใช้ทุนก็ให้ใช้แบบเก่า แต่ถ้าจ่ายทุนเรียนเอง ก็ไม่ต้องไปให้เขาใช้ทุน
****
- แพทยสภาคิดเกณฑ์ที่จะรับรอง คณะแพทย์ ที่จะเปิดหลักสูตรนานาชาติแล้วหรือยัง ถ้าคิดแล้วมันคืออะไรบ้าง ได้คิดถึงบริบทของสังคม คุณภาพระดับนานาชาติ และ ผลกระทบหรือไม่
ผมว่า เกณฑ์มันมีอยู่เก่าแล้ว การสอบวัดผลเป็นเกณฑ์ที่ดีที่สุด
****
- มีการรับรองคุณภาพในระดับนานาชาติหรือไม่
เพราะถ้าไม่ได้รับรองก็เท่ากับได้เรียนหลักสูตรแพทย์ที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ต้องไปสอบ อะไร ต่ออะไรใหม่เองหมด
เกณฑ์เก่าก็มีอยู่แล้ว แหล่งผลิตก็ไม่ยาก ตอนนี้ ก็เล็คเช่อร์ที่เดียว เรียนออนไลน์ได้ทั่วประเทศ ระดับประถมก็ทำอยู่ อายเด็กเปล่าๆ
****
- จริง ๆ แล้วมีความพร้อมหรือไม่ คนไข้พูดภาษาอะไร กับ คนบรูไน คนอินโดนีเชีย ที่จะมาเรียน ต้องพูดภาษาอะไร
ก็ใช้ภาษาอังกฤษปนภาษาไทย
- ****
- การฝึกปฏิบัติในชุมชนทำอย่างไร
ส่งไปตาม รพ ตจว มีมากจนเหลือเฟือ ทั้งคนไข้ทั้งหมอ ระบบคอนเฟอร์เรนท์จะช่วยแก้ปัญหาคนสอนที่มีคุณภาพ ร่วมกับหมอในตจว ที่จะได้เรียนรู้ด้วย (เขาก็ต้องเรียนรู้และควรจะเรียนรู้ ไม่งั้นเดี๋ยวโดนฟ้อง)
*****
- อาจารย์แพทย์ เจ้าหน้าที่สนับสนุน และ ระบบรองรับต่อนักศึกษาต่างชาติเป็นอย่างไร
ไม่น่าจะมีปัญหา มีเงินมา คนก็มาเอง
*****
- ระบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเป็นอย่างไร
เรียนไม่ได้หรือในห้องเรียน ต้องไปฝึกกับคนไข้ อยู่กับคนไข้ คุณธรรมก็มาเอง ไม่มาเขาก็ร้องเรียน
*****
- จะส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติทั่วไปหรือไม่
ไม่หรอก คนรวยก็เรียนมหาวิทยาลัยเอกชน คนจนก็เรียนราม เรียนมสธ เรียนมหาวิทยาลัยของรัฐ
*****
- ใช้โรงพยาบาลใด ผลิต รัฐหรือเอกชน
ทุกโรงที่ให้ความร่วมมือ
*****
- เห็นด้วยที่จะเริ่มด้วยระดับบัณฑิตศึกษา (ป.โท ป.เอก) ก่อน
อันนี้ผลิตให้ดียากกว่าแพทย์ และใช้เงินมากกว่า
****
- เห็นด้วยถ้าแพทย์ไทยเริ่มอิ่มตัวแล้ว
ชาติหน้าตอนบ่ายๆจึงจะอิ่ม
*****
- เห็นด้วยถ้ามีการเริ่มสอนเป็นภาษาอังกฤษในหลักสูตรปกติก่อนจนเกิดความเชี่ยวชาญแล้วขยายออกไปสู่เป็นหลักสูตรระดับ นานาชาติ
พวกเซนต์คาเบรียลคงหัวเราะ คนเรียนเขามีปัญญาเรียน อย่ามองอุปสรรค ปัญหาจะแก้ไม่ได้
*****
"การมุ่งสู่นานาชาติทั้งหลายทั้งปวง สถาบันการศึกษากำลังตอบสนองใคร เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการจริง ๆ หรือ หรือเืพื่อตอบสนองชื่อเสียงคนในสถาบันตัวเองเพื่อรายได้ โดยไม่ได้คิดถึง สังคมผู้เป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่ใช้กันอยู่"
ผมว่าได้คนที่คุณประเมินว่าสอบผ่านมีคุณภาพ เป็นอันดับแรกก่อน สิ่งอื่นๆจะค่อยๆตามมา
สมัยเปิดรามาธิบดี หรือขอนแก่น คนเขาก็เป็นห่วงว่ามันจะไหวหรือ
*****
ไม่มีสถานศึกษาใดในประเทศไทย ที่บอกว่า "การศึกษาคือสินค้า" แต่ผุ้บริหารต่างหากที่กำลัง "เสนอขายการศึกษา"
ชีวิตจริงทุกอย่างเป็นเรื่องของธุรกิจ ไม่มากก็น้อย ถ้าการศึกษาเป็นการซื้อขายก็ได้ เพียงแต่ว่าสินค้าต้องดี คนซื้อพอใจ ซื้อไปใช้แล้วกำไร
โดย: aa [14 พ.ค. 53 9:38] ( IP A:58.8.10.124 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
คำตอบสุดท้าย
ชีวิตจริงทุกอย่างก็เป็นการค้า มาหรือน้อยอีกเรื่องหนึ่ง คนขายก็ต้องขายสินค้าดี ส่วนคนซื้อก็ได้ของดีที่เขาพอใจ เอาไปใช้ ไปทำกำไรได้ การค้ามิใช้เรื่องเสียหาย การค้าที่ไม่แฟร์ไม่ใช่การค้า
โดย: ฟฟ [14 พ.ค. 53 9:40] ( IP A:58.8.10.124 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน