ความคิดเห็นที่ 1 วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 22:34:55 น. มติชนออนไลน์
แพทยสภาหนุนกม.อุ้มบุญแก้แย่งเด็กน่ารัก-ทิ้งเด็กพิการ ชี้นำ "อสุจิ-ไข่"ทำสเต็มเซลล์ อวดอ้าง ผิดกม.
นายกแพทยสภาเผยการใช้"อสุจิ-ไข่" ทำเป็นสเต็มเซลล์อวดอ้างรักษาโรคผิดกฎหมายยังถือเป็นการฆ่าคน "อุ้มบุญ" เปิดทางให้หญิงที่ตั้งท้องแทนเบิกค่ารักษาได้ แก้ปัญหาแย่งเด็กน่ารักทิ้งเด็กพิการ
ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ โดยมีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคพ.) มีปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนนั้น
เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ศ.นพ.สมศักดิ์ โลห์เลขา นายกแพทยสภา ในฐานะรองประธาน กคพ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาแพทยสภามีการออกประกาศแพทยสภา เพื่อควบคุมมาตรฐานการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ โดยเป็นประกาศแพทยสภา ที่ 1/2540 เรื่อง มาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ซึ่งมีการกำหนดชัดเจนว่าผู้ที่จะสามารถดำเนินการได้ ต้องเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และใบรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้ที่จะรับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื่องการมีบุตรยาก รวมไปถึงผู้ที่ยังไม่มีสามีแต่ต้องการมีบุตรก็ได้ด้วย ส่วนหญิงที่จะรับอุ้มบุญ จะต้องไม่ใช่หญิงโสดและผ่านการคลอดบุตรมาแล้ว เพื่อให้การคลอดบุตรง่าย และต้องเป็นผู้ที่ไม่มีสายเลือดใกล้ชิดกันกับคู่สมรสโดยตรง จึงจะขอรับเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อตัดปัญหาความผูกพันกับทารก
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวอีกว่า แต่ปัญหา คือ ประกาศแพทยสภาฉบับนี้ไม่มีบทลงโทษ จะเอาผิดได้ก็เฉพาะแพทย์ ซึ่งต้องมีผู้ร้องเรียน ทำให้เหมือนเป็นหลักเกณฑ์ที่ปราศจากอำนาจ แต่มติ ครม.ที่ออกมาจะเป็นตัวรับรองให้กฎหมายใช้ได้จริง ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิและไข่ของสามีภรรยาต้องชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่าหญิงที่รับอุ้มบุญจะไม่สามารถใช้ไข่ของตัวเองผสมกับอสุจิของพ่อได้ เพื่อป้องกันความผูกพัน โดยเนื้อหาจุดนี้จะช่วยให้สามารถเบิกค่ารักษาได้ จากเดิมไม่สามารถดำเนินการได้เลย
"ปัญหาเรื่องการอุ้มบุญพบมานาน โดยเฉพาะการเบิกค่าบำรุงรักษาสุขภาพของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน ซึ่งไม่สามารถเบิกได้ เพราะไม่ใช่บุตรที่ออกมาจากท้องของแม่ ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิที่สามารถใช้ในระบบหลักประกันสุขภาพ อีกทั้ง ยังมีปัญหาทารกที่เกิดน่ารัก จนทำให้หญิงที่รับอุ้มบุญให้ชั่วคราวอยากรับเลี้ยง หรือ เด็กที่เกิดมามีความพิการจนไม่เป็นที่ต้องการของใคร ทำให้เกิดปัญหา" นายกแพทยสภาระบุ
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการใช้ประโยชน์จากอสุจิ และไข่ของเจ้าของที่ฝากไว้และตายลง โดยนำมาทำเป็นสเต็มเซลล์เพื่ออวดอ้างการรักษาโรค ซึ่งผิดกฎหมาย และยังถือเป็นการฆ่าคนด้วย ซึ่งหากร่างกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้จะช่วยแก้ปัญหาได้ รวมทั้งจะเป็นการป้องกันการรับจ้าง และโฆษณารับอุ้มบุญด้วย
นายกแพทยสภากล่าวว่า ปัจจุบันมีสูตินรีแพทย์ด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ราว 100 คน ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ รวมทั้งพ่อ แม่ และหญิงรับอุ้มบุญ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตาม จากนี้ไปจะมีบทลงโทษตามความผิดที่แตกต่างกันไป เช่น จำคุกตั้งแต่ 3-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ยังไม่สามารถประกาศใช้ได้ทันที เนื่องจากต้องรอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร คาดว่าอีกนาน และหากมีการยุบสภาจะต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาใหม่ | โดย: แต่ไม่ค่อยมีการบังคับใช้ [13 พ.ค. 53 8:17] ( IP A:58.8.240.210 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 สมัยผมเรียน มสธ อ่านหนังสือ หน้าแรกบทนำ อาจารย์สถิตย์ เล็งไธสงค์เขียนไว้ว่า ลอร์ดเลนนิ่ง ปรมาจารย์กฏหมายชาวอังกฤษ กล่าวว่า หากกฎหมายไม่มี ไม่ทันใช้ ให้ศาลตัดสินคดีจะดีกว่า ถือเป็นกฏหมาย เร็วกว่าจะไปร่างกฎหมาย คดีความบ้านเรา ดีแต่ยอมๆกัน จนกฎหมายไม่ต้องบังคับใช้ และไม่มีแนวทาง คดีอุ้มบุญ เอาไปฟ้อง รับรองศาลมีปัญญาใช้กฎหมายที่มีอยู่ตัดสินได้ ก็จะเป็นแนวทางไม่ต้องออกกฏหมายใหม่ นี่ขยันออกกันจัง ออกกันจนพันขาตัวเอง จะรู้สึก | โดย: ฟฟ [13 พ.ค. 53 8:21] ( IP A:58.8.240.210 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ปีก่อนผมเคยไปขึ้นศาลเรื่องอุ้มบุญ พ่อแม่ตัวจริงขอรับรองบุตร
ปรากฎว่าศาลตัดสินไม่ได้ครับ | โดย: forensic MD [13 พ.ค. 53 8:53] ( IP A:124.157.190.68 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 การตัดสินผิดถูก กฎหมายเขาก็บังคับศาลไว้แล้วว่าห้ามอ้างว่าตัดสินไม่ได้เพราะไม่มีกฏหมาย ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้หลักกฎหมายทั่วไป ถ้าไม่มีหลักกฎหมายทั่วไปให้ใช้จารีตประเพณี ผมไม่แน่ใจว่าอันไหนมาก่อน เอาไว้จะตรวจสอบแล้วยืนยันอีกทีหนึ่ง ศาลต้องฟันธง จึงจะเป็นแนวทำตาม หากแม้ว่าใครมีเหตุผลดีกว่าก็กลับคำพิพากษาใหม่ได้ | โดย: ฟฟ [13 พ.ค. 53 9:54] ( IP A:58.8.15.229 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ถ้าผมเป็นศาล ผมตัดสินว่าการเป็นพ่อแม่ลูกกันนั้น ต้องไปตามสายพันธุ์ พ่อแม่บุญธรรมกับลูกบุญธรรม ดีเอ็นเอจะไม่ตรงกัน ไข่ที่ไปฝากท้องนาง ก จะไม่มีดีเอ็นเอ นาง ก. นาง กไม่ใช่แม่ ไม่งั้นอีกหน่อยเกิดฝากวัว ฝากควายได้ หรือใส่เครื่องมดลูกเทียมได้ วัวควายหรือเครื่องจะเป็นแม่แทน ดังนั้นให้เป็นตามสายพันธุ์ เว้นแต่มีการโต้แย้งหรือตกลงเป็นอย่างอื่นก็ให้เป็นแค่แม่บุญธรรม | โดย: ฟฟ [13 พ.ค. 53 13:53] ( IP A:58.8.15.229 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 สิทธิ์ขาดต้องไปตามข้อตกลงก่อนทำอุ้มบุญ ถ้าคนอุ้มบุญได้รับสิทธิ์เป็นแม่(เจ้าของไข่และเชื้อยกให้) ก็ให้เป็นแค่แม่บุญธรรม เวลาหาดีเอ็นเอจะได้ไม่สับสน | โดย: ฟฟ [13 พ.ค. 53 14:05] ( IP A:58.8.15.229 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 กฎหมายที่มีอยู่ ก็ไม่มีผลบังคับใช้เท่าที่ควร บางที่การออกกฎหมายใหม่ ๆ ก็อาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหา แบบราชประสงค์น่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่าหรือไม่ | โดย: โป้ง ๆ ๆ ๆ ๆ [14 พ.ค. 53 6:29] ( IP A:58.9.217.135 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 การนำคดีไปสู่ศาล เป็นการบังคับใช้กฎหมาย ขณะเดียวกันในประเทศที่ใช้คอมมอนลอว์ แบบอังกฤษและสหรัฐ ก็จะเอาคำพิพากษาเป็นกฎหมาย อันนี้บังคับเด็ดขาด บ้านเราแม้ไม่ได้ใช้ระบบคอมมอนลอว์ แต่คำพิพากษาก็ถือเป็นแนวทางได้ ไม่บังคับเด็ดขาด แต่เป็นแนวทางที่ดีและใช้อ้างกันบ่อย ดังนั้นหากไม่ได้รับความเป็นธรรมและรอกฎหมายใหม่ไม่ได้ การไปศาลก็จะเป็นทางออกที่เร็ว เพราะออกกฎหมาย พวก ส.ส. พวกเสียประโยชน์มันก็ล้อบบี้ ดองกฏหมาย ทำแท้งกฎหมาย หรือทำคลอดกฎหมายให้พิกลพิการหลังจากมันแก้ไขบิดเบือนกันในขั้นตอนแก้ไขในสภา บางทีขนาดผ่านกฤษฏีกาจนดีแล้วได้ข่าวว่ามีพวกแสบไปแอบแก้จนมีเรื่องพันคอตัวเอง (พรบ สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 7 นรกมีจริง) | โดย: ฟฟ [14 พ.ค. 53 8:54] ( IP A:58.8.15.229 X: ) |  |
|