จุรินทร์ ปัดเสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับเอ็นจีโอ
    จุรินทร์ ปัดเสนอ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับเอ็นจีโอ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 มิถุนายน 2553 18:53 น.

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000086074

"จุรินทร์" ปัดไม่ได้ดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เวอร์ชั่นฉบับเอ็นจีโอ เผยเข้าครม. ย้ำแค่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ฯ ที่ผ่านกฤษฎีกา แจงหากมีฝ่ายใดไม่เห็นด้วยเสนอแก้ผ่าน กรรมาธิการได้ ด้านแพทยสภาค้าน สธ.ตั้งผู้ไม่รู้วิชาหมอมาเป็นกรรมการด้านวิชาชีพแพทย์ ฝ่ายเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ แฉมี ร่างพ.ร.บ.ฯ ดองใน สภาฯ 7 ฉบับ เตรียมประชุมหาข้อสรุป เดือน ส.ค.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีแพทยสภามีหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้มีมติทบทวนร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 ว่า เป็นเพียงการเข้าใจผิดเท่านั้น และยืนยันว่าข้อเท็จจริงนั้น ตนไม่ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ของฝ่ายใดเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก เพียงแต่ระหว่างที่เข้ามาบริหารงานนั้นเลขาธิการ ครม.สอบถามว่า ตนเห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.ของ สธ.ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกาหรือไม่ ซึ่งตนก็เห็นด้วยและยืนยันร่างดังกล่าว เพื่อให้เข้าสู่ที่ประชุมครม. และนำไปสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีประโยชน์กับทั้งฝ่ายผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากหากเกิดกรณีอุบัติเหตุ หรือความเสียหายใดๆก็จะมีคณะกรรมการชุดหนึ่งมาพิจารณาเพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดคดีการฟ้องร้องของแพทย์ และยังช่วยเหลือผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม สำหรับรายละเอียดในกฎหมาย หากกลุ่มใดไม่เห็นชอบหรือมีอะไรเพิ่มเติมสามารถเสนอเพื่อแก้ไขได้ในขั้นของกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร แต่หากยังไม่แล้วเสร็จก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติม โดยการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและสภาวุฒิสภา เพื่อหาข้อสรุปได้เช่นกัน

ขณะที่ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาเห็นด้วยที่จะมี พ.รบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ... เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการโดยเฉพาะประเด็นที่จะเอาผิดกับแพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำการรักษา และการให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับทางการแพทย์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพราะเป็นเหมือนการใช้ระบบเสียงข้างมากในการตัดสินหลักการทางการแพทย์ โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลเชิงวิชาการด้านการแพทย์ใดๆทั้งสิ้น

นายกแพทย์สภา กล่าวด้วยว่า จากศึกษารายงานกฎหมายในลักษณะใกล้เคียงกันถึง 10 ฉบับ พบว่า หลักการดำเนินการในเรื่องนี้ของประเทศสวีเดนเหมาะที่ประเทศไทยจะนำมาปรับปรุง เนื่องจากการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ได้รับความเสียหาย โดยยึดหลักหากแพทย์รักษาด้วยวิธีการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้วเกิดความผิดพลาดขึ้น จะไม่มีการจ่ายเงินชดเชย แต่หากเกิดความผิดพลาดจากการรักษาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้จึงจะมีการจ่ายชดเชย การดำเนินการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ในไทยจะทำแบบผิวเผินไม่ได้ ควรมีทบทวน พิจารณา และศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง โดยเทียบกับประเทศต่างๆที่มีการดำเนินการเช่นนี้ เมื่อได้ข้อสรุปควรเริ่มทดลองใช้ในบางพื้นที่ก่อนไม่ใช่เริ่มพร้อมกันหมดทั้งประเทศ

“ท้ายที่สุดหากร่างพรบ.นี้มีผลบังคับใช้โดยไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ผลเสียจะเกิดกับประชาชนเอง แพทย์ไม่เสียอะไรถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้องก็แค่ไม่รักษา แต่ผู้ป่วยจะไม่มีคนรักษาโรค และจะเป็นช่องโหว่ให้คนหาเงิน ด้วยการไปพบแพทย์บ่อยๆแล้ว อ้างว่าเกิดความเสียหายจากการรักษาของแพทย์เพื่อหวังได้เงินชดเชยโดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิดใดๆทั้งสิ้น เช่น ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าแพ้ยา ก็จะได้เงินทันที ซึ่งเงินที่นำมาจ่ายก็ได้จากรัฐบาลและประชาชนที่ต้องเสียเงินมากขึ้นทั้งสิ้น”ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว

ด้านนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 7 ร่าง ประกอบด้วย ร่างของ สธ. ที่รวมกับร่างของแพทยสภาและของภาคประชาชนเขย่ารวมกัน เป็นร่างหลัก แต่ประเด็นคือ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ สธ. มีความพยายามในการจัดตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขไปอยู่ภายใต้กระทรวง โดยให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นผู้บริหาร ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากสำนักงานกองทุนฯ ควรเป็นองค์กรอิสระ ไม่ควรอยู่ในสังกัดของ สธ. ที่มีฐานะเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นคู่กรณีกับผู้เสียหายอยู่แล้ว

นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า ส่วนร่าง พ.ร.บ.อีก 6 ฉบับ แบ่งเป็นของภาคประชาชน ซึ่งเสนอเข้าไปด้วยการรวมรวม 10,000 รายชื่อ โดยเน้นการตั้งสำนักงานกองทุนฯที่เป็นอิสระ ทั้งนี้ ที่ภาคประชาชนต้องเสนอร่วมด้วยนั้น เพื่อต้องการมีสิทธิเข้าเป็นกรรมาธิการ 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการเสนอความคิดเห็นในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎร ขณะที่อีก 5 ร่างนั้นเป็นของสส. ซึ่งส่วนใหญ่จะให้นำสำนักงานกองทุนฯ ไปอยู่ในความดูแลของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.) อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่อยากมาถกเถียง แต่ขอให้ไปสู้กันในสภาเพื่อหาข้อยุติว่า ร่าง พ.ร.บ.ลักษณะใดจะดีที่สุด ซึ่งคาดว่าจะมีการนัดประชุมในช่วงเดือนสิงหาคม จากเดิมเข้าเป็นวาระเมื่อ 12 พ.ค. 2553
โดย: จากผู้จัดการออน์ไลน์ [22 มิ.ย. 53 19:44] ( IP A:58.9.222.233 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ขณะที่ ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาเห็นด้วยที่จะมี พ.รบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ... เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย แต่ไม่เห็นด้วยในวิธีการโดยเฉพาะประเด็นที่จะเอาผิดกับแพทย์ พยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำการรักษา หลักการของพรบ.ฉบับนี้คือเยียวยาผู้เสียหาย และลดปัญหาการฟ้องร้อง ยังไม่มีสาระสำคัญส่วนไหนที่ระบุว่าจะเอาผิดกับแพทย์หรือพยาบาลเลย เพียงแต่ร่าง 7 ฉบับนั้นสาระต่างกันออกไปเพียงเล็กน้อย แต่สามารถไปปรับได้ในสภาฯ ฝนยังไม่ตกนายกแพทยสภาก็กางร่มแล้ว จะหาเสียงไปถึงไหน

และการให้ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นร่วมเป็นคณะกรรมการในการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับทางการแพทย์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพราะเป็นเหมือนการใช้ระบบเสียงข้างมากในการตัดสินหลักการทางการแพทย์ โดยไม่คำนึงถึงข้อมูลเชิงวิชาการด้านการแพทย์ใดๆทั้งสิ้น
ประกอบไปด้วยบุคคลหลายฝ่าย เขายึดหลักโปร่งใสตรวจสอบได้ ที่ผ่านมาปัญหาเกิดเพราะแพทยสภาประกอบไปด้วยแพทย์ทั้งสิ้นไม่มีคนนอกอยู่เลยไม่ใช่หรือ ความเป็นธรรมพวกคุณไม่เคยให้ชาวบ้านแล้วยังกล้าออกมาพูดแบบนี้อีก

นายกแพทย์สภา กล่าวด้วยว่า จากศึกษารายงานกฎหมายในลักษณะใกล้เคียงกันถึง 10 ฉบับ พบว่า หลักการดำเนินการในเรื่องนี้ของประเทศสวีเดนเหมาะที่ประเทศไทยจะนำมาปรับปรุง เนื่องจากการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ได้รับความเสียหาย โดยยึดหลักหากแพทย์รักษาด้วยวิธีการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แล้วเกิดความผิดพลาดขึ้น จะไม่มีการจ่ายเงินชดเชย แต่หากเกิดความผิดพลาดจากการรักษาที่สามารถหลีกเลี่ยงได้จึงจะมีการจ่ายชดเชย
คนที่เขายกร่างกฎหมายฉบับนี้เขาศึกษาวิจัยกันมาดีแล้ว โดยยึดต้นแบบมาจากสวีเดนที่คุณพูดนั่นแหละ ไม่ใช่ไม่มีความรู้ คณะกรรมการของสวีเดนเขาก็ประกอบไปด้วยบุคคลหลายฝ่าย เวลาเขายกร่างทำไมนายกแพทยสภาไม่เข้าไปมีส่วนร่วม แต่พอเขาทำเสร็จดีแต่วิจารณ์โดยไม่รู้ที่มาที่ไป

การดำเนินการพิจารณาร่างพ.ร.บ.นี้ในไทยจะทำแบบผิวเผินไม่ได้ ควรมีทบทวน พิจารณา และศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้ง โดยเทียบกับประเทศต่างๆที่มีการดำเนินการเช่นนี้ เมื่อได้ข้อสรุปควรเริ่มทดลองใช้ในบางพื้นที่ก่อนไม่ใช่เริ่มพร้อมกันหมดทั้งประเทศ
เขาฟังความคิดเห็นกันนานเป็นปี ๆ คุณไม่รู้หรือ ผู้เชี่ยวชาญจากสวีเดนก็มาวิจารณ์กฎหมายฉบับนี้ของไทย ชมเปราะว่าก้าวไกลกว่าของเขาเรื่องการพัฒนาระบบป้องกันความเสียหาย ไม่เช่นนั้นกองทุนเท่าไหร่ก็จะไม่พอ การพิจารณาร่างนี้ไม่ได้ทำแบบผิวเผิน แพทยสภาส่งคนเข้าไปแต่ละครั้งเป็นกลุ่มหลายคน ฝ่ายผู้เสียหายเสียอีกส่วนใหญ่มีคนเดียวด้วยซ้ำไป คุณได้เปรียบทุกอย่างแล้ว จะเอาอะไรอีก

“ท้ายที่สุดหากร่างพรบ.นี้มีผลบังคับใช้โดยไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ผลเสียจะเกิดกับประชาชนเอง
อย่ามาขู่เสียให้ยาก ปล่อยให้ประชาชนไปพึ่งแพทยสภาน่ากลัวกว่าเยอะ เราไม่กลับไปพึ่งคุณหรอก

แพทย์ไม่เสียอะไรถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้องก็แค่ไม่รักษา แต่ผู้ป่วยจะไม่มีคนรักษาโรค
คุณก็ดีแต่จับคนไข้เป็นตัวประกัน เป็นถึงนายกแพทยสภาคิดได้แค่นี้หรือ คุณคือตัวปัญหาที่สร้างปัญหาให้สังคม ที่คอยยุหมอไม่ให้รักษาคนไข้ เวลาไม่ได้ดังใจ

และจะเป็นช่องโหว่ให้คนหาเงิน ด้วยการไปพบแพทย์บ่อยๆแล้ว อ้างว่าเกิดความเสียหายจากการรักษาของแพทย์เพื่อหวังได้เงินชดเชยโดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิดใดๆทั้งสิ้น เช่น ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าแพ้ยา ก็จะได้เงินทันที ซึ่งเงินที่นำมาจ่ายก็ได้จากรัฐบาลและประชาชนที่ต้องเสียเงินมากขึ้นทั้งสิ้น”ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
คุณพูดเหมือนคนอื่นเขาโง่ไปหมด คุณฉลาดอยู่คนเดียวใช่ไหมหมอสมศักดิ์ โล่ห์เลขา คุณต้องไปเช็คระบบประสาทและหัวใจของคุณว่ายังมีความเป็นมนุษย์อยู่หรือเปล่า
โดย: เครือข่ายฯ [22 มิ.ย. 53 20:02] ( IP A:58.9.222.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ขณะที่อีก 5 ร่างนั้นเป็นของสส. ซึ่งส่วนใหญ่จะให้นำสำนักงานกองทุนฯ ไปอยู่ในความดูแลของสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร(กทม.)
อันนี้ขอแก้ข่าว..ว่าร่างพรบ.ของสส.นั้นส่วนใหญ่จะให้สำนักงานตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ที่สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร
โดย: เครือข่ายฯ [22 มิ.ย. 53 20:22] ( IP A:58.9.222.233 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   อ่านข่าวเสร็จตอนแรก ผมว่าจะช่วยโต้ตอบ แต่อ่านต่อพบว่ามีคนโต้แล้ว ผมก็วางใจได้ เพราะคิดเหมือนกัน ต่างกันนิดหน่อย
สังคมสมัยนี้มันเรียนรู้ได้จากการทำงาน การไปเรียนที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่การเรียนรู้จริงๆเกิดจากการทำงาน
คนไข้ต่อสู้มานานๆจะฉลาดที่หมอโกหกไม่ได้
นี่เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมระยะหลังหมอไม่ยอมออกทีวีกับผู้เสียหาย
มันน่าละอายที่ไม่กล้าสู้หน้าคน
ผมว่าแพทย์ยังมองว่าคนไข้โง่เหมือนเดิม ที่ออกสื่อโกหกด้านเดียว
ยิ่งพูดโกหก เครดิตตัวเองยิ่งเตี้ยลง

แพทย์ไม่เสียอะไรถ้าไม่อยากเสี่ยงกับการถูกฟ้องร้องก็แค่ไม่รักษา แต่ผู้ป่วยจะไม่มีคนรักษาโรค
คุณก็ดีแต่จับคนไข้เป็นตัวประกัน เป็นถึงนายกแพทยสภาคิดได้แค่นี้หรือ คุณคือตัวปัญหาที่สร้างปัญหาให้สังคม ที่คอยยุหมอไม่ให้รักษาคนไข้ เวลาไม่ได้ดังใจ
คงไม่จริงหรอก ก็ยังมีหมอที่ต้องการเงินประกอบอาชีพซื่อสัตย์เลี้ยงชีพ ยิ่งไม่มีคนทำ ยิ่งไม่ต้องแข่ง ผูกขาดรวยคนเดียว
โดย: คนโกหกอีกหน่อยเขาก็จับได้ [23 มิ.ย. 53] ( IP A:58.8.14.19 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
    “ท้ายที่สุดหากร่างพรบ.นี้มีผลบังคับใช้โดยไม่มีการศึกษาข้อมูลอย่างลึกซึ้งและรอบด้าน ผลเสียจะเกิดกับประชาชนเอง
อย่ามาขู่เสียให้ยาก ปล่อยให้ประชาชนไปพึ่งแพทยสภาน่ากลัวกว่าเยอะ เราไม่กลับไปพึ่งคุณหรอก
อันนี้เห็นด้วย ผมเจอคดีไม่มีมูลบ่อย จนคิดว่าวันหนึ่งอาจได้เห็นกรรมการแพทยสภาติดคุกเพราะปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ
โดย: คงไม่นานเกินรอ [23 มิ.ย. 53] ( IP A:58.8.14.19 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    และจะเป็นช่องโหว่ให้คนหาเงิน ด้วยการไปพบแพทย์บ่อยๆแล้ว อ้างว่าเกิดความเสียหายจากการรักษาของแพทย์เพื่อหวังได้เงินชดเชยโดยที่ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิดใดๆทั้งสิ้น เช่น ไปพบแพทย์แล้วบอกว่าแพ้ยา ก็จะได้เงินทันที ซึ่งเงินที่นำมาจ่ายก็ได้จากรัฐบาลและประชาชนที่ต้องเสียเงินมากขึ้นทั้งสิ้น”ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าว
คุณพูดเหมือนคนอื่นเขาโง่ไปหมด คุณฉลาดอยู่คนเดียวใช่ไหมหมอสมศักดิ์ โล่ห์เลขา คุณต้องไปเช็คระบบประสาทและหัวใจของคุณว่ายังมีความเป็นมนุษย์อยู่หรือเปล่า
พวกหมอคงไม่โง่ให้หลอกขนาดนี้ ก็ขนาดผิดเห็นๆยังเอาผิดไม่ได้เลย
โดย: ง่าย/โง่ อย่างนั้นก็ดีสิ [23 มิ.ย. 53] ( IP A:58.8.14.19 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ช่วยเขาหน่อยเถอะ กำลังโดนรุม

https://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L9390586/L9390586.html
โดย: นี่แหละความจริง [23 มิ.ย. 53 1:08] ( IP A:125.25.30.221 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   เรื่องนี้เริ่มจากคนไข้ไทยเมื่อตกเป็นผู้เสียหาย รัฐไม่มีระบบรองรับปัญหา

มีสถิติของสถาบัน IOM คนไข้อเมริกันตายโดยป้องกันได้ในปี2543มากถึง 98,000-190,000 คน (Source: To Err Is Human. 2000. Kohn LT, Corrigan J, Donaldson MS, eds,. Washington, DC: National Academy, p.1.)
ไทยเราไม่มีสถิติ แต่ประมานได้โดยเอา 4 หาร ก็จะได้ตัวเลขคนไข้ไทยตายโดยป้องกันได้ประมาน 24,500-47,500 คนต่อปี มากกว่ารถชนตายเสียอีก แต่ถูกปกปิดเอาไว้ หมอคือผู้มีพระคุณยามเจ็บป่วยเราต้องพึ่งหมอ แต่ขณะเดียวกันชีวิตเราบางครั้งก็เป็นเครื่องมือลองผิดลองถูกแต่กลับไม่มีระบบมาช่วยเหลือยามเกิดความผิดพลาดขึ้น

เมื่อได้รับความเสียหาย พึ่งแพทยสภาและหน่วยงานใดไม่ได้เลย เพราะช่วยกันหมด จนคนไข้ไม่มีทางออก บางคนสู้จนหมดเนื้อหมดตัว ทั้งที่ผิดเห็น ๆ ก็ยังเอาผิดไม่ได้

พอไปฟ้องศาลก็บ่นว่าหมอลาออก โยนบาปให้ผู้เสียหาย

ชาวบ้านไม่อยากฟ้องหมอ ไม่อยากให้หมอลาออกก็รวมกลุ่มเป็นเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เรียกร้องให้รัฐจัดตั้งกองทุนชดเชยความเสียหาย จะได้ไม่ต้องฟ้องหมอให้เขาบ่น

เราคือประชาชนที่บริสุทธิ์จริง ๆ ไม่ใช่ม็อบรับจ้าง เรียกร้องตามยถากรรมมานาน 5 ปีจนพี่รวีวรรณถูกยิงตาย อดีตรัฐมนตรีสธ.นพ.มงคล ณ สงขลา จึงสั่งให้ยกร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ขึ้น

คณะทำงานยกร่างมีครบทุกหน่วยงาน หมอ, คนไข้(เครือข่ายผู้เสียหายฯ), กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง, นักกฎหมาย, นักวิชาการ และNGO จะเห็นได้ว่าไม่ใช่มีเพียง NGO ยกร่าง คนที่เขาไม่ใช่NGO ก็มีมาก

ข้อพิพาทเรื่องนี้มี 2เรื่อง
1. เรื่องแพทยสภาพยายามให้ใส่มาตราลงไปว่าห้ามฟ้องอาญาหมอ เครือข่ายฯ เองก็ไม่ต้องการให้คนไข้ฟ้องอาญาหมอเช่นกัน แต่นักกฎหมาย แม้กระทั่งกฤษฎีกาท่านบอกว่าทำไม่ได้ ไม่มีที่ไหนในโลกเขาทำกัน มันขัดต่อประมวลกฎหมายอาญาหลักของบ้านเมือง และในร่างของภาคประชาชนก็ไม่มีแม้แต่มาตราเดียวที่ระบุว่าให้ฟ้องอาญาหมอได้ (แพทยสภาพูดเท็จ)

2.เรื่องสำนักงานกองทุน กระทรวงสธ.นำเอาสำนักงานกองทุนไปไว้กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวงสธ. ผู้เสียหายก็บอกว่าไม่เอาเพราะสธ.เป็นผู้ให้บริการถือเป็นคู่กรณีของผู้เสียหาย ไม่เหมาะสม กระทรวงให้เหตุผลว่ารัฐบาลไม่ให้ตั้งสำนักงานใหม่ ผู้เสียหายบอกว่าถ้าอย่างนั้นใช้ สปสช.ก็ได้เพราะมีสำนักงานอยู่แล้ว มีสาขาทั่วประเทศ มีประสบการณ์เรื่องการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นอยู่แล้ว แต่...สธ+แพทยสภาไม่เห็นด้วยเพราะแพทยสภามีความพยายามจะยุบสปสช.อยู่

ทีนี้ชาวบ้านอย่างเครือข่ายฯ จะหันซ้ายก็ไม่ได้ หันขวาก็ไม่ได้ เราก็เรียกร้องว่าอยู่ไหนก็ได้แต่ขอให้เป็นอิสระ

เป็นเรื่องของการแย่งอำนาจ การกลัวเสียอำนาจ ไม่เกี่ยวกับเรื่องหมอจะลาออก หมอจะลาออกได้อย่างไร ในเมื่อเวลาทำชาวบ้านเสียหายแล้ว มีกองทุนชดเชยให้อย่างเป็นธรรม ด้วยความรวดเร็วเรื่องไม่บานปลายจนเป็นคดีรกศาล ทำไมแพทยสภามองในแง่ร้ายจนเกินไป

แพทยสภาเอาเวลาไปคิดเรื่องจะคืนหมอ+พยาบาลกลับสู่รพ.รัฐได้อย่างไรดีกว่า เพราะดูดไปอยู่รพ.เอกชนของตนเองเอาไปรักษาฝรั่งต่างชาติฟันกำไรกันปีละนับแสนล้าน โดยไม่ได้ลงทุนผลิตหมอแม้แต่บาทเดียว
โดย: เถียงกันยาว [23 มิ.ย. 53 17:56] ( IP A:58.9.187.236 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ร่างพรบ.ฉบับรัฐมนตรีเสนอ และฉบับประชาชนเสนอ
เข้าไป upload ได้ตาม link ข้างล่างนี้เลย

ร่างพรบ.ฉบับรัฐมนตรีนำเข้าสภา
https://f1.uploadfile.biz/file/?i=MMEHMEIEMXMVDZ

ร่างพรบ.ฉบับประชาชน
https://f1.uploadfile.biz/file/?i=MMEHMEIEMXXMDE
โดย: เครือข่ายฯ [24 มิ.ย. 53 8:52] ( IP A:58.9.187.236 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน