consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
นี่แหละฤทธิ์แพทยสภา
ก.สธ.เพื่อปฏิรูปและพัฒนาการสาธารณสุขไทย
https://www.thaitrl.org/index.php?option=com_content&task=view&id
=62&Itemid=45
แพทยสภาจับมือสภาวิชาชีพ-รร.แพทย์- คลายปม ขอถอน ร่าง พรบ.เยียวยาฯ
เขียนโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ
01 ก.ค. 2010 08:56น.
images/stories/new2.gifเมื่อวานนี้ (30 มิย.53) เวลา 9.00-16.00 น. ที่ห้องประชุม ไพจิตร ปวะบุตร กระทรวงสาธารณสุข แพทยสภาโดย นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้จัดประชุมรับฟังความเห็นกรณีร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองความเสียหายจากการ รับบริการสาธารณสุข ซึ่งได้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีไปแล้ว และกำลังจะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในสมัยประชุมวิสามัญ ในต้นเดือนสิงหาคม 2553 ที่จะถึงนี้
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากทุกวิชาชีพด้านสุขภาพ ผู้แทนโรงพยาบาลในสังกัดโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลทหารอากาศ ทหารบก ทหารเรือ ตำรวจ กรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลศุนย์ (รพศ.) โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) สภาการพยาบาล สภาทันตกรรม เภสัชสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด ประมาณ 600 คน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นว่า ร่าง พรบ.คุ้มครองความเสียหายฯ ฉบับนี้ จะทำให้ประชาชนเสียหายรุนแรง และยากจะกู้กลับคืนได้หากมีการบังคับใช้เป็นกฎหมายออกมา กล่าวคือ จะขาดบุคลากรที่จะทำหน้าที่ด้วยใจรักและอาทรผู้ป่วย เพราะ ร่าง พรบ.กำหนดให้ความสัมพันธ์ของผู้ให้บริการกับผู้ป่วยไม่ได้เป็นไปในลักษณะ เอื้ออาทรต่อกัน ผู้ให้บริการจะต้องความอาญาได้ทุกครั้งที่ดูแลผู้ป่วย และอาจส่งเสริมให้มีการทุจริตในคณะกรรมการกองทุนขึ้นได้
ที่ประชุมมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้ดำเนินการเพื่อให้มีการถอนร่าง พรบ. คุ้มครองความเสียหายฯ ฉบับนี้ ออกจากการบรรจุเข้าวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำมาทบทวนให้รอบคอบ และเกิดประโยชน์กับส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมหลายคนเห็นว่าปัจุบันมีระบบที่ดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมี ร่าง พรบ.ฉบับนี้ และว่า ร่าง พรบ.ฉบับนี้ จะทำให้เกิดคามไม่สงบ และความเสียหายขึ้น จึงไม่สมควรตราออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้
ด้านนายแพทย์ วิสุทธ์ ฯ ศัลยแพทย์ และนักกฎหมาย กล่าวว่า ร่าง พรบ.คุ้มครองความเสียหายฯ ฉบับนี้ เป็นร่างกฎหมายที่ตราขึ้น เพื่อใช้บังคับทรัพย์ทุกส่วนของผู้ให้บริการทางการแพทย์ให้ตกเป็นของกลุ่ม เอ็นจีโอ ซึ่งที่ประชุมพอใจกับการเปรียบเทียบนี้ และต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขโดยด่วนก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย
ขณะที่ผู้แทนกรมสนับสนุนบริการ กระทรวงสาธารณสุข ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสนอร่าง พรบ.ฉบับนี้ ไปให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธารณสุขพิจารณา กระทั่งความเห็นชอบจาก ครม. และถูกส่งเข้าบรรจุในวาระการพิจารณาของสภา กล่าวว่า จะนำข้อคิดเห็นที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ไปรวบรวมและเสนอให้รัฐมนตรี พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้สภาวิชาชีพทุกสภา ได้คัดค้านร่าง พรบ.ฉบับดังกล่าว และเสนอให้ผู้เกี่ยวข้องไปพิจารณาหาทางถอนร่างที่เสนอไปแล้วออกมาตามที่ได้ รับฟังความเห็นของผู้ประกอบวิชาชีพด้วย
หมายเหตุ เพิ่มเติม: ความ *** นจากนักกฎหมายมหาชน
ได้พิจารณาร่าง พรบ.ฉบับ ครม. เสนอแล้ว มีความเห็นทางกฎหมายดังนี้
๑. การพิจารณาค่าเสียหาย ใช้หลักความรับผิดทางละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามเดิมทุกประการ ยกเว้นเป็นการขยายอายุความจาก 1 ปี เป็น 3 ปี
๒. คณะกรรมการฯ จะต้องพิจารณาในเนื้อหาของการกระทำ เพื่อประกอบการจ่ายเงินชดเชย แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการ มิได้บังคับว่าคณะกรรมการทั้งหมดจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการสาธารณสุข และตัดสินโดยการลงมติ จะมีปัญหาในเรื่องการยอมรับ เพราะไม่จำต้องยึกถือตามหลักวิชา
๓. ไม่มีบทบัญญัติใดที่ห้ามมิให้กองทุนเรียกร้องหรือไล่เบี้ยจากบุคลากรทาง สาธารณสุข เมือกองทุนได้จ่ายค่าสินไหมให้แก่ผู้เสียหายแล้ว แต่อย่างใด
๔. บุคลากรต้องผูกพันตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ในฐานะเป็นคำสั่งทางปกครอง หากไม่เห็นด้วยต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ในขณะเดียวกัน ถ้าผู้เสียหายไม่เห็นด้วย ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเช่นกัน ปริมาณการฟ้องร้องจะไม่ลดลง
๕. บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดิม ตามขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
๖. คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการออกคำสั่งให้สถานบริการจ่ายเงินสมทบกองทุน ที่โอยมาจากเงินมาตรามาตรา ๔๑ แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕
๗. อำนาจการแต่งตั้งผู้ปฎิบัติงานมีครอบคลุมมากเกินไป โดยไม่กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของผู้ปฎิบัติงานนั้ๆอย่างชัดเจน
๘. โครงสร้างทางกฎหมายของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการในส่วน เกี่ยวกับการออกคำสั่ง การอุทธรณ์คำสั่ง เงินค่าชดเชย มีปัญหาทางเทคนิค
๙. กฎหมายฉบับนี้ ออกมาโดยเกินความจำเป็น สร้างความสับสนและบันทอนกำลังใจบุคคลากรด้านสาธารณสุขและซ้ำซ้อนกับกฎหมาย ที่มีอยู่แล้ว เป็นการสร้างภาระให้กับสถานพยาบาล
โดย: ยำกันเข้าไป..ถ้ายังมีแรง [2 ก.ค. 53 20:42] ( IP A:58.9.191.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ที่บอกว่าปัจจุบันระบบมันดีอยู่แล้ว
ไม่จำเป็นต้องมีร่าง พรบ . ผู้เสียหาย
ระบบอะไรดี ระบบแบบนี้เรียกว่าดี
แล้วยกระบบเลวๆให้ดูหน่อยเหอะ
เอาคน 600 คนมาตัดสินเนี่ยนะ
แม่งเมิงเอ้ย
แล้วประชาชนที่เหลือหล่ะเมิงไม่เอามาประชุมให้หมดหล่ะ
โดย: อารมณ์เสียแต่เช้า [3 ก.ค. 53 9:19] ( IP A:110.49.23.75 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ได้ค่าจ้างมาประชุมกี่บาท
แล้วได้ค่าหัวหรือเปล่าฟระแบบนี้
ค่าเบี้ยงเลี้ยประชุมเงินประชาชนนะเฟ้ย
แล้วประชุมออกมาเพื่อประชาชนอย่างนี้นะ
เวรกรรมบันไลเลย
โดย: เ็ซ็ง [3 ก.ค. 53 9:20] ( IP A:110.49.23.75 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
หมอไม่กินภาษี --> หมอเอกชน
หมอจนๆ หมอรัฐบาล
หมอหน้าบาน หมองานไม่ทำ
หมอหน้าดำ ทำงานทั้งวัน (เคสเยอะ โอกาสโดนซูก็เยอะ)
โดย: r u ok?? [13 ก.ค. 53 15:34] ( IP A:61.7.235.230 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน