ไม่ต้องขู่ รีบๆประท้วง หยุดงานไปเลย
   **วันที่ 08 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:24:39 น. มติชนออนไลน์


แพทย์ขู่!ประท้วงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากบริการสาธารณสุข ชี้ข้อเสียเพียบ ประชาชนรับกรรม


สัปดาห์ที่แล้ว มติชนออนไลน์ นำเสนอความเห็นของนายแพทย์ที่ใช้นามแฝงว่า "หมอใต้ผู้ร่วมชะตากรรม "ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ..ผ่าน เว็บไซต์ https://www.meechaithailand.com ของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานวุฒิสมาชิก ซึ่งปรากฎว่าได้รับควาาสนใจอย่างสูง


โดย นายมีชัย แนะ สภาวิชาชีพทางการแพทย์ ว่า "สำหรับร่างกฎหมายที่เล่ามานั้น ผมไม่เคยเห็น ฟังจากที่คุณหมอเล่ามาก็น่าเป็นห่วงไม่น้อย ทุกวันนี้คนไทยลอกเลียนแบบฝรั่งมามากขึ้นทุกวัน เมื่อลอกมาแล้วก็ทิ้งสิ่งดี ๆ ของคนไทย หรือบางทีก็เอามาแทนที่ความดีงามที่มีอยู่ แต่เวลาเอาของเขามานั้น ไม่ได้เอามาทั้งหมด หากแต่เอามาแต่เฉพาะส่วนที่คิดว่าตนจะได้รับประโยชน์ บ้านเมืองจึงเสื่อมโทรมลงทุกที


ที่สำคัญก็คือ เราไม่อาจพึ่งพาสภาได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะสภาก็มัวแต่ยุ่งกับการชิงไหวชิงพริบกันในทางการเมือง โดยไม่มีใครดูรายละเอียดของกฎหมายที่จะผ่านสภา ถ้าปล่อยไปเฉย ๆ กฎหมายก็คงออกมาอย่างที่ NGO บางกลุ่มต้องการ เพราะสภาอาจนึกว่าการเอาใจกลุ่มคนเหล่านั้นจะทำให้ดูดี และได้คะแนนเสียง


ดังนั้น ทางแก้ก็คือ สภาวิชาชีพทั้งหมด ควรจะหารือกันแล้วออกมาบอกว่าร่างกฎหมายนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างไรกับสังคมในอนาคต และต้องทำในลักษณะผนึกกำลังกันให้เห็นว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ บางทีรัฐบาลและสภาอาจจะรอบคอบมากขึ้นก็ได้ "


ล่าสุด พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาตที่ 5144 กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง คณะทำงานศึกษาและพัฒนาระบบบริการ สาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ได้ออกจดหมายเปิดผนึกแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าวในหลายประเด็น โดยจดหมายเปิดผนึกมีสาระสำคัญ ดังนี้



ปัจจุบันนี้ คงไม่มีเรื่องอะไรร้อนแรงในวงการแพทย์และสาธารณสุขมากไปกว่า ข่าวที่พ.ร.บ.คุ้มครองความเสียหายจากการับบริการสาธารณสุขพ.ศ. .... ถึง 6 ร่างรวมทั้งร่างของรัฐบาลที่เสนอเข้าค.ร.ม.โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบัน คือนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์


รายละเอียดมีปรากฏใน web ของแพทยสภาและใน web ข้างล่างนี้คือ
https://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=298.msg472#msg472
https://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1277214740


ซึ่งจะทำให้ท่านได้ทราบถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งข้าพเจ้าผู้เขียนบทความนี้ จะขอสรุปความไม่เหมาะ สม ที่จะก่อให้เกิด "ความเสียหาย" ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขโดยรวม และผลสุดท้ายประชาชนและประเทศชาติจะเสียหายดังนี้


1. จากหลัก การและเหตุผล นอกจากจะอ้างว่าจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของผู้ป่วยแล ะบุคลากรสาธารณสุขดีขึ้น แต่ถ้าอ่านด้วยใจเป็นธรรมแล้วจะพบว่า บุคลากรสาธารณสุข นอกจากต้องทำงานหนักทั้งกลางวันกางคืน ไม่ว่าวันราชการหรือวันหยุด เพื่อรับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน /ฟ้องร้อง/ต้องจ่ายเงินช่วยเหลือ/ชดเชยและถูกไล่เบี้ย/หรือถูกตัดสินจำคุกในคดีอาญาเหมือนเป็นฆาตกร และยังต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อเตรียมไว้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้อง ต้นทุกราย และยังต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหาย และยังต้องถูกฟ้องร้องต่อศาลได้อีก


เมื่อ ผู้ร้องขอเงินช่วยเหลือได้รับเงินค่าชดเชยแล้ว จึงจะหยุดการฟ้องคดี หรือยังสามารถไปฟ้องคดีได้อีก และยังเขียนไว้ในมาตรา 45 ว่าศาลอาจจะลงโทษหรือไม่ก็ได้
ข้อสังเกตุ


1.1 การเขียนกฎหมายแบบนี้ ผู้ป่วยจะเป็น “ฝ่ายได้ผลประโยชน์”อย่างเดียว คือได้รับการรักษา(ที่ส่วนมากฟรี) ได้รับเงินช่วยเหลือ(แปลว่าบุคลากรไม่ได้ทำผิด แต่ได้เงินช่วยเพราะมีมนุษยธรรม) และได้เงินชดเชย(แปลว่าบุคลากรทำผิด จึงต้องชดเชยความเสียหาย) และผู้ป่วย(ญาติ)ยังมีสิทธิไปฟ้องศาลแพ่งและศาลอาญาได้อีก และกฎหมายบางร่างที่เสนอเข้าไป ยังอนุญาตอีกว่าถ้าศาลตัดสินว่าแพทย์ไม่ผิดไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย ผู้ป่วยยังกลับมาขอเงินช่วยเหลือได้อีก


แต่ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์นั้น นอกจากจะต้องประกอบวิชาชีพด้วยความระมัดระวังให้อยู่ในมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ยังต้องมีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละเวลา(ที่ควรจะได้พักผ่อนอยู่กับลูกเมีย/ผัว) มาดูแลผู้ป่วยทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ เสี่ยงต่อการติดโรค ยังเสี่ยงต่อการเสื่อมเสียชื่อเสียงจากการถูกร้องเรียน กล่าวหา ฟ้องร้อง ต้องถูกไล่เบี้ยจากการที่ต้องจ่ายเงินคืนกองทุน เพราะในกองทุนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ ไม่มีเขียนไว้ที่ตรงไหนเลยว่าห้ามไล่เบี้ย และเสี่ยงต่อการถูกจำคุก ทำให้หมดอนาคตการรับราชการ ต้องถูกไล่ออกเพราะเป็นนักโทษคดีอาญา


และซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น จะถูกสภาวิชาชีพลงโทษซ้ำ เนื่องจากใครถูกจำคุก ก็จะต้องถูกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันทีโดยอัตโนมัติ



1. 2 มีบริการสาธารณะใดบ้างที่ต้องมีเงินประกันความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด ทั้งนี้การบริการสาธารณะที่จัดขึ้นโดยรัฐบาล เช่นการศึกษานั้น ถ้านักเรียนสอบตก ไม่เห็นมีการฟ้องร้องครู ว่าทำให้นักเรียน “เสียหาย” มีแต่จะลงโทษเด็กนักเรียน ให้เรียนซ้ำชั้น/ไล่ออก และไม่เห็นมีการออกกฎหมายมาคุ้มครองเด็กนักเรียนที่เสียหายจากการรับบริการการศึกษาแต่อย่างใด


หรือในระบบราชการตำรวจ ไม่เห็นมีการออกพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการที่ถูกตำรวจยิงตาย โดยที่ประชาชนคนนั้นไม่ได้เป็นผู้ร้าย (หรือถ้ามีพ.ร.บ.เช่นว่านี้ ก็โปรดบอกข้าพเจ้าผู้เขียนเรื่องนี้ด้วย)


1.3 พ.ร.บ.นี้กำหนดให้ผู้ที่ไม่รู้เรื่องการรักษาพยาบาลเลย มาเป็นกรรมการตัดสินว่าใครควรได้ค่าชดเชย ที่ไม่ได้เกิดจากการเกิดขึ้นตามธรรมดาของโรคนั้นแม้ได้รับการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือเป็นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ หรือความเสียหายที่ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตามปกติ (ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6(1, 2 และ3)ตามลำดับ


เปรียบเหมือนเอากรรมการตัดสินฟุตบอลโลก มาจากใครก็ได้ ที่ไม่เคยสอบผ่านเป็นกรรมการตัดสินฟุตบอลนานาชาติเกรดเอ


การบัญญัติไว้แบบนี้ จะเป็นการทำลายมาตรฐานการประกอบวิชาชีพแพทย์ ว่ามาตรฐานไม่มีความหมาย เพราะกรรมการที่มาตัดสินไม่รู้จักว่ามาตรฐานคืออะไร ไม่ชอบใครก็ให้ใบแดง(จำคุก) ใบเหลือง(ชดใช้ค่าเสียหาย) และตักเตือน(ด่า/ประณามหยามเหยียด)ได้ตามอำเภอใจ


สภาวิชาชีพมีพ.ร.บ.ให้ทำหน้าที่กรรมการตัดสินการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ระดับเกรดเอ แต่ประชาชนไม่พอใจ จะออกกฎหมายมาบังคับแทนกฎหมายวิชาชีพซะเอง


ขอถามว่า บ้านนี้เมืองนี้ เขาจะปกครองกันด้วยความ”สะใจ”(ถูกใจ)ใครบางพวก แต่ละเลยความ “ถูกต้อง ชอบธรรม” สมควรที่จะไว้วางใจรัฐบาลที่ยินยออมเสนอกฎหมาย เข้าสภาโดยไม่คิดให้รอบคอบ ถึงผลกระทบที่จะมีต่อประชาชน/ประเทศชาติ และมาตรฐานการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแล้วหรือ?


1.4 มีการแจ้งให้ผู้ที่จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน รู้ตัวล่วงหน้าหรือยังว่า นอกจากจะต้องทำงานบริการประชาชนแล้ว ยังต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความเสียหายอีก ถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ก็คงไม่มีปัญหาอะไร โรงพยาบาลก็ต้องขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลที่จะต้องเอาเงินภาษีจากหยาดเหงื่อแรงงานของประชาชนมาเพิ่มงบประมาณให้โรงพยาบาลเพื่อส่งเข้ากองทุน คุ้มครองผู้เสียหายนี้


ส่วนโรงพยาบาลเอกชนก็คงต้องผลักภาระนี้ให้แก่ประชาชนที่ต้องจ่ายเงินเอง อย่างแน่นอน เพราะเป็นต้นทุนที่ถูกบังคับ (โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้า)


1.5 แต่กฎหมายนี้ ดูเหมือนว่าผู้มีส่วนได้ คือประชาชน ผู้ที่มีส่วนเสียคือโรงพยาบาล/คลีนิก ร้านขายยา และผู้ประกอบวิชาชีพ แต่ถ้าอ่านกฎหมายให้ดีแล้วจะเห็นว่าประชาชนที่จะได้ประโยชน์ มีเพียงจำนวนไม่กี่คน คือพวกที่เขียนกฎหมายที่พร้อมจะเข้าไปเป็นกรรมการและอนุกรรมการ ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.นี้ คือจะเข้าสู่ตำแหน่งระดับชาติโดยไม่ต้องสอบคัดเลือก มีอภิสิทธิ์ในการตัดสินผู้ที่ต้องเรียน/สอบความรู้วิชาชีพและมีประสบการณ์รักษามายาวนาน พวกกรรมการนี้ก็ยังมีรายได้ประจำเป็นค่าประชุม/เบี้ยเลี้ยงเดินทาง และออกความเห็นโดยการยกมือตามดุลพินิจ (ดุลพินิจที่ปราศจากความรู้ คือดุลพินิจที่ไม่มีเหตุผล ไม่ต้องอาศัยความถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ทำตามอารมณ์/ความรู้สึกเท่านั้น)


แต่ประชาชนตัวจริงอีก 65 ล้านคนจะต้องเป็นฝ่ายสูญเสียโอกาสที่จะได้รับ การรักษา ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีประชาชนที่เจ็บป่วยอาการหนัก คาดว่าถ้ารักษาแล้วอาจจะมีโอกาสรอดชีวิตเพียง 20% และมีโอกาสตาย 80%(เรียกว่าจะตายมิตายแหล่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า moribund หรือ dying)


ถ้ายังไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนี้ บุคลากรในโรงพยาบาล ก็ย่อมต้องระดมสรรพกำลังมาช่วยกันรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อยื้อแย่งชีวิต (จากพญามัจจุราช)ที่มีโอกาสรอดเพียง 20% นี้ให้กลับคืนมาให้ได้


แต่ถ้ามีพ.ร.บ.ที่กล่าวถึงนี้เกิดขึ้น แทนที่บุคลากรจะกระตือรือล้นรีบช่วย รักษาให้รอดตามอัตราความเป็นไปได้ 20% บุคลากรของโรงพยาบาลก็อาจจะ (ถอดใจ)ไม่รับรักษา เพราะผู้ป่วยมีโอกาสตายถึง 80% ซึ่งจะเป็นเหตุให้บุคลากรต้องตกเป็นจำเลย/ถูกร้องเรียนให้จ่ายค่าช่วยเหลือและชดเชย และยังเสี่ยงต่อการถูกฟ้องคดีแพ่ง คดีอาญา ต้องจ่ายเงินเอง(ถ้าถูกฟ้องคดีแพ่ง) และเสี่ยงต่อการติดคุกอีกด้วย


และผู้บริหารโรงพยาบาล ก็คงจะสั่งห้ามบุคลากร ไม่ให้เอารถของโรงพยาบาล ไปส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อยังโรง พยาบาลอื่น คงจะต้องปล่อยให้ผู้ป่วย/ครอบครัวหารถไปส่งผู้ป่วยเอง เพราะถ้าผู้ป่วยไป ตายในรถของโรงพยาบาลระหว่างเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ก็คงจะต้องรับผิดชอบความตายบนรถ โดยการต้องจ่ายเงินช่วย เหลือและชดเชย และอาจจะถูกฟ้องศาลอีก


กรณีที่ยกตัวอย่างนี้ ข้าพเจ้าผู้เขียนมิได้เพ้อฝันไปเอง แต่เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ที่แพทย์ทั่วไป(General practitioner) ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ (specialist) การผ่าตัดหรือให้ยาสลบระงับความรู้สึก ไม่กล้าทำการดมยาหรือผ่าตัด เพราะเกรงกลัวบรรทัดฐานของศาลที่ตัดสินจำคุกหมอ 4 ปี ในฐานความผิดที่มีแพทย์ทั่วไปให้ยาบล็อกหลังเพื่อผ่าตัด และผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนจนถึงแก่ความตาย)


ประชาชนในท้องที่ห่างไกล ก็เลยเสียโอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดอย่างทันเวลานาทีทอง ต้องเดินทางไป “รอคิว”ผ่าตัดในโรงพยาบาลจังหวัด จนอาการที่จะต้องผ่าตัดรักษานั้นทรุดหนักจนเกินจะเยียวยารักษาก็เป็นได้ เป็นการปิดกั้นโอกาสของประชาชนในชนบท ให้ด้อยโอกาสกว่าปะชาชนในเมือง เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมมากยิ่งขึ้น


เป็นการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่สวนทางกับการแถลงนโยบายปัจจุบันที่จะ “ลดช่องว่าง”ทางเศรษฐกิจและสังคม” เป็นรัฐบาลที่พูดอย่างหนึ่งแต่ทำอีกอย่างหนึ่งที่ขัดแย้งกับคำพูดของตัวเอง


2.การยืดอายุความจาก 1 ปีเป็น 3 ปี และเริ่มนับเวลาจากการที่ "ประชาชนทราบความเสียหาย" ไม่ได้เริ่มนับจาก "วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์" ซึ่งคงจะยากในการพิสูจน์ข้อ "กล่าวอ้าง" ของผู้เสียหายว่า "ทราบความเสียหาย" เมื่อใด และถ้าประชาชน “อ้าง” ว่ายังมีความเสียหายอีก ก็ยังสามารถร้องขอ “เงินช่วยเหลือและชดเชย” ได้ถึง 10 ปี ส่วนบุคลากรนั้นทำงานไป 10ปี อาจถูกกรรมการมาชี้โทษได้ (โดยกรรมการไม่รู้เรื่องมาตรฐานวิชาชีพดังกล่าว) ถึง 10 ปี


3. พ.ร.บ.นี้ ขัดต่อหลักนิติรัฐ เนื่องจากตามปกติแล้ว กฎหมายมีไว้เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุ ประสงค์ ในการบริหาราชการแผ่นดินและการบริการสาธารณะสำหรับประชาชนใ ห้ได้รับการบริการที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่พ.ร.บ.นี้จะกระทบกับการรักษาของแพทย์ (ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น) และพ.ร.บ.นี้ขัดต่อพ.ร.ก.การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และขัดต่อพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ กำหนดอายุความแค่ 1 ปี แต่ในกรณีพ.ร.บ.นี้ ขยายอายุความเป็น 3-10 ปีถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม


นอกจากนั้น เมื่อเกิดมีการรักษาพยาบาลแล้ว การอ้างว่าไม่ต้องพิสูจฯถูกผิดนั้น จะไม่สามารถทำได้จริงเพราะคณะกรรมการมี “อำนาจ” ในการเรียกเอกสาร/พยานบุคคลมาให้การ และใครขัดคำสั่งกรรมการมีโทษถึงจำคุก เป็นการตั้งธงไว้เลยว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำผิดไว้ก่อน


เมื่อประชาชนไม่พอใจการไกล่เกลี่ย โดยไม่ยอมตกลงรับเงินตามการไกล่เกลี่ย และไปฟ้องศาลเอง ถ้าเป็นคดีที่ศาลเห็นว่าไม่สมควรได้รับเงินชดเชย ผู้ร้องยังย้อนกลับไปขอเงินชดเชยจากกองทุนได้อีก ประชาชนคิดว่าตนเองมีแต่ทางได้ไม่มีทางเสีย แต่ให้ไปอ่านข้อ 1.5 แล้วจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริงๆ


4. ถ้ารัฐบาลเสนอพ.ร.บ.นี้เข้าสภา เมื่อใด บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขาวิชาชีพ คงต้องดำเนินการประท้วงรัฐบาลนี้ ที่จะก่อให้เกิดหายนะต่อมาตรฐานวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข และทำความเสียหายแก่ประเชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และทำลายมาตรฐานการดูแลรักษาสุขภาพประชาชน


การประท้วงจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ารัฐาลยังทำตัวเป็นเด็กดื้อ ไม่ฟังการท้วงติงอย่างมีเหตุผลเชิงประจักษ์จาก ผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์และสภาวิชาชีพ
โดย: คนไข้ตายน้อยลง [8 ก.ค. 53 18:14] ( IP A:58.8.212.211 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   " Over a million patients are injured in hospitals each year, and
approximately 280,000 die annually as a result of these [iatrogenic>
injuries. Therefore, the iatrogenic injury rate dwarfs the annual
automobile accident mortality of 45,000 and accounts for more deaths than
all other accidents combined. " JAMA, July 5, 1995, 274:29-34.
Harvard researchers studied hospital records from the state of New
York over
a one-year period. They estimated that more then 13,000 New Yorkers were
killed and 2,500 permanently disabled due to medical care. More than
51% of
the deaths were blamed on negligence.--New England J. of Medicine, Feb. 7,
1991.
Even the Centers for Disease Control reports about Iatrogenic death. They
say that 125,000 people are killed annually in the U.S. by infections
acquired in the hospital. The cost of treating such infections is $4.5
billion a year.

You can find plenty of good books on the subject also. In the book,
Confessions of a Medical Heretic, Robert S. Mnndelsohn, M.D. wrote:

" In 1976 in Bogota, Colombia, doctors went on strike during a 52-day
period.
The death rate went down 35% during that time. In Los Angeles in 1976,
doctors went on strike to protest increasing costs of malpractice
insurance.
The death rate decreased by 18%. When the strike ended, the death rate
returned to pre-strike proportions. In Israel in 1973, during a month-long
strike, the death rate dropped 50%. The last time the death rate had been
that low was when there was a doctor's strike 20 years before. "

A fantastic article was written in the Feb 1, 1999 New Yorker Called " When
Doctors make Mistakes " . I strongly suggest it for anyone that wants a
taste
of what physicians really do to their patients in this country.
โดย: เขาว่า ถ้าจริงก็ดีสิ [8 ก.ค. 53 18:24] ( IP A:58.8.212.211 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   คห 3 จุดโหว่มากมาย อืม ถ้าเชื่อแบบนั้น ก็ไม่ต้องมาหาหมอดิจะได้ตายน้อยลง

คิดเล่นๆนะ เมื่อ 100 ปีก่อนคนเราอายุขัยคนเฉลี่ยเท่าไหร่ อัตรา ประชากรโลกเท่าไหร่(ขนาดไม่มียาคุมสมัยไหม่นะ)
ปัจจุบัน อายุขัยเฉลี่ยเท่าไหร่ ประชากรโลกเท่าไหร่

ที่สำคัญ เวลาหมอเค้าประท้วงหยุดงาน เค้าจะยังคง standy ER ICU และ WARD ไว้ ไม่ได้หยุดร้อยเปอร์เซ็นต์ คล้ายๆตอน จุฬาปิด รพ หรือ วันหยุด เสาร์อาทิตย์ โปรดเข้าใจด้วย
เวลาอ่านอะไรต้องกรองด้วย เสพข่าวจากเนตไม่ใช่ว่าอะไรก็จริงไปเสียหมด
โดย: กาลมสูตร [8 ก.ค. 53 21:58] ( IP A:61.7.136.134 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   นั่นนะซี เสพข่าวจากเน็ต เชื่อลมปากเหม็นๆของหมอบางคนโดยไม่ใช้ปัญญาตรึกตรองดู ชีวิตคนไข้รวมทั้งชีวิตของตัวเองในอาชีพหมอ

ถึงได้บรรลัย

คุณหมอที่เป็นผู้ต้องหาคดีผู้เสียหายที่อำเภอร่อนพิบูลย์ นครศรีธรรมราช นั่นก็ไม่เพราะเชื่อลมปากเห็นๆของหมออาจารย์บางคน ไปกลับลำให้การเท็จในศาล "ถึงได้ถูกศาลท่านลงโทษจำคุกไม่ใช่หรือ"

งานนั้น หมอทำชีวิตตัวเองชิบหายไป เพราะเชื่อหมอด้วยกัน ใช่ไหมล่ะ

งานนี้ท่านอาจารย์มีชัย มาตกมาตายตอนแก่ก็อีคราวนี้นี่เอง ตัวแกออกปากเองว่ายังไม่ทันเห็นตัว พ.ร.บ. แต่ดันไปวิจารณ์ซะราวกะเห็นกะทำมากับมือ เพียงเพราะแค่เชื่อข้อความที่ "คนที่แอบอ้างชื่อว่าเป็นหมอใต้" แล้วให้ความเห็น

เฮ้อ ท่านอาจารย์มีชัย ครับ งานนี้ขอบังอาจจาบจ้วงหน่อยนะครับว่า หมองูเผลอแว๊บเดียว ตายเพราะงูแท้ๆ งานนี้ท่าน เสียรังวัดแบบหมดสภาพหมดรูป ความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของวงการกฎหมายและนิติบัญญัติเลยครับ เพราะความที่ท่านออกความเห็นแบบ " ไม่ทันเห็นตัวกฎหมาย " แล้วออกมาวิจารณ์อย่างดูถูก ค.ร.ม. ทั้งคณะ ดูถูกท่าน ร.ม.ต.จุรินทร์ ดูถูกคุณหมอมงคล ณ.สงขลา ในฐานะอดีต ร.ม.ต. สาธารณสุขที่ออกคำสั่งให้ยกร่างนี้ขึ้น ท่านอาจารย์มีชัย ครับ งานนี้ท่านเสียผู้ใหญ่แบบปลาตายน้ำตื้นๆเลนครับ

อ้อ "กาลมสูตร" นี่เขียนผิดครับ เขียนอย่างนี้ต้องอ่านว่า กา-ลม-สูด ครับ ช่องว่างจุดโหว่ของการทำงานของคนเราน่ะ มีอยู่เยอะเป็นปรกติครับ อยู่ที่ช่องว่างจุดโหว่นั้น ยอมรับกันได้ หรือ ยอมรับกันไม่ได้ ในวงการแพทย์เรานี่ ส่วนใหญ่เกือบ 100% ไม่มีการยอมรับกันครับ ตรงกันข้าม ออกมาโกหกตอแหลกันเป็นทีมเป็นก๊วนแบบประสานเสียงกัน อย่างตอนนี้เป็นต้น ที่น่าสนใจ (หรือสมเพช ก็ไม่แน่ใจ) ก็ตรงที่แม้แต่โกหกตอแหลกันเป็นทีม ก็ยังทำให้ชาวบ้านร้านตลาดเค๊าจับได้คาหนังคาเขาเนี่ยซิ เฮ้อ

เอ้า สุดท้ายที่ไม่ใช่ท้ายสุด หวังว่าท่านอาจารย์มีขัย คงจะรู้ตัวรับออกมาแก้ข่าวแก้ความเห็นนะครับ หาไม่เราผมว่า "ยุคแห่งการยอมรับความเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ทางวงการกฎหมาย" ก็อาจถึงกาลปวสานได้นะครับ เอวัง
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [9 ก.ค. 53 9:21] ( IP A:115.87.198.129 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ประเทศนี้จะไม่มีใครแตะวงการแพทย์ได้เลยหรือ ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่าแพทย์ทุกคนที่บริการประชาชนอยู่ขณะนี้เป็นแพทย์ที่มีคุณภาพ ปฏิบัติหน้าที่ได้มาตรฐานวิชาชีพทุกคน อย่างน้อยไอ้ที่เป็นข่าวเรื่องทุจริต เรื่องลืมโน่นลืมนี่ไว้ที่ตัวผู้ป่วยเนี่ยมันก็ฟ้องแล้วว่าไม่ใช่แพทย์จะได้มาตรฐานทุกคน
เมื่อใดที่แพทย์ละเลยความปลอดภัยของผู้ป่วย และประมาทที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ป่วย นั่นคือความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยหรือญาติถ้าเกิดเสียชีวิตขึ้น ในเมื่อสังคมเห็นว่าหน่วยงานที่ดูแลวิชาชีพด้วยกันนั้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะลดปัญหานี้ได้ ก็ต้องให้คนกลางที่มีอำนาจดูแล ให้คุณให้โทษต่อผู้ประกอบวิชาชีพนี้
โดย: ของข้าใครอย่าแตะ [9 ก.ค. 53 10:02] ( IP A:202.29.9.9 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
    โหวตให้กระทู้นี้ครับ โดยเฉพาะความเห็น 5 คนรู้ทันยังเฉียบขาดเหมือนเดิม
โดย: เจ้าบ้าน [9 ก.ค. 53 10:24] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ถ้าการไป รพ.แล้วทำให้คนไข้ตาย แล้วเวลาป่วย ไม่ต้องไป รพ.นะครับ จะได้ไม่ตาย
โดย: เฮ้อ [9 ก.ค. 53 19:57] ( IP A:114.128.132.161 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ลองดูซักตั้งรัฐบาชุดนี้
ถ้าวงการแพทย์ไทยจะเกลียดท่านก็ไม่กี่หมื่นเสียง
แต่ประชาชนเป็นล้านๆ น่าจะเ็ห็นด้วย
คงไม่มีใครคิดงี่เง่าเหมือนคนบางจำพวกหรอก

ลองดูเอ้า คิดว่าหาเสียงไปในตัว
โดย: จีเอ็น [9 ก.ค. 53 21:41] ( IP A:119.31.25.192 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ก๊อปเค้ามาอีกทีนะ

พ.ร.บ.เยียวยาผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข

เสนอเข้าสภาโดยคณะ รัฐมนตรี

ประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจากพ.ร.บ.เยียวยาผู้เสียหาย จากการรับบริการสาธารณสุข

1.เมื่อ ไปรับการรักษาจากโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา หรือจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพใดๆก็ตาม แล้วเชื่อว่าตนเองหรือครอบครัวได้รับความเสียหายแล้ว มีสิทธิยื่นเรื่องขอเงินจากกองทุนมาเพื่อ “เยียวยา” ความเสียหายได้

2. คณะกรรมการผู้พิจารณาจ่ายเงินเยียวยาผู้เสียหายนั้น จะใช้หลักการอะไรก็ได้ในการพิจารณาจ่ายเงิน เนื่องจากไม่มีผู้มีความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขอยู่ใน คณะกรรมการ และการตัดสินใช้การนับคะแนนเสียงของคณะกรรมการ โดยตัดสินตามสียงข้างมาก และคณะกรรมการเลือกมาจากผู้ไม่มีความรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุข เป็นส่วนมาก

3.การจ่ายเงินไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่า การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขนั้น เป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ โดยไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือผิด แต่ใช้อารมณ์/ความรู้สึกของคณะกรรมการสียงข้างมาก

4.หลังจากประชาชน ได้รับเงินเยียวยาแล้ว ยังมีสิทธิ์ไปฟ้องศาลอาญาได้อีก และศาลก็สามารถใช้ดุลพินิจโดยไม่มีขอบ เขตว่า จะลงโทษบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอีกหรือไม่ก็ได้

และถ้าศาลตัดสินว่า บุคลากรไม่ผิด ประชาชนก็ยังมีสิทธิกลับไปขอเงินเยียวยาได้อีก

5. เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ก็คงต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิด “ความเสียหาย” แก่ผู้ป่วยทุกๆวิถีทางได้แก่

5.1 ส่งผู้ป่วยไปรักษาที่อื่น เพื่อว่าตนเองจะไม่ต้องรับผิดชอบ ประชาชนก็จะเสียโอกาสในการได้รับการรักษาที่ทันเวลานาทีทอง ก็อาจต้องไปตายกลางทางระหว่างเดินทางไปโรงพยาบาลอื่น โดยต้องหารถไปเอง เพราะถ้าโรงพยาบาลเอารถโรงพยาบาลไปส่ง ก็อาจต้องรับผิดชอบจ่ายค่าเยียวยา เพราะตายบนรถของโรงพยาบาล

5.2 บุคลากรสาธารณสุขก็คงต้องส่งตรวจละเอียด ครบทุกอย่าง เช่นผู้ป่วยปวดหัว แพทย์อาจต้องส่ง เอ๊กซเรย์กระโหลกศีรษะ ทำ CT scan, MRI ,EEG,Pet Scan. ซึ่งจะ ทำให้ไม่พลาดในการวินิจฉัยโรค แต่ประชาชนคนป่วยก็จะได้รับของแถมคือรังสีเอ๊กซเรย์ ซึ่งในอนาคตอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดเป็นมะเร็ง ส่วนรัฐบาลผู้จ่ายเงินค่ารักษาก็คงต้องควักเงินจำนวนมาก ในการตรวจพิเศษต่างๆเหล่านี้ และอาจเสียเวลานาน กว่าจะได้ตรวจครบทุกอย่าง ก่อนจะได้รับการรักษา ซึ่งอาจจะช้าเกินไป แต่สามารถอธิบายได้ว่าตรวจรักษาอย่างละเอียดรอบคอบ ตามคติที่ว่า “slow but sure”

5.3 ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและ บุคลากรสาธารณสุขก็คงจะดีขึ้นอย่างสุดๆ แบบว่า ผู้ป่วยมั่นใจว่าหมอจะรักษาอย่างดีที่สุด เพราะถ้ารักษาไม่ดี ก็จะต้องจ่ายเงินเยียวยา เมื่อโรงพยาบาล จ่ายเงินแล้ว ก็ยังไปไล่เบี้ยเอากับหมอหรือบุคลากรที่ทำให้เกิดความเสียหาย และยังจะถูกศาลตัดสินจำคุกได้อีก

ส่วนหมอก็คงจะรู้สึกรักและห่วงใย ผู้ป่วยยิ่ง กว่าชีวิตของตนเอง ต้องนั่งเฝ้าดูอาการผู้ป่วยตลอดทุกเวลานาที เพราะถ้าผู้ป่วยตาย หมอก็ต้องจ่ายเงินทำขวัญ และยังต้องไปชดใช้กรรมในการปล่อยให้ผู้ป่วยตาย โดยสมควรตายและไม่สมควรตาย ฉะนั้น หมอจึงต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแลชีวิตผู้ป่วยยิ่งกว่าชีวิ ตตนเอง

5.4 ประชาชนไทยก็จะมีแต่การเกิดอย่างเดียว ไม่สามารถจะตายได้ เพราะหมอต้องพยายามรักษาชีวิตประชาชนทุกคนอย่างดีที่สุด ยิ่งกว่าชีวิตตนเอง เพราะถ้ามีผู้ป่วยตายไป หมอก็คงถูกลงโทษให้ตายตกไปตามกัน

5.5 รัฐบาลที่เสนอออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ ก็จะได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ได้เป็นรัฐบาลตลอดกาล เพราะสามารถทำให้ประชาชนมั่นใจและไว้วางใจว่าจะ ปลอดภัยแน่นอนจากการไปโรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่อยากทำงานในโรงพยาบาลของรัฐบาล ก็ไม่ต้องลาออกอีกต่อไป เพราะจะถูกไล่เบี้ยจนไม่มีเงินจ่ายค่าเยียวยา จึงต้องถูกจำคุกแทนการเสียเงินค่าปรับ หรือถูกประหารให้ตายตกไปตามกันจน หมดไปจากโรงพยาบาล

ฉะนั้นรัฐบาลต้องรีบเข็นพ.ร.บ.นี้ให้ ออกมาเป็นกฎหมายโดยเร็วที่สุด เพื่อความมั่นคงของรัฐบาลเองและชีวิตนิรันดร์ของประชาชน ส่วนบุคลากรทางการแพทย์นั้นเป็นพลเมืองส่วนน้อย ก็ “ชั่งหัวมัน” จะอยู่หรือตายก็ไม่ต้องให้ความสนใจ

ใช่..ไม่ต้องสนใจพวกเราหรอก อยากทำอะไรก็ตามสบายนะ
แค่หมอ พยาบาล ทันตะ เภสัช นักเทคนิคการแพทย์..บุคลากรทางการแพทย์ตามที่พรบ.เหมารวมน่ะ ไม่เยอะหรอก ถ้าเทียบกับประชากรอันทรงคุณค่าของประเทศไทย เต็มที่ๆ ให้พรบ.ผ่านออกมาเลย อย่าได้แคร์ใคร
โดย: เหนื่อย [1 ส.ค. 53 22:36] ( IP A:61.7.173.85 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน