นายกอภิสิทธิ์ ปฏิเสธไม่ให้หมอเข้าพบ..!
|
ความคิดเห็นที่ 1 อย่าทำอย่างนั้นเลยท่านแพทยสภา....สงสารเพื่อนมนุษด้วยกันเถอะคะท่าน.....เราเคารพและรักแพทย์ พยาบาลทุกคน เราเพียงแค่อยากได้กองทุนชดเชยความเสียหายความสูญเสียของพวกเรา ไม่ได้อยากได้พรบ ฉบับนี้มาฟ้องหมอ....เราเข้าใจว่าไม่มีหมอหรือพยาบาลคนไหน อยากทำให้คนไข้ตายหรือทำให้เกิดความผิดพลาดหรอกคะ เพราะความยุติธรรมที่พวกเรา...รอจากความเมตตา ปราณี จากกองประกอบโรคศิลป์ และแพทยสภา...มันไม่มีจริง ๆ คะ....กี่ราย กี่ราย ก็ไม่ได้รับการเยียวยาหรือเหลียวแลเลย....พวกเราสูญเสีย ชีวิต พิการ เข้าไปหาท่าน....มันเหมือนเราเข้าไปเจอแต่....ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ และชีวิต..ของคนหลาย ๆ คนที่สูญเสีย....ก็ยังคงเดินต่อไป...แบบทุกข์ทรมานแสนสาหัส...ไม่มีใครช่วยพวกเราได้จริง...เรามีความหวังจากพรบ ฉบับนี้มาก...ท่านนายกคะ....ท่านช่วยพวกเราด้วยนะคะ...ท่านคือคนเดียวในประเทศไทยที่...จะช่วยคนธรรมดาที่สูญเสีย...ทุกอย่างในชีวิตไปหมดแล้วได้...ความหวังของพวกเราอยู่ที่ท่านและความเมตตาจาก รัฐสภา...ที่ประชาชนเลือกท่านเข้าไป เพื่อช่วยประชาชนคะ.... | โดย: ประชาชนธรรมดาผู้สูญเสีย [13 ก.ค. 53 19:39] ( IP A:110.168.114.21 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 คนมีจิตเป็นหมอ เป็นพยาบาล จะไม่กล้ารักษาคนเพียงแค่มีตัวหนังสือร่าง พรบ นี้ขึ้นมา้เชียวเหรอ พรบ ตัวนี้มันทำให้จรรยาบรรณ ความเป็นหมอ ความอยากเป็นหมอ หายไปจากจิตใจหมอจริงๆ หรือ งั้นก็แสดงว่า ตัวหน้าสือไม่กี่ตัวเปลี่ยนวิศัยทัศน์หมอได้มากขนาดนั้น ในเมื่อเป็นอย่างนี้ทำไมไม่ให้ตัวหนังสือใน พรบ เปลี่ยนหมอเป็นคนมีจิตสำนึกดีขึ้นหล่ะ อยากรักษาคนไข้ให้ดีกว่าเดิม ดูแลให้กระชับให้ใกล้ชิดกว่าเดิม ทำไมไม่ทำ พรบ พวกนี้ทำให้ความเป็นหมอๆ น่ายกย่องสรรเสริญมากขึ้นหล่ะ ทำไม แค่ตัวหนังสือพวกนี้ทำให้หมอไม่อยากรักษาคนได้เชียวเหรอ ? งั้นการเป็นหมอก็ไม่ยากอย่างที่เราคิด เพราะหมอไม่ได้เริ่มจากการรักษาคนไข้ มันมาเริ่มตอนเรียนจบแล้ว แค่อยากได้เงินเดือนแพงๆเท่านั้นเอง ไม่น่าศรัทธาเลยซิอาชีพนี้ น่าเสียดายแทนหมอดีดีคนอื่นนะที่เขามีจิตสำนึกดีดีและเห็นด้วยกับ พรบ ตัวนี้
เสียดาย เรื่องน้ำใจมันมีน้อยเกินไปในสังคมที่ประชาชนถูกเอาเปรียบอย่างนี้ น่าเสียดาย ถ้าหมอทั้งประเทศจะมอง พรบ นี้เป็นตัวการให้หมอติดคุกหรือมีความผิดเมื่อรักษาคนไม่ได้มาตรฐานแล้วเป็นตราบาปในอาชีพ น่าเสียดาย | โดย: จีเอ็น [13 ก.ค. 53 21:08] ( IP A:115.67.81.111 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 หมอดี คนไข้ดี --> ok หมอดี คนไข้ไม่รู้เรื่อง -->ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมอไม่ดี คมไข้เซ็ง --> ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย | โดย: r u ok?? [13 ก.ค. 53 22:29] ( IP A:61.7.235.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 หมอดี คนไข้ไม่รู้เรื่อง -->ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม อันนี้ไม่โอเค เพราะวิธีพิจารณาเก่านั้นดีอยู่แล้ว เขามีวิธีพิจารณาผู้บริโภค เพราะผู้บริโภคเสียเปรียบ อันนี้แพทย์ได้เปรียบคนไข้อยู่แล้ว ก็คงไม่ต้องมีวิธีพิเศษ | โดย: ไอ ไม่โอเค [13 ก.ค. 53 23:36] ( IP A:58.8.213.177 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ด้านนพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมแพทย์ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป กล่าวว่า แพทย์และเครือข่ายสภาวิชาชีพ ไม่ได้คัดค้านการมีกฎหมายฉบับนี้ แต่ต้องการให้รัฐบาล นำ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปแก้ไขใหม่ให้ถูกต้อง ก่อนที่จะเสนอเข้ามาใหม่ เพราะผลกระทบที่ตามมามีผลต่อประชาชนโดยตรง เช่น ในอนาคตแพทย์อาจจะไม่รับคนไข้หนัก โดยเฉพาะคนไข้ที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง เพราะเสี่ยงถูกฟ้อง วิธีที่ทำได้ ก็คือ ส่งต่อคนไข้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการเสียชีวิตของคนไข้บนรถพยาบาลมากขึ้น คนที่ไม่สมควรตาย อาจจะต้องตาย เพราะแพทย์ไม่กล้าเสี่ยงที่จะรักษา แม้แต่ทำคลอด ถ้าต้องเสี่ยงมากๆ แพทย์ก็คงจะไม่กล้าทำเช่นเดียวกัน
นี่ไม่ใช่ปัญหาหรอกครับ ถ้ามีระบบบริหารความปลอดภัยที่ดี ที่เขาเรียกกันว่า safety management system และ Crew Resource Management เรื่องง่ายๆเข้าใจไม่ยาก ใครไม่อยากไปเสียตังค์เรียนที่เมืองนอกผมสอนให้ฟรีๆ ก็ได้ หรือถ้าอยากเสียตังก็ไปเรียนได้ที่อังกฤษก็มีสอน https://www.globalaviation.com/healthcare.htm (โฆษณาให้ฟรีๆ) | โดย: เจ้าบ้าน [14 ก.ค. 53 9:18] ( IP A:210.86.181.20 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 **************************** ขณะที่ "หมอสัมพันธ์" ยัน ยังคงเห็นด้วยกับการถอนร่าง พ.ร.บคุ้มครองผู้เสียหายฯ ฝากบอกสภาฯ หากกฏหมายถูกประกาศใช้ โปรดรับผิดชอบในการตัดสินใจด้วย ****************************
คำถาม "ย้อนเกร็ด" ท่านเลขาธิการแพทยสภานะครับ
แพทยสภาที่ทุจริตต่อคดีของท่านประธานเครือข่ายฯ ร้องเรียนโรงพยาบาลพญาไท ๑
แพทยสภาที่ "เตะถ่วง" ในลักษณะฉ้อฉลต่อการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีของคุณรวิวรรณ เสตะรักษ์ จนวันนี้แกโดนลอบฆ่าตายไปจะ 3 ปีแล้ว
ถามท่านในฐานะ เลขาธิการแพทยสภา ท่านและพรรคพวกหมอโจรทั้งกว่าสามสิบคนที่ผ่านๆมา
ท่านได้แสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง ต่อเรื่องงามหน้าที่พวกท่านได้ทำไว้ นอกเหนือจากการ "จัดการงานนอกหน้าที่" ตามภาษากฎหมายนี้ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยแบบชาวบ้านๆว่า "เสือก" นี้น่ะ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [14 ก.ค. 53 10:36] ( IP A:115.87.198.91 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ผมว่าถ้า พรบ.นี้ผ่านสภาแล้วทำให้หมอที่ไม่สบายใจลาออกไป ก็คงต้องให้ท่านไปเถอะ ให้อยู่แต่หมอที่รักอาชีพและคนไข้จริงๆซะที เผื่อว่าความเสียหายที่เกิดกับคนไข้จะลดน้อยลงบ้างครับ | โดย: ออกไปเถอะ [14 ก.ค. 53 12:01] ( IP A:202.29.9.9 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 พรบ.วิชาชีพเวชกรรม กำหนดหน้าที่ให้แพทยสภาควบคุมจริยธรรมแพทย์และคุ้มครองสวัสดิภาพประชาชน
แต่ที่ผ่านมาพฤติกรรมแพทยสภา
1.ไม่ต้องกลัวน้องมีอะไรเราช่วยกันเต็มที่
2. ใครมีวี่แววจะถูกฟ้องส่งเวชระเบียนมาให้เราดูก่อนนะน้อง
3. ส่งต่อไปเลยน้องไม่ต้องผ่าตัด
4. มีมติไม่มีมูลเกือบทุกคดี หมอแทบไม่เคยผิดเลยสักเรื่อง หมอรักษาได้มาตรฐานดีแล้วทุกเรื่อง คนไข้ตายและพิการได้มาตรฐานแล้วทุกเรื่อง ขณะที่หมอสัมพันธ์ก็พูดเอาหน้าว่าความผิดพลาดมีเยอะมีทุกวัน (มันสวนทางกันคงลืมคิดไปว่าตัวเองพูดกับทำคนละเรื่อง..แต่คนไข้จำสิ่งที่แพทยสภาทำกับชาวบ้าน)
5. คดีประธานเครือข่าย 3 ปี, คดีรวีวรรณ 5 ปี, คดีสุนิสา 8 ปี ไม่มีชี้มูล รอแล้วรอหาย แต่ถ้าตำรวจถาม 3 เดือนชี้มูล
วันนี้ชาวบ้านสิ้นศรัทธาในแพทยสภา ไม่ไปยุ่งกับพวกคุณแล้ว เขาจะมีที่พึ่งใหม่ แล้ว "เจือก" อะไรด้วย | โดย: เจือกจริง ๆ [14 ก.ค. 53 18:08] ( IP A:58.9.183.113 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ตอบ คห 3 คิดว่าคงไม่น่าถึงกะว่าจะไม่กล้ารักษาคนไข้หรอกครับ คิดว่าคง play safe มากขึ้นมากกว่า ตรวจช้าลง ตรวจคนไข้ให้น้อยลง ทำหัตถการต่างๆลดลง ตามใจคนไข้มากขึ้น อารมนั้นมากกว่า บางส่วนอาจลาออก
เพราะหมอก้อมีครอบครัวอะ รักษาคนไข้ก้อต้องรู้รักษาตัวรอดด้วย พรบ(ผมได้อ่านเเต่ร่างของสาธา) นี้ก้อดีนะผมว่า โดยส่วนตัวเลิกตรวจคนไข้ ที่ รพรัฐเเล้ว เลิกดูคนไข้ที่หอผู้ป่วยเเล้ว จึงคิดว่าพรบนี้ไม่ค่อยมีผลอะไรกะตัวเองเเต่น่าจะดีกับคนที่สูญเสียครับ | โดย: สงสารหมอที่มีภาระงานเยอะครับ [14 ก.ค. 53 21:15] ( IP A:222.123.18.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 ความเห็นที่ 10 ผมว่าคุณควรเลิกเป็นหมอได้เลยทันที คนอื่นเขาจะได้เป็นแทน มีคนอยากเรียนหมอ อยากเป็นหมอมากมาย แต่ไม่ได้เรียนเพราะคนแบบคุณมาเรียนแทน | โดย: สงสารคนไข้ที่ตายฟรี โดยหมอลอยนวล [14 ก.ค. 53 21:38] ( IP A:58.8.2.31 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 มาแขวะเราอีกเเน่ะ เเค่ตอบกระทู้ก้อแขวะกันละ | โดย: สงสารหมอที่มีภาระงานเยอะครับ [14 ก.ค. 53 21:50] ( IP A:222.123.18.106 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 ค่อนจะเห็นด้วยกับท่าน จขคห ที่ ๑๑
สมัยก่อนที่ผมจะเข้ามหาวิทยาลัย ก็เคยฝันใฝ่ที่จะเป็นหมอ เพราะ
เห็นว่ามีคนนับหน้าถือตา มีคนยกมือไหว้ท่วมหัวกันเยอะแยะ + คงจะเป็นอาชีพที่มีรายได้มากกว่าอาชีพอื่นๆเท่าที่รู้จักตอนนั้น
มาวันนี้ผม "กลับดีใจเป็นนักหนา" ว่าตัวเองตอนนั้น ไม่เก่งพอที่จะสอบเข้าเรียนในวิชาชีพนี้ได้
มาสรุปได้ว่า อาชีพนี้ แท้ที่จริงแล้ว เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละทั้งตัวเองและครอบครัวมากๆ แต่นะครับ ก็เป็นอาชีพที่สั่งสมความดีงามได้มากๆ ได้ทำให้บรรดาคนไข้ที่เรารักษาสำเร็จสมหวังพ้นทุกข์ไป ให้พวกเขาได้จดจำเราและอาชีพนี้ด้วยสำนึกที่ดี ด้วยความไว้วางใจเราที่เขาสู้อุตส่าห์บากหน้าเอาตัวเขา หรือ เอาญาติพี่น้อง+คนที่เขารักมาฝากชีวิตและสวัสดิภาพไว้กับเรา
ขณะที่ในยุคนี้ เราก็ต้องยอมรับว่า ด้วยการถูกครอบด้วยวัฒนธรรมตะวันตก ด้วยระบอบ "ทุนนิยมสามาน" ที่สามานแม้กระทั่ง กระหายที่จะเสี่ยงทำลายเลือดเนื้อและชีวิตมนุษย์ด้วยกันเอง เพียงเพื่อสมประโยชน์ความร่ำรวยของตัวและพวกพ้อง เราจึงเห็นโรงพยาบาลเอกชน เติบโตราวดอกเห็ดหลังฝน ขึ้นมาเก็บกินความร่ำรวยจากความขาดแคลนหมอและเตียงในโรงพยาบาลของรัฐ เติบโตขึ้นมาสร้างความร่ำรวยให้กับกลุ่มหมอในแพทยสมาคมและแพทยสภาในรูปของโครงการชื่อสวยหรูว่า เมดิคอลฮับ ซึ่งปลุกปั่นกระแสให้สาธารณชนของประเทศนี้รู้สึก "ได้หน้า" บนความตายและความชิบหายต่อเนื่องของ "ความผิดพลาดทางการแพทย์ "ที่ป้องกันได้ของคนไทยเรือนหมื่นเรือนแสนต่อปี ที่ซุกที่ซ่อนไว้ไม่มีหมอหรือหน่วยงานไหนทางสาธารณสุขออกมายอมรับอย่างเปิดเผย
มาถึงตรงนี้ ผมก็ย้อนไปหวลนึกถึงคำสอนของ "องค์สมเด็จย่าและพระบรมราชชนก" ที่ว่า
กิจของส่วนรวมต้องมาเป็นที่หนึ่ง กิจเพื่อตนเองต้องมาเป็นที่สอง
ผมว่านะ หากท่านที่เพิ่งเป็นหมอ หรือที่มุ่งมั่นคิดจะเป็น ถ้าท่านไม่สามารถเข้าใจคำสอนของสองพระองค์ท่านที่ผมได้ยกมาว่าไว้นี้
อนาคตของท่านจะทำบาปมากกว่าทำบุญ แม้ว่าท่านจะร่ำรวยขึ้นมาก็ตาม ท่านก็จะมีชะตากรรมเหมือนๆกับบรรดาสมาชิกแพทยสภา (ซ่องโจร) ทั้งชุดปัจจุบันและที่ผ่านๆมา ที่ร่ำรวยขึ้นมาจากเลือดเนื้อและชีวิตคนไข้นั่นแหละ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [15 ก.ค. 53 7:40] ( IP A:58.8.238.48 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 หมอดี หมอเสียสละ หมอภาระเยอะ ทำไมชาวบ้านไม่เห็นใจ เขาเห็นใจแต่พวกคุณไม่ฟังว่าเขาเห็นใจ
พวกคุณเอาแต่ใจ เอาแต่ความคิดตนเองเป็นที่ตั้ง
อาจารย์หนีเวรไปอยู่เอกชนไม่ดูแลลูกศิษย์ ความผิดพลาดเกิดขึ้นจริง คนไข้เวลาได้รับความเสียหายทุกข์ทรมาน ครอบครัวลำบาก เราต้องมาช่วยกันป้องกันเหตุการณ์ซ้ำ เราต้องไม่ปกปิดความผิดพลาด ทำไมพวกคุณไม่พูดบ้าง | โดย: พวกคุณทำให้สังคมเสื่อมศรัทธาเอง [16 ก.ค. 53 6:32] ( IP A:58.9.195.166 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 ยิ่งพูดก็ยิ่งมากความ คนผิดก็คอยแก้ตัว คนไม่ผิดก็พยายามทำให้เขามองเห็นความจำเป็น กับ พรบ ตัวนี้
แล้วประชาชนไม่เข้าใจประชาชนด้วยกัน แล้วใครจะช่วยเรา หมอเป็นคนไืทยหรือเปล่า ?
ถามดูเฉยๆ | โดย: จีเอ็น [16 ก.ค. 53 9:10] ( IP A:115.67.88.231 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 ลองคิดหลักความเป็นจริงครับ หมอดีๆหนึ่งคน(สมมุติว่ามี) ตรวจคนไข้ดีๆวันละร้อยคน ก็ต้องมีอย่างน้อยสักคนที่ไม่พอใจเป็นเรื่องธรรมดา ใครทำอาชีพบริการก็คงนีกออกว่า การจะทำให้ลูกค้า 100คนพอใจกันหมดมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ปัญหาของลูกค้าบางคนมันก็ไม่สามารถแก้ไขให้เขาพอใจได้
หมอดีๆหนึ่งคน(สมมุติว่ามี) ตรวจคนไข้ 5วันทำการต่อสัปดาห์ วันเสาร์-อาทิตย์ก็ต้องมาดูคนไข้ช่วงเช้า ไม่นับอยู่เวรกลางคืน ที่บางครั้งไม่ได้นอนแต่ก็ต้องทำงานวันรุ่งขึ้นใหม่เหมือนเมื่อคืนได้นอนมาแล้วเต็มที่ ทำงานแบบนี้ ติดๆกันทุกสัปดาห์ 52สัปดาห์ต่อปี เวลาลาพักร้อนต้องหาคนมาทำงานแทนแล้วไปทำงานใช้คืนหนักเป็นสองเท่า (ลาพัก3วัน ต้องทำงานหนักสองเท่าเป็นเวลา3วันที่'ฝาก'เพื่อนทำงานให้ ในยามที่เพื่อนต้องการลาบ้าง) ลองคิดว่าทำงานแบบนี้ทุกวัน ในแต่ละวันตรวจคนไข้ 100+คน คิดอย่างน้อยๆสมมุติว่าตรวจคนไข้เฉลี่ย 200 คนต่อสัปดาห์ x52 = 10,400 คนต่อปี สมมุติว่าแพทย์ที่ดี(ที่แทบจะหาไม่ได้แล้วนั้น)ให้การรักษาคนไข้อย่างเต็มความสามารถเท่าที่วิชาการแพทย์แผนปัจจุบันจะทำได้ ผลการรักษาก็ดีเยี่ยมอย่างหาที่ติมิได้ แต่การจะทำให้ลูกค้า ทั้งหมื่นคนพึงพอใจทั้งหมดมันเป็นไปได้ด้วยหรือ นี่ยังไม่นับว่า แพทย์ที่ดี(ที่แทบจะหาไม่ได้แล้วนั้น) ในความเป็นจริง 1)ไม่มีคนไหนที่มีความรู้ความชำนาญทุกด้านแม้แต่แพทย์เฉพาะทางเอง 2)ความรู้ทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3)มีข้อจำกัดในด้านเวลาเทียบกับปริมาณงาน (โดยเฉพาะรพ.รัฐ) 4)มีข้อจำกัดในด้านอุปกรณ์เครื่องมือในบางแห่ง(โดยเฉพาะรพ.รัฐขนาดเล็ก) 5)ข้อจำกัดในด้านทรัพยากร (โดยเฉพาะรพ.รัฐ) 6)ผลข้างเคียงของยา(ซึ่งมีในยาทุกตัวไม่เว้นแม้แต่ยาพาราลดไข้) และผลไม่พึงประสงค์จากการรักษา(ผ่าตัด) ซึ่งเกิดมีได้ตลอดเวลา
ผลต่างๆข้างต้น ทำให้จากผลการรักษาที่ไม่มีที่ติ(ในอุดมคติ)ของแพทย์ที่ดี(ที่แทบจะหาไม่ได้แล้วนั้น) ได้ผลที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้น ตรวจรักษา 10,000 รายต่อปี มีคนไม่พอใจผลการรักษาสัก 0.1% = 10 รายต่อปี โดยที่ 9990 รายพึงพอใจอย่างมากเพราะแพทย์ที่ดีท่านนั้นดูแลเอาใจใส่อย่างดีถึงแม้ว่าอาจมีผลข้างเคียงบ้าง แต่ 10 รายที่ว่านี้ก็สามารถบั่นทอนกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานได้นะครับ
ผมกล้าบอกได้เลยว่าไม่มีแพทย์คนไหนในประเทศไทยที่ตรวจรักษาแล้วไม่เคยที่จะมีผลข้างเคียง ไม่เคยที่ผู้ป่วยและญาติพอใจทุกราย ปัจจุบันแพทย์ทุกคนก็ทำงานภายใต้ความกดดันที่สูงพอควร ถ้า พรบนี้ออกมาได้ ความกดดันนั้นก็จะสูงขึ้น
คนไข้ที่ไม่พอใจก็จะมีสูงขึ้นเพราะไม่พอใจแล้วสามารถร้องเรียนแล้วได้เงินโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด ที่มาของเงินก็เก็บจากผู้ปฏิบัติงาน รพ.รัฐก็คือภาษี ภาคเอกชนก็ต้องเก็บจากคนไข้มากขึ้น โดยรวมแล้ว ต้นทุนของการรักษาก็จะสูงขึ้น
หมอไม่ได้เดือดร้อนหรอกครับ หมอรพ.รัฐก็มีรัฐจ่ายให้ หมอรพ.เอกชนก็ต้องเก็บเงินแพงขึ้นอีก คนไข้ที่จ่ายแพงก็จะคาดหวังมากขึ้น นำมาซึ่งการร้องเรียนมากขึ้นไปอีก เป็นวัฏจักรต่อไป ที่หมอเดือดร้อนก็คงเป็นแค่ความกดดันที่จะมีสูงขึ้นมาก หมอเอกชนเก็บเงินแพงขึ้น คนไข้ก็จะไปภาครัฐมากขึ้น หมอรพ.รัฐที่ทุ่มเทจะเดือดร้อน เพราะใช้เวลาดูคนไข้ได้น้อยกว่า(ปริมาณคนไข้ต่อวันมากกว่า)
หมอโดยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้อยากต่อต้าน พรบนี้ เพียงแต่วิธีคิดมันไม่ถูกต้อง มันไม่ลงตัว ไม่ได้อยากปกป้องพวกเดียวกันเอง ปลาเน่าหนึ่งตัวในเข่งใครจะอยากเก็บไว้
คนที่ได้ประโยชน์คือคนไข้ที่ร้องเรียน(โดยมิได้พิสูจน์ถูกผิด) โดยเอาเงินมาจากประชาชนส่วนใหญ่ (ภาษีจากรพ.รัฐ, เงินที่เก็บแพงขึ้นของรพ.เอกชน)
มันเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่จริงๆหรือ | โดย: หมอที่ไม่ดีที่ยังอยู่ภาครัฐคนหนึ่ง [17 ก.ค. 53 12:26] ( IP A:115.87.214.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 16 เห็นด้วยกับความเห็นที่16นะ ......เราและเพื่อนกลุ่มหนึ่งเป็นแพทย์ที่ได้จากบ้านไปเรียนและทำงานที่ต่างจังหวัดมาร่วม10ปี จนวันนี้ได้ตัดสินใจมาเรียนต่อสาขาเฉพาะทางในกรุงเทพด้วยความสนใจในสาขาวิชาที่เลือก และการทำงานที่ผ่านมาทำให้รู้ว่าวิชาความรู้ทางการแพทย์นั้นมันมากเสียจนไม่มีแพทย์คนไหนจะเชี่ยวชาญไปได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีที่ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจและความจำ ทักษะในการปฏิบัติทั้งการตรวจร่างกายและการเลือกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม รวมถึงการฝึกฝนในการทำหัตถการต่างๆอีกมาก เพราะผลจากการรักษาเหล่านี้คือผลที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งการที่มีคนป่วยหนึ่งไม่ได้แปลว่าทุกข์แค่หนึ่งแต่จะมีผลต่อบุคคลรอบข้างเขาเหล่านั้นด้วย ...จึงจำเป็นต้องมีแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงต้องมี"ทีม" นั่นคือเจ้าหน้าที่พยาบาล เภสัชกรและเจ้าหน้าที่ทางสาธารณะสุขด้านต่างๆ รวมไปถึงการมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสม มีห้องตรวจปฏิบัติการที่สามารถให้บริการได้ตลอด และต้องมีระบบการส่งต่อที่สมบูรณ์แบบ .....ข้อจำกัดของประเทศเราคือ ความไม่พร้อมในการสร้าง"ทีมการรักษา"ที่กล่าวมาข้างต้น แม้ว่าจะมีการกำหนดความรู้ความสามารถพื้นฐานที่แพทย์คนหนึ่งเมื่อเรียนจบ6ปีแล้วจะต้องทำได้ออกมาในหลักสูตร แต่หากมองกลับไปจะเห็นว่าข้อกำหนดนั้นตั้งขึ้นมาภายใต้สถานการณ์ที่มีความพร้อมของ"ทีม" แต่ในชีวิตจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นรพ.หลายแห่งขาดบุคคลกรมากมาย ขาดอุปกรณ์ นอกเวลาส่งตรวจเพิ่มเติมหลายอย่างไม่ได้ บางรพ.อยู่ไกลเกินกว่าที่จะสามารถส่งต่อได้ทัน รวมถึงระบบการส่งต่อที่ไม่น่าจะเรียกได้ว่าระบบ ในขณะที่ความเจ็บป่วยนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและแพทย์ที่อยู่ในสถานที่ที่ทีมไม่พร้อมเหล่านั้นต้องพร้อมในการรักษา ความเครียดความกดดันเกิดขึ้นเสมอในการทำงาน ....ถ้าเราคนไทยทุกคนต้องการแก้ไขสิ่งที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นจะเห็นว่าต้องแก้ทั้งระบบ หากรพ.ใดรพ.หนึ่งทีมไม่พร้อมก็จะส่งผลต่อรพ.อื่นต่อเนื่องได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยคุ้มครองผู้ป่วยทุกคนนั้นไม่ใช่เพียงแต่การให้ค่าเสียหาย รัฐบาลต้องกลับไปมองปัญหาทั้งหมด ต้องเพิ่มและกระจายจำนวนอุปกรณ์ต่างๆไปพร้อมๆกับการเพิ่มแพทย์ ไม่ใช่พูดเพียงแต่ว่าแพทย์ไม่ยอมออกต่างจังหวัด นั่นก็เป็นเพราะความไม่พร้อมของทีมที่ได้บอกไปนั้นยังขาดอยู่อีกมากทำให้แพทย์หลายคนไม่กล้ามี่จะทำงานบนความเสี่ยงที่มากจนเกินไปได้ .....อยากให้ผู้มีอำนาจหันกลับมาฟังผู้ที่ทำงานอย่างพวกเราสักนิดก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไร ผุ้เสียหายต้องมีระบบให้การช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หากเพียงแต่วิธีการแก้ไขในแง่อื่นๆนั้นยังไม่ถูก เหมือนคุณบีบเด็กในรร.ทำข้อสอบได้คะแนนสูงกว่ารร.อื่นๆโดยที่คุณไม่มีอุปกรณ์การสอนเลย เช่นเดียวกันมันเป็นไปได้ยาก หากพรบ.ฉบับนี้ถุกนำมาใช้โดยยังไม่ได้รับการแก้ไขจะมีการไหลของเงินเข้ามาในส่วนนี้เป็นจำนวนมาก กลัวว่าพรบ.ฉบับนี้จะส่งผลประโยชน์ต่อบางฝ่ายที่มีอำนาจมากกว่าการสร้างประโยชน์เพื่อประชาชนจริงๆ | โดย: หมอที่ตั้งใจและรักในอาชีพ [17 ก.ค. 53 19:12] ( IP A:119.46.151.11 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 17 กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ ขอเชิญชวนให้ทุกท่านไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 และ ลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า วันที่ 26 มิถุนายน 2554 เวลา 08.00-15.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ | โดย: กลุ่มเพื่อน 5.63 โรงเรียนอุตรดิตถ์ [14 มิ.ย. 54 22:12] ( IP A:210.246.186.4 X: ) |  |
|