ไม่เข้าใจ
   **ทำไม่ต้องมี พรบ คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์

เราพบความจริงว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ ทำคนไข้ตายจากความผิดพลาดที่ป้องกันได้ (เจ็บพิการไม่นับ) ปีละ 44000 คน ถึง 98000 คน ต่อปีในสหรัฐ มากกว่าตายจากอุบัติเหตุรถยนต์ มะเร็งเต้านม หรือเอดส์
https://www.usatoday.com/news/health/2004-10-27-who-mistakes_x.htm
เชื่อกันว่าในประเทศที่ไม่เจริญ จำนวนคนตายจากความผิดพลาดทางการแพทย์จะมีอัตราสูงว่าในสหรัฐ และความศูนย์เสียทางเศรษฐกิจนั้นมหาศาลไม่นับความเสียหายทางจิตใจที่ประเมินค่าไม่ได้ และคนไข้ที่ตาย เขามีครอบครัว บางครั้งเป็นเสาหลัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องช่วยเหลือกัน และเขาเองก็ควรได้สิทธิที่จะได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเมื่อเกิดความผิดพลาดที่ป้องกันได้จนถึงตาย หรือพิการ หรือบาดเจ็บ
อย่างไรก็ตาม การที่จะให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องจ่ายเงินชดเชยซึ่งบางครั้งเป็นจำนวนมาก แพทย์ก็จ่ายไม่ไหว จึงควรจะมีกองทุนเพื่อเป็นผู้จ่ายแทน ซึ่งเงินที่จ่ายกันนั้นเชื่อว่า 2-3 % ของรายจ่ายทางการแพทย์ก็เพียงพอ และเป็นเรื่องที่คนไข้ยินดีช่วยกันออกเพื่อช่วยเหลือคนไข้ด้วยกันเอง โดยจ่ายเพิ่มอีก 2-3 % เช่นหากรักษาหวัด เดิมเสีย 100 บาท ก็จ่ายเพิ่มเป็น 103 บาท ถ้าเดิมเสีย 1000 บาทก็จ่ายเพิ่มเป็นเงิน 1030 บาท ก็จ่ายไหว (เหมือนเก็บภาษีแวต) แพทย์ก็ไม่ควรจะเดือดร้อน และไม่ควรจะโกหกอ้างว่าจะทำให้ค่ารักษาแพง ในเมื่อเขาเป็นคนจ่ายและก็เพิ่มอีกเพียง 2-3 % เงินที่ทาง สปสช กันไว้ 2 % ก็ไม่เคยใช้หมดในแต่ละปี การจ่ายเงินจะมีการสอบสวนหาสาเหตุ ซึ่งทำให้รู้สาเหตุและหาทางป้องกันแก้ไข ไม่ใช่หมกเม็ดแล้วก็ตายแบบเดิมซ้ำๆซากๆ ซึ่งเรื่องนี้ องค์การอนามัยโลก ถือเป็นนโยบายที่สมาชิกต้องปฏิบัติตาม และตั้งโครงการความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยผู้ป่วยเนื่องจากเห็นว่าพวกหมอแก้ปัญหาไม่ได้เพราะไม่ได้ตายแบบคนไข้เวลาเกิดเรื่อง ไม่เหมือนการแก้ปัญหาความปลอดภัยทางการบิน ที่เวลาเกิดเรื่อง กัปตันก็ตายตามผู้โดยสารด้วย บริษัทก็เสียเครื่องบินลำละหลายตังค์ สายการบินและกัปตันจึงแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้โดยสาร และความปลอดภัยทางด้านการบินเป็นต้นแบบของความปลอดภัย
การออกมาต่อต้านของแพทย์ รวมทั้งกล่าวหาคนไข้ต่างๆนาๆ และเรียกร้องเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ห้ามฟ้องแพทย์เป็นคดีอาญาจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ได้ และยอมรับไม่ได้ ในเมื่อแพทย์ไม่ได้เสียอะไร คนไข้เสียอีกที่เสียเงินเพิ่มช่วยเหลือคนไข้ด้วยกันเองเวลาเกิดเรื่อง และการฟ้องร้องเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนที่จะฟ้องใครก็ได้ หากเขาได้รับการเยียวยา ช่วยเหลือใครจะไปฟ้องศาลให้เหนื่อยยากเสียเวลา และการกล่าวหาว่าเรื่องทางการแพทย์หากผู้ไม่รู้วิชาการแพทย์มาตัดสินคดี หรือหากมีการร้องเรียน จะไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้อง ต้องแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะตัดสินได้ถูกต้อง อันนี้รับฟังไม่ได้ ขาดเหตุผล ในเมื่อในการตัดสินคดีนี้เขาถามผู้รู้มาเรียบร้อยก่อนจะทำการตัดสินรวมถึงแพทยสภาด้วย มีการโต้แย้งได้ แพทยสภาก็โต้แย้งได้ ราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ก็โต้แย้งได้ จนเกิดข้อสรุปที่เป็นธรรม และที่สำคัญ ในอดีต การตัดสินโดยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ลำเอียง ช่วยเหลือแพทย์ด้วยกันเอง รวมทั้งแพทยสภา ไม่ยอมหาทางเยียวยา จึงนำมาซึ่งการฟ้องร้องคดีรกศาล และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต้องตั้งกองทุน และต้องมีคนนอกคอยตรวจสอบ
https://www.pantown.com/board.php?id=12163&area=&name=board12&topic=1257&action=view
แพทยสภาเสียอีกที่ไปขัดขวางกระบวนการยุติธรรมโดยการไปทำหนังสือตกลงกับ สตช ว่าหากมีการฟ้องคดีอาญาแพทย์ให้ตำรวจสอบถามแพทยสภาว่ามีมูลหรือไม่ก่อน ก่อนสั่งฟ้อง ซึ่งไม่ถูกต้อง หนังสือ สตช. ต้องเพิ่มอีกท่อนหนึ่งว่าหากแพทยสภาเห็นว่าไม่มีมูล แพทย์ไม่ผิด แต่หากมีหลักฐานอื่น เช่นมีพยานแพทย์ที่เป็นธรรม มีหลักฐานน่าเชื่อถือก็ให้สั่งฟ้อง ไม่ต้องฟังแพทยสภา แต่ส่วนนี้ไม่ได้เขียนไว้ แสดงให้เห็นถึงความไม่บริสุทธิ์ใจและผิดหลักวิชาสอบสวน คดีสองแม่ลูกศรีธนะขัณฑ์ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนิติเวชลงความเห็นว่าตายจากอุบัติเหตุ แต่น้องชายผู้ตายซึ่งไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่หาความรู้และหาข้อมูลมาแย้ง จนนำไปสู่การสั่งฟ้องและลงโทษแพทย์นิติเวชผู้เชี่ยวชาญ
https://blog.eduzones.com/applezavip/35733
การออกมาพูดจากข่มขู่โดยแพทย์ ว่าจะตรวจช้าๆ ตรวจละเอียดและส่งต่อไม่รักษา จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะที่แย่ของแพทย์ สังคมจะรุมประนาม ทั้งๆที่เรื่องนี้ก็ชัดเจนโดยนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่บอกว่าความผิดพลาดทางการแพทย์นั้นอันตรายและพบมาก ต้องรีบแก้ไขเยียวยา แพทย์จึงควรจะต้องหาทางแก้ไข มากว่าแก้ตัวและมาข่มขู่คนไข้ ซึ่งเป็นผู้ที่เป็นวัตถุดิบให้แพทย์เรียนรู้ และเป็นผู้ให้เงินแพทย์ใช้ รวมทั้งเป็นผู้จ่ายเงินช่วยเหลือกันเอง เมื่อแพทย์ทำผิดพลาด
ประเทศที่มีกองทุนก็มีให้เห็นเช่น สวีเดน นิวซีแลนด์ ทำไมเมืองไทยจึงมีเสียงค้านมากมาย แล้วจะเอาพวกที่แพทย์ไทยทำพลาดจนตายและพิการไปไว้ที่ไหน หรือไปที่หน้ากระทรวง หรือหน้าแพทยสภา หรือหน้าสำนักนายก หรือสภาผู้แทนราษฎร ใครช่วยตอบที
นายแพทย์เทพ เวชวิสิฐ
โดย: ว่าหมอไทยคิดอะไรอยู่ [20 ก.ค. 53 5:37] ( IP A:58.8.240.71 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   World Health Organization targets medical mistakes

WASHINGTON (AP) — Citing statistics that one in 10 hospital patients are victims of preventable medical mistakes, the World Health Organization on Wednesday launched an initiative to create a "culture of safety" in health care.
"Improved health care is perhaps humanity's greatest achievement of the last 100 years," said WHO Director-General Dr. Lee Jong-wook. "Improving patient safety in clinics and hospitals is in many cases the best way there is to protect the advances we have made in health care."

The initiative, the World Alliance for Patient Safety, will bring together scientists and researchers to share strategies and practices for reducing medical mistakes. Among the participants are the United States, Britain and Australia.

WHO cited figures from studies that said 10% of hospital patients in the world's industrialized countries suffer from medical mistakes, which can lead to serious disability or even death. In the United States, a study by the federal Institute of Medicine estimated in 1999 that 44,000 to 98,000 hospital deaths annually are caused by "medical errors" — claiming more lives than car accidents, breast cancer or AIDs.

The medical error rate is suspected to be even higher in the developing world, according to James Palmer, a WHO spokesman.

"Human error is inevitable," said Sir Liam Donaldson, chief medical officer of the British Department of Health and chair of the WHO coalition on patient safety, By raising awareness of the issue, Donaldson said, "we can reduce error, but most importantly, we can reduce its impact."

One-fourth of all medical errors are caused by medication errors, Donaldson said. The causes can range from sloppy notetaking — especially doctors' illegible handwriting — to different medications that come in deceptively similar packaging. Patients may be given too high or too low a dose, the wrong medication, or no medication when one is needed.



--------------------------------------------------------------------------------
Copyright 2005 The Associated Press. All rights reserved. This material may not be published, broadcast, rewritten or redistributed.
โดย: ไปถามพ่อก่อนดีไหม [20 ก.ค. 53 5:42] ( IP A:58.8.240.71 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    Donaldson said, "we can reduce error, but most importantly, we can reduce its impact."
โดย: ประโยคอมตะ [20 ก.ค. 53 5:44] ( IP A:58.8.240.71 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
    ตรวจละเอียด ส่งต่อ ตรวจช้าๆ ปฏิเสธไม่รักษา คนไข้ปกปิดความจริง ฯลฯ
โดย: ประโยค อำมหิต [20 ก.ค. 53 5:45] ( IP A:58.8.240.71 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เค้าก้อมีสิทธิทำเพื่อปกป้องตัวเองนี่ครับ
แค่จะพูดหรือไม่
คุนไม่ได้มาเส่ียงกับเค้าเเล้วคุนจะไปว่าเค้าได้ไงครับ
คุนมีทางเลือกทางการรักษานะครับถ้าไม่สะดวกใจรักษาที่ที่เค้าป้องกันตัวก้อหาที่อื่นสิครับ
เชื่อว่าหมอไม่ได้ทำแบบนั้นทุกคน
โดย: หมองานเยอะกว่าที่ท่านเห็น [20 ก.ค. 53 8:33] ( IP A:222.123.18.106 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ได้ยินหมอ รพ ที่บ้าน บ่นแต่เรื่อง การบริหารของ รพ และ ผอ
ไม่เคยได้ยินบ่นเรื่องคนไข้เยอะ หรือว่า กลัวโดนฟ้องเลย
ไปพบหมอบ่อยๆ หมอคอยถามตลอดเรื่องการฟ้องหมอ
แกก็ยังบอกว่า ผมไม่เคยกลัวเรื่องโดนฟ้อง เพราะผมทำงานเต็มที่
ถ้าโดนจริงวันไหนก็อธิบายกันได้ ถ้าผมผิดจริงผมก็จะหาเงินมาจ่าย
ให้คนไข้ช่วยเหลือกันไป


หมอจิตใจดีดีเค้าคิดกันอย่างนี้
มีนะมีจริงไม่ได้โม้
โดย: จีเอ็น [20 ก.ค. 53 8:55] ( IP A:1.46.210.17 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   หมอ ปกป้องผลประโยชน์ส่วนตัว
คนไข้ ปกป้องชีวิตอวัยวะและสิทธิอันพึงมี
โดย: ช่างต่างกันราวฟ้ากับเหว [20 ก.ค. 53 10:16] ( IP A:58.9.189.43 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
    ความคิดเห็นที่ 5
เค้าก้อมีสิทธิทำเพื่อปกป้องตัวเองนี่ครับ
แค่จะพูดหรือไม่
คุนไม่ได้มาเส่ียงกับเค้าเเล้วคุนจะไปว่าเค้าได้ไงครับ
คุนมีทางเลือกทางการรักษานะครับถ้าไม่สะดวกใจรักษาที่ที่เค้าป้องกันตัวก้อหาที่อื่นสิครับ
เชื่อว่าหมอไม่ได้ทำแบบนั้นทุกคน
โดย: หมองานเยอะกว่าที่ท่านเห็น [20 ก.ค. 53 8:33> ( IP A:222.123.18.106 X: )

กฎหมายนี้ คนไข้จ่ายเงินช่วยคนไข้กันเองที่เสียหายจากหมอทำพลาด
ถ้าหมอจะปกป้องตัวเอง หมอก็ต้องช่วยเข็นกฎหมาย ไม่ใช่ทำแท้งกฎหมาย
หมอคงยอมรับ ว่าแพทย์เราก็พลาดทุกวัน พลาดแบบอภัยได้ และอภัยไม่ได้ (ก็ต้องใช้เขาจึงจะแฟร์ และดีเสียอีก หากไม่ใช่เงินเรา)
โดย: ฟฟ [20 ก.ค. 53 12:22] ( IP A:58.11.71.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   เจ้าของกระทู้เขียนได้ตรงใจมาก
ขออนุญาตนำไปเผยแพร่บน FB
โดย: มีคนชอบ [20 ก.ค. 53 19:01] ( IP A:58.9.220.30 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   เอากร๊าฟไปดูก้ได้

โดย: ฟฟ [20 ก.ค. 53 20:38] ( IP A:58.11.71.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   ดูฝีมือการบินเขาทำความปลอดภัยได้สูงสุด 329
โดย: ฟฟ [20 ก.ค. 53 20:38] ( IP A:58.11.71.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   วันนึงเค้าบินกี่เที่ยวครับ
โดย: เอาเที่ยวบินมาเทียบกับขับรถไม่ได้ [20 ก.ค. 53 22:06] ( IP A:119.42.124.4 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน