ทำไมต้องมีพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์
   ทำไม่ต้องมี พรบ คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์
เราพบความจริงว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ ทำคนไข้ตายจากความผิดพลาดที่ป้องกันได้ (เจ็บพิการไม่นับ) ปีละ 44000 คน ถึง 98000 คน ต่อปีในสหรัฐ มากกว่าตายจากอุบัติเหตุรถยนต์ มะเร็งเต้านม หรือเอดส์
https://www.usatoday.com/news/health/2004-10-27-who-mistakes_x.htm

เชื่อกันว่าในประเทศที่ไม่เจริญ จำนวนคนตายจากความผิดพลาดทางการแพทย์จะมีอัตราสูงว่าในสหรัฐ และความศูนย์เสียทางเศรษฐกิจนั้นมหาศาลไม่นับความเสียหายทางจิตใจที่ประเมินค่าไม่ได้ และคนไข้ที่ตาย เขามีครอบครัว บางครั้งเป็นเสาหลัก จึงเป็นเรื่องที่ต้องช่วยเหลือกัน และเขาเองก็ควรได้สิทธิที่จะได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเมื่อเกิดความผิดพลาดที่ป้องกันได้จนถึงตาย หรือพิการ หรือบาดเจ็บ

อย่างไรก็ตาม การที่จะให้แพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องจ่ายเงินชดเชยซึ่งบางครั้งเป็นจำนวนมาก แพทย์ก็จ่ายไม่ไหว จึงควรจะมีกองทุนเพื่อเป็นผู้จ่ายแทน ซึ่งเงินที่จ่ายกันนั้นเชื่อว่า 2-3 % ของรายจ่ายทางการแพทย์ก็เพียงพอ และเป็นเรื่องที่คนไข้ยินดีช่วยกันออกเพื่อช่วยเหลือคนไข้ด้วยกันเอง โดยจ่ายเพิ่มอีก 2-3 % เช่นหากรักษาหวัด เดิมเสีย 100 บาท ก็จ่ายเพิ่มเป็น 103 บาท ถ้าเดิมเสีย 1000 บาทก็จ่ายเพิ่มเป็นเงิน 1030 บาท ก็จ่ายไหว (เหมือนเก็บภาษีแวต) แพทย์ก็ไม่ควรจะเดือดร้อน และไม่ควรจะโกหกอ้างว่าจะทำให้ค่ารักษาแพง ในเมื่อเขาเป็นคนจ่ายและก็เพิ่มอีกเพียง 2-3 % เงินที่ทาง สปสช กันไว้ 2 % ก็ไม่เคยใช้หมดในแต่ละปี

การจ่ายเงินจะมีการสอบสวนหาสาเหตุ ซึ่งทำให้รู้สาเหตุและหาทางป้องกันแก้ไข ไม่ใช่หมกเม็ดแล้วก็ตายแบบเดิมซ้ำ ๆซาก ๆ ซึ่งเรื่องนี้ องค์การอนามัยโลก ถือเป็นนโยบายที่สมาชิกต้องปฏิบัติตาม และตั้งโครงการความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยผู้ป่วยเนื่องจากเห็นว่าพวกหมอแก้ปัญหาไม่ได้เพราะไม่ได้ตายแบบคนไข้เวลาเกิดเรื่อง ไม่เหมือนการแก้ปัญหาความปลอดภัยทางการบิน ที่เวลาเกิดเรื่อง กัปตันก็ตายตามผู้โดยสารด้วย บริษัทก็เสียเครื่องบินลำละหลายตังค์ สายการบินและกัปตันจึงแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้โดยสาร และความปลอดภัยทางด้านการบินเป็นต้นแบบของความปลอดภัย

การออกมาต่อต้านของแพทย์ รวมทั้งกล่าวหาคนไข้ต่าง ๆนา ๆ และเรียกร้องเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ห้ามฟ้องแพทย์เป็นคดีอาญาจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ได้และยอมรับไม่ได้ ในเมื่อแพทย์ไม่ได้เสียอะไร คนไข้เสียอีกที่เสียเงินเพิ่มช่วยเหลือคนไข้ด้วยกันเองเวลาเกิดเรื่อง และการฟ้องร้องเป็นสิทธิพื้นฐานของทุกคนที่จะฟ้องใครก็ได้ หากเขาได้รับการเยียวยา ช่วยเหลือใครจะไปฟ้องศาลให้เหนื่อยยากเสียเวลา

และการกล่าวหาว่าเรื่องทางการแพทย์หากผู้ไม่รู้วิชาการแพทย์มาตัดสินคดี หรือหากมีการร้องเรียน จะไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้อง ต้องแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นจึงจะตัดสินได้ถูกต้อง อันนี้รับฟังไม่ได้ ขาดเหตุผล ในเมื่อในการตัดสินคดีนี้เขาถามผู้รู้มาเรียบร้อยก่อนจะทำการตัดสินรวมถึงแพทยสภาด้วย มีการโต้แย้งได้ แพทยสภาก็โต้แย้งได้ ราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ ก็โต้แย้งได้ จนเกิดข้อสรุปที่เป็นธรรม และที่สำคัญ

ในอดีตการตัดสินโดยผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ลำเอียง ช่วยเหลือแพทย์ด้วยกันเอง รวมทั้งแพทยสภา ไม่ยอมหาทางเยียวยา จึงนำมาซึ่งการฟ้องร้องคดีรกศาล และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต้องตั้งกองทุน และต้องมีคนนอกคอยตรวจสอบ
https://www.pantown.com/board.php?id=12163&area=&name=board12&topic=1257&action=view

แพทยสภาเสียอีกที่ไปขัดขวางกระบวนการยุติธรรมโดยการไปทำหนังสือตกลงกับ สตช ว่าหากมีการฟ้องคดีอาญาแพทย์ให้ตำรวจสอบถามแพทยสภาว่ามีมูลหรือไม่ก่อน ก่อนสั่งฟ้อง ซึ่งไม่ถูกต้อง หนังสือ สตช. ต้องเพิ่มอีกท่อนหนึ่งว่าหากแพทยสภาเห็นว่าไม่มีมูล แพทย์ไม่ผิด แต่หากมีหลักฐานอื่น เช่นมีพยานแพทย์ที่เป็นธรรม มีหลักฐานน่าเชื่อถือก็ให้สั่งฟ้อง ไม่ต้องฟังแพทยสภา แต่ส่วนนี้ไม่ได้เขียนไว้ แสดงให้เห็นถึงความไม่บริสุทธิ์ใจและผิดหลักวิชาสอบสวน

คดีสองแม่ลูกศรีธนะขัณฑ์ เป็นตัวอย่างที่ดี เพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนิติเวชลงความเห็นว่าตายจากอุบัติเหตุ แต่น้องชายผู้ตายซึ่งไม่ใช่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แต่หาความรู้และหาข้อมูลมาแย้ง จนนำไปสู่การสั่งฟ้องและลงโทษแพทย์นิติเวชผู้เชี่ยวชาญ
https://blog.eduzones.com/applezavip/35733

การออกมาพูดจากข่มขู่โดยแพทย์ ว่าจะตรวจช้า ๆ ตรวจละเอียดและส่งต่อไม่รักษา จึงเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องและแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะที่แย่ของแพทย์ สังคมจะรุมประนาม ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้ก็ชัดเจนโดยนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่บอกว่าความผิดพลาดทางการแพทย์นั้นอันตรายและพบมาก ต้องรีบแก้ไขเยียวยา แพทย์จึงควรจะต้องหาทางแก้ไข มากว่าแก้ตัวและมาข่มขู่คนไข้ ซึ่งเป็นผู้ที่เป็นวัตถุดิบให้แพทย์เรียนรู้ และเป็นผู้ให้เงินแพทย์ใช้ รวมทั้งเป็นผู้จ่ายเงินช่วยเหลือกันเอง เมื่อแพทย์ทำผิดพลาด

ประเทศที่มีกองทุนก็มีให้เห็นเช่น สวีเดน นิวซีแลนด์ ทำไมเมืองไทยจึงมีเสียงค้านมากมาย แล้วจะเอาพวกที่แพทย์ไทยทำพลาดจนตายและพิการไปไว้ที่ไหน หรือไปที่หน้ากระทรวง หรือหน้าแพทยสภา หรือหน้าสำนักนายก หรือสภาผู้แทนราษฎร ใครช่วยตอบที

นายแพทย์เทพ เวชวิสิฐ
โดย: แพทยสภาตามเช็กบิลคุณหมออีกแน่ [21 ก.ค. 53 10:07] ( IP A:58.9.220.30 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   แพทยสภา ตามเช๊คบิลคุงหมอเทพ
ระวังคนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์ตามเช๊คบิลแพทยสภา



เช่นกัน

โดย: โอเคปะ? [21 ก.ค. 53 10:29] ( IP A:111.84.136.29 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   คงไม่ละมั่ง
การวิจารณ์ด้วยความเป็นธรรม เป็นสิ่งที่ทำได้ตามสิทธิ์
กฎหมายให้ความคุ้มครอง
แต่จะเป็นธรรมหรือไม่ ศาลท่านเป็นคนตัดสิน
เหมือนกับการที่ว่า หมอจะประมาทหรือไม่ ในคดีแพ่ง คดีอาญา ศาลเป็นคนตัดสิน ไม่ใช่แพทยสภา
แพทยสภาเป็นคนตัดสินในคดีที่ร้องเรียนหมอ ว่าประมาทหรือไม่ ซึ่งหากหมอหรือคนไข้ไม่เห็นด้วย ก็มีสิทธิ์ไปฟ้องศาลอีกทีหนึ่ง
ศาลจึงเป็นที่สุด ไม่ใช่แพทยสภา ดังนั้นตำรวจจะฟ้องหรือไม่ฟ้องโดยอิงแพทยสภาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องอิงเหตุผล ข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่ได้มา ไม่ว่าจะจากทางใดๆ หาสามารถพิสูจน์ว่าผู้ต้องหาผิดจริง
โดย: ศาลจึงเป็นที่สุด ไมใช่แพทยสภา [21 ก.ค. 53 14:30] ( IP A:58.11.71.86 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ท่านรู้หรือไม่ว่าที่ระบบโรงพยาบาลไม่เปลี่ยนแปลงในผู้รับบริการได้รับการรักษาที่ดีมากเพียงพอเพราะอะไร
ปัจจุบันแพทย์จะได้รับเงินตามรายหัวของผู้ป่วยที่ตรวจรักษา ยิ่งมากก็ยิ่งได้รับเงินมากเท่านั้น แพทย์จึงแค่สั่งจ่ายยาตามอาการไม่ตรวจไม่อธิบายไม่บอกข้อควรปฏิบัติทั้งสิ้น
ท่านรู้หรือไม่ว่าแพทย์ได้รับเงินค่าเขียนใบรับรองแพทย์ 50-150 บาทต่อใบ บางครั้งคุณไปขอใบรับรองแพทย์ไม่มีแพทย์อยู่ด้วยซ้ำ หรือมีก็ไม่ได้ตรวจอย่างที่ควรจะเป็น อยากให้ระบบไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐาน เพราะมันไม่สามารถแสดงสุขภาพที่แท้จริงได้
คุณรู้หรือไม่ว่ามีแพทย์จำนวนมากที่ไปเปิดคลินิกโดยใช้เวลาราชการตอนบ่าย ลองไปดูที่โรงพยาบาลตอนบ่ายสิ แพทย์ทำระบบให้ตัวเองได้รับเงินมากขึ้นโดยการเปิดคลินิกพิเศษตอนเย็นแทน
คุณคิดว่านี่หรือวิชาชีพที่ชาวบ้านตาดำๆยกมือไหว้
แม้จะมีแพทย์ที่ดีในระบบแต่ดูเหมือนว่าจะน้อยมากจริงๆ เพราะได้รับอภิสิทธ์ต่างๆจนเคยตัว
โดย: Extra@yahoo.com [2 ส.ค. 53 22:31] ( IP A:202.28.51.72 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   เรียนคุณ extra@ yahoo .com อยากให้คุณศึกษาข้อจำกัดของระบบค่าตอบแทนของแพทย์ในภาครัฐให้ดีและทราบปัญหาของภาระงานของแพทย์ทั้งระบบก่อนที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะระบบของประเทศของเราไม่ได้เป็นอย่างที่คุณคิิด แพทย์ในภาครัฐไม่ได้ค่าตอบแทนที่อิงกับภาระงาน ไม่ว่าจะตรวจคนไข้กีคนก็เงินเดือนคงที่ ไม่ว่าจะผ่าตัดคนไข้กีคนเงินเดือนก็เท่าเดิม เมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้วแพทย์ในประเทศของเราทำงานหนักกว่าชัดเจนครับ
โดย: Rak [7 ส.ค. 53 22:50] ( IP A:114.128.105.173 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   การได้รับค่าตอบแทนของแพทย์ อาจไม่เหมือนที่กล่าวมาทั้งหมด แต่ ปัจจุบันมีแพทย์ส่วนหนึ่ง ที่กำหนด จำนวน รายที่ต้องการตรวจ
ส่วนที่เหลือ ให้ คนที่ไม่ใช่แพทย์คิดต่อ ว่าจะทำอย่างไร

เศร้าคะ
โดย: Ma08@thaimail.com [30 ก.ย. 53 22:27] ( IP A:118.173.182.74 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน