ความสำคัญของร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
|
ความคิดเห็นที่ 1 เป็นบทความที่น่าจะถูกเผยแพร่มาก่อนหน้านี้ และผ่านช่องทางสื่อของหมอ, NGO, และสื่อสาธารณะอื่นๆให้มากที่สุด เพื่อขยายการรับรู้และมีส่วนร่วมของสาธารณชนในวงกว้าง
ผมขอติง "สาระสำคัญในข้อ 4" ซึ่งกำหนดให้ผู้เสียหายเป็นผู้พิสูจน์พยานหลักฐานในชั้นศาลเอง
เงื่อนไขนี้จะเป็นข้อได้เปรียบให้ฝ่ายผู้ให้บริการ เนื่องจากเท่าที่ผ่านมาตลอดหลายปี เวชระเบียนและผลวิเคราะห์และฟิลม์ X-ray ต่างอยู่ในมือของผู้ให้บริการ และขอยากขอเย็นทั้งสิ้น แถมยังอาจพ่วงการแก้ไขหรือเตะถ่วง หรือให้ไม่ครบมาด้วย ทั้งๆที่เป็นสิทธิผู้ป่วย และยังมี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ กำหนดให้ต้องส่งมอบให้คนไข้ด้วย
ทั้งนี้และทั้งนั้น ฝ่ายผู้ให้บริการโดยส่วนใหญ่เป็นฝ่ายละเมิดสิทธิและละเมิดกฎหมายเสียเองทั้งนั้น
ถ้ามีเงื่อนไขข้อนี้คงอยู่ ก็ควรแก้กฎหมายให้ฝ่ายผู้ให้บริการไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือภาคเอกชน ต้องส่งมอบเวชระเบียนให้ทันทีเมื่อคนไข้ร้องขอ พร้อมกับมีบทลงโทษทั้งปรับและ/หรือจำคุก หากมีการเตะถ่วง/แก้ไข/หน่วงเหนี่ยวบางส่วน ของผู้ให้บริการ ให้จริงจังและรุนแรงมากกว่านี้
ผมสงสัยว่า เป้าหมายของการมีเงื่อนไขข้อนี้ ก็เพื่อไปคานอำนาจของศาลคดีผู้บริโภคในการบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีเป็นผู้พิสูจน์หลักฐานเพื่อแก้ข้อกล่าวหา หรือไม่?????
อย่าลืมว่า เวชระเบียนเป็นหลักฐานชิ้น "สำคัญที่สุดในการเริ่มคดี" ที่ฝ่ายผู้ให้บริการเป็นผู้จัดทำและเก็บรักษาแต่ต้น คนไข้ไม่ได้เป็นผู้ทำและไม่มีอำนาจบังคับให้ฝ่ายผู้ให้บริการรักษาส่งมอบออกมา เงื่อนไขข้อนี้จึงยังคงความได้เปรียบในการต่อสู้ทางคดีไว้กับผู้ให้บริการ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [21 ก.ค. 53 12:36] ( IP A:58.8.229.23 X: ) |  |
|