เอ้า..! แพทยสภารุกหนัก จะถอนร่างพรบ.ให้ได้..!
|
ความคิดเห็นที่ 1 กำหนดการสัมมนา ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.
. เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน จัดโดย สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย และเครือข่ายสหวิชาชีพด้านสาธารณสุข วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08.00 น. 16.30 น. ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เวลา 08.00 น. 09.00 น. ลงทะเบียน ชมวีดิทัศน์ สมาพันธ์ ฯ และเครือข่าย เวลา 09.00 น. 09.20 น. พิธีเปิดการสัมมนา กล่าวรายงาน โดย พญ. พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์ ฯ กล่าวเปิดงาน โดย ฯ พณ ฯ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร.ม.ต. กระทรวงสาธารณสุข เวลา 09.20 น. 09.40 น. เจตนารมณ์และสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ โดย นพ. สุรินทร์ ทองมา เนติบัณฑิตไทย ที่ปรึกษากฎหมายสมาพันธ์ ฯ เวลา 09.40 น. 10.00 น. ผลกระทบของร่าง พ.ร.บ. ฯ ต่อระบบบริการสาธารณสุขและผู้ให้บริการ โดย นาวาอากาศเอก (พิเศษ) นพ. อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา เวลา 10.00 น. 12.00 น. อภิปรายหมู่ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.ฯ ประชาชนได้หรือเสีย ปรองดองหรือแตกแยก มุมมองของนักกฎหมาย : นพ. วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี มุมมองของแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน : พญ. เชิดชู อริยศรีวัฒนา มุมมองของเภสัชกร : ภญ. พัชรี ศิริศักดิ์ มุมมองของพยาบาล : ตัวแทนพยาบาล ผู้ดำเนินการอภิปราย นพ. ประดิษฐ์ ไชยบุตร รองประธานสมาพันธ์ ฯ เวลา 12.00 น. 12.30 น. ตำนานกระทรวงสาธารณสุข จากสุข ทุกข์เข็ญ โดย นพ. อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ เวลา 12.30 น. 15.00 น. อภิปรายหมู่ อภิปรายทั่วไป เดินหน้าอย่างไรกับร่าง พ.ร.บ. ฯ 1. ประเด็นที่ต้องแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประชาชน และระบบบริการสาธารณสุข โดย นพ. ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์ ฯ 2. ถอน/ ไม่ถอน โดย พญ. ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์ ฯ 3. รวมพลังเพื่อ ร่าง พ.ร.บ. ฯ ที่เป็นธรรม 3 ส.ค. 2553 หน้ารัฐสภา โดย พญ. สุธัญญา บรรจงภาค ประชาสัมพันธ์สมาพันธ์ ฯ เวลา 15.00 น. 16.30 น. อภิปรายทั่วไป - ปิดการประชุม เลขที่ สพท. 16/ 07/ 53 สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เรื่อง ขออนุมัติใช้ห้องประชุมเพื่อจัดสัมมนา เรียน ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากทางสมาพันธ์ แพทย์ รพศ./ รพท. แห่งประเทศไทยต้องการจัดการสัมมนาเรื่อง " ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.
.เพื่อความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน " วัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขได้เข้าใจสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฯ และระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ไขให้เกิดความเป็นธรรม จึงขออนุมัติใช้ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร ชั้น 9 ตึกกรมสนับสนุนบริการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ตั้งแต่เวลา 8.00 น. 16.30 น. จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน เรียนมาเพื่อขออนุมัติใช้ห้องประชุม ในวัน เวลา ดังกล่าว ขอแสดงความนับถือ ( พญ. พจนา กองเงิน ) ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย โทร. 0815470499 | โดย: อยากทำอะไรทำให้เต็มที่ [21 ก.ค. 53 23:25] ( IP A:58.9.186.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 **อันนี้งานของ ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ไม่ใช่แพทยสภาจัด เห็นมีชื่อกรรมการมาเป็นวิทยากรให้คนนึง ไม่ควรไปยกเครดิตให้แพทยสภา..ซึ่งสงสัยเดี้ยงไปแล้ว หลังเจอรัฐมนตรีอัดไปวันก่อน เพราะเลขาก็เป็นหมอ ในสธ.เอง
เชียร์ให้ถูกเจ้าภาพหน่อยจ้า..เดี๋ยวสมาพันธ์เขาน้อยใจ...เขาอุตสาห์ลงแรงแล้ว..
เจ้พจนา สู้ๆ | โดย: เชียร์..กันหน่อย.. [22 ก.ค. 53] ( IP A:58.8.100.72 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 เขามีกำลังจัดงานกันในกระทรวงฯ แล้วพวกเราต้องนั่งมองตาปริบ ๆ กันอยู่อย่างนี้หรือ
สมาพันธ์เขาลงแรงเพื่อคนไข้หรือ เขาจะล้มร่างพรบ.ของเราไม่ใช่หรือ
ที่เรียกว่าแพทยสภา ก็เพราะเป็นกลุ่มต่อต้านพรบ. เหมือนกัน หมอสุธัญญาก็คือตัวแทนแพทยสภานั่นเอง | โดย: กลุ่มเดียวกัน จะล้มพรบ.เหมือนกันหมด [22 ก.ค. 53] ( IP A:58.9.186.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 วันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 18:01:09 น. มติชนออนไลน์ สมาพันธ์แพทย์ระบุมีชื่อย่อ"ก-อ"มีอำนาจล้ม รมต.สธ.ได้
เมื่อเวลา 13.00 น สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ประกอบด้วย พญ.พจนา กองเงิน ประธานสมาพันธ์ พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์ นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษา พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ที่ปรึกษา นพ.เฉลิมพงศ์ สุคนธผล ที่ปรึกษา พญ.พัชรี ยิ้มรัตนบวร เลขานุการ และ พญ.สุธัญญา บรรจภาค นพ.วัชรพงศ์ แย้มศรี ร่วมกันแถลงข่าวกรณีงบโครงการไทยเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุข
พญ.พจนา กล่าวว่า แพทย์ รพศ./รพท.ว่า 9,000 คนที่ดูแลผู้ป่วยทั่วประเทศ ถือเป็นตัวแทนประชาชน ในวันนี้ขอแถลงความจริงกรณีโครงการไทยเข้มแข็งให้ทราบ ซึ่งพูดกี่ครั้งก็เหมือนเดิม รพศ./รพท.จากการบริการผู้ป่วยจำนวนมากในแต่ละวัน และไม่มีการลงทุนเพิ่มในช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาทั้งขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ และบุคลากรทั้งระบบ ส่งผลให้แพทย์ต้องทำงานอย่างหนัก ซึ่งกรณีที่มีข่าวโครงการไทยเข้มแข็งขณะนี้ จึงอยากเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสเพื่อพูดความจริงทั้งหมดให้สังคมรับทราบ เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) มีการผ่าตัดน้อยมาก ส่งต่อมาให้ รพศ./รพท.ทำทั้งหมด ซึ่งหากไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนก็จะกระทบต่องานบริการอย่างมาก
พญ.ประชุมพร กล่าวว่า ที่ผ่านมา รพศ./รพท.ไม่เคยออกมาแสดงความเห็นอะไร เพราะมุ่งแต่ทำงานในพื้นที่ แต่พอมีการตั้งปลัดสธ.คนใหม่ ได้มีการออกข่าวต่อต้าน ทำให้รู้สึกว่าการเมืองแรงขึ้น จากนั้นก็มีการพูดถึงปัญหาโครงการไทยเข้มแข็ง ทั้งที่เป็นโครงการที่ดำเนินการมาตั้งแต่อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข แต่ในช่วงนั้นกลับไม่มีการทักท้วงใดๆ แต่กลับมีการทักท้วงในช่วงปลัดคนใหม่ นอกจากนี้ปัญหาทุจริตรถพยาบาล 232 คัน ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ชี้มูล กลับไม่มีการออกมาจี้ให้ดำเนินการตรวจสอบ ทั้งที่รถพยาบาลดังกล่าวอุปกรณ์บางตัวไม่ได้ใช้ เพราะไม่ได้มาตรฐาน จึงต้องซื้อเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด
นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ไทยเข้มแข็งที่เกิดขึ้นมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ คณะกรรมการคนหนึ่งเคยเสนอให้นายกฯ ตั้งแพทย์คนหนึ่งเป็นปลัดสธ. แต่นายวิทยา แก้วภราดัย อดีต รมว.สาธารณสุข กลับตั้ง นพ.ไพจิตร์ วราชิต แทน และมีคนออกมาประกาศว่ารู้สึกผิดหวัง และจะตรวจสอบทุจริตทันที ทั้งๆ ที่ยังไม่เริ่มทำงาน เมื่อสามารถบีบให้นายวิทยา ลาออกได้ คิวต่อไปคือ นายมานิต นพอมรบดี รมช.สาธารณสุข และปลัดสาธารณสุข เพื่อให้คนของตนเข้ามานั่งแทน หากทำสำเร็จจะทำให้ข้าราชการเกรงกลัวกลุ่มคนเหล่านี้ และจะสามารถเข้าไปแทรกแซงสั่งการทุกอย่างได้เหมือนในอดีต
นพ.วัชรพงศ์ กล่าวว่า ผลการสอบของคณะกรรมการสะท้อนให้เห็นความไม่เข้าใจสถานการณ์สาธารณสุขในปัจจุบัน เนื่องจากกรรมการบางคนเกษียณอายุราชการนานกว่า 20 ปี อาจไม่ทราบว่า รพช.ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่าตัดแล้ว แต่ส่งต่อให้ รพศ./รพท. เนื่องจากกลัวถูกฟ้อง และกรรมการบางคนก็ไม่ได้รักษาผู้ป่วยมานาน อาจไม่ทราบว่า การที่รถพยาบาลราคาแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ในรถ
ด้าน นพ.ศิริชัย กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนายกฯ ต้องตัดสินใจด้วยฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ใช่ตามแรงกดดันของคนบางคน และขอเรียกร้องให้ นพ.ไพจิตร์ ตั้งตัวแทนสมาพันธ์ฯ เข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งด้วย และขอเรียกร้องให้ รมว.สธ.คนใหม่ และนายมานิต เป็นตัวของตัวเอง ไม่ปล่อยให้ สธ. อยู่ภายใต้การครอบงำของคนบางคน
นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบโครงการจัดซื้อรถพยาบาลระดับสูง 232 คัน ที่สตง.ได้ชี้มูลแล้วให้เกิดความชัดเจน เพราะคดีใกล้หมดอายุความแล้ว มิใช่มามุ่งตรวจสอบรถพยาบาลที่ยังไม่มีการทุจริต
"ผมมาเหยียบกระทรวงสาธารณสุขไม่กี่ครั้ง มาแถลงข่าววันนี้ยังเดินหลง พวกเราเป็นเหมือนมดตัวหนึ่งที่มุ่งแต่ทำงาน เนื่องจากทนเห็นวิบากกรรมกระทรวงสาธารณสุขมานานแล้ว จึงคิดว่าต้องทำอะไรซักอย่าง จึงขอเล่านิทานให้ฟังเรื่อง "ชมรมคน 2 คนแอบอ้างชนบท"ในชมรมดังกล่าวมีคน 2 คน อักษรย่อ ก.และ อ. มีอำนาจมาก มากันแค่ 2 คนก็ของบค่าตอบแทนได้ 70,000 ล้าน แต่พวกเรามาถึง 2,000 คน แต่กลับได้มาแค่ 10,000 ล้าน แถมยังสามารถล้มรัฐมนตรีได้ เพราะมีเทวดาคุ้มครอง ดังนั้นจึงอยากฝากไปเทวดาที่คุ้มครองว่า ขอให้ระวังวิบากกรรมที่จะสะท้อนไปยังท่านด้วย" นพ.ศิริชัย กล่าว
นพ.ศิริชัย กล่าวว่าไม่สงสัยหรือไม่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเล็กๆ ถึงมาไล่รัฐมนตรีได้ หากไม่มีผู้ใหญ่หนุนหลังนอกกระทรวง แสดงว่าคนๆ นั้นเทวดาคุ้มครอง | โดย: เขาใหญ่มากนะ..ล้มรัฐมนตรีได้..ทำไมจะล้มพรบ.เราไม่ได้ [22 ก.ค. 53 1:02] ( IP A:58.9.186.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ยื่นหนังสือถึง จุรินทร์ จี้สอบสปสช. วันที่ 12/02/2553 15:24 (ผ่านมา 159 วัน 9 ชั่วโมง 40 นาที)
สมาพันธ์แพทย์รพศ./รพท. ยื่นหนังสือถึง จุรินทร์ เสนอแก้ปัญหาในสธ. 5 เรื่อง จี้ตรวจสอบการทำงานสปสช. อ้างงบรักษาพยาบาลไม่ถึงหน่วยบริการทั้งหมด ถูกกันไว้ทำโครงการอื่น ส่งผลโรงพยาบาลประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ชงแยกงบเงินเดือนออกจากค่ารายหัวประชากร รวมทั้งให้ประชาชนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลโรคจากพฤติกรรมเสี่ยง
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พญ.พจนา กองเงิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในฐานะประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)/โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.)แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาพันธ์แพทย์ฯได้ยื่นหนังสือถึงนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เรี่อง ข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาในกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) โดยมีนายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับเรื่อง ซึ่งสมาพันธ์ฯ เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา 5 ประเด็น คือ 1.กรณีปัญหาการตรวจสอบการใช้งบประมาณไทยเข้มแข็ง ควรแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเชิงลึกที่ประกอบด้วยบุคคลที่เชื่อถือได้และมีความเป็นกลาง การระบุว่ามีความผิดทุจริตควรมีหลักฐานที่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ชี้แจงอย่างเท่าเทียม หากพบมีการกระทำผิดก็ควรดำเนินการจนถึงที่สุด
การจัดสรรงบประมาณโครงการไทยเข้มแข็งควรพิจารณาถึงภาระงานเป็นหลัก เพราะการบริการในโรงพยาบาลชุมชนมีต้นทุนการบริการ เทคนิคบริการที่ไม่สลับซับซ้อน ให้บริการประชาชนจำนวนไม่มาก ต่างจากรพศ./รพท.ที่มีความซับซ้อนใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ให้บริการประชาชนจำนวนมาก ดังนั้นการนับจำนวนแพทย์ต่อจำนวนประชาชนเพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถบ่งชี้ถึงภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้องตรงกับความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ พญ.พจนา กล่าว
พญ.พจนา กล่าวต่อว่า 2.ปัญหาการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เนื่องจากเงินงบประมาณตามรายประชากรส่งไม่ถึงหน่วยบริการทั้งหมด เพราะสปสช.กันเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อจัดทำโครงการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ทำให้หน่วยบริการประสบภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน จึงควรแยกงบประมาณที่เป็นเงินเดือนของบุคลากรและค่าตอบแทนออกจากเงินค่ารักษาพยาบาลต่อหัวประชากร และให้มีการตรวจสอบทบทวนการทำงานของสปสช. เพราะสปสช.กำลังทำเกินหน้าที่
พญ.พจนา กล่าวอีกว่า 3.ปัญหาความขาดแคลนบุคลากร ควรมีการกำหนดมาตรฐานภาระงานที่เหมาะสมของแพทย์ การกำหนดการร่วมจ่ายของประชาชนในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของผู้ป่วย หรือการที่ผู้ป่วยต้องการบริหารเพิ่มเติมจากบริการพื้นฐานของโรงพยาบาล รวมถึง จัดสรรเงินงบประมารเพื่อจ่ายค่าตอบแทนทุกประเภท อย่างเป็นธรรม และพิจารณาเร่งรัดการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานที่สธ.ชะลอเรื่องไว้ และการจัดสรรโควตาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรอื่นๆของโรงพยาบาลในปัจจุบัน ไม่เป็นไปตามสภาพความต้องการที่แท้จริงของโรงพยาบาลในพื้นที่
พญ.พจนา กล่าวอีกด้วยว่า 4. การแยกการบริหารงานบุคลากรของสธ.ออกจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.) ซึ่งไม่เข้าใจงานของสธ. กพ.มีนโยบายลดจำนวนข้าราชการลง ขณะที่บุคลากรทางสาธารณสุขยังมีจำนวนไม่พอเหมาะกับภาระงาน ทำให้เกิดความขาดแคลนบุคลากรในทุกระดับ และ5.ระบบคุณธรรมและหลักการบริหารงานแบบธรรมาภิบาลของสธ. การบริหารโดยไม่ชอบด้วยคุณธรรม ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล ผู้บริหารต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้อง มีความโปร่งใส เที่ยงธรรม และพัฒนามาตรฐานการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง | โดย: บทบาทเขาล่ะ [22 ก.ค. 53 1:09] ( IP A:58.9.186.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 27 มิย. 2553
เรื่องขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเป็นการด่วน
เรียนคุณอัญชลี ที่นับถือ
กลุ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ศึกษาและติดตามปัญหาการแพทย์และสาธารณสุข ขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเป็นการด่วนมาก เพื่อยื่นคัดค้านพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับริการสาธารณสุขพ.ศ..... และเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข เพื่อการปฏิรูประบบบริการด้านสุขภาพ อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า สมเหตุผล และประชาชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อที่จะได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้คุ้มค่า มีมาตรฐาน และปลอดภัย เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชขาชนอย่างยั่งยืนตลอดไป ทั้งนี้ ขอได้โปรดติดต่อนัดหมายวันเวลาได้ที่พญ.เชิดชู โทร. 086 565 9985 หรือ drchurchoo@gmail.com ขอแสดงความนับถือ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา นพ.ธงชับ ซึงถาวร พญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล นอ.(พิเศษ) นพ.อิทธพร คณะเจริญ พญ.สุธัญญา บรรจงภาค นพ.ประทีป เมฆประสาน พญ.พจนา กองเงิน พญ.ประชุมพร บูรณืเจริญ นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ นพ.อรุณ วิทยสุภรณ์ ภญ.พัชรีย์ ศิริศักดิ์ นางธัญสรัตม์ ประชุมทอง (พยาบาลวิชาชีพ) ทพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร นายสุกฤษฏิ์ กิติศรีวรพันธุ์ นักกฎหมายมหาชน | โดย: นี่ก็ไม่ใช่กลุ่มเดียวกันหรือเรียกแพทยสภาง่ายดี [22 ก.ค. 53 1:10] ( IP A:58.9.186.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 พรบ . เจองานช้าง
พวกเราผู้เสียหาย ฯ รวมพลวันไหน ประจานมันให้้หนักกว่านี้ ให้ประชาชนกลุ่มมาก ได้เห็นว่า พวกนั้นเขาคิดอะไรอยู่ แลกกัน ไม่ยอมๆๆๆๆ | โดย: จีเอ็น [22 ก.ค. 53 9:09] ( IP A:111.84.3.151 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 1.เรื่องเงิน --> ไม่ศึกษารายละเอียดการจ่ายก่อนแบบนี้ ระบบล่ม 2. เรื่องการพิจารณาค่าเสียหาย -->กลับไปดูมาตรา 6 ไม่เข้ากับระบบ ตัดสินโดยเสียงข้างมากเลย (ถ้าคณะกรรมการมีความรู้วิชาการ ผู้เสียหายอาจไม่ได้เงินช่วยเหลือก็เป็นได้) ในทางกลับกัน ถ้ารักษาได้ดีแล้ว แต่เสียงข้างมากอยากช่วยผู้เสียหาย ตามมาตรา 6 นี้ หมอ ก็ผิดมาตราฐานการรักษาไปในตัว | โดย: r u ok?? [22 ก.ค. 53 9:56] ( IP A:61.7.235.230 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ท่านใดต้องการเข้าเว็ปเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
https://www.consumer.pantown.com | โดย: 111111111111 [22 ก.ค. 53 10:20] ( IP A:58.9.186.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 อยากรู้จริงๆว่า ถ้า พ.ร.บ. เข้าสภาได้และผ่านสภามาเป็นกฏหมายบังคับใช้ได้จริง พวกคุณหมอที่กำลังเคลื่อนไหวกันอยู่นี่จะทำอะไรต่อไป...........ก็อย่าลืมจรรยาบรรณแพทย์ก็แล้วกันนะครับ | โดย: ปูนร้องท้อง [22 ก.ค. 53 15:11] ( IP A:202.29.9.9 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ไม่ลืมจรรยาบรรณ...แต่ก็อดคิดถึงครอบครัวตัวเองไม่ได้ :/ ถึงคราวพลาดคราวซวย...กฎหมายไม่ฟังจรรยาบรรณครับ เอาแต่ข้อเท็จจริง | โดย: bromine [22 ก.ค. 53 18:33] ( IP A:61.7.188.190 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 12 พรบ มีเพื่อไม่ให้หมอโดนฟ้องมิใช่เหรอ? พลาดมาก็ พรบ จ่ายแทนหมอไง ?
กฎหมายไม่ฟังจรรยาบรรณจริงเหรอ? เห็นแต่กฎหมายฟังหมอมากนะเวลามีเรื่อง เห็นพูดเข้าข้างกันจะตาย ถ้ากฎหมายเป็นกฎหมายจริงก็ดีซิ คดีที่ค้างๆคงจบไปกันมากมายแล้ว ไม่เป็่นอย่างที่คิดนะ่ซิ
| โดย: จริงปะ? [22 ก.ค. 53 20:51] ( IP A:115.67.248.23 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 13 เราว่าต้องเข้าใจ กันคนละอย่างแน่ๆ ระหว่างหมอกับกลุ่มเครือข่าย ลองหันหน้ามาแก้ไข พรบ ร่วมกันดีกว่าที่จะมาว่ากันอยู่อย่างนี้ค่ะ | โดย: เห็นใจทั้งสองฝ่าย [22 ก.ค. 53 21:44] ( IP A:125.24.249.239 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 14 หลายๆความเห็นทางแพทย์คาดว่าเรื่องฟ้องร้องจะมากขึ้นน่ะ...
แล้วที่ว่า พรบ. จ่ายแทนอ่ะ มันมีไล่เบี้ยได้ด้วยนะโดยพิจารณาว่าพลาดเยอะโดนไล่เบี้ยเยอะ...แล้วคนพิจารณาว่าพลาดเยอะพลาดน้อยก็ดันไม่ใช่หมอ :/ (ไม่ใช่อาจารย์พวกผมอ่ะ)
เมื่อแพทย์ทำสุดความสามารถ เท่าที่ปัญญาและสติขณะนั้นจะทำได้ เท่าที่ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะเอื้ออำนวย แต่แล้วก็พลาด ศาลคงไม่ฟังจรรยาบรรณครับ เพราะมันพลาดไปแล้ว แม้ไม่เจตนา ก็กลายเป็นประมาทอยู่ดี
อย่างว่า...ลองหันหน้ามาแก้ไขร่วมกัน ทางแพทย์เลยขอให้เอาออกมาพิจารณาใหม่ เพราะเห็นด้วยกับหลักการ แต่แนวปฏิบัติมันแหวกแนวออกไป... | โดย: bromien [22 ก.ค. 53 22:29] ( IP A:61.7.188.190 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 15 ความคิดเห็นที่ 13 เราว่าต้องเข้าใจ กันคนละอย่างแน่ ๆ ระหว่างหมอกับกลุ่มเครือข่ายลองหันหน้ามาแก้ไข พรบ ร่วมกันดีกว่าที่จะมาว่ากันอยู่อย่างนี้ค่ะ โดย: เห็นใจทั้งสองฝ่าย [22 ก.ค. 53 21:44> ( IP A:125.24.249.239 X: )
ความขัดแย้งมีมานาน หยั่งรากฝังลึก ฝั่งหมอไม่เคยคิดหาทางออกให้คนไข้ ปกป้องตัวเองและผลประโยชน์พวกพ้องจนลืมเห็นใจใน เพื่อนมนุษย์ที่ทุกข์ยาก
ในเมื่อเขาไม่คิด เราก็เบื่อที่จะฟ้องเขา รัฐมนตรีเขาก็สั่งให้ยกร่างกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นทางออกของปัญหาของสองฝ่าย
มีบางมาตราที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่เห็นด้วย รัฐบาลเขาก็บอกว่าให้ไปคุยกันในสภาฯ เอา ก็ไม่ยอมจะถอนร่างพรบ.ที่เขาทำงานกันมานานถึง 3 ปีให้ได้
มันมีเหตุผลอื่นซ่อนเร้นอยู่ เช่นการไม่อยากจ่ายเงินสมทบ การไม่เคยต้องรับผิดชอบในการกระทำของตนเองก็ต้องมาทำ นี่คือมนุษย์ที่เคยแต่ได้ไม่เคยเสีย | โดย: เหตุผลอื่นฟังไม่ขึ้น [23 ก.ค. 53] ( IP A:58.9.223.126 X: ) |  |
|