ผู้หญิงสติแตกเมืองไทยที่พวกหมอเรียก
   อภิปรายนอกสภา

สิทธิมนุษยชนไม่มีอายุความ สิบเจ็ดปีที่ยังรอคอยของ นางปรียานันท์(ดลพร) ล้อเสริมวัฒนา (อภิปรายนอกสภา)



เมื่อวันพุธ 10 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎรใช้เวลาถึง 4 ชั่วโมงพิจารณารายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เกี่ยวกับกรณีวิบากกรรมอันยาวนานของนางปรียานันท์ (ดลพร) ล้อเสริมวัฒนา ผู้กระเตงลูกชายคนเดียวเรียกร้องหาสิทธิมนุษยธรรมเป็นเวลาถึง 17 ปี ตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิดจนเป็นเด็กหนุ่มพิการอยู่ในวันนี้ แต่ถูกปฏิเสธเพราะต่อสู้มายาวนานเกินไปจนคดีขาดอายุความ

เหตุเกิดตั้งแต่ปีพ.ศ.2534 นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ได้ไปฝากครรภ์ท้องแรกที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยได้ไปพบแพทย์ทุกครั้งตามนัดหมาย จนครบกำหนดคลอดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2534 แพทย์ผู้ทำการคลอดไม่ได้ทำการตรวจท่าทางเด็กในครรภ์ ไม่ได้ตรวจสอบน้ำหนักตัวแม่เด็กและน้ำหนักลูก ไม่ได้มีการตรวจสอบวินิจฉัยก่อนคลอดให้ละเอียด พอปากมดลูกเปิดพบว่าเด็กอยู่ในท่าผิดปกติก็พยายามใช้เครื่องดูดระบบสุญญากาศหนีบศีรษะเด็กเพื่อพยายามดึงออกมา แต่ไม่สามารถเอาเด็กออกจากช่องคลอดได้ จึงใช้วิธผ่าตัดเอาเด็กออกทางหน้าท้อง โดยไม่มีรายงานปรากฏว่า ทำไมจึงไม่ใช้วิธีผ่าตัดตั้งแต่แรก

ผลการพยายามใช้เครื่องดูดทำให้ศีรษะเด็กช้ำบวม เมื่อเด็กคลอดมาได้ 1 วันเริ่มตัวเหลืองและเหลืองเพิ่มขึ้นในวันต่อๆมา วันที่ 2 เมษายน ต้องนำเด็กเข้าฉายแสงหรือส่องไฟ วันที่ 3 เมษายน มีการเจาะเลือดนับเม็ดโลหิต วันที่ 4 เมษายน ต้องถ่ายเลือดทางสะดือ วันถัดมาสายสะดือเด็กแฉะและมีของเหลวสีเหลืองออกมา แพทย์เอาสายพลาสติกแยงสะดือออก น้ำหนักเด็กลดลงตามลำดับ มีไข้ขึ้นสูงต่อเนื่องหลายวัน วันที่ 8 เมษายน หรือหลังคลอดได้ 8 วันเด็กร้องไห้กวนเป็นพักๆต่อเนื่องถึงวันรุ่งขึ้น แพทย์ได้เจาะเลือดนับเม็ดโลหิตขาวอีกครั้ง ปรากฎว่า เม็ดโลหิตขาวมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีไข้ต่ำลง

วันที่ 8 เมษายน 2534 รอยบวมบริเวณหัวทุยยุบลง แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ โดยบอกว่าแขนข้างซ้ายเด็กยังไม่แข็งแรงให้ทำกายภาพบำบัดและมาตรวจเช็คที่โรงพยาบาลอีก เมื่อกลับบ้านเด็กร้องไห้อย่างหนัก ผู้ร้องจึงโทรศัพท์สอบถามทางโรงพยาบาลได้รับคำตอบว่าไม่เป็นไรเด็กร้องโดลิค (ร้องปวดท้องธรรมดา) ครั้นเมื่อพาบุตรชายไปโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2534 ตามนัด ผู้ร้องบอกแพทย์ว่าขาลูกชายไม่ยอมกางและบวมแดง แพทย์ได้หิ้วเด็กให้ลองยืน แต่ขาข้างซ้ายของเด็กไม่ยอมแตะพื้น แพทย์บอกให้ไปทำกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลใดก็ได้ที่สะดวก

นางปรียานันท์ฯกระเตงลูกน้อยตระเวนไปขอพึ่งพาโรงพยาบาลเอกชนอีกหลายแห่ง พบรอยการใช้เครื่องสุญญากาศดูดเด็กที่ศีรษะ ขาซ้ายไม่เคลื่อนไหว แต่แขนซ้ายขยับเขยื้อนได้บ้าง X-ray พบมีหนองอยู่ในบริเวณข้อสะโพกข้างซ้าย อันเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องดูดเจาะหนองออก ผู้ร้องได้พาบุตรไปร้องขอให้โรงพยาบาลที่ทำคลอดให้ช่วยเหลือหลายครั้ง โรงพยาบาลผู้ทำคลอดปฏิเสธความรับผิดชอบ อ้างว่าการติดเชื้ออาจจะติดจากที่ไหนก็ได้ตลอดเวลาแม้กระทั่งจากทางอากาศ เดือนธันวาคมพบว่าหนองได้กัดกินกระดูกข้อสะโพกซ้ายจนหมด เป็นเหตุให้ขาข้างซ้ายเจริญเติบโตไม่เท่าขาขวา ลีบเล็กลง ต้องผ่าตัดถึง 2 ครั้งแต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ ภายหลังเด็กเกิดอาการแทรกซ้อนมีความผิดปกติที่แขนขา การติดเชื้อที่กระดูกมากขึ้นอีก โดยมีหนองเป็นแอ่งที่ข้อสะโพกซ้าย กลับไปหาโรงพยาบาลที่ทำคลอดเพื่อถามสาเหตุของอาการแทรกซ้อน แพทย์กลับบ่ายเบี่ยงโดยอ้างว่าไม่มีบันทึกอาการแทรกซ้อนในส่วนนี้ตั้งแต่แรกเกิดจนเด็กมีอายุ 3 ปี 5 เดือนอาการก็ยังไม่ดีขึ้นอยู่ในสภาพพิการ ต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา

นางปรียนันท์ฯ เข้าร้องต่อแพทยสภา ที่ประชุมแพทยสภามีความเห็นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539 มีมติให้ยกข้อกล่าวโทษแพทย์ผู้ทำคลอด อีก 6 ปีต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2545 นางปรียานันท์ฯได้ขอให้แพทยสภาพิจารณาใหม่ โดยส่งสำเนาเวชระเบียนของโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ทำคลอดจำนวน 55 แผ่นเพื่อประกอบการพิจารณา แพทยสภายกคำร้องอ้างว่าไม่มีประเด็นใหม่ ผู้ร้องได้ร้องขอเข้าชี้แจง ข้ออ้างที่ว่าในเวชระเบียนตั้งแต่ต้น ไม่ได้บันทึกเรื่องขาไว้เลย เป็นเพราะแพทย์ไม่บันทึกไว้เอง

ผู้ร้องได้เข้าร้องต่อมูลนิธิเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค หัวหน้าศูนย์เรื่องร้องเรียนมีความเห็นว่า คนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน เพราะต้องการบริการที่ดีและรอบคอบ จึงยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลแพงๆ กรณีนี้ไม่มีการวัดช่องคลอด การคะเนน้ำหนักเด็กตั้งแต่ต้น ไม่มีในใบฝากครรภ์ ไม่มีการบันทึกตรวจครรภ์ ไม่มีบันทึกน้ำหนักของแม่และเด็ก และไม่มีหลักฐานอีกหลายอย่างที่จำเป็นต้องมีตามมาตรฐานของแพทย์ ข้อมูลไม่เด่นชัดก่อนการวินิจฉัยตัดสินใจ การพบเม็ดเลือดขาวถึงสองหมื่นกว่าตัว ไม่น่าจะปล่อยให้ผู้ป่วยกลับบ้าน แต่แพทยสภาก็มีมติเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ไม่รับรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่

นางปรียานันท์เข้าร้องต่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ยื่นฏีกากราบถวายบังคมทูลขอพระราชทานความเป็นธรรม พยายามให้มีการเจรจากับโรงพยาบาลเอกชนผู้ทำคลอดให้รับผิดชอบช่วยเหลือ แต่ไร้ผล จึงได้ฟ้องคดีโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ทำคลอดต่อศาลแพ่งเมื่อปี 2539 ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องเพราะเหตุเกิดตั้งแต่ปี 2534 ผู้ร้องฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปีนับจากวันเกิดเหตุ คดีขาดอายุความ

ผู้ร้องยื่นฟ้องอุทธรณ์และฎีกา ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนให้ยกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ ผู้ร้องได้ไปยกป้ายประท้วงที่หน้าโรงพยาบาลผู้ทำคลอด ผู้ร้องให้สัมภาษณ์ออกรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์พูดถึงเหตุการณ์ความทุกข์ที่เกิดขึ้นหลายสถานที่ แต่ก็ไม่ได้รับการเหลียวแลจากทางโรงพยาบาล กลับถูกทางโรงพยาบาลฟ้องร้องเป็นจำเลยทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายทางแพ่งจากนางปรียนันท์ผู้ร้องจำนวนหลายร้อยล้านบาท แต่ลดให้เหลือหนึ่งล้านบาท

ผลทางคดีศาลชั้นต้นยกฟ้องโรงพยาบาลผู้ทำคลอดที่ฟ้องนางปรียานันท์เป็นจำเลยทั้งสองคดี แต่ทางโรงพยาบาลยังอุทธรณ์ ขณะนี้คดียังอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ นางปรียานันท์สู้คดีและติดตามร้องเรียนขอความเป็นธรรมในที่ต่างๆจนหมดเนื้อหมดตัว มีหนี้สินจนบ้านที่อยู่ปัจจุบันถูกยึดบังคับคดีใช้หนี้

นางปรีนานันท์ฯผู้ร้อง ได้เข้าร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2545 และติดตามเรื่องราวตลอดมาจนถึงปี 2550 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้พยายามประสานงานขอให้โรงพยาบาลผู้ทำคลอดมาตกลงประนีประนอมช่วยเหลือนางปรียานันท์ฯ แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธตลอดมา จึงไม่อาจกระทำได้

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจึงมีมติเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 เห็นว่าแพทย์ผู้ทำคลอดและกุมารแพทย์ของโรงพยาบาลผู้ทำคลอดประมาทเลินเล่อ รวมทั้งโรงพยาบาลไม่มีมาตรการแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย จึงก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ส่วนกระบวนการตรวจสอบของแพทยสภาไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้อง

มาตรการแก้ไขปัญหา"ให้โรงพยาบาลช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตั้งแต่เมื่อบุตรชายของผู้ร้องเริ่มมีอาการพิการจนถึงปัจจุบันและให้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ให้แก่บุตรชายผู้ร้องจนกว่าจะหายจากอาการพิการ ให้แพทยสภารื้อฟื้นเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ ให้กระทรวงสาธารณสุขวางมาตรฐานในการตรวจรักษาพยาบาลผู้ป่วย หรือผู้มารับบริการของโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการบันทึกการตรวจรักษาของแพทย์ในเวชระเบียน ต้องมีรายละเอียดพอสมควร และต้องชัดเจนตามข้อเท็จจริงและสมุห์ฐานของอาการอย่างแท้จริง ให้สามารถตรวจสอบได้ตามหลักธรรมาภิบาล"

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้มีหนังสือลงวันที่ 10 เมษายน 2551 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหา แต่จนปัจจุบันยังไม่ได้รับแจ้งผลการดำเนินการฯ จากนายกรัฐมนตรี หรือจากหน่วยงานที่นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาแต่อย่างไร จึงรายงานเรื่องนี้มายังรัฐสภาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป

เรื่องจึงได้สู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรใช้เวลาถึงประมาณ 4ชั่วโมงดังกล่าวข้างต้น สุดท้ายก็ยังไม่มีการยืนยันความช่วยเหลือใดๆที่ชัดเจนจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขผู้มารับทราบรายงานและชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรในนามของรัฐบาล คำตอบดูเหมือนอ้อมแอ้มอยู่กับประเด็นที่ว่า เรื่องนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับโรงพยาบาลเอกชน นอกเหนือวิสัยที่รัฐบาลจะเข้าไปแทรกแซงได้

การต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมด้วยความอดทนเป็นเวลายาวนานถึง 17 ปี ของนางปรียานันท์ (ดลพร) ล้อเสริมวัฒนา มนุษยชนคนนี้ จะจบสิ้นเพียงแค่การรับทราบของสภาผู้แทนราษฎรเช่นนี้หรือ ?

เรื่องนี้แน่นอนที่สุด นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา และบุตรพิการเป็นผู้เสียหาย

โรงพยาบาลและแพทย์เป็นผู้ต้องรับผิดต่อนางปรียานันท์ฯ ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและทางจรรยาแพทย์

แพทยสภาเป็นผู้ต้องรับผิดต่อนางปรียานันท์ฯ ในฐานะที่เป็นผู้วางระเบียบและควบคุมจรรยาบรรณแพทย์

กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ต้องรับผิดต่อนางปรียานันท์ฯ ในฐานะเป็นผู้ให้ใบอนุญาตและควบคุมการประกอบการของโรงพยาบาลเอกชน

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบต่อนางปรียานันท์ฯ ในเรื่องสิทธิมนุษยชน

รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบต่อประชาราษฎร์ทุกคนในฐานะเป็นผู้บริหารประเทศและธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะเป็นนิติธรรม คุณธรรม เมตตาธรรม ยุติธรรม และมนุษยธรรม

ความรับผิดทางแพ่งของโรงพยาบาลและแพทย์ผู้ทำคลอดถูกศาลยกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ

ความรับผิดของแพทยสภาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จะขาดอายุความหรือไม่เป็นเรื่องที่จะปรากฏโดยคำพิพากษาภายหลัง

แต่ความรับผิดในธรรมาภิบาลของรัฐบาลผู้บริหารประเทศไม่มีอายุความ

การล่วงละเมิดในสิทธิมนุษยชนไม่มีอายุความ

การถูกล่วงละเมิดยาวนานเสียหายทุกข์ทรมานยิ่งกว่าการละเมิดในช่วงเวลาสั้นๆ ที่ยังอยู่ในอายุความ

ภารกิจการต่อสู้เพื่อมนุษยธรรมของมนุษยชนทุกผู้ทุกนาม ยิ่งนานยิ่งศักดิ์สิทธิ์

รัฐบาลใดก็ตามที่จะมาบริหารประเทศต่อไปนี้จะละเลยเรื่องเช่นนี้ไม่ได้

ค่าเยียวยารักษาและชดใช้ความเสียหายให้แก่นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา น้อยนิดเหลือเกินเมื่อเทียบกับงบประมาณที่กำลังเตรียมซื้ออาวุธให้กองทัพ

ศักดิ์สิทธิ์และสง่างามยิ่งกว่างบประมาณสร้างรัฐสภาให้ยิ่งใหญ่โอฬาร

(ผู้เขียนขออภัยที่ไม่ได้อภิปรายแสดงความเห็นใจต่อคุณปรียานันท์ ผู้ไปนั่งฟังการประชุมอยู่บนชั้นสองของสภาฯด้วย ขอแสดงความเห็นใจและชื่นชมความกล้าหาญในการต่อสู้ยาวนานถึง 17 ปีด้วย "อภิปรายนอกสภา")


"พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล"

โดย: หน้าตาแบบนี้ [30 ก.ค. 53 17:40] ( IP A:58.11.72.6 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   แปลกแต่จริง วงการแพทย์ทั่วโลกดีขึ้นเพราะคนสติแตก
โดย: แล้วจะค่อยๆเอามาให้ดู [30 ก.ค. 53 17:41] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   คนนี้เป็นสตรีสติแตกของสหรัฐ หมอดีขึ้นหน่อย
https://www.josieking.org/
https://www.oprah.com/relationships/Josies-Story-by-Sorrel-King

โดย: ฟฟ [30 ก.ค. 53 17:47] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   นี่ลูกของเธอที่ตายอย่างอนาถ
หน้าตาแบบนี้

โดย: ฟฟ [30 ก.ค. 53 17:48] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ตอนลูกเธอตาย มหาวิทยาลัยแพทย์ที่ดีที่สุดในสหรัฐต้องออกมารับว่าผิด และตั้งกองทุกชื่อลูกเธอเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

บ้านเราด่าเขาว่าบ้า แถมยังมาค้านกฎหมายอีก ชาติหน้าคงจะเจริญ
โดย: ฟฟ [30 ก.ค. 53 17:49] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   นี่ผู้หญิงบ้าสหรัฐ หน้าตาแบบนี้
เป็นตัวแทนความปลอดภัยของผู้ป่วยขององค์การอนามัยโลก
ทั้งลูกทั้งผัว เป็นผู้เสียหายทั้งคู่

โดย: หน้าตาแบบนี้ [30 ก.ค. 53 17:51] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   สมาคมผู้เสียหายของสหราชอาณาจักรก็เกิดจากเรื่องของผู้หญิงตัวน้อยๆ
https://www.avma.org.uk/pages/history_of_avma.html
โดย: พวกหญิงบ้าสติแตก [30 ก.ค. 53 17:57] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   คนเขียนเรื่องหญิงบ้าในสหราชอาณาจักรหน้าตาแบบนี้
https://www.peterransley.co.uk/profile/

โดย: ฟฟ [30 ก.ค. 53 18:00] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   คำเตือน โปรดระวังหญิงบ้า อย่าเจอวันละสองคน
โดย: คำเตือนสำหรับวงการแพทย์ทั่วโลก [30 ก.ค. 53 18:01] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 9
   Josie's Story
Oprah.com After Sorrel King's 18-month-old daughter, Josie, was admitted to world-renowned Johns Hopkins Hospital in Baltimore with a severe burn, the young girl made a remarkable recovery. The King family was planning a homecoming. But a preventable mistake by the hospital caused Josie to go into cardiac arrest and die. Read an excerpt from Josie's Story about how Sorrel and her husband decided to honor Josie's memory by fighting for patient safety.
Paul Bekman, our lawyer, was beginning to worry. It had been weeks since Hopkins had made their offer and we still had not accepted the settlement. The notion of us not taking the money was beginning to look like a reality.

Paul came to the house one evening in August. We went into the living room and sat down and he told us we needed to make a decision on the settlement offer. "Hopkins is not going to let this stand indefinitely," he said.

"Josie's worth more than that," I replied.

"You're not going to get more." He had explained this to me over and over again. Maryland has a settlement cap of a little less than 1.5 million dollars for this type of situation, which included pain and suffering—my and Tony's pain and suffering, and Josie's pain and suffering. If it had been Tony who had died, the settlement would have been considerably more because Tony has economic value—lost wages to account for. In the eyes of Maryland law, Josie—a minor—was of lesser economic value.

There it was, my primer on the world of malpractice caps and tort reform. Every time Paul explained it to me I told him it didn't sense; it wasn't fair. And every time he told me the same thing.

"That's how the legal system works."

"We don't care what they offer us. We still don't want to sign the papers," I said.

Tony explained to him that this seemed like just a drop in the bucket for Hopkins, a small slap on the wrist. "If we take this money, we'll be letting them off the hook. It seems too easy for them."

"Let's just take it to a jury and see what happens," I said. "You know we'll win, and you know the media will be all over it. Let's see what Hopkins does then."

"If we go to court it could take years," he answered. "It will be grueling, not only for the two of you, but also for your children. You want to destroy Hopkins? Well, Hopkins will do the same to you. There is no doubt in my mind that we would win, but you will only walk away with what has already been offered in this settlement. You gain nothing by going to court."

"I want everyone to know what they did. If we don't go to court, the media won't pick up on it. Hopkins is only going to hide it and forget that it ever happened," I said.

"We can call the media right now and there could be a story in tomorrow's paper, but you know what? It will be one sad story in one local paper and then it will be forgotten."


"I told him it was all wrong. None of what he was saying was making it any easier to take the money. "We don't want their money," I reiterated.

"What do you want?" he asked.

I told him that I wanted them to remember Josie, to learn something from her and to never let this happen again. "I want every hospital in the country to know her name and why she died. I want them all to learn something," I said angrily.

"Then do that," he said. "Do that with the settlement money. If you leave this money, it will just get sucked up in a black hole." He paused and picked up the settlement papers. "Take the money and do something good. Do something for Josie. You can make this money more than a sad story for the media to cover. You can create something much more."

I thought about it. As much as I wanted a fight in court, maybe he was right. It could take years and it could be painful. It would just be a sensationalized courtroom battle story, and for what? I looked at Tony.

"I think he's right," he said. "I think we should take the money and do something good with it."

And so we took the money. We signed the papers, and a few days later Paul handed us a check.

I walked into our local bank on Roland Avenue, a place that I had often visited, usually with Josie on my hip and a cup of Stone Mill coffee in my hand. I held the check in my hand as I stood in line.

"Welcome to Wachovia. How are you today, Mrs. King?" Christy the teller asked as I approached her window.

I endorsed the check and slid it over. I watched her look at the check, waiting for her to notice that this was not my normal Friday transaction. I wanted to tell her where the money had come from and how hard it was form me to be doing what I was doing. I wanted this moment to mean something. I watched her, waiting for her to says something, but she looked up at me and asked the same old question.

"Would you like any cash back, Mrs. King?"


One day, not long after we accepted the settlement, Sandra said something to me that transformed the way that I grieved for Josie.

"This energy from your grief and anger is very powerful. It's time for you to make a decision," she told me. "You can let the grief and anger continue to destroy you. You can sit in your house all day, cry, and be angry at Hopkins and the world. You can give up. Or you can take that energy and use it to propel yourself forward." She took a sip of her tea and looked at me. "Get out there and do something with your anger. Do something with your pain."

I thought back to my childhood, to happier times and summers at Bruce Farm in Virginia, when my mother—wearing blue jeans, a bathing suit top, and holding a riding crop—would stand in the middle of the lawn and give us riding lessons. "Heads up and heels down," she'd command as we jumped over cross rails, galloped through fields, and sailed over stone walls. When one of us got bucked off she'd pick us up, wipe our tears away, check our bodies for broken bones, and then make us get back in the saddle. "If you fall off a horse, you get right back on," she'd say as we pleaded to quit.

I came home that day thinking about what Sandra had said. I thought back to when the neurologists told me Josie was going to die: how I realized at that moment, in a flash, that something tremendous was happening. I knew from the very beginning that there had to be a reason that Josie was taken from me now. And now I knew that reason was not for me to sit in my house all day and feel sorry for myself.

Sandra was right. I had to make a choice. Maybe the pain and sadness could be made into a form other than tears, a form much more powerful and productive. It was time to stop looking for God and religion to rescue me. It was time to put away the paints and the guitar, hoping for the pain to go away. It was time to do something else, something for Josie. Maybe, like Jack wanted, I should stop crying and maybe, like Gloria had said, it was time to leave Josie's room and get out of the house.


Tony and I began discussing what we would do with the money. Should we donate it to kids with cancer? Should we fund a playroom in the new Hopkins Children's Center? We knew we wanted to do something with children and hospitals. So, while Tony spent his days at work, I sat at the computer looking for ideas about what to do with the money.

It had to be huge, nationwide—worldwide even, earth-shatteringly tremendous. As I thought of all our options, there was one question that lurked in the back of my mind and there was only one person who could answer it.

I picked up the phone and called Rick Kidwell.

He was shocked to hear my voice and proceeded to tell me that I should not be contacting him unless it was through our lawyer. I told him it was over. We had signed the papers.

He put me on hold for a minute.

I knew as I sat there waiting that he was calling Paul Bekman to make sure Mrs. King hadn't totally lost it.

When he came back to me it was as if I was talking to an entirely different person. He apologized for Josie's death. He apologized for any pain that the legal proceedings may have caused us. He told me he was sorry.

I was caught off guard by his apology and so I just asked him straight, "Josie's death was a fluke. It was as a strike of lightning. Medical errors like that don't happen very often, do they?"

He told me that people die every day from medical errors. "It's happening in hospitals everywhere. It's reported to be one of the leading causes of death in our country," he said.

I was shocked.


"No one really talks about it," he told me. "Doctors and nurses are not publicizing the fact, the patients are either dead or in the middle of a nasty legal battle, and the families are just too grief-stricken to do anything about it."

I hung up the phone that day and began searching the Internet for more information. The more I read, the more I was beginning to realize the magnitude of the problem.

A 2000 report by the Institute of Medicine, called To Err Is Human, found that between forty-four thousand and ninety-eight thousand people a year die from medical errors, the equivalent of a jumbo jet crashing every day. Deaths from medical errors, it concluded, was one of our country's top killers, along with cancer, AIDS, diabetes, and heart disease. The Joint Commission—the nation's premier heath care safety and quality accreditation organization—reported that over 70 percent of all sentinel events, unexpected medical events that result in death or serious injury, occur because of a breakdown in communications—just like what happened to Josie.

Every night when Tony came home from work, I told him everything I was learning about medical errors and patient safety.

We decided we'd start a foundation. Its mission would be to prevent patients from being harmed or killed by medical errors. We would name it after Josie, and we would begin with Johns Hopkins.
โดย: aa [30 ก.ค. 53 19:45] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 10
   สรรเสริญกันเข้าไป
น่าเชื่อตายอะ
โดย: เอาเลย [30 ก.ค. 53 20:36] ( IP A:124.157.188.180 X: )
ความคิดเห็นที่ 11
   บ้าก็บ้าวะ .... ขอบคุณคุณหมอเทพคร้าบสำหรับลิ้งค์ต่างประเทศ
โดย: เจ้าเก่า [30 ก.ค. 53 23:16] ( IP A:124.121.138.17 X: )
ความคิดเห็นที่ 12
   การต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรมด้วยความอดทนเป็นเวลายาวนานถึง 17 ปี ของนางปรียานันท์ (ดลพร) ล้อเสริมวัฒนา มนุษยชนคนนี้ จะจบสิ้นเพียงแค่การรับทราบของสภาผู้แทนราษฎรเช่นนี้หรือ ?

เรื่องนี้แน่นอนที่สุด นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา และบุตรพิการเป็นผู้เสียหาย

โรงพยาบาลและแพทย์เป็นผู้ต้องรับผิดต่อนางปรียานันท์ฯ ทั้งทางอาญา ทางแพ่งและทางจรรยาแพทย์

แพทยสภาเป็นผู้ต้องรับผิดต่อนางปรียานันท์ฯ ในฐานะที่เป็นผู้วางระเบียบและควบคุมจรรยาบรรณแพทย์

กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ต้องรับผิดต่อนางปรียานันท์ฯ ในฐานะเป็นผู้ให้ใบอนุญาตและควบคุมการประกอบการของโรงพยาบาลเอกชน



ตัดสินกันเองเรียยบร้อย
เมพขริงขริง
โดย: งุงิคริคริ mkII [30 ก.ค. 53 23:47] ( IP A:124.157.188.180 X: )
ความคิดเห็นที่ 13
   

โดย: ผู้หญิงเสียสติสองคนเคยเจอกันแล้ว [31 ก.ค. 53] ( IP A:115.87.128.188 X: )
ความคิดเห็นที่ 14
   ผมเห็นความคิดเขา มันok
แต่สมาชิกของเขามันมีบิดเบี้ยว
โดย: haha [31 ก.ค. 53] ( IP A:61.19.199.142 X: )
ความคิดเห็นที่ 15
   คำเตือน โปรดระวังอย่าเจอผู้หญิงสติแตกวันละสองคน
โดย: ชิกหายแน่ [31 ก.ค. 53 1:16] ( IP A:58.11.72.6 X: )
ความคิดเห็นที่ 16
   จะกลัวทำไม...ก็แค่ผู้หญิง.คนเดียว ...ถ้าแมนจริง ...ก็เปิดเวทีให้โต้กันถึงความเป็นจริงซิ...ให้สื่อให้ประชาชนรู้ความจริง.ให้ประชาชนตัดสิน ..ไม่ใช่ปิดหูปิดตาประชาชนพูดข้างเดียว...ล็อบบี้สื่อ...เหมา...หมดทุกช่อง...ห้ามผู้หญิงคนนี้ออกสื่อที่เป็นสื่อสาธารณะ...ถ้าแมนจริง....ให้เวทีสื่อมวลชนกับเธอซิ....
โดย: ไม่แน่จริง...นิ [19 ส.ค. 53 7:34] ( IP A:124.120.89.57 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน