วงเจรจาไม่ถอนร่าง กม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ** อย่าถอนเลยครับ
   วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 20:40:43 น. มติชนออนไลน์


วงเจรจาไม่ถอนร่าง กม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ตั้งคณะทำงาน 3 ฝ่าย "หมอ-คนไข้-สธ." ขีดเส้น 2 สัปดาห์ได้คำตอบ

วงเจรจาไม่ถอนร่าง กม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ แต่ตั้งคณะทำงานจาก 3 ฝ่าย "หมอ-คนไข้-สธ." เคลียร์ประเด็นขัดแย้ง ขีดเส้น 2 สัปดาห์ได้คำตอบ




ความคิดเห็นที่ขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ…ระหว่างแพทยสภา สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กับเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ฯลฯ ถูกนำเข้าสู่กระบวนการเจรจาเพื่อหาทางออก โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นเจ้าภาพเปิดเวทีเจรจา เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ตั้งแต่เวลา 16.40 น. และไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้าร่วมฟัง


ทั้งนี้ สธ.ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายสนับสนุนและคัดค้าน โดยฝ่ายคัดค้านมีทั้งแพทยสภา แพทยสมาคม สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. สภาวิชาชีพทั้ง 6 วิชาชีพ ประกอบด้วย แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ สภาการพยาบาล สภากายภาพบำบัด และสภาเภสัชกรรม ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนที่เข้าร่วมเจรจาเป็นเครือข่ายภาคประชาชน อาทิ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. เป็นประธาน ใช้เวลานานกว่า 3 ชั่วโมง


เวลา 19.40 น. นพ.ไพจิตร์ แถลงว่า หลังจากเชิญฝ่ายเครือข่ายผู้ป่วย และผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลรักษาพยาบาล ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการ 3 ประเด็น เพื่อให้การทำงานตรงกัน คือ 1.ต้องมีการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล 2.ต้องให้บุคลากรสาธารณสุขมีหลักประกันในการทำงาน โดยมีมาตรการเพื่อลดการฟ้องร้องเป็นหลัก 3.มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ส่วนกลไกในการดำเนินการนั้น จะมีการเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรววงสาธารณสุขให้ตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่าย คือ 1.เครือข่ายผู้ป่วย 8 คน 2.ผู้ดูแลรักษาพยาบาล 8 คน 3.ฝ่ายรัฐ คือ กระทรวงสาธารณสุข 4 คน ส่วนประธานคณะทำงานนั้น อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเป็น ปลัด สธ. หรือ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข โดยตำแหน่ง กำหนดระยะเวลาหาข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์


"คณะทำงานชุดนี้ จะทำหน้าที่ในการหาข้อสรุปในรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.ที่ยังห็นไม่ตรงกัน ในวันที่ 3 สิงหาคมนี้ จะมีการเสนอชื่อตัวแทนจาก 3 ฝ่ายเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม คณะทำงานชุดนี้ไม่มีอำนาจในการถอนหรือไม่ถอนร่าง พ.ร.บ. ส่วนจะเอาข้อสรุปเสนอสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่นั้น ขอหารือรัฐมนตรีสาธารณสุขก่อน แต่โดยหลักการเมื่อได้ข้อสรุปต้องมีการเสนอสภาฯ อยู่แล้ว และอาจเชิญกรรมาธิการ สภาฯ เข้าร่วมรับฟังด้วย" นพ.ไพจิตร์ กล่าว


ก่อนหน้านี้ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการ 3 ประการ คือ 1.ต้องการให้ประชาชนปลอดภัย 2.ต้องการให้บุคลากรทางการแพทย์มีหลักประกันในการทำงาน 3.ต้องการให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุขได้รับการเยียวยา แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปถึงวิธีการเยียวยาว่าจะทำอย่างไร จึงขอให้ตั้งคณะทำงานจากทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อหารือว่าจะต้องแก้ไขในประเด็นใดบ้าง จากนั้นจึงทำประชาพิจารณ์


ด้านกรุงเทพมหานคร (กทม.) มีการประชุมคณะผู้บริหารสำนักการแพทย์ ผู้อำนวยการสังกัดโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง ผู้บริหารสำนักอนามัย เพื่อสอบถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายฯ โดยเวลา 19.00 น. พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยภายหลังประชุม ว่า จะรวบรวมข้อมูลในการประชุม เพื่อทำหนังสือเสนอต่อนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี สธ.ในสัปดาห์หน้า โดยจะต้องมีการหารือเพื่อแก้ไขเนื้อหาในรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาทั้งเรื่องกองทุนชดเชยความเสียหายและคณะกรรมการกลาง ที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้ขณะนี้แพทย์พยาบาลระดับปฐมภูมิ มีความกังวลและไม่กล้ารักษาคนไข้แม้กระทั่งการฉีดยา หรือการจ่ายยา หากปล่อยให้ร่างกฎหมายเดินหน้าโดยไม่มีความชัดเจนในบางเรื่อง กังวลว่าสาธารณสุขไทยจะเป็นอัมพาต


นพ.อิทธิพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า สาเหตุที่แพทยสภาออกมาแสดงท่าทีต่อร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ อีกทั้งมองว่าคนไข้จะไม่ได้ประโยชน์อะไรก่อนที่จะทำการร่างกฎหมายนั้นประชาชนทราบหรือไม่ว่าจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง เพราะปัญหาคือเรื่องเงินกองทุนที่จะมาจากคนไข้ที่เข้ามารับบริการในสถานพยาบาล ประชาชนพร้อมที่จะจ่ายเข้าระบบหรือไม่ จึงควรจะมีการจัดทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนรับรู้และร่วมตัดสินใจ เพราะกฎหมายฉบับนี้จะต้องใช้ต่อไปในระยะยาว จึงไม่ควรเร่งรีบ


"เชื่อว่าแพทย์ที่แต่งดำไม่ได้ใจดำเหมือนที่มีบางกลุ่มกล่าวหา ถ้าไม่เชื่ออยากให้ประชาชนผู้ใช้บริการถามแพทย์ประจำตัวว่าแพทย์ใจดำอย่างที่ถูกกล่าวหาหรือไม่" นพ.อิทธิพร กล่าว


ด้านสภาวิชาชีพ อาทิ ศ.เกียรติคุณวิจิตร ศรีสุพรรณ นายกสภาการพยาบาล กล่าวว่า สภาการพยาบาลเห็นด้วยกับเจตนารมณ์ของ ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว แต่ปัญหาที่ยังมีข้อกังวลนั้น ต้องช่วยกันทำให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียด เช่น สัดส่วนของคณะกรรมการ ควรต้องมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็น เพื่อวิเคราะห์ความเสียหายของโรค และควรจะมาจากสภาวิชาชีพ ส่วนประเด็นเรื่องที่มาของกองทุน ควรมีความชัดเจนทั้งสัดส่วนการจ่ายเงินเข้ากองทุน เพดานการชดเชยค่าเสียหาย หากสามารถปรับแก้ในส่วนที่เป็นกังวลก็น่าจะเดินหน้าต่อไปได้


“ความกังวลที่เกิดขึ้นควรมีการทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้ทุกวิชาชีพได้รับทราบโดยทั่วกันว่า ใครจะมีบทบาทหน้าที่อะไร ส่วนของประชาชนก็ต้องมีมาตราการดูแลให้เกิดความพอใจ จะได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการจะได้ไม่เกิดความทุกข์ ทั้งนี้ แนวทางที่เห็นว่ามีความเป็นไปได้ คือ การขยายมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สามารถทำได้ ที่ผ่านมาเคยมีการใช้งบฯ ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อดูแลประชาชนในทุกกองทุน โดยอาศัยมติคณะกรรมการ และหากใช้การขยายมาตรา 41 ก็มีคณะทำงานในทุกจังหวัดที่จะพิจารณาการชดเชย ถือเป็นทางออกหนึ่งของปัญหา” ศ.เกียรติคุณวิจิตร กล่าว


วันเดียวกัน ที่โรงแรมเดอะเจ้าพระยาปาร์ค นพ.มงคล ณ สงขลา ประธานคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ แถลงมติที่ประชุมคณะกรรมการกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ว่า มติจากที่ประชุมมีความเห็นว่าไม่จำเป็นต้องถอนร่างกฎหมายนี้ออกจากกระบวนการพิจารณา เพราะมีอีกหลายขั้นตอนที่ทุกฝ่ายยังมีโอกาสที่จะพิจารณาปรับเปลี่ยนในรายละเอียดได้อีกมาก และทุกฝ่ายควรหยุดการกล่าวหาโจมตีกัน เน้นการพูดคุยในสาระของกฎหมาย ให้มีกระบวนการรับฟังและทำความเข้าใจความเห็น ข้อกังวล หาทางออกร่วมกันในการทำให้กฎหมายความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของทุกฝ่ายมากที่สุด


“ที่สำคัญควรมีการสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายมีความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้องยิ่งขึ้น กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ให้คุณกับผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นควรร่วมมือกันผลักดันให้ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้ให้เร็วที่สุด เพราะเป็นทางออกของการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรทางการแพทย์” นพ.มงคล กล่าว
โดย: เมตตาธรรมค้ำจุนโลก [2 ส.ค. 53 21:10] ( IP A:58.8.11.110 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ผมว่าก็ยังต้องสื่อสารทำความเข้าใจตัวร่าง พ.ร.บ. นี้ให้กว้างขวางออกไปอีก ทั้งในหมู่ประชาชนและหมู่วิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ การมีความเคลื่อนไหวจากวงวิชาชีพในกลุ่มของแพทยสภา ที่ออกมากล่าวเท็จและให้ข้อมูลเท็จอย่างผิดๆ และทำกันอย่างส่งเดช โดยมีเจตนาเพื่อ "ตีรวน หรือ ภาษาชาวบ้านย่านสำเพ็งเรียกว่า ยื๊อ ให้วุ่นวาย เพื่อเบี่ยงความสนใจออกไปจากหลักการและเจตนารมย์ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้"

ตรงนี้ต่างหาก ที่เป็นความสำนึกและตื่นรู้ ที่จำเป็นต้องมีสำหรับทุกๆคนทั้งที่อยู่ในและอยู่นอกวงวิชาชีพสาธาณรสุข ก่อนที่จะตัดสินใจเห็นด้วยหรือค้านร่างกฎหมายฉบับนี้

ผมขอตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มหมอที่ออกมาต่อต้านการมีกฎหมายฉบับนี้ มีลักษณะหรือความเป็นมาที่เหมือนๆกันอยู่สิ่งหนึ่งคือ เป็นหมอที่มีประวัติทุจริตหรือกล่าวมดเท็จในตำแหน่งวิชาชีพมาก่อน หรือไม่ก็ ไม่เคยมีประวัติ์เคลื่อนไหวให้การช่วยเหลือผู้ป่วยผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์มาก่อน แต่จู่ๆก็โผล่แสดงตัวกันออกมา และไม่กล้าพาดพิงเรื่องคดีทุจริตทางการพิจารณาการร้องเรียนแพทย์ที่ผ่านๆมาเลย แต่กลับพากันอ้างแต่ เหตุการณ์สมมติที่เป็นความเข้าใจผิดของฝ่ายคนไข้เพื่อ "ไปฝังประเด็นลงที่ฝ่ายคนไข้เข้าใจผิดหรือมีเจตนาเอาแต่ได้นี่จึงเป็นการเคลื่อนไหวที่ผมจับแนวได้ ที่เราท่านทั้งหลายควรเฝ้าระวังและตั้งสติไตร่ตรองให้รอบคอบ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [3 ส.ค. 53 10:58] ( IP A:58.8.113.27 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   สาธุ ขออนุโมทนาบุญ ให้กฎหมายออกมาเถอะจ้า เพื่อความเป็นธรรม ส่วนรวม

ไม่ชอบดูหนังจีน ชาวยุทธจักรไปโรง "เตี๊ยม" เบื่อหนัง แนว เดิม ๆ อยากดูหนังแนวใหม่ๆ
โดย: ร่วมด้วยช่วยกัน [3 ส.ค. 53 20:59] ( IP A:115.67.200.204 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ดูหนังแอ๊คชั่น บู๊ ล้างผลาญบ้างไหมละ.....
โดย: คอหนัง [4 ส.ค. 53 11:17] ( IP A:124.120.70.219 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ผมไม่เห็นว่า จะถอยออกมาพิจารณากันอีกทำไม?? ตามข้ออ้างสารพัดที่ยกกันออกมา วันนี้มีข้ออ้างอย่างหนึ่ง พรุ่งนี้มีอีกอย่าง มะรืนอ้าวเปลี่ยนอีกอย่าง

พ.ร.บ. ฉบับนี้ ทำกันอยู่ร่างเดียวเป็นแรมปีในกฤษฎีกา ที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งทางกฎหมาย ปกครอง และการยุติธรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในคณะกรรมการกฤษฎีกานี้น่ะ มีทั้งอดีตเลขาธิการแพทยสภาซึ่งก็เป็นหมอ ประธานศาลฎีกา และตุลาการศาลฎีกาอีกหลายคนที่มีลูกมีเครือญาติเป็นหมออยู่ด้วย ถามว่าหรือฉุกคิดกันหน่อยได้ไหมว่า ท่านเหล่านี้ จะร่างจะปล่อย

กฎหมายออกมาฉบับหนึ่งให้อาชีพหมอเสียเปรียบอย่างไม่ยุติธรรมไหม????

จะปล่อยข้อกฎหมายออกมาให้หมอกับคนไข้ตีรันฟันแทงกันมากยิ่งๆขึ้นไหมครับ????


ครั้นร่างกฎหมายได้จังหวะที่จะเข้าสู่สภา ก็ยังมีทั้งหมอเอย ส.ส. เอย เอ็นจีโอเอย หลายก๊วนหลายก๊กพากันออกมาเสนอร่างฉบับของตัวเองเพื่อ แสดงตัวเสนอหน้าฉวยโอกาสตีกิน ว่า "ข้านี่แหละมีส่วนอยู่ด้วย" ทั้งๆที่ตอนทำงานยกร่างก็ไม่รู้ไปอยู่ที่ไหนกันมา??

แล้วกลุ่มหมอที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านน่ะ ลองสืบสาวกันดูไหมครับว่า จริงๆก็คือแพทยสภาและหมอชั้นผู้ใหญ๋ใน สธ. เพียงไม่กี่คน ที่ต่างล้วนมีประวัติ์ฉ้อฉลในการปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบทางวิชาชีพนี้อยู่ และที่สำคัญมีประวัติ์ขัดแย้งกับคนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์แทบทั้งสิ้น

ฉะนั้น การที่หมอกลุ่มที่ออกมาต่อต้าน ต่างอ้างเพื่อความชอบธรรมเอย เพื่อประโยชน์ของคนไข้อย่างแท้จริง

มันก็เหมือนกับเราฟังเด็กเลี้ยงแกะ ในนิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะนั่นแหละ ยังไงยังงั้นเลย

ผมฟันธงนะ ที่ประสานเสียงกันให้ถอน พ.ร.บ. ออกมาก่อนด้วยข้อกล่าวอ้างต่างๆนาๆเนี่ย มีวาระซ่อนเร้นที่ไม่สุดจริตแฝงอยู่แน่นอน ชัวร์ไม่มั่ว รับรอง!!!!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [5 ส.ค. 53 11:11] ( IP A:58.8.110.34 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน