consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
การ แพทย์และสาธารณสุขได้กลายเป็นธุรกิจเต็มรูปแบบที่ถูกจัดการเพื่อเงินและผลกำไร
ข่าวหน้า ๕ ไทยรัฐวันนี้ ที่
https://www.thairath.co.th/today/view/101126
นพ.โก มาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผอ.สถาบันวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ปัญหาคนไข้ฟ้องหมอนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ในมุมมองเชิงสังคมศาสตร์ ระบบบริการทางการแพทย์ที่เราใช้ในปัจจุบัน
เป็นระบบวิธีคิดที่ใช้ "โรคเป็นตัวตั้ง"...เป็นการแพทย์แบบแยกส่วน แพทย์ส่วนใหญ่จะสนใจทางกายมากกว่าความรู้สึกของคนไข้
ส่วน หนึ่งก็เข้าใจได้ว่า จำนวนคนไข้ที่มาพบหมอในแต่ละวันมีมาก อาจจะมากถึง 300-500 คนต่อวัน แพทย์ส่วนใหญ่จึงมักสนใจต่อการซักปัญหาเรื่องโรค
เวลา ที่ผู้ป่วยเข้าไปนอนในโรงพยาบาลใหญ่ๆ เขาอาจจะมีหมอดูแลทุกอวัยวะ แต่จะไม่มีหมอคนไหนเลยที่รู้ว่าสุขทุกข์ของคนไข้คนนี้เป็นอย่างไร
"มี คนไข้จำนวนมาก ที่บอกว่าหมอไม่ค่อยมีเวลาฟัง แต่เวลาที่คนไข้มาโรงพยาบาล เขาอยากจะเล่าความรู้สึก ซึ่งหมอส่วนใหญ่จะบอกว่า ถ้าต้องตรวจคนไข้วันละ 200-300 คน จะมัวมานั่งฟังความรู้สึกของคนไข้ก็คงไม่ไหว"
คุณหมอโก มาตรบอกพร้อมกับอธิบายต่อว่า ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะแพทย์ถูกฝึกให้สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงมากกว่าไปสัมพันธ์กับด้านอื่นๆ ขณะที่คนไข้อยากเล่าให้หมอฟังเหลือเกินว่าตัวเองมีความทุกข์อย่างไร
ปฏิสัมพันธ์ ระหว่างหมอและคนไข้ในลักษณะนี้ ทำให้ปัญหาของคนไข้ไม่ได้รับการตอบสนอง เป็นจุดเริ่มต้นที่บ่มเพาะความไม่ไว้วางใจ หรือความรู้สึกว่าตนเองไม่ได้รับการดูแลที่ดี ขณะที่หมอเองก็คิดว่า...การดูแลที่ดีคือการจ่ายยา
ทั้งๆที่ความจริงแล้ว การ "เยียวยา" มีความหมายมากกว่าการ "จ่ายยา"
กรณี ศึกษาหลายกรณีชี้ชัดว่า การร้องทุกข์กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ นอกจากต้องใช้เวลาและทรัพยากรเป็นอย่างมากแล้ว กลไกการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เสียหายยังขาดประสิทธิภาพ หรือไม่ก็ขาดความตั้งใจจริงที่จะแก้ไขปัญหา
ไม่ต้องพูดถึงการเรียน รู้ที่จะนำไปสู่สติปัญญาอย่างใหม่ในการแก้ไขปัญหาเชิงระบบ ตรงนี้จึงเป็นเรื่องของความพิกลพิการของตัวระบบที่ผิดพลาด
"ไม่มีหมอ หรือพยาบาลที่จบใหม่คนไหนตั้งใจมาเริ่มชีวิตการทำงานด้วยความคิดที่จะมาซ้ำ เติมให้คนไข้หรือญาติต้องทุกข์มากขึ้น...หมอ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ต่างๆ ว่าไปแล้วก็เป็นลูกหลานชาวบ้านที่รู้ดีถึงความทุกข์ยากยามเจ็บป่วย
และ เกือบทุกคนต่างก็รับรู้หรือเคยประสบกับตนเองว่า การไปรับการรักษาโรคเมื่อเจ็บป่วยที่โรงพยาบาล มักพบกับถ้อยคำหรือกิริยาท่าทีของเจ้าหน้าที่ที่ทำให้ต้องขุ่นเคืองใจ
ซึ่ง บุคคลเหล่านี้ เมื่อเข้าสู่ระบบการทำงานได้สักระยะหนึ่ง มักสูญเสียความละเอียดอ่อนที่เคยมีต่อเพื่อนมนุษย์ บ่อยครั้งที่ความเหนื่อยจากภาระการงานที่หนัก ทำให้โทสจริตเข้ามาครอบงำเหนือสำนึกและจรรยาวิชาชีพ...
ยิ่งการแพทย์กลายเป็นการพาณิชย์ที่แสวงหากำไร
จนเกินขอบเขต
ความเป็นมนุษย์
ยิ่งถูกลดทอนลงเหลือค่าเท่ากับค่าตอบแทนทางธุรกิจ
นี่เป็น มุมมองในเชิงสังคมและมานุษยวิทยา...ที่มองว่า หากจะทำให้ความขัดแย้งระหว่างหมอกับคนไข้บรรเทาเบาบางลง หรือกลับไปดีเหมือนสมัย "ยาขอ...หมอ วาน" ได้ ต้องแก้ที่ระบบ
ช่วยกันคืนศักดิ์ศรีของความเป็น "มนุษย์" ให้กับทั้งคนไข้และหมอ
นพ.สุ วัฒน์ กิตติดิลกกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน เล่าความจริงที่เกิดขึ้นกับการทำงานของแพทย์ในพื้นที่กันดารให้ฟังว่า...ที่ โรงพยาบาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเฉพาะอำเภอเมือง คลอดเดือนหนึ่งประมาณ 100 กว่าราย...
มีโอกาสน้อยมาก ไม่ถึง 10 รายที่ได้รับการทำคลอดโดยสูติแพทย์
เพราะทั้งจังหวัดมีสูติแพทย์คนเดียว คือ ผู้อำนวยการ นอกนั้นไม่ใช่!
ข้อ เท็จจริงอีกอันหนึ่งคือ ขณะนี้มีคนไข้ผ่าตัดที่แม่ฮ่องสอน ไม่ว่าจะผ่าตัดโรคอะไรทั้งหลาย ผ่าโดยไม่มีวิสัญญีแพทย์ เป็นอย่างนี้มาเป็นปี ผ่าโดยใช้วิสัญญีพยาบาลอย่างเดียว ถามว่าประมาทไหม 100% เลย ถ้ามีเรื่องขึ้นมาเป็นปัญหาแน่
แต่ถ้าไม่ผ่า...คนไข้ก็ อันตราย อันตรายจากโรคที่เป็น เมื่อมีความจำเป็นต้องผ่าก็ต้องผ่า...อย่างน้อยก็ช่วยคนไข้ไป ก่อนถามต่อว่า ถ้าให้คนไข้ตัดสินใจได้จะมีคนไข้ยอมให้ผ่ามั้ย
น.อ.(พิเศษ )นพ.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา เสริมว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงขณะนี้คือ ทุกคนเดือดร้อนกันหมด ทั้งคนไข้...ทั้งหมอ ทุกวันนี้เรามีแพทย์ที่ทำงาน อยู่ด่านหน้า ประมาณ 2,700 คน ในโรงพยาบาลชุมชน 720 แห่ง ดูแลคนประมาณ 26-27 ล้านคน
โดย เฉลี่ยโรงพยาบาลหนึ่งมีหมอแค่ 3 คนกว่าๆ ถ้าตัดผู้อำนวยการอีก 1 คน คนเหล่านี้รับภาระงานมาก ภาระงานเยอะจริงๆ มีการไปรวบรวมข้อมูล พบว่า หมอ 1 คน ตรวจคนไข้ประมาณวันละ 80-100 คน ที่แผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอก ภายในระยะ เวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งแน่นอนมนุษย์ปกติรับความทุกข์แค่ 20 คน ก็แทบไม่ไหวแล้ว
แต่นี่วันละ 80-100 คน โอกาสผิดพลาดย่อมมีได้
สมัย ก่อน...ผ่าไส้ติ่งปีละ 65,000 ราย เฉลี่ยวันละ 180 ราย...1 ใน 3 หรือ 60 ราย ผ่าใน รพ.ชุมชน ไม่มีหมอวิสัญญี สถิติปีหนึ่งๆมีการตายจากการผ่าไส้ติ่งปีละ 72 ราย อยู่ที่อันดับที่ 53 ของโลก...น้อยกว่าอเมริกา ที่อยู่อันดับที่ 38 อังกฤษอยู่ที่ 51
"แต่ถึงแม้ว่าเราจะน้อยกว่าประเทศที่เจริญแล้ว แต่การตายแต่ละครั้งของเราก็ยังเกิดปัญหาอยู่...มีการฟ้องร้อง ร้องเรียน..."
ข้อ เท็จจริงเหล่านี้น่าจะถูกนำเข้ามาพิจารณาด้วยว่า จริงๆแล้วระบบ การแพทย์ของเราเลวร้ายขนาดนั้นจริงๆหรือ...แน่นอนว่าหมอไม่ได้ต้องการเป็น ฆาตกร หรือเพชฌฆาต...คงต้องยอมรับความจริงว่า ทั้งคนไข้และหมอต่างก็มีความทุกข์ไม่ต่างกัน
ทุกข์ของผู้รับบริการ
ด้านหนึ่ง กับ
ทุกข์ของผู้ให้บริการอีก
ด้านหนึ่ง ที่ต่างเดินมาบนชะตากรรมเดียวกัน ซึ่งหากจะเยียวยา
ก็ควรที่จะเยียวยาทั้งสองฝ่าย
ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์เท่าๆ
กัน.
โดย: สถาบันวิจัยสังคมและสุขภาพ สธ. [5 ส.ค. 53 10:01] ( IP A:58.8.110.34 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ออกมาอยู่เอกชนรักษาแพงๆกันให้หมดกันดีกว่า
โดย: สุดท้ายแล้วใครจะเดือดร้อน ?? [5 ส.ค. 53 15:59] ( IP A:58.64.31.242 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม
ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน