consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
ผมลองค้านนะ หมอชัญวลี เห็นด้วยไม่ *** นด้วยก็ได้
**วันที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 16:00:00 น. มติชนออนไลน์
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข... ใครได้ใครเสีย?
โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข (
chanwaleesrisukho@hotmail.com
)
มีความสงสัยว่าร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขก็ร่างมาตั้งนานแล้ว ทำไมจึงเพิ่งมีการประท้วงจากบุคลากรสาธารณสุขเมื่อจะนำร่างฯบรรจุวาระนำเสนอการพิจารณาของสภา
คำตอบก็คือ แพทย์ทั่วไปเห็นด้วยกับการคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
แต่เมื่อพิจารณาลงรายละเอียดของร่างฯ พบว่าอาจจะเกิดผลกระทบทางลบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวมจนทำให้ระบบสาธารณสุขในอนาคตล้มเหลวได้ จึงเกิดกระแสคัดค้านขึ้น
ข้อดีของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายฉบับที่จะนำเข้าสู่สภามีอะไรบ้าง
1.ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินสองต่อ ทั้งเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย โดยไม่ต้องพิสูจน์หาผู้กระทำผิด โดยเงินชดเชยนั้นประกอบด้วย เงินใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการรักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ค่าชดเชยจากความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจ ค่าชดเชยในกรณีพิการ หรือทุพพลภาพ ค่าชดเชยในกรณีที่ถึงแก่ความตาย ค่าชดเชยการขาดไร้อุปการะกรณีที่ถึงแก่ความตายและมีทายาทที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่คณะกรรมการกำหนด
2.การพิจารณาจ่ายเงินชดเชย ให้คำนึงถึงสภาพความเสียหาย สภาพจิตใจผู้เสียหาย สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามกฎหมายอื่นๆ รวมถึงพฤติกรรมแวดล้อมด้วย
3.ขยายระยะเวลาที่จะยื่นคำร้องความเสียหายจากการรับบริการฯ จากเดิม 1 ปีตามมาตรา 41 มาเป็นภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รู้ความเสียหาย อีกทั้งอายุความการเรียกร้องเพิ่มเติมให้นาน 10 ปี หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดจากการรับบริการทางสาธารณสุข
ผลกระทบทางลบของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายมีดังนี้
ประการที่ 1 ขาดน้ำใจ ไม่มีบุคลากรทางสาธารณสุขคนไหนไม่กลัวการฟ้องร้อง แม้กระทั่งมาตรา 41 ซึ่งพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้นไม่พิสูจน์ถูกผิดไม่ได้ขึ้นโรงขึ้นศาล ก็ทำให้บุคลากรทางสาธารณสุขผู้เกี่ยวข้องเป็นทุกข์แสนสาหัส
บุคลากรทางสาธารณสุขที่กลัวการฟ้องร้องส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับการตรวจรักษาคนไข้จำนวนมากและอยู่เวรหนักทั้งคืน
ยิ่งร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เปิดช่องเขียนเป็นกฎหมายให้ผู้เสียหายฟ้องร้องแพทย์ได้ทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งแม้ได้ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นและค่าชดเชยไปแล้ว ก็ยิ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยเปลี่ยนไป จากรักใคร่เห็นใจเอื้ออาทรต่อกัน จะกลายเป็นความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เพราะกลัวจะถูกฟ้อง บรรดาแพทย์ผู้รักษาพยาบาลอาจสั่งตรวจและให้การรักษาพยาบาลมากเกินไปเพื่อป้องกันความผิดพลาด ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นซึ่งเป็นภาระของโรงพยาบาลและของผู้ป่วยเอง หรือตรวจรักษาน้อยเกินไปไม่แน่ใจก็ส่งต่อไปโรงพยาบาลอื่น
ซึ่งทั้ง 2 กรณีผลกระทบจะเกิดกับคนไข้ยากจนด้อยโอกาส เพราะคนที่มีฐานะสามารถเลือกการรักษาพยาบาลตามที่ตนต้องการได้
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แย้ง//// พรบ.นี้ไม่ได้เปิดช่อง เพียงแต่ว่าไม่ได้ปิดช่องตามที่มีคนต้องการเนื่องจากการฟ้องร้องเป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนจะฟ้องใครก็ได้ การฟ้องร้องเป็นการป้องปรามการกระทำผิดด้วยนอกจากเป็นการเยียวยา หากไม่มีการฟ้องร้อง ฝ่ายแพทย์ก็อาจจะปล่อยปละละเลย จนคนไข้ตายได้เช่นกัน ซึ่งก็เสียเงินเสียทองเสียสุขภาพและเสียชีวิตโดยไม่จำเป็นเช่นกัน ไม่ใช่ว่าฟ้องแล้วแพทย์จะต้องตรวจละเอียดแล้วเกิดความเสียหาย ต้องจ่ายแพง ซึ่งการทำแบบนี้ หากไม่จำเป็นแพทย์ก็ถูกฟ้องได้เช่นกัน และคนไข้ใช่ว่าจะยอมจ่ายเสมอไป เขาก็สามารถคิดก่อนได้ และหากทำมากสร้างความชิบหายเจ้านายคุณเขาก็ตรวจสอบได้เช่นกัน คนคุมเงินเขาก็คงไม่ปล่อยให้ทำเละเทะเกินความจำเป็นและหากว่าจำเป็นต้องตรวจละเอียดก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ประการที่ 2 ขาดเงิน เงินที่จ่ายให้ผู้เสียหายต้องจ่ายสองทบทั้งให้เบื้องต้นและชดเชย คาดการณ์ว่าเมื่อ พ.ร.บ.นี้คลอดออกมาเงินจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีขีดจำกัด จากปีละหลายพันล้านกลายเป็นหมื่นล้านในไม่กี่ปี เพราะใครก็อยากได้เงิน ยิ่งมีโมเดลตัวอย่างว่า หากเป็นกรณีนั้นกรณีนี้สามารถได้เงิน ขณะที่ทุกสถานพยาบาลที่เกี่ยวข้องถูกบังคับให้จ่ายเงินสมทบเพื่อการนี้โดยสมทบมากขึ้นหากเกิดการฟ้องร้องมากขึ้นเหมือนการทำประกันภัยรถยนต์ มีบทบัญญัติให้ปรับให้เสียดอกเบี้ย ถ้าจ่ายเงินไม่ทันตามกำหนด เป็นการซ้ำเติม สถานะทางการเงินของสถานพยาบาลทุกแห่ง
เพราะเมื่อครบ 8 ปี ของระบบประกันหลักสุขภาพถ้วนหน้า สถานพยาบาลล้วนต้องแบกภาระรักษาคนไข้จนหลังแอ่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่มีเงินที่จะลงทุนซื้อเครื่องไม้เครื่องมือ ฯลฯ
เมื่อไม่มีเงิน สถานพยาบาลอาจต้องลดการบริการ ลดคุณภาพ ลดการจ่ายยา หรือเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ใช้บริการ ฯลฯ สร้างความเดือดร้อนต่อผู้รับบริการโดยถ้วนหน้า
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////แย้ง //// เงินชดเชยนี่ไม่ควรเกิน 1-3 % อยู่แล้วซึ่งไม่ได้มากอะไร ปกติพวกคุณก็ให้หักเครดิตการ์ด 3 % มันเป็นเงินส่วนน้อย ซึ่งนำไปอ้างเรื่องไม่มีเงินใช้ไม่ได้ เรื่องเงินขาดมือพวกคุณต้องไปบริหารจัดการกันเอง ปกติค่า % ยาก็ 15 % อยู่แล้ว และหากไม่ป้องปรามกันบ้างพวกคุณทำผิดพลาดบ่อยๆ เงินก็ต้องไปจ่ายในไอซียู กันรายละเป็นแสนเป็นล้าน ก็หมดเงินเช่นกัน ส่วนเรื่อง 30 บาท และประกันสังคม ก็เห็น รพ เอกชนรับกันจนอ้วนไปทั่วหน้า เว้นแต่พวกที่ติดตลาดแล้ว อย่างบำรุงราษฎร์หรือสมิติเวช ซึ่งพวกนี้เขาไม่สนใจ สินค้าราคาถูกอยู่แล้ว ดังนั้นใครทำขาดทุน ต้องไปว่ากล่าวกันเอง จะใช้เรื่องนี้อ้างไม่ได้
ประการที่ 3 ขาดความเคารพไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรับบริการสาธารณสุขนั้น ปัจจุบันมีการช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 ในคนไข้บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยมีผู้มีความรู้ทางการแพทย์เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการ มีการเจรจาไกล่เกลี่ยอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่าผู้เสียหายส่วนใหญ่ยังไว้เนื้อเชื่อใจระบบการแพทย์ แม้จะได้เงินหรือไม่ได้เงินค่าช่วยเหลือเบื้องต้น
ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากความผิดของบุคลากรทางการแพทย์ การที่ผู้เสียหายฟ้องศาลเพื่อขอความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ แต่หากการช่วยเหลือเบื้องต้นและการชดเชยตามร่าง พ.ร.บ.ไม่อิงความรู้ทางการแพทย์เลย การตัดสินว่าควรจ่ายเงินทั้งเบื้องต้นและชดเชยจากเหตุผลความสงสารจะทำให้ระบบสาธารณสุขสุดท้ายล้มเหลว ขาดความเคารพไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เพราะมีเหตุเสียหายมากมายที่เกิดจากการละเลยการดูแลสุขภาพตนเองไม่พักผ่อน ไม่ออกกำลังกาย เที่ยวกลางคืนเป็นนิจ ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เสพสารเสพติด เล่นพนัน สำส่อนทางเพศ ทำแท้ง ไม่เคารพกฎจราจร ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำทางการแพทย์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////แย้ง//// เรื่องไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ นี้ หากคุณไม่ชดเชย เขาก็ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจเช่นกัน การชดเชยเบื้องต้นตามมาตรา 41 ที่มีแพทย์เป็นอนุกรรมการ มีเงิน 1000 ล้าน จ่าย 73 ล้านนี่ถือว่าอุบาทว์ มาก คนจ่ายต้องพิจารณาตัวเอง ว่าทำไมขี้เหนียวแ และอีก 900 กว่าล้านไปอยู่ที่ไหนทำไมไม่มารรับเงิน เราเคยมีกรณีแม่ลูกที่คลอดแล้วพิการปัญญาอ่อน คนจ่ายเงินแบบนี้ บอกว่าจ่ายให้ 8 หมื่น แต่เป็นเหตุสุดวิสัย เราก็บอกคนรับว่ารับแปดหมื่นไปเป็นค่านมก่อน แต่เรื่องสุดวิสัยนี่ไม่รับ แล้วไปฟ้องศาล ศาลไกล่เกลี่ย ยอมจ่ายกัน 6 ล้าน นี่เป็นการอิงความรู้ทางการแพทย์ที่อุบาทว์มาก เขาไม่ต้องการสภาวิชาชีพ สภาวิชาชีพต้องไปพิจารณาตัวเอง ว่าทำไมเขารังเกียจ ผลงานในอดีตทำให้เขาไม่ไว้วางใจจนต้องมาลงขันช่วยกันเองแล้วยังมาขัดขาเขาอีก เลวจริงๆ
ประการที่ 4 ขาดการตัดสินตามมาตรฐาน การตัดสินให้เงินช่วยเหลือและเงินชดเชย จะใช้มาตรฐานอะไรมาวัด เนื่องด้วยความเป็นจริงของประเทศ มาตรฐานทางการแพทย์ของแต่ละสถานพยาบาล ไม่ว่าอนามัย โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ฯลฯ ไม่เท่ากัน บางสถานพยาบาลขาดแคลนบุคลากร เครื่องมือทางการแพทย์ เทคโนโลยี ซึ่งล้วนแต่เป็นตัวแปรของมาตรฐาน ขณะที่ทุกคนต้องใช้กฎหมายฉบับเดียวกัน ซึ่งอาจตามมาด้วยสมองไหลออกจากสถานพยาบาลของรัฐ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แย้ง ///// เขาดูตามมาตรฐานทุกระดับ แม้กระทั่งคดีที่ฟ้องศาล เขาก็มองทุกระดับ การพูดเอาแต่ได้แบบนี้ เป็นการใส่ร้ายคนทำงาน
ส่วนสมองไหลนั้นคุณห้ามไม่ได้ อันนี้เป็นตามเศรษฐกิจเสรี คุณมีหน้าที่ผลิตให้ล้น ทุกวันนี้ ราชการแพทย์ก็ทำงานนอกเวลา ผ่าตัดนอกเวลาจนอ้วน ขนาดหมอตาใส่เลนส์เทียมนี่เขาว่าเดือนหนึ่งได้เป็นแสน อยุ่ราชการสบายกว่า
ประการที่ 5 ขาดผู้เรียนสาขาทางการแพทย์ ต่อไป จะไม่มีใครเลือกเรียนสาขาทางการแพทย์เพื่อช่วยผู้อื่น เพราะความหวังดีต่อผู้อื่น
การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตน อาจทำให้ตนเองติดคุกได้
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////แย้ง ///// อย่าโกหกกันเลย คนเรียนแพทย์ล้นทุกปี ขนาดโฆษณาอแป็ปตีน ยังเริ่มต้นว่าอยากเป็นหมอ เมื่อไหร่จะเลิกขู่กัน ห เอ้ย
สรุป ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่ควรจะเป็น ต้องไม่กระทบทางลบต่อคนไข้ บุคลากรทางการแพทย์ และประเทศชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ก่อนนำร่างเสนอสู่สภาควรมีการทำประชาพิจารณ์ให้รอบด้านเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนทุกคน
การปล่อยร่าง พ.ร.บ.ฯ ที่เป็นปัญหาให้เข้าสู่สภา ต่อมาเกิดผลในทางปฏิบัติ อาจทำให้ระบบสาธารณสุขล้มเหลวจนเกินแก้
เป็นแบบกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้หมดแล้ว
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แย้ง //// คุณไปอยุ่ที่ไหนมาเขาถกกันในกฤษฎีกามาหลายเดือนแล้ว และเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ดีงามที่สุดฉบับหนึ่งที่เคยร่างกันมา จะไปประชาพิจารณ์ยังไงอีก ที่ต้องการก็คือถูกใจหมอ หน้างอ รอนาน การฟ้องแพ่งอาญาต้องห้ามด้วยประการใดๆ ใช่ไหม จึงจะโอเค
โดย: หมอวลีไม่เข้าหู [6 ส.ค. 53 20:31] ( IP A:58.8.211.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
อยู่ยังไงก็ไม่เกินร้อย
ทุกวันนี้ก็กินมาทุกชนิดที่ว่าอร่อย ไปมาทุกที่ที่ว่าสวย ผ่านมาทุกชนิดที่ว่าน่าสนใจ น่ารู้
จะเอาอะไรอีก เงินทองที่หามาทั้งหมด ก็คงไม่ได้ตามไปชาติหน้า
ทำอะไรที่ถูกที่ควรน่าจะดีกว่าทำอะไรที่ไม่ถูกไม่ควร
โดย: เวลาเหลือน้อย [6 ส.ค. 53 21:02> ( IP A:58.8.211.181 X: )
โดย: อย่าโกหก เหตุผลไปไม่ได้ [6 ส.ค. 53 21:03] ( IP A:58.8.211.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
โดย: . [7 ส.ค. 53] ( IP A:124.122.28.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
ส่วนสมองไหลนั้นคุณห้ามไม่ได้ อันนี้เป็นตามเศรษฐกิจเสรี
====================================
เออ ไอควาย ไม่เคยไปถามตาสีตาสาที่ไม่ได้ต้องการมาตรฐานเชี่ยไรนักหนาขอแค่มีหมอมาคอยดูแลรักษาตามกำลังที่รพ.ทำได้บ้างล่ะ ถ้าหมอออกไปเอกชนกันหมดมันจะเกิดอะไรขึ้นเมิงรู้ไหม ไอ้ควาย
โดย: ควายเชี่ยๆ [7 ส.ค. 53 9:49] ( IP A:222.123.85.31 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ก็นั่งตบยุ่งที่เอกชนซิ เพราะคนไข้มันไม่ได้มากจนทำไม่ไหว
ยังกะเอกชนรับไม่อั้นงั้นแหละ
โดย: คงโดนซองขาวกันบ้าง [7 ส.ค. 53 12:29] ( IP A:58.11.71.125 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้า พรบ ออกมาแล้วมีปัญหาจริง อย่างที่พวกหมอกลัวกัน
ให้คนร่าง และคนรับเรื่อง เพื่อใช้ พรบ ฉบับนี้ รับผิดชอบทั้งหมด ได้ไหม
ผมกำลังคิดว่า ระบบสาธารณะสุขไทย มีปัญหา
ความคิดคนก็มีปัญหา
โดย: อยากทำงานอย่างเป็นสุข [4 ก.ย. 53 23:56] ( IP A:27.130.89.194 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน