ความคิดเห็นที่ 1 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย มากกว่าการที่แพทย์ หรือพยาบาล ออกมาเผชิญหน้ากับผู้ป่วยโดยตรงซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลดีแก่ทั้งสองฝ่าย และก่อให้เกิดความบาดหมาง ไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแต่อย่างใด นี่เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเราไม่ขนม็อบไปชนม็อบแพทย์พยาบาล เราเคารพการแสดงออกของพวกท่าน ไม่ว่าท่านจะถูกหรือผิด เราเห็นว่าท่านมีสิทธิ์ชุนนุม | โดย: ฟฟ [6 ส.ค. 53 22:41] ( IP A:58.8.211.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 2.ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้จาการให้บริการสาธารณสุขตามมาตรฐานวิชาชีพ =====================================
แสดงว่าแพ้ยาแล้วจะไม่ได้เงินช่วยเหลือดิ | โดย: อ้าว [7 ส.ค. 53 9:34] ( IP A:222.123.85.31 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ถ้าแพ้ยาก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือตาม พรบ นี้ ต้องไปสภาสังคมสงเคราะห์ เว้นแต่ว่า 1 คนไข้แพ้ยาแล้ว หมอไม่ระวังฉีดหรือให้กินอีกทั้งๆที่เวชระเบียนผู้ป่วยก็บันทึกไว้แล้วว่าแพ้ยานั้น 2 แพ้ยาแล้วรักษาไม่ทัน ไม่วินิจฉัยว่าแพ้ยา ไม่ให้ยาแก้แพ้ช่วยเหลือจนเขาเสียหาย แบบนี้ก็จ่ายลูกเดียว แบบดอกรัก นี่ จ่ายได้เลย แบบเลอพงษ์ ฑีระฆังก็จ่ายลูกเดียว | โดย: พวก ห เอ้ย ไปตายซะไป [7 ส.ค. 53 11:43] ( IP A:58.8.211.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 หัวข้อข่าว : ศาลพิพากษาให้ สตช.จ่ายเงินครอบครัว ร.ต.อ.ผ่าฝีตาย 1.6 ล้าน ที่มา / อ้างอิง : ผู้จัดการ พิมพ์ข่าว ส่งต่อ
--------------------------------------------------------------------------------
ศาลมีคำพิพากษาให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จ่ายเงินให้กับครอบครัว ร.ต.อ.สังกัด สศก. เป็นเงินกว่า 1.6 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ภายใน 30 วัน หลังจากที่ ร.ต.อ.เข้าผ่าตัดฝีคัณฑสูตรที่ รพ.ตำรวจ และแพ้ยาเสียชีวิต ในขณะที่ภรรยา ร.ต.อ.วอน สตช.อย่าอุทธรณ์ วันนี้ (14 ต.ค.) ที่ห้องพิจารณา 604 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ถ.เจริญกรุง ศาลมีคำพิพากษาในคดีที่นางวิลาวัลย์ และ ด.ญ.มนพร ทีระฆัง ภรรยาและบุตรของ ร.ต.อ.เลอพงษ์ อดีตรองสารวัตรสืบสวน กองบังคับตำรวจสืบสวนสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) ที่เสียชีวิตจากการแพ้ยา ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-2 ยื่นฟ้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( สตช.) เป็นจำลย ซึ่งกำกับดูแลโรงพยาบาลตำรวจ ในความผิดเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายจำนวน 14,774,800 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า ระหว่างวันที่ 7- 12 สิงหคม 45 ผู้ตายเข้ารักษาตัวที่ รพ.ตำรวจ ด้วยโรคฝีที่ทวารหนัก โดยจำเลยเป็นผู้จัดหาและรับผิดชอบดูแลแพทย์พยาบาล ซึ่งวันที่ 8 สิงหาคม พ.ต.อ.นพ.ณรงค์ชัย เจียรสกุล นายแพทย์งานศัลยกรรม เป็นผู้ผ่าตัดฝี ต่อมาผู้ตายมีอาการไข้ขึ้นสู มีผื่นแดงทั่วทั้งตัว เมื่อโจทก์ที่ 1 ขอให้เรียกแพทย์มารักษากลับไม่มีแพทย์มาตรวจดูอาการ กระทั่งวันที่ 9 สิงหาคม แพทย์เวรเข้ามาดูอาการ และวันที่ 10 -11 สิงหาคม พ.ต.อ.นพ. ณรงค์ชัย แพทย์เจ้าของไข้ จึงบอกว่าผู้ตายมีอาการแพ้ยา ซึ่งแพทย์เวรนำผู้ตายเข้ารักษาตัวฟอกไตในห้องไอซียู กระทั่งเสียชีวิตลงด้วยสาเหตุตับและไตวาย และระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งโจทก์ทั้งสองยืนยันว่าการเสียชีวิตเกิดตากความประมาทเลินเล่อในการตรวจรักษาของแพทย์เจ้าของไข้ แพทย์เวร รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของจำเลย ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์ จำเลย แล้วคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำการโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ คดีนี้โจทก์มี ร.ต.อ.รุจิรา จงศุภวิศาลกิจ พยาบาลเวร เบิกความว่า เมื่อพบว่าผู้ตายมีไข้ขึ้นสูง พยานแจ้งให้ น.พ.วิฑูรย์ บุญถนอมวงศ์ แพทย์เวร ทราบซึ่งแพทย์สั่งฉีดยาแก้แพ้ให้ ขณะที่ น.พ.วิฑูรย์ พยานจำเลย เบิกความว่า ก่อนสั่งฉีดยา ได้สอบถามพยาบาลเวรว่าผู้ตายมีอาการแพ้ยาหรือไม่ พร้อมให้นักศึกษาแพทย์ตรวจดูอาการและให้รายงานผล จากข้อเท็จจริงดังกล่าวศาลเห็นว่า เหตุที่ ร.ต.อ.รุจิรา พยาบาลเวร รายงานอาการผู้ตายให้แพทย์เวรทราบ เพราะคิดว่าน่าจะมีอาการแพ้ยาจึงรายงานเพื่อให้แพทย์มาตรวจดูอาการด้วยตนเอง แต่ที่ น.พ.วิฑูรย์ อ้างว่า ขณะนั้นกำลังผ่าตัดคนไข้รายอื่นจึงสั่งฉีดยาแก้แพ้นั้น ศาลเห็นว่าคำเบิกความของ น.พ.วิฑูรย์ เป็นเพียงคำกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่มีใบบันทึกรายงานการผ่าตัดที่ระบุช่วงเวลา มาเป็นหลักฐานแสดงในชั้นพิจารณา อีกทั้งยังพบว่ายาแก้แพ้ที่แพทย์เวรสั่งฉีดนั้นเป็นยาแก้แพ้ทั่วไป ซึ่งหลังจากผู้ตายมีอาการผิดปกติแต่แพทย์เจ้าของไข้และแพทย์เวรไม่ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอตามวิสัยของแพทย์ที่จะรักษาคนไข้ จึงเห็นว่าการกระทำของแพทย์ของจำเลยเป็นการละเมิดต่อโจทก์จริง ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยต่อมา คือจำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับโจทก์ทั้งสองเป็นจำนวนเท่าใด ศาลเห็นว่า ตามฟ้องโจทก์ที่ 1 เรียกค่าเสียหายเงินบำเหน็จของผู้ตายจำนวน 7,260,670 บาท เป็นเพียงความคาดหวังของโจทก์ทั้งสองเอง ว่าหากยังมีชีวิตอยู่ผู้ตายจะได้รับราชการจนถึงเกษียณอายุ ซึ่งกรณีถือว่าเป็นความไม่แน่นอน สำหรับค่าการศึกษาที่โจทก์ที่ 2 ร้องขอจำนวน 5.8 ล้านบาท เห็นว่า ก่อนเสียชีวิตโจทก์ที่ 2 ก็ได้การเลี้ยงดูจากผู้ตายที่ให้ได้รับการศึกษาแล้ว ดังนั้นศาลจึงไม่เห็นควรกำหนดค่าเสียหายดังกล่าว พิพากษาให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสอง เป็นเงินจำนวน 1,662,130 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.45 ที่ผู้ตายเสียชีวิต และให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองจำนวน 10,000 บาทด้วย ภายหลังนางวิลาวัลย์ กล่าวพร้อมน้ำตาว่า รู้สึกดีใจที่ศาลพิพากษาให้ชนะคดี ซึ่งไม่ติดใจที่จะยื่นอุทธรณ์อีกโดยหวังว่า สตช. จะให้ความเห็นใจไม่ยื่นอุทธรณ์เช่นกัน สำหรับเงินจำนวน 1.6 ล้านเศษนั้น ส่วนหนึ่งจะนำไปเป็นทุนการศึกษาของบุตรสาววัย 8 ขวบ พร้อมทั้งจะนำไปใช้หนี้สินที่กู้ยืมมาเพื่อต่อสู้คดี อีกส่วนหนึ่งก็จะนำไปช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของแพทย์และโรงพยาบาลอื่นต่อไป ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การฟังคำพิพากษาวันนี้นางดลพร ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้เดินทางมาพร้อมกับกลุ่มผู้เสียหายอื่นเพื่อร่วมให้กำลังใจนางวิลาวัลย์ด้วย ขณะเดียวกันนางวราภรณ์ รัตนแก้ว ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาของแพทย์โรงพยาบาลจังหวัดระนอง ได้ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนอีกด้วยกรณีที่สามีเสียชีวิตจากการรักษาอาการหอบหืด ซึ่งนางวราภรณ์เตรียมจะยื่นฟ้องคดีต่อไป
-------------------------------------------------------------------------------- 17 October 2005 | โดย: แหกตาดูบ้าง [7 ส.ค. 53 11:44] ( IP A:58.8.211.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 == ศาลสั่งสธ.ชดใช้8แสนทำคนไข้ตาบอด(5/8/48) === ศาลสั่งสธ.ชดใช้"8แสน" ทำคนไข้ตาบอด
แพทย์วินิจฉัยผิด-แพ้ยา สาวทำความสะอาดสู้6ปี
ศาลนนทบุรีพิพากษากระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าเสียหายให้คนไข้โรงพยาบาล"สวรรค์ประชารักษ์" ฐานประมาทเลินเล่อ แพทย์วินิจฉัยโรคผิดพลาด ฉีดยาผิดเกิดอาการแพ้จนตาบอดทั้งสองข้าง รวม 8 แสนบาท พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์ดีใจที่ยังมีความยุติธรรม แต่ถ้าเลือกได้ขอคืน"ดวงตา"
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 สิงหาคม ที่ศาลจังหวัดนนทบุรี นายมงคล คุปต์กาญจนากุล ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนนทบุรี ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษา สั่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชดใช้เงินค่าเสียหายให้กับนางดอกรัก เพ็ชรประเสริฐ เป็นจำนวน 800,000 บาท พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2542 ที่นางดอกรักเป็นโจทย์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย 13 ล้าน จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หลังจากที่นางดอกรักเข้ารับการรักษาตัวโรคไข้หวัดที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.พิษณุโลก แต่ทางแพทย์ของโรงพยาบาลวินิจฉัยโรคผิดพลาด ฉีดยาให้ผิดจนทำให้ต่อมาเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงและตาบอดทั้ง 2 ข้าง ในเวลาต่อมา
นางดอกรักกล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ศาลให้ความเป็นธรรม ทำให้มั่นใจว่ายังมีความยุติธรรมอยู่ในโลก แม้ว่าศาลจะตัดสินให้ทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจ่ายเงิน ไม่ได้ดีใจหากเลือกได้ขอเลือกเอาดวงตากลับมา จะได้เห็นหน้าลูกและสิ่งรอบๆ ตัว เพราะทุกวันนี้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้ มีเพียงรายได้จุนเจือจากประกันสังคมเพียงเดือนละ 2,000 บาท ไม่พอใช้จ่ายค่าเช่าห้อง ค่ายา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางดอกรักเป็นโจทย์ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เหตุเกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2542 ขณะมีอาชีพเป็นพนักงานทำความสะอาดอยู่ที่ห้างสินค้าวิถีเทพ จ.นครสวรรค์ เข้ารับการรักษาตัวที่คลีนิคแห่งหนึ่งเจ้าของเป็นแพทย์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เนื่องจากป่วยเป็นไข้หวัด
จากนั้น นางดอกรักเกิดอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง มีอาการคันตาและน้ำตาไหลตลอดเวลา เกิดแผลผุพองในปากและปวดแสบปวดร้อนไปทั่วตัว จึงเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โดยได้แจ้งให้แพทย์ที่ตรวจอาการทราบว่าสงสัยจะเกิดอาการโรคแพ้ยาเพราะเพิ่งไปฉีดยาที่คลีนิคมาเมื่อวาน แต่แพทย์แจ้งว่า ป่วยเป็นโรคเยื่อตาอักเสบสั่งยาให้ไปกินต่อที่บ้าน แต่เกิดอาการแพ้ยาอย่างรุนแรงและทนไม่ไหว จึงเข้ารักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์อีกครั้ง
นางดอกรักเข้าพบแพทย์เวรพร้อมแจ้งว่าป่วยเป็นโรคของกลุ่มอาการที่แพ้ยาที่ชื่อว่าสตีเว่นส์จอห์นสันซินโดรม เป็นอาการป่วยแพ้ยาขั้นรุนแรงที่สามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือทำให้ตาบอดได้ แพทย์เวรรับตัวไว้รักษาแต่ไม่ยอมให้ยารักษาอาการแก้โรคแพ้ยาที่ชื่อเด็กซ์ซ่าเม็ททาโซน แต่กลับสั่งให้ฉีดยาแก้ที่ชื่อซีพีเอ็มแทนพร้อมกับให้น้ำเกลือ
ต่อมาวันที่ 28 ตุลาคม ตาของนางดอกรักบอดสนิททั้งสองข้าง นางดอกรักจึงฟ้องร้องค่าเสียเป็นจำนวน 13 ล้านบาท จากนายแพทย์ 3 คนที่มีส่านในการรักษา ผ่านทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ต้นสังกัดฐานปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุทำให้ได้รับอันตรายตาบอดพิการ
ข้อมูลข่าวโดย หนังสือพิมพ์ มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2548 หน้า 1 | โดย: ดูซะเว้นแต่ว่าตาบอด ใจบอดก็ไม่ต้องดู [7 ส.ค. 53 11:46] ( IP A:58.8.211.181 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 ...สมมตินะครับว่า...ขอบังอาจยืนยัน นั่งยัน นอนยัน ว่า...เป็นเรื่องสมมติ...หากจำเลยในคดี"คุณดอกรักฯ" ได้มีหนังสือรับรองจากแพทยสภาว่า"การดูแลรักษาคุณดอกรักฯโดยแพทย์คนนี้ได้มาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมโดยไม่ได้ประมาทเลินเล่อและสิ่งที่เกิดขึ้นกับ"คุณดอกรักฯ"เป็นเหตุสุดวิสัย"...ผลลัพท์ในท้ายสุดรวมถึงคำพิพากษาจะเป็นเช่นไร???... | โดย: pimsen/policemajor@hotmail.com [7 ส.ค. 53 15:55] ( IP A:124.122.120.80 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ก็คงเหมือนเดิม เนื่องจากมีหลายคดีที่แพทยสภาบอกว่ารักษาดีแล้ว แต่ศาลก็พิพากษาลงโทษ รวมทั้งหลายคดีที่ศาลบอกว่าไม่เอาแพทยสภามาพิจารณาและไกล่เกลี่ยให้ รพ และหมอ ใช้เงิน แล้วยอมความกันไป | โดย: ศาลท่านคิดเองได้ ว่าจะเชื่อหรือไม่ [7 ส.ค. 53 19:56] ( IP A:58.11.71.125 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 คุณหมอเหวงครับ
มุกนี้อย่าเอามาใช้แถวนี้เลยครับ มันเก่ามาก อาจมากถึงโคตาระมากด้วยซ้ำ
ท่านอ้างว่า เป็น ผ.อ. โรงพยาบาลมาก่อน มาถามคำถามแบบนี้ เดี๋ยวลูกศิษย์ลูกหา หรือรุ่นน้อง เขาจะถอนหงอกท่านเอาได้นะครับ เว้นแต่ถ้าท่านหัวล้านตามธรรมชาติ ก็อาจรอดตัวไป เอ หรือว่า
เพราะผมบนหัวท่านโดนถอนหมดแล้ว ถึงได้กล้ามาใช้มุกนี้
อ้อ เข้าใจแล้วครับ เข้าใจ อิอิ ใช้ได้ครับ ใช้ได้ กลยุทธนี้ถือว่ายอมรับได้ ผ่านครับ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [9 ส.ค. 53 13:08] ( IP A:61.90.10.152 X: ) |  |
|