กรรมการ3ฝ่ายล่ม "จุรินทร์" เบรกประชุมนัดแรก
   **วันที่ 06 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 22:39:29 น. มติชนออนไลน์


กรรมการ3ฝ่ายล่ม "จุรินทร์" เบรกประชุมนัดแรก สั่งเฟ้นตัวแทนใหม่ หมอประชุมพรแฉแหลก


กก.3 ฝ่ายล่ม "จุรินทร์" เบรกประชุมนัดแรก สั่งเฟ้นตัวแทนใหม่ 7 ส.ค. ยอมดึงแพทย์-บุคลากรสาธารณสุขทุกสังกัดร่วม หวังหาข้อสรุปร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองคนไข้ "หมออำพล-หมอวิชัย " ยันไม่เคยเรียกร้องเข้าร่วม กร้าวไม่จำเป็นตั้ง กรรมการ ให้เดินหน้าเข้าสภา



ความคืบหน้ากรณี 3 องค์กรแพทย์ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) แพทยสภา และแพทยสมาคม ถอนตัวออกจากการเข้าร่วมคณะกรรมการสร้างเสริมสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุขที่มาจากตัวแทน 3 ฝ่าย คือ เครือข่ายผู้เสียหาย เครือข่ายแพทย์ที่คัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... และตัวแทนกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากไม่พอใจที่มีการแต่งตั้งเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ร่วมเป็นคณะกรรมการในสัดส่วนของ สธ.


เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานปิดการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2553 ที่โรงแรมรอยัลภูเก็ต ว่า ได้หารือร่วมกับ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. และเห็นร่วมกันว่า เมื่อยังมีบางกลุ่มเห็นว่าควรที่จะให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขในสังกัดหน่วยงานอื่นได้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ก็ยินดีและถือเป็นเรื่องดีจะได้สบายใจทุกฝ่าย สำหรับสัดส่วนของคณะกรรมการจะเป็นอย่างไรหรือมีบุคคลใดเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบ้างนั้น ได้มอบหมายให้ นพ.ไพจิตร์ จัดประชุมหารือร่วม 2 ฝ่าย ระหว่างเครือข่ายผู้ป่วยและเครือข่ายผู้ดูแลรักษาพยาบาลใหม่เป็นครั้งที่ 2 เพื่อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย จากนั้นจึงค่อยเริ่มต้นนับหนึ่งในการหารือร่วมกันของคณะกรรมการ 3 ฝ่ายชุดใหม่ โดย สธ.จะทำหน้าที่เป็นเพียงฝ่ายอำนวยการ เชื่อว่าเมื่อมีคณะกรรมการที่ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นแล้วจะเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย


"ระหว่างนี้อย่าเพิ่งมีการตั้งวงเจรจาร่วมของคณะกรรมการ 3 ฝ่าย เพราะหากมีการหารือในช่วงเวลานี้ ข้อสรุปก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ต้องย้อนกลับไปหารือร่วม 2 ฝ่ายใหม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะมีบุคคลใดเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบ้าง จำนวนเท่าใด ผมไม่มีปัญหาและพร้อมที่จะลงนามในคำสั่งเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดเดิม ทั้งเพิ่มเติมหรือถอนรายชื่อออก เพียงขอให้เป็นมติของที่ประชุมร่วม 2 ฝ่าย " นายจุรินทร์กล่าว


นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ จะประชุมร่วม 2 ฝ่ายเพื่อหารือเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่าย ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มเติมรายชื่อบุคคลจากหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการให้มากที่สุด ส่วนคณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายชุดเดิมที่มีการตั้งเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เข้าร่วมด้วย เนื่องจาก สช.มีการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพในเรื่องนี้ และ สวรส.มีส่วนร่าง พ.ร.บ.นี้มาตั้งแต่เริ่มต้น โดยทำหน้าที่เพียงให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้แสดงความคิดเห็นใดๆ แต่หากต้องการปรับเปลี่ยนอย่างไรก็สามารถพูดคุยกันได้


นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ สช. กล่าวว่า หากจะมีการเขย่าคณะกรรมการชุดนี้ใหม่ ก็เป็นสิทธิของ สธ. จริงๆ แล้วไม่ได้มีสิทธิมีเสียงอะไร และไม่เคยเรียกร้องขอเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ เพียงแต่เข้ามาในฐานะของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ที่มีหน้าที่เป็นเลขานุการในการจัดสมัชชาสุขภาพแห่งชาติทุกปี โดยในปี 2551 สมัชชาสุขภาพฯมีมติเห็นว่าการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญ จึงเสนอให้รัฐบาลยกระดับการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ขณะเดียวกันก็ควรเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับแพทย์และผู้ป่วยด้วย หากไม่ได้เข้าร่วมก็ยินดี เพราะไม่ได้ต้องการเข้าร่วมตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว


ผู้สื่อข่าวถามว่า เครือข่ายคุ้มครองประชาชนด้านสาธารณสุข (คปส.) ได้ล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เสนอวุฒิสภาถอดถอน นพ.อำพลจากเลขาธิการ สช. นพ.อำพลกล่าวว่า ไม่ได้รู้สึกวิตกอะไร เพราะไม่เข้าใจประเด็นของทางกลุ่มนี้ว่าต้องการอะไร และการจะถอดถอนใครต้องมีประเด็นชัดเจน ตอนนี้งงไปหมดแล้ว


นพ.วิชัย โชควิวัฒน กรรมการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย กล่าวว่า ไม่อยากจะพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ใครอยากทำอะไรก็ปล่อยให้ทำไป ใครทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ก็ต้องได้รับผลดี แต่หากใครทำสิ่งที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ก็ต้องรับผิดชอบผลของการกระทำด้วย ส่วนประเด็นที่จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิมว่าไม่จำเป็น เพราะก่อนหน้านี้เห็นด้วยในหลักการของกฎหมายที่ต้องการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายฯ และต้องการลดการฟ้องร้องก็ควรนำเข้าสู่การพิจารณาของสภา ให้ผ่านในขั้นของวาระรับหลักการ คือ วาระแรก ก่อนจะพิจารณาวาระอื่นๆ เนื่องจากเรื่องนี้มีการพูดคุยกันมานาน 10 ปี ถึงเวลานำเข้าสู่การพิจารณาเสียที ไม่ใช่ออกมาในลักษณะที่เป็นอยู่แบบนี้


พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ รองประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. กล่าวว่า กรณีเลขาธิการ สช.และ นพ.วิชัย ออกมาแสดงความเห็นนั้น อยากถามกลับว่าการกระทำของบุคคลทั้งสอง ถูกต้องแล้วหรือและมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องนี้ รู้สึกหมดความอดทนกับการเคลื่อนไหวที่ไม่มีจริยธรรม และไม่กระทำแบบสุภาพชนของบุคคลที่อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของเอ็นจีโอบางกลุ่ม เพราะคนเหล่านี้ ทำร้ายกระทรวงมานานกว่า 30 ปี อยากถามว่าต้องการอะไร ต้องการอำนาจที่เหนืออำนาจรัฐใช่หรือไม่ และถ้าประชาชนอยากรู้ว่า กฎหมายนี้จะเอื้อประโยชน์อะไรบ้างขอให้กลับไปอ่านกฎหมาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์กุมอำนาจทั้งหมด โดยที่รัฐบาลหรือสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่สามารถตรวจสอบอะไรได้เลย อีกทั้งตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีเงินเดือนสูงถึงเกือบ 3 แสนบาท มากกว่านายกรัฐมนตรีและสามารถอนุมัติเงินได้เป็นพันล้านบาท เป็นอำนาจที่มากกว่านายกฯเสียอีก


"พวกเราไม่มีอะไรจะต่อสู้ เราไม่มีเครือข่ายเอ็นจีโอที่กว้างใหญ่ เราไม่มีเงินจากองค์สารพัด ส. ที่กลุ่มคนเหล่านี้พยายามตั้งขึ้น และจัดสรรคนของตนเองไปนั่งบริหาร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ สปสช.ต่อคนในแต่ละครั้ง ก็ตกคนละ 1 หมื่นบาท มากกว่าเบี้ยประชุมของกรรมการบริษัทใหญ่ๆ ที่มีกำไรเป็นพันล้านเสียอีก " พญ.ประชุมพรกล่าว
โดย: มติชน [6 ส.ค. 53 22:47] ( IP A:58.8.211.181 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    ใครอยากทำอะไรก็ปล่อยให้ทำไป ใครทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ก็ต้องได้รับผลดี แต่หากใครทำสิ่งที่ไม่ก่อเกิดประโยชน์ก็ต้องรับผิดชอบผลของการกระทำด้วย ส่วนประเด็นที่จะมีการตั
โดย: [0 3> ( IP )

--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิมว่าไม่จำเป็น เพราะก่อนหน้านี้เห็นด้วยในหลักการของกฎหมายที่ต้องการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายฯ และต้องการลดการฟ้องร้องก็ควรนำเข้าสู่การพิจารณาของสภา ให้ผ่านในขั้นของวาระรับหลักการ คือ วาระแรก ก่อนจะพิจารณาวาระอื่นๆ เนื่องจากเรื่องนี้มีการพูดคุยกันมานาน 10 ปี ถึงเวลานำเข้าสู่การพิจารณาเสียที ไม่ใช่ออกมาในลักษณะที่เป็นอยู่แบบนี้
โดย: ของแท้ไม่ใช่แดงเทียม [6 ส.ค. 53 22:54] ( IP A:58.8.211.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เงินเดือน สามแสน เบี้ยประชุม หนึ่งหมื่น อนุมัติวงเงินพันล้าน
โดย: นายกอายม้วนไปเลย [6 ส.ค. 53 23:09] ( IP A:182.52.126.120 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   มันถึงแย่งกันเป็นไง กูไม่ได้มึงก็อย่าเป็นเลย *** นท่าสู้บนโต๊ะไม่ได้กูล้มโต๊ะ ประมาณนั้น
โดย: หางมันโผล่สลอนไปทุกตัว [7 ส.ค. 53] ( IP A:124.122.28.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีเงินเดือนสูงถึงเกือบ 3 แสนบาท มากกว่านายกรัฐมนตรีและสามารถอนุมัติเงินได้เป็นพันล้านบาท เป็นอำนาจที่มากกว่านายกฯเสียอีก
======================================
มิน่าเครือข่ายเกรียนนี่จึงช่วยผลักช่วยดันกันจัง
โดย: เห็นหางเอ็งล่ะหล่ะ [7 ส.ค. 53 9:31] ( IP A:222.123.85.31 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   ตอนนี้เอาแต่เรื่องผลประโยชน์มาโจมตีทั้งที่ก็ไม่มีหลักฐาน
เพื่อจะล้มร่างพรบ.ฉบับนี้ให้ได้ เพราะกลัวถูกตรวจสอบบัญชี
การจ่ายเงินสมทบมันต้องเปิดเผยรายได้ พวกนี้กลัวต้องสูญเสีย
รายได้ที่เคยกิน เคยโกงประเทศชาติ
โดย: พวกขี้โกง [7 ส.ค. 53 14:06] ( IP A:58.9.190.125 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน