จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี
   จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี
31 กรกฎาคม 2553
เรื่อง ขอขอบคุณที่สั่งชะลอการพิจารณาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯและข้อร้องเรียนเพื่อพิจารณา

เรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
จากข่าวที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า จะชะลอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขออกจากระเบียบวาระการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรไว้ก่อนเพื่อให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพ.ร.บ.นี้ เพื่อพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วนในสังคม ก่อนจะนำเข้าพิจารณาใหม่
ดิฉันขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีแทนประชาชนทั้งประเทศ ที่จะได้รับผลเสียหายจากพ.ร.บ.นี้อย่างไม่ทันตั้งตัว และดีใจที่ท่านได้ยินเสียงของประชาคมสาธารณสุข 300,000 คนทั่วประเทศ ที่ได้ออกมาชุมนุมเรียกร้อง (และผู้ที่ไม่มาชุมนุมเพราะติดภารกิจดูแลรักษาสุขภาพประชาชนทั่วประเทศ)

ท่านนายกได้ยินแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจเหตุผลในการคัดค้านของบุคลากรสาธารณสุขในครั้งนี้อย่างชัดเจนนัก ดิฉันจึงขอโอกาสอธิบายให้ท่านนายกทราบถึงเหตุผลในการที่ไม่ควรมีพ.ร.บ.ฉบับนี้ ตั้งแต่เบื้องหลังและความเป็นมาของการร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ดังต่อไปนี้
เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจ ดิฉันอยากจะกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับเบื้องหลังและเจตนารมณ์ที่เขียนไว้ กับเจตนารมณ์ที่ซ่อนเร้นของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯนี้ดังนี้
1.ผู้ริเริ่มสั่งให้มีการร่างพ.ร.บ.นี้คือ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.มงคล ณ สงขลา) ได้สั่งการให้ตั้งคณะทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ยกร่างพ.ร.บ.นี้ขึ้นมา ตามคำเรียกร้องของประชาชนในนามกลุ่มเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์
2.ได้มีการยกร่างพ.ร.บ.นี้จากสส.อีก 4 ร่าง จากกลุ่มประชาชนอีก 1 ร่าง รวมกับร่างของกระทรวงสาธารณสุขอีก 1 ร่าง เป็น 6 ร่าง รวมกับร่างขอแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 41 และ 50 ของกระทรวงสาธารณสุข บรรจุเข้าระเบียบวาระ การประชุมสภาผู้แทนในสมัยหน้า
3.ก่อนที่รัฐบาลจะยื่นร่างพ.ร.บ.นี้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ได้ส่งร่างพ.ร.บ.นี้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาก่อน
และจากบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เรื่องเสร็จที่ 740-741/2552 ได้กล่าวถึงข้อสังเกตและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า
1.กระทรวงสธ.เห็นว่ามีความซ้ำซ้อนของกม.
2. แพทยสภาเห็นว่า
2.1 ขนาดของกองทุนอาจจะเหมารวมอย่างกว้างขวางมากเกินไป ทั้งๆที่ความจริงที่เกิดขึ้น (ความเสียหาย) มีปีละไม่ถึง 30ราย และมาตรา 7 ก็กว้างขวางมาก มีการจ่ายเงินตามหมวดเงินชดเชยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่มีเพดาน น่าจะกำหนดการช่วยเหลือในลักษณะเงินทดแทนเช่นเดียวกับพ.ร.บ.กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ
2.2 การกำหนดให้ผู้เสียหายได้รับเงินช่วยเหลือและชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด จะไม่สามารถทำได้จริง ถ้าพิจารณาว่าผิดแล้วจึงจ่ายเงินช่วยเหลือ/ชดเชยแล้วจะไม่เป็นธรรมกับแพทย์ เพราะถูกตัดสินโดยคณะกรรมการที่ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ และยังให้ประชาชนไปฟ้องศาลได้อีก เพราะรู้จากการตัดสิน(ที่อาจไม่ได้มาตรฐาน)ว่าแพทย์ทำผิด ก็ไปฟ้องแพทย์เพื่อที่จะเรียกร้องเงินจากศาล แต่ถ้าศาลตัดสินว่าแพทย์ไม่ผิด ประชาชนยังจะกลับมาขอเงินจากกองทุนนี้ได้อีก ฉะนั้นการฟ้องร้องจะไม่ลดลงแน่นอน
2.3 การกำหนดคณะกรรมการจากม. 8 ไม่เป็นธรรม เพราะไม่สมดุล
2.4 การให้ความช่วยเหลือจะล่าช้า เพราะมีกรรมการมากมายหลายขั้นตอน
2.5การเขียนม. 44 ว่าผู้รับบริการสาธารณสุขได้รับความคุ้มครอง จะไม่สามารถยุติการฟ้องทางอาญาได่
2.6 ชื่อพ.ร.บ.ไม่เหมาะสม เนื่องจากความเสียหายมิได้กระทบฝ่ายเดียว ควรเป็นชื่อพ.ร.บ.กองทุนช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
3.กระทรวงยุติธรรม มีข้อสังเกตดังนี้
3.1 ม.19 กำหนดให้สถานพยาบาลส่งข้อมูลหรือเอกสาร/หรือหลักฐาน ภายใน 7 วัน และควรกำหนดให้ผู้เสียหาย/ทายาท ส่งข้อมูลหรือเอกสารหรือหลักฐานด้วยหรือไม่ อย่างไร
3.2 ร่างมาตรา 40 ถามว่า เงินช่วยเหลือเบื้องต้น ต่างกับเงินชดเชยหรือไม่/อย่างไร
3.3 มาตรา 42 การตัดสิทธิผู้ได้รับเงินช่วยเหลือไม่ให้ไปฟ้องศาลหลังจากรับเงินชดเชยแล้ว ไม่น่าจะเป็นธรรม ควรนำหลักการในพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535ม. 22 มาใช้ด้วย
4 สำนักงานกพ.
4.1 ให้คำนึงถึงความซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่นพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 โดยอาจแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้ครอบคลุมเนื้อหาสาระของร่างพ.ร.บ.นี้ก็ได้
4.2 เห็นว่าการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายขึ้นใหม่ ไม่สอดคล้องกับมติค.ร.ม. เมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2542
5.สำนักงานก.พ.ร.
5.1เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขควรแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ให้ครอบคลุมการคุ้มครองผู้เสียหายจากร่างพ.ร.บ.นี้ก็ได้
5.2 การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ต้องทำตามมติค.ร.ม. 2550
6.สำนักงบประมาณ
6.1 เห็นว่าพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ก็คุ้มครองประชาชนอยู่แล้ว
6.2 การจัดตั้งสำนักงานและกองทุน จะเป็นภาระต่องบประมาณมาก ไม่เหมาะสมกับภาวะปัจจุบัน
6.3 อาจไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ในการถูกเรียกเก็บเงิน
6.4 ควรกำหนดให้มีสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายและสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข
6.5 ให้มีการทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ที่มีอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับข้อกฎหมายในปัจจุบัน
7.กระทรวงการคลัง เห็นว่ามีกฎหมายอื่นอยู่แล้ว ได้แก่พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 อยู่แล้ว เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนใหม่ จะเป็นภาระแก่งบประมาณโดยไม่จำเป็น ควรไปแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้ครอบคลุมแทน โดยไม่ต้องตราพ.ร.บ.ใหม่
8.สำนักงานสุขภาพแห่งชาติเสนอให้มีการสร้างกลไกและมาตรการไกล่เกลี่ยไว้ด้วย
*ความเห็นของหน่วยงานราชการต่างๆจากบันทึกของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก้ไของค์ประกอบคณะกรรมการตามที่แพทยสภามีข้อสังเกต เพราะเห็นด้วยว่าไม่สมดุลและไม่เป็นธรรม แต่ต่อมารมว.สธ.(นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ ได้แก้กลับไปเหมือนเดิม ที่ไม่สมดุลและไม่เป็นธรรม
จะเห็นได้ว่า หลายหน่วยงานของราชการได้เสนอแนะว่า สามารถขยายความครอบคลุมของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ แต่รัฐมนตรีสาธารณสุขไม่ใส่ใจ และก็ไม่ใส่ใจกับข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
และรัฐมนตรีสาธารณสุข ก็ไม่ได้สอบถามความเห็นของสภาวิชาชีพ หรือบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข ไปขอเข้าพบก็ถูกเลขานุการรัฐมนตรีกีดกันไม่ให้เข้าพบ ได้รีบยื่นร่างพ.ร.บ.ของกระทรวงสธ.ผ่านที่ประชุมค.ร.ม. โดยไม่ได้รับฟังความเห็นผู้ที่จะมีผลเสียอย่างเดียวจคือฝ่ายผู้ปฏิบัติงาน
เชิญมาเปิดงานสัมมนา 3 ครั้ง ก็ไม่เคยมาปรากฏตัว แม้ในวันที่ 30 ก.ค. ก็เชิญท่านมารับทราบความคิดเห็นของพวกเรา ที่ทำงานรับใช้ประชาชนแทนท่าน ให้ท่านมีผลงานไปอวดอ้างแก่ประชาชน ท่านก็ไม่ใส่ใจมารับรู้ /รับฟัง

ผลสรุปจากมติในการสัมมนาของบุคลากรสาธารณสุขในนที่ 30 ก.ค. 53 มีดังนี้
1.ร่างกฎหมายฉบับนี้ มีเจตนารมณ์ดี ควรคงเจตนารมณ์ไว้ดังนี้
1) ควรมีการคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้รับบริการและผู้ให้บริการ
2) ให้ครอบคลุม ทุกสิทธิ
3) เสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน เพื่อให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
4) ลดการฟ้องร้อง ร้องเรียน และให้ยุติคดีแพ่งและอาญาเพื่อให้บุคลากรมีสมาธิในการทำงานและทำงานอย่างมั่นใจ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5) คณะกรรมการพิจารณาควรมีผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์
2. ไม่ควรมีกฎหมายใหม่ ไม่ควรมีองค์กรใหม่ให้เป็นภาระของงบประมาณแผ่นดิน
3.ข้อ เสนอ ต้อง ถอนร่างพ.ร.บ. ออกจากสภา และให้ยุติกฎหมายดังกล่าว
4.ทางออกของประชาชน คือ
1) ม.41ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ควรขยายให้ครอบคลุม ทุกสิทธิ เพิ่มเพดานจ่ายมากขึ้น ใช้กลไกเดิมในการพิจารณาจ่ายเงินชดเชย ซึ่งรวดเร็วและเป็นธรรมอยู่แล้ว ไม่สูญเสียงบประมาณแผ่นดินเพื่อค้ำจุนองค์กรใหม่
2) เมื่อมีการประนีประนอมรับเงินชดเชย ควรยุติคดีแพ่งและอาญา ถ้าไม่พอใจวงเงิน ควรสละสิทธิ์ และฟ้องศาลเอง ปัจจุบันมีศาลพิจารณาคดีผู้บริโภค เพียงใช้คำพูดไปบอกศาลไม่ต้องวางเงินมัดจำ มีกระบวนการไกล่เกลี่ย การพิจารณารวดเร็วภายใน 3 เดือน

หากมติไม่ได้รับการตอบสนอง มาตรการต่อไปเพื่อการต่อรอง ( เมื่อจำเป็นจริงๆ)
1.หยุดตรวจ OPD (ไม่ตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น)
2.ควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดย ไม่รับเตียงเสริม ตรวจผู้ป่วยโดยจำกัดจำนวนที่เหมาะสม แสดงหนังตัวอย่างจำลองให้ประชาชนเห็นจะเข้าใจผลกระทบที่ตามมาได้อย่างดี
3.ยี่นใบลาออกพร้อมกันทั้งประเทศ
4.สร้างความเข้าใจกับ อสม.และประชาชนเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว
ข้อเสนอของปลัดกระทรวง คือให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือตกลงกันระหว่างตัวแทนสมาพันธ์ฯกับ NGO ในวันที่ 2 ส.ค. 53 เวลา 16.00 น.
* สรุปโดย พญ.สุธัญญา บรรจงภาค ปชส.สมาพันธ์แพทย์ฯ 30 กค. 53
อนึ่ง ดิฉันขอสรุปความเห็นของสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและกลุ่มอื่นๆดังนี้
1. พ.ร.บ.นี้เขียนเจตนารมณ์ให้ดูดี แต่มาตราต่างๆขัดแย้งกับเจตนารมณ์ และยังมีเจตนารมณ์อื่นแอบแฝงอยู่ เช่นการล็อกสเป็คผู้ที่จะมาเป็นกรรมการในบทเฉพาะกาล เพื่อที่จะมีส่วนกำหนดกฎเกณฑ์การตั้งกรรมการและการบริหารกองทุนหลายหมื่นล้านบาท น่าจะเป็นการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

2. พ.ร.บ.นี้ น่าจะเรียกว่าพ.ร.บ.ปล้นทรัพย์ประชาชน (เก็บส่วยจากทุกโรงพยาบาล) เพราะเรียกเก็บเงินจากโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาลเป็นรายหัว เอกชนก็ต้องบวกเอาจากค่าบริการจากประชาชน(เหมือนเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนโรงพยาบาลรัฐบาลก็ต้องมาเจียดเอาจากเงินที่จะซื้อยา ซื้อเตียงให้คนไข้นอน ในขณะที่โรงพยาบาลของรัฐบาลนั้นขาดแคลนทั้งคน เงิน สิ่งของ เวชภัณฑ์ก็จะยิ่งขาดแคลนหนักขึ้น เพราะเงินส่วนหนึ่งต้องถูกส่งเข้ากองทุน เช่นโรงพยาบาลรามาธิบดีคำนวณแล้วว่าจะต้องส่งเงินเข้ากองทุนอย่างน้อยปีละ 10 ล้านบาทขึ้นไป)ถ้าผู้บริหารรพ.ไม่ส่งเงินก็จะมีโทษทั้งปรับและจำคุก
3. บุคลากรภาครัฐที่ทำงานหนักบริการประชาชน จะขาดความมั่นใจในการรักษา เพราะไม่มั่นใจว่าคณะกรรมการจะตัดสินอย่างไร คงต้องส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า เช่นส่งไปกทม. ประชาชนอาจเสียโอกาสในการรอดชีวิต

4. บุคลากรสาธารณสุขเห็นว่า ควรขยายม.41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ให้ครอบคลุมประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกคน

5. เห็นว่าควรแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯให้รัฐบาลจ่ายตรงมายังโรงพยาบาลเลย โดยไม่ต้องผ่านสปสช.จะทำให้รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินจำนวนมหาศาลให้สปสช. แต่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณในการทำงานรักษาประชาชนไม่ถึงครึ่งของงบประมาณที่สปสช.ให้โรงพยาบาล เพราะเดี๋ยวนี้ สปสช.ของบประมาณค่าหัวมาคนละ2,400 บาท แต่โรงพยาบาลได้รับเงินค่ารักษาประชาชนเพียงรายละ 600 บาท

6. มีผู้ยื่นฟ้องปปช.แล้ว ว่าสปสช.และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดำเนินการโดยผิดพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขอให้ปปช.ตรวจสอบ ขอให้ท่านนายกฯกรุณาติดตามเร่งการสอบสวนเรื่องนี้ด้วย

7. องค์กรที่เริ่มต้นจากสปสช. สวรส. สสส. สช. และที่อยู่เบื้องหลังการเขียนพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นี้ ล้วนมีกำเนิดมาจากคนกลุ่มเดียวกัน คือเขียนกฎหมาย เพื่อให้พวกตนสามารถนำเงินงบประมาณแผ่นดิน ที่มาจากภาษีประชาชน มาใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ เช่น ตั้งเงินเดือนของตนในราคาสูง ค่าเบี้ยประชุมสูงกว่าราชการมาก และยังกระทำการที่บ่งบอกว่าผิดกฎหมายและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินหลายอย่าง ต่างกรรม ต่างวาระ นายกรัฐมนตรีสมควรตรวจสอบและแก้ไข ก่อนที่ประเทศชาติและประชาชนจะเสียหายมากไปกว่านี้
โดย: เจ้าเก่า [8 ส.ค. 53] ( IP A:58.11.71.125 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
    หากมติไม่ได้รับการตอบสนอง มาตรการต่อไปเพื่อการต่อรอง ( เมื่อจำเป็นจริงๆ)
1.หยุดตรวจ OPD (ไม่ตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น)
2.ควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดย ไม่รับเตียงเสริม ตรวจผู้ป่วยโดยจำกัดจำนวนที่เหมาะสม แสดงหนังตัวอย่างจำลองให้ประชาชนเห็นจะเข้าใจผลกระทบที่ตามมาได้อย่างดี
3.ยี่นใบลาออกพร้อมกันทั้งประเทศ
4.สร้างความเข้าใจกับ อสม.และประชาชนเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว
ข้อเสนอของปลัดกระทรวง คือให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือตกลงกันระหว่างตัวแทนสมาพันธ์ฯกับ NGO ในวันที่ 2 ส.ค. 53 เวลา 16.00 น.
โดย: อยากเห็นจริงๆ ถือว่าเป็นบุญตา [8 ส.ค. 53 1:09] ( IP A:58.11.71.125 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   มีความรู้สึกว่า แพทย์กลุ่มนี้ไม่มีเหตุผล ชาวบ้านเดือดร้อนไปขอพึ่งพาก็ไม่ให้ความเป็นธรรมกับเขา พอเขาจะมีพรบ.ให้เป็นที่พึ่งใหม่ก็ขัดขวางทุกวิถีทาง

กฎหมายจะเข้าสภา ก็บอกขอตั้งกรรมการคุย
พอตั้งกรรมการคุย ก็บอกไม่พอใจมีคนมาด่า ขอคุยกันเองก่อน
พอให้คุยกันเองก่อน ก็บอกว่าให้ล้ม กฎหมายเก่าดีอยู่แล้ว

ตกลงพวกคุณไม่พอใจอะไรกันแน่
หรือที่เขาลือว่าพวกที่เคยโกงภาษีแผ่นดิน รายงานรายได้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง หรือพวกผอ.รพ.รัฐที่เคยมีนอกมีใน จะถูกตรวจสอบมากขึ้นนั้นเป็นเรื่องจริง

เพราะนั่งมอง นอนมอง ตีลังกามองกฎหมายฉบับนี้แล้ว มันมีแต่ข้อดีกับข้อดีไม่มีเสียเลย แล้วทำไมถึงร้อนตัวกันมาก ฟาดหัวฟาดหางให้ร้ายคนโน้นคนนี้ แตกประเด็นไปเรื่อย

ตกลงคือเรื่องกลัวการตรวจสอบใช่ไหม
โดย: ประเทศไทยไม่ใช่ของหมอคนเดียว [8 ส.ค. 53 8:18] ( IP A:58.9.200.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ใช่ครับ มันมีแต่ข้อดีของคนที่จะไปนั่งเป็นกรรมการ กับคนบางกลุ่มแม้รู้ว่าไม่ผิด แต่ก็จะไปขอค่าชดเชย กินกันหลายต่อ ข้อดีทั้งนั้น

แพทย์กลุ่ม(กลุ่มใหญ่)ที่ยังตรวจคนไข้อยู่จึงไม่เห็นด้วย ส่วนแพทย์กลุ่มที่ไม่ตรวจคนไข้(กลุ่มน้อย) กลุ่มที่มีโอกาสนั่งเป็นกรรมการกองทุน จึงต้องสนับสนุน
โดย: d [8 ส.ค. 53 8:28] ( IP A:182.52.125.119 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ที่เรียกว่ากินกันหลายต่อ คุณคิดว่ากรรมการแต่ละท่านโง่ทุกคนหรือ ทำไมมองโลกในแง่ร้ายอย่างนั้น แล้วพวกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดีต่าง ๆ ที่เป็นหมอ เป็นกรรมการเขาจะไม่ดูแลเรื่องนี้หรือ

ข้อกล่าวหาของคุณมันไร้สาระสิ้นดี คุณทำไมไม่ส่งตัวแทนแพทย์เข้าไปเป็นกรรมการด้วย เขาก็เปิดทางให้ คุณเล่นไม่เอาด้วยสักอย่างแล้วเขาจะแก้ไขปัญหาได้ยังไง

ปัญหามีไม่แก้ พอเขาแก้ก็บอกไม่ดี ต้องให้ตัวเองได้เปรียบ กินสะดวก โกงกันสะดวกเหมือนก่อนถึงจะดี
โดย: อ้าปากก็เห็นถึงรูตูดคนพวกนี้ [8 ส.ค. 53 8:42] ( IP A:58.9.200.229 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   สา'สุขมี 7 สายงาน เป็นกรรมการได้สามคน คิดว่า ในสามคนจะเป็นแพท์กี่คน และคิดว่าโอกาส นี้ น่าจะเป็นของหมอที่สนับนุน พรบ ซะมากกว่า เหตุผลทางวิชาการไม่ต้อง โหวตเอา ให้พวกมากลากไป มันน่าไปเป็นกรรมการไม๊ล่ะ
โดย: ไม่อยากทำงานกับโจร [8 ส.ค. 53 11:07] ( IP A:182.52.121.46 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   ความคิดเห็นที่ 3
หากมติไม่ได้รับการตอบสนอง มาตรการต่อไปเพื่อการต่อรอง ( เมื่อจำเป็นจริงๆ)
1.หยุดตรวจ OPD (ไม่ตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ตรวจรักษาเฉพาะผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น)
2.ควบคุมมาตรฐานการทำงาน โดย ไม่รับเตียงเสริม ตรวจผู้ป่วยโดยจำกัดจำนวนที่เหมาะสม แสดงหนังตัวอย่างจำลองให้ประชาชนเห็นจะเข้าใจผลกระทบที่ตามมาได้อย่างดี
3.ยี่นใบลาออกพร้อมกันทั้งประเทศ
4.สร้างความเข้าใจกับ อสม.และประชาชนเพื่อคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว
ข้อเสนอของปลัดกระทรวง คือให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือตกลงกันระหว่างตัวแทนสมาพันธ์ฯกับ NGO ในวันที่ 2 ส.ค. 53 เวลา 16.00 น.
โดย: อยากเห็นจริงๆ ถือว่าเป็นบุญตา [8 ส.ค. 53 1:09> ( IP A:58.11.71.125 X: )
==================================
ป้าเมิงป่วยตอนนั้นแล้วจะหนาว
โดย: คนรู้จริง รู้ทัน (เรื่องเกรียน) [8 ส.ค. 53 14:12] ( IP A:58.64.31.242 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   บอกแล้วเดี๋ยวก็รู้ ตอนนี้แถวที่จังหวัดผมชาวบ้าน อสม.ก็เริ่มรู้แล้ว
โดย: ไม่ต้องประท้วงใดๆ ก็แค่ไม่ต้องทำอะไร [8 ส.ค. 53 15:40] ( IP A:58.8.134.194 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   คห ที่ 8 เนี่ย ขอชมว่าเจ้าของข้อความนี่ โอ่อวดได้ใหญ่โตจังเลย

เหมือนตุ๊ดตู่ + เต้ม + หมอเหวง ประกาศปาวๆกลางราชประสงค์เมื่อไม่กี่เดือนก่อนนี้เอง

ว่าแต่ เมื่อไหร่ติดคุก อย่าลืมบอกกันด้วยล่ะ จะได้ไปเยี่ยม เอาข้าวปลาอาหารไปฝาก แต่ ถ้าจะเอาพวกมียี่ห้อ อย่าง Peddegree อะไรเทือกนั้น ก็ขอ bye นะครับ มันแพงไปน่ะ ไม่มีปัญญาซื้อ แล้วหมาแถวบ้านผมก็ไม่รู้จักซะด้วย อิอิ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [9 ส.ค. 53 12:43] ( IP A:61.90.10.152 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน