มอง “พ.ร.บ.คุ้มครองฯ” ในต่างแดน ดีพอแค่ไหนกับบ้านเรา!
   มอง “พ.ร.บ.คุ้มครองฯ” ในต่างแดน ดีพอแค่ไหนกับบ้านเรา!

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 สิงหาคม 2553 00:19 น.

https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000111991&CommentReferID=16766897&CommentReferNo=7&#Comment

รายงานพิเศษโดย : จารยา บุญมาก

ประเด็นร้อนๆ ที่ยังไม่ลงรอยสำหรับการจัดตั้งกองทุนพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติ กรณีที่ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด (No-Fault Liability) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... นั้น

หัวหอกในการชี้แจงประเด็นดังกล่าวคือ “นพ.อำพล จินดาวัฒนะ” เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) โดยให้เหตุผลว่า มีข้อมูลทางวิชาการ พบว่ากองทุนดังกล่าวเป็นการขยายความช่วยเหลือจากมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ต่างประเทศ เช่น สวีเดน นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ และ เดนมาร์ก ที่สามารถช่วยให้ประชาชนพอใจมากขึ้นจากการช่วยเหลือเบื้องต้น และสามารถลดการฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายได้

ขณะที่ฝ่ายแพทยสภาอย่าง “นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา” นายกแพทยสภา ก็คัดค้านสุดเหวี่ยงด้วยข้อมูล ที่ระบุว่า ที่ประเทศสวีเดนนำเม็ดเงินมาจ่ายค่าชดเชยเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายฯ นั้น มาจากภาษีท้องถิ่นของประชาชน ดังนั้น จึงไม่ต้องใช้งบจากรัฐบาล เพราะเกรงว่างบประมาณประเทศถูกใช้ไปจนหมด ถ้าหากมีผู้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวนมหาศาล ไทยจึงทำไม่ได้ เพราะ 1.ความโปร่งใสที่อยู่ถึงอันดับที่ 84 ของโลก ขณะที่สวีเดนและนิวซีแลนด์ อยู่อันดับ 1 และ 3 เขาจึงสามารถใช้ระบบรัฐสวัสดิการที่ประชาชนต้องเสียภาษีสูงได้ อีกทั้งประเทศเหล่านั้นมีประชากรน้อย ซึ่งขนาดประเทศมหาอำนาจอย่างอเมริกายังไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะมองเห็นผลที่ไม่คุ้มค่า เพราะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะทำให้การดูแลบริการเลวลง แต่ต้องเสียเงินมากขึ้น ซึ่งผู้ร่างหวังจะได้เป็นผู้บริหารกองทุนจำนวนหลายหมื่นล้านบาท และสร้างเครือข่ายทั่วประเทศอีกด้วย

ในเรื่องนี้เองทำให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เปิดเวทีให้ข้อมูลถึงระบบการชดเชยความเสียหายฯ ในหัวข้อ “กม.คุ้มครองผู้ป่วย ประสบการณ์ต่างแดน : เรียนรู้และเข้าใจก่อนตัดสินใจ” ซึ่ง “รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง” นักวิชาการโครงการสังคมศาสตร์สุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ม.มหิดล สรุปว่า ประเทศไทยสมควรมีระบบการชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดนี้แต่ทุกฝ่ายต้องหยุดถกเถียงกันแล้วเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบ โดยการบูรณาการวิธีการบางวิธีจากต่างประเทศมาใช้ เพราะระบบดังกล่าวนั้นมีความซับซ้อนด้านกลไก เนื่องจากแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน ทั้งแหล่งเงิน ประชากร รวมถึงหลักคิดที่ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม

“เราควรหยุดเถียงกันเสียที แต่ควรมาร่วมระดมความคิดในการออกแบบระบบ ทั้งในเบื้องต้นและเงินชดเชยเมื่อสิ้นสุดคดี ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากกลไกไม่ดี ไทยอาจเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหาการที่ผู้เสียหายต้องเสียเวลาฟ้องแพทย์จากกระบวนการของชั้นศาล ที่ยาวนานและเสียค่าใช้จ่ายดำเนินการตามกฎหมายจนกลายเป็น “อุตสาหกรรมการฟ้องร้อง” ที่เอื้อประโยชน์สูงสุดแก่กลุ่มวิชาชีพทางกฎหมาย ส่วนแพทย์และผู้ป่วยก็มีแต่เสียกับเสีย เช่นเดียวกับ อังกฤษ ที่มีอัตราการฟ้องร้องสูงถึง 15,000 กรณี ที่ใช้เวลาการดำเนินคดีเฉลี่ยรายละ 6 ปี ขณะที่มีผู้ได้รับเงินชดเชยแค่ร้อยละ 10 เท่านั้น ส่วนระบบการฟ้องร้องในอเมริกา ก็ส่งผลกระทบให้แพทย์ต้องย้ายรัฐ หรือลาออกบางรัฐที่มีการฟ้องร้องมากจึ่งขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ไปโดยปริยาย” นักวิชาการคณะสังคมศาสตร์ฯ ม.มหิดล ให้ข้อมูล

ขณะที่ “รัตนสิทธิ์ ทิพย์วงศ์” นักวิชาการด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข ม.วลัยลักษณ์ อธิบายว่า อย่างน้อยก็จะช่วยให้มีการกระจายความเสี่ยงจากผู้มีส่วนได้เสียทางสังคม ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานได้ แต่ผลด้านลบก็มี เช่น การชดเชยที่ครอบคลุมค่าเสียหายที่มิใช่ทางเศรษฐกิจโดยไม่กำหนดเพดานขั้นสูงไว้จะทำให้ระบบใหม่มีต้นทุนต่อหัวต่อรายได้ประชากรสูงและอาจสูงกว่าระบบศาล การชดเชยความเสียหายจากกรณีของภาวะแทรกซ้อน (ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้) จะมีผลทำให้ต้นทุนการชดเชยในระบบสูงขึ้น ดังนั้น เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว ข้อสรุปเปรียบเทียบระหว่างระบบฟ้องร้อง และระบบชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิด พบว่า ระบบฟ้องร้องเน้นไปที่การลงโทษเฉพาะบุคคล ส่วนระบบชดเชยฯ เป็นการเน้นความรับผิดชอบโดยรวมทั้งระบบ เน้นพิสูจน์หาสาเหตุของความผิดพลาดไม่ใช้พิสูจน์หาคนผิด

ก็ได้แต่หวังว่าหากมีการออกแบบระบบได้ดี แล้วนำมาปรับปรุงเนื้อหาเพื่อใช้ใน พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้ น่าจะช่วยให้การติดตามช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายฯ เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอกระบวนการทางชั้นศาล

ถึงตรงนี้ในเมื่อร่างกฎหมายของไทยเอง ยังเถียงกันไม่จบ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า กฎหมายแต่ละประเทศจะดีพอกับบ้านเรา อีกทั้งในการสร้างความสมานฉันท์ของเรื่องนี้ก็ยังคงมือมิด ดังนั้น ประเด็นในการจับประสบการณ์จากต่างประเทศมาใช้ก็คงอีกนานเช่นกัน
โดย: จากเว็ปเมเนเจอร์ [13 ส.ค. 53 10:54] ( IP A:58.9.222.149 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   พุดไปสองไพเบี้ย ทุกคนไม่ยอมพูดความจริงว่าเอกชนเขาไม่อยากถูกตีแผ่โครงสร้างรายได้จริงที่แจ้งสรรพากร ถึงอย่างไร พรบ.นี้ก็ต้องล้ม
โดย: เจ้าบ้าน [14 ส.ค. 53 22:52] ( IP A:124.121.78.49 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   

hi there and thank you for your info – I have certainly picked up something new from right here. I did however expertise a few technical points using this site, since I experienced to reload the website lots of times previous to I could get it to load properly. I had been wondering if your web hosting is OK? Not that I’m complaining, but sluggish loading instances times will often affect your placement in google and could damage your quality score if advertising and marketing with Adwords. Anyway I’m adding this RSS to my e-mail and could look out for much more of your respective intriguing content. Ensure that you update this again soon.. Bespoke Dress Shirts

โดย: seojohn76@gmail.com [4 ก.พ. 66 20:55] ( IP A:172.17.0.1 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน