consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
มติบอร์ด "สปสช" ไม่ขยายม.41 ชี้ซ้ำซ้อนกับพรบ.ฯ
มติบอร์ด "สปสช." ไม่ขยาย ม.41 ชี้ทำงานซ้ำซ้อนกับร่าง กม.ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาฯ
https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284382646&grpid=01&catid
จากกรณีสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป(รพศ./รพท.) และผู้แทนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขทุกสังกัด จำนวน 80 คนมีมติขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สธ.ในฐานะคณะกรรมการบริการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ดสปสช.)ดำเนินการขยายมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ครอบคลุมการจ่ายเงินชดเชยเบื้องต้นกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุขทุกคนทุกสิทธิ ในระหว่างที่ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ยังไม่มีผลบังคับใช้นั้น
ความคืบหน้าล่าสุด ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 13 กันยายน เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการแก้มาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ให้ครอบคลุมผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ โดยมติ บอร์ด สปสช.ลงความเห็นไม่ขยายม.41 เนื่องจากเป็นการทำงานซ้ำซ้อนกับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ซึ่งอยู่ในวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานประธาน อร์ดสปสช. แถลงว่า จากกรณีที่นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขขอให้บอร์ดสปสช.พิจารณาแก้ไข พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพฯ โดยเฉพาะมาตรา 41 ที่กำหนดเกี่ยวกับการจ่ายชดเชยเบื้องต้นให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เพื่อจะนำสู่การขยายการคุ้มครองในกรณีผู้เสียหายจากการรับบริการด้านการแพทย์ที่ใช้สิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการนั้น ที่ประชุมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องแก้มาตรา 41 เพราะขณะนี้มีร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจาการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ....เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวมีหลักการและคลอบคลุมประเด็นการให้ความช่วยเหลือมากกว่าการแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่นพ.เอื้อชาติ ขอให้บอร์ดสปสช. เสนอให้แก้ไขข้อบังคับของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ให้ครอบคลุมการช่วยเหลือเบื้องต้นผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสุขภาพทั้งสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการ หากไม่สามารถแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ ทั้งฉบับ โดยเฉพาะการแก้มาตรา 41 นั้น ที่ประชุมเห็นว่า การออกหรือปรับปรุงข้อบังคับสปสช.ให้ครอบคลุมการช่วยเหลือผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาพยาบาลนั้น ยังมีปัญหาข้อกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่ ทางที่ดีที่สุดควรรอการพิจารณาของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯ และหากมีข้อถกเถียงอย่างไรให้ไปหารือกันในขั้นกรรมาธิการสภาฯ
การจะดำเนินการขยายมาตรา 41 ให้ครอบคลุมประชาชนทุกสิทธิการรักษาพยาบาลนั้น จะต้องแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ บอร์ดจึงเห็นว่าหากเสนอให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ขณะที่มีกฎหมายลักษณะนี้และครอบคลุมเนื้อหาสาระกว้างกว่าอยู่ในระหว่างการรอพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว จะเป็นการซ้ำซ้อน และการดำเนินการแก้พ.ร.บ.จะล้าช้ากว่าการออก พ.ร.บ.ใหม่ที่รอสภาฯพิจารณากว่ามาก เพราะเท่ากับต้องไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่นายจุรินทร์ กล่าว
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ในมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะให้ความช่วยเหลือเยียวยาเบื้องต้นได้เฉพาะผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขในหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น จะไม่ครอบคลุมสถานพยาบาลเอกชน ดังนั้น หากจะขยายมาตรา 41 ก็จะต้องเริ่มจากการแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯในส่วนของหน่วยบริการให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน ก่อนจึงจะนำมาสู่การแก้ข้อบังคับสปสช.ไม่ครอบคลุมผู้ถือสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการได้ ซึ่งจะยุ่งยาก ขณะที่ ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ มีประเด็นที่ครอบคลุมกว่าการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 คือ การช่วยเหลือคุ้มครองแพทย์ไม่ให้ถูกฟ้องร้องทางแพ่ง ซึ่งมาตรา 41 ไม่มีเรื่องนี้
โดย: ทำให้ใจชื้นขึ้นมาบ้างแล้ว [14 ก.ย. 53] ( IP A:58.9.201.91 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ฟ้ายังมีตา...เทวดายังมีจริง...แผ่นดินไทยไม่สิ้นไร้คนดี...มีวิสัยทัศน์...
โดย: ผู้สูญเสียที่รอคอยความหวัง [14 ก.ย. 53 8:13] ( IP A:124.122.136.205 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ก็ต้องไม่ลืมว่า ยุคนี้เป็นยุค ช.ค.ม.
เป็น ช.ค.ม. ทั้งในสภาผู้แทนฯ และแพทยสภาซ่องโจร ที่เป็นมาก็นานนมเต็มที่
จนรำๆที่เราเกือบๆเสีย
"
ราชวงศ์จักกรี
"
ไปให้กับพวกฉิบหายจัญไร+ขายชาติ เผาบ้านเผาเมืองไปแล้ว
ทุกวันนี้ วงการสาธารณสุขของประเทศ ที่ริเริ่มและสั่งสมคุณงามความดีมาโดย "ครอบครัวมหิดล" ก็ถูกกินคืบงาบศอกไปโดยระบบการแพทย์ทุนนิยมสามานไปก็เยอะมาก ที่ร่วมมือกันทุจริตกันทั้งแบบมูมมามและแบบนิ่มๆเนียนๆในกระทรวง ส.ธ. และ สถานบริการของเอกชน ไปเสียก็เยอะมาก จนประชาชนคนเดินดินทั่วไปทั่งยากดีมีจนต่างได้รับผลของความสามานนี้กันทั่วหน้า
การต่อสู้นี้ ยังเพิ่งยกต้นๆ ยังเป็นเรื่องสั้นขนาดยาวที่ยังมีตอนต่อไปอีกหลายยก
ขอให้
คำสาบแช่งของ
เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (อาภากร)
จงศักดิ์สิทธิ์และเห็นผลในวันในพรุ่งด้วยเทอะ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [14 ก.ย. 53 9:44] ( IP A:58.8.109.210 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
สะกดผิดหรือเปล่าจักรี
โดย: ก ไก่มีตัวเดียว [14 ก.ย. 53 11:30] ( IP A:58.9.200.77 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
"อักขราทร" ชี้บ้านเมืองสงบได้ผู้นำต้องกล้าหาญ-เด็ดเดี่ยว!
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม 14 กันยายน 2553 10:07 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด
"อักขราทร" ยกโอวาทในหลวง "ถ้าทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ที่มีอยู่และทำให้ดีที่สุด ก็จะไม่มีปัญหา" เป็นแนวทางเตือนให้ทุกฝ่ายตระหนักในหน้าที่ เน้นให้ความยุติธรรมถือเป็นบุญกุศลกว่าสิ่งอื่น ต้องตั้งหมั่น อยู่ในจุดยืนเข้าใจหน้าที่ ชี้ ทุกวันนี้ใช้กฎหมายเหมือน "ศรีธนญชัย" ย้ำเมื่อเกิดเหตุวิกฤตผู้นำต้องนำให้ถึงที่สุดต้องกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่ใช่แค่ผู้นำรัฐบาล เผยเกษียณแล้วไม่คิดเป็นลูกน้องใคร
นายอักขราทร จุฬารัตน์ ประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์พิเศษ กับ เอเอสทีวี ผู้จัดการรายวัน โดยกล่าวว่า ในทางรูปธรรมศาลปกครองตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2542 เปิดทำการได้จริง ปี 2544 ส่วนในเรื่องการบริหารการปกครองประเทศ เรารู้จักดีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นระบบสากลที่ถือว่าการปกครองประเทศสูงสุดคืออำนาจธิปไตย คืออำนาจของกฎหมาย เพราะฉะนั้นโดยทฤษฎีต้องมีการแบ่งแยกให้แต่ละฝ่ายได้ทำหน้าที่ เพื่อไม่ให้อำนาจตกอยู่ในองค์กรใด องค์กรหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของนิติบัญญัติคือมีหน้าที่ออกกฎหมาย ตามความต้องการของประชาชน หรือฝ่าบริหาร โดยปกติหน้าที่หลัก ศาลมีหน้าที่ตัดสินคดี แต่อยู่ดี ๆ ศาลจะไปหยิบเรื่องราวต่าง ๆ ที่ศาลมองว่าไม่ถูกมาตัดสินไม่ได้ มันต้องมีการเริ่มต้นจากผู้ถูกฟ้องร้อง ผู้ที่เดือดร้อน ซึ่งหน้าที่ของ 2 ส่วนมีข้อจำกัด ในขณะที่ฝ่ายบริหารต้องดูแลทุกสุข บริหารเพื่อความเจริญก้าวหน้าเพราะฉะนั้นร่างอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร อันนี้เป็นเหตุที่ต้องเข้าใจว่า มันทำยังไงในกลไกของรัฐ เพื่อทำให้ทุกอย่างอยู่ในสิ่งที่ถูกต้อง อยู่ในสิ่งที่ดี คุณคงได้ยินคำว่าระบบนิติรัฐ
ทั้งนี้ 1. กฎหมายสูงสุด เป็นหลักทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย จะอยู่ได้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่มีใครใหญ่กว่ากฎหมาย 2.ทุกคนไม่ว่าจะเป็นบ้านเมืองผู้ปกครอง หรือผู้อยู่ใต้ปกครอง คือผู้ปกครองหรือรัฐบาล ประชาชนที่ถูกปกครอง ต้องอยู่ภายใต้หลักกฎหมายเดียวกัน ต้องใช้ได้ทั้งฝ่ายรัฐ และประชาชน ที่สำคัญต้องอยู่ภายใต้ศาลเดียวกัน 3. สิ่งที่เกิดขึ้นที่ประเทศต่าง ๆ เช่นประชาชนต้องมีสิทธิ์เสรีภาพ มีการให้ความคุ้มครองประชาชน และอะไรต่าง ๆ เนื้อตัวร่างกาย ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมันไม่ได้เกิดขึ้นจากการเขียนขึ้นเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษร แต่หากจะเกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาลที่ตัดสินคดี และวางให้สิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะฉะนั้นหลักของกฎหมายที่มีลักษณะเป็นรัฐธรรมนูญ เกิดขึ้นจากคำพิพากษาของศาล ซึ่งกฎหมายเป็นใหญ่สูงสุดเป็นสิ่งที่บ่งบอกความหมายในตัว
นิติรัฐ คือ กฎหมายต้องเป็นใหญ่ ซึ่งกฎหมายต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 2. ต้องมีการแบ่งแยกการใช้อำนาจ ต้องกระจายไปในแต่ละองค์กร 3. เมื่อมีการแบ่งแยกอำนาจแล้ว นิติบัญญัติก็ออกกฎหมาย คนที่ค่อนข้างมีอำนาจกว้างขวางก็คือฝ่ายบริหาร ซึ่งต้องใช้อำนาจไปพัฒนาบ้านเมือง เพราะฉะนั้นจึงมีหลักว่า การใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายปกครอง ซึ่งมือไม้ของฝ่ายบริหาร ต้องถูกตรวจสอบได้โดยองค์กรที่ใช้อำนาตุลาการ ไม่ว่าจะเป็นศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง ว่าถูกต้องหรือไม่ เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ 4. กฎหมายที่ออกมาจะต้องไม่ขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญ 5.สายตุลาการต้องมีอิสระในการพิพากษา
นายอักขราทร กล่าวด้วยว่า ตนมีความโชคดีที่มีโอกาสได้นำตุลาการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้ให้สติให้โอวาท ว่า ถ้าทุกคนรู้ว่าตนเองมีหน้าที่อะไร และทำหน้าที่ตรงนั้นให้ดีที่สุดแล้ว คือถ้าทุกคนปฏิบัติตามหน้าที่ที่มีอยู่และทำให้ดีที่สุด ก็จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าทำไม่ดี คนหนึ่งทำ คนนั้นไม่ทำ นั่นมันคือปัญหาใหญ่ของบ้านเมือง ซึ่งทุกคนควรทำหน้าที่ของผู้ที่มีหน้าที่ให้ดี ซึ่งต้องทำที่ควรจะถูกให้มันถูกต้อง แต่สิ่งที่ไม่ควรทำก็ไม่ต้องทำ หรือสิ่งที่ควรจะทำแต่กลับไม่ยอมทำมีคนบางกลุ่มมองกระบวนการยุติธรรมเป็น 2 มาตรฐาน จะทำเช่นไรดึงความเชื่อมั่นและศรัทธาคืนมา
ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวต่อไปว่า ตนจะเตือนสติข้าราชการศาลปกครองสูงสุดตลอดเวลา ว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งวันนี้เราอาจไม่ได้รับความยุติธรรม เราอาจมีความเจ็บช้ำน้ำใจอยู่ในใจต่าง ๆ นานา ๆ แต่ถ้าโดนบ่อยครั้ง เรื่องนั้นก็โดนเรื่องนี้ก็โดนหมักหมมไว้มันสามารถระเบิดได้ง่าย เพราะฉะนั้นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในบางพื้นที่ในบ้านเรา ซึ่งก็เกิดมานานถ้าลองไปวิเคราะห์ดู จะรู้ว่าคนส่วนหนึ่งอาจจะไม่ได้รับความยุติธรรมบางอย่างมา จึงเกิดปัญหาเรื้อรัง ซึ่งเมื่อเกิดระเบิดขึ้นมาอาจจะคุมไม่อยู่ ซึ่งตนต้องเตือนพวกเราเสมอการให้ความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นหน้าที่ของเรา ซึ่งเมื่อพูดบอกกันมันเป็นเรื่องที่พูดง่าย แต่ถ้าลองคิดตามไปนิดหนึ่งว่า ถ้าเราเชื่อว่าการให้ความยุติธรรมเป็นบุญกุศล ตนคิดว่าผู้มีหน้าที่ตุลาการ หรือคนที่มีหน้าที่ช่วยตุลาการ เป็นเจ้าหน้าที่ ก็ได้ทำบุญกุศลทุกวัน ทำได้ตลอดเวลา โดยจะมีสิ่งตอบกลับเป็นบุญกุศลแก่ครอบครัว แก่ตนเองและสังคมได้ตลอดเวลา ซึ่งตนมองว่ามันดีกว่าไปปล่อยนก ปล่อยปลา และเป็นการทำได้ทุกวันด้วย
"คนเราจะทำบุญทำได้ทุกวัน โดยเฉพาะการให้ความยุติธรรม เพราะคนเราจน ไม่มีเงิน ยิ่งมาเจอความไม่ยุติธรรมแล้ว มันก็สะสมมากเหมือนลูกระเบิด ผมจะเชื่อในจุดนี้มาก เพราะฉะนั้นปัญหาต่าง ๆ ก็ต้องแก้ให้ถูกจุด ผมไม่เคยคิดว่ามี 2 มาตรฐาน สำหรับคนที่ทำงานตรงไปตรงมา เพราะถ้ามันอยู่บนความถูกต้อง อธิบายได้ ซึ่งเมื่อคนที่ทำหน้าที่มีเหตุผล ผลตามมาคนจะต้องเข้าใจอะไรถูกต้อง ไม่ถูกต้อง" นายอักขราทร กล่าว
คดีความบางอย่างศาลตัดสินไปแล้วแต่มีคนไม่ยอมรับ ออกมาต่อต้านโจมตี ซึ่งอาจทำให้มองศาลไม่มีความเป็นกลาง
ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวว่า คือเมื่อเป็นคดีความ บางเรื่องอาจไม่เป็นคดีความ ความเห็น ซึ่งคดีต้องมีถูกมีผิด มีความเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย คนที่พอใจก็เห็นด้วย คนไม่พอใจก็ไม่เห็นด้วย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการตัดสินที่การให้ชี้ขาดอะไรก็แล้วแต่ต้องไปตรงมา อธิบายได้ ซึ่งคนที่เป็นกลางและไม่ได้เกี่ยวข้องจะเข้าใจเองว่าข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้ ข้อกฎหมายต้องเป็นเช่นนี้ ซึ่งผู้ปฏิบัติหน้าที่ก็ปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้อง ซึ่งตนมองว่าไม่ต้องกลัว ถ้าเรายืนบนความถูกต้อง ซึ่งศาลก็ไม่ใช่จะไปตัดสินใครก็ตัดสินได้ โดยกรอบใหญ่คือรัฐธรรมนูญ กรอบถัดมาคือกฎหมายของบ้านเมือง และความเป็นธรรมความยุติธรรม
นายอักขราทร กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมจะต้องตั้งหลักให้หมั่น ต้องอยู่ในจุดยืน เข้าใจหน้าที่ ทำให้ดีที่สุด ซึ่งทุกวันนี้มีสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเราใช้กฎหมายไม่ค่อยเป็น ใช้กฎหมายเหมือนศรีธนญชัย เปิดตามหนังสือ แต่ไม่เข้าใจว่าเจตนาผลที่แท้จริงเป็นเช่นไร ซึ่งการใช้กฎหมายต้องแปลให้ตรงกับเจตนารมย์ของกฎหมาย ซึ่งอันนี้ต้องเป็นวิธีที่ต้องใช้กัน
เมื่อมีคนทำผิดอยู่บ่อยครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ยังเรียกร้องต้องการ กฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อให้พ้นผิด และอาจจะมีบางคนพยายามชี้แจงว่าได้ทำความดีลบล้าง ตรงนี้มีแนวโน้มทำได้หรือไม่
นายอักขราทร กล่าวว่า กฎหมายคงไม่เหมือนพระพุทธศาสนา เพราะว่าการกระทำผิด ก็ต้องว่าไปตามผิด ก็ต้องดำเนินคดีไป คงจะนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้
หลังเกษียณอายุราชการปลายเดือนตุลาคมนี้ จะเข้าไปมีส่วนช่วยงานทางการเมืองหรือไม่
นายอักขราทร กล่าวว่า ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองทำไป ตนมีหน้าที่ต้องไปเลี้ยงหลาน และสิ่งที่เราสามารถทำได้คือการให้ความรู้ ซึ่งถ้าจำเป็นก็ต้องมีเหตุเกี่ยวพันธุ์ โดยไปบรรยายพิเศษ ให้ความรู้ เพราะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงที่จะไปมีบทบาท ซึ่งก็ไม่ควรทำด้วย ควรให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงบทบาทที่ถูกต้อง
ถ้าการเมืองเกิดวิกฤติมากจนต้องการคนดีอย่างท่านไปเป็นนายกรัฐมนตรีช่วยบริหารบ้านเมือง จะตอบรับหรือไม่
นายอักขราทร กล่าวว่า การเมืองกับตนไม่เคยคิด เพราะการเมืองอยู่ในทุกคน เกี่ยวพันธ์กับคนทุกคนแล้วแต่มากน้อยหรือมองในมุมไหน หรือการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพลเมืองในสิ่งที่ทุกคนจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งไม่มีใครบอกได้หรอกว่าคนนั้น เป็นคนดี มันเป็นเรื่องที่พูดยาก ซึ่งมันมีสิ่งหนึ่งที่บ้านเราขาดคือการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ ซึ่งเราไม่มีแบบอย่าง ไม่มีวิธีคิด ไม่มีวิธีที่จะเรียนรู้ แต่คนในต่างประเทศในความสนใจตรงนี้มาก โดยเฉพาะนักกฎหมาย เพราะสิ่งต่าง ๆที่มันเกิดขึ้นมันวนอยู่ในสังคมไทย ซึ่งมันก็เคยเกิดในประเทศต่าง ๆ มาแล้ว ซึ่งในที่สุดมันเป็นยังไง แก้ไขกันอย่างไร แต่เราไม่ได้ศึกษา ว่ามีบางประเทศรบกันมายาวนานเป็น 10 ปี 20 ปี เขาแก้กันอย่างไร
"ซึ่งคุณเชื่อหรือว่าพวกเรารักกันปรานจะกลืน ผมไม่เชื่อ แต่ว่าในสังคมสมัยใหม่จะอยู่ร่วมกัน จะค้าขาย จะเจริญรุ่งเรือง เป็นวัฒนธรรมอย่างไร แต่ว่าในลึก ๆ ข้างใต้ ผมบอกไม่ถูก เพราะฉะนั้นมีคำอธิบายประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง อธิบายได้เพราะคนแต่ละประเทศจะมีคำอธิบายได้ว่าการเลือกตั้งแต่ละครั้ง จะต้องหาผู้นำที่เก่ง จริง ๆ จะได้สู้กับประเทศอื่นเขาได้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปสอนเลยว่าต้องอย่าซื้อเสียง ต้องเลือกคนดี ไม่ต้องไปสอน มันอยู่ในสายเลือด ดีเอ็นเอของคน แต่ของเราไม่มีประสบการณ์แบบนั้น เพราะฉะนั้นเราก็เวียน วาย ตาย เกิด อยู่อย่างนั้น" นายอักขราทร กล่าว
ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวต่อไปว่า การบังคับใช้กฎหมายก็เป็นอันหนึ่ง ซึ่งถ้าตรงไปตรงมาแล้วก็อธิบายได้ อย่างที่ตนว่าก็เป็นหนทางหนึ่งในการแก้ปัญหา ซึ่งอีกหนทางหนึ่งก็คือสื่อมวลชน ต้องทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในข้อเท็จจริงต่าง ๆ ให้ถูกต้อง คือหมายถึงต้องเผยแพร่สิ่งที่เป็นความจริง ที่เกิดจากอะไร เพราะอะไร ให้ละเอียดและครบถ้วน ที่สำคัญสื่อมวลชนเห็นอะไรมากกว่าคนอื่น มากกว่าชาวบ้าน ซึ่งเมื่อทุกอย่างจะออกนอกลู่นอกทาง สื่อมวลชนที่ดีต้องบอกให้รู้อะไรถูกอะไรผิด ซึ่งอาจช่วยได้
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้มีสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะเราไม่มีข้อมูลที่สมบูรณ์มากพอที่จะตัดสินใจได้เอง เมื่อไม่มี เมื่อได้เชื่ออะไรไปแล้ว มันก็ถอยกลับหลัง
ถามย้ำเกษียณแล้วเลี้ยงหลานอย่างเดียวหรือ ไม่เกี่ยวการเมืองหรือ
นายอักขราทร กล่าวว่า ตนขอรับใช้สูงสุดเท่านั้น ไม่เคยคิดเป็นลูกน้องใคร
การที่หลายฝ่ายพยายามสร้างความปรองดอง ประสานให้มีความสมานฉันท์ หรือจะถึงขั้นต้องตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ท่านมองอย่างไรถือเป็นแนวทางสามารถแก้ปัญหาบ้านเมืองได้หรือไม่
นายอักขราทร กล่าวว่า ตนไม่รู้ ตนไม่ค่อยคิด ไม่รู้มันจะแก้อย่างไร ไม่รู้ว่ามีเหตุอย่างนี้ต้องอธิบายอย่างไร ต้องอธิบายตรงไหน นึกไม่ออก แต่คนบางคนคิดว่าทำได้ ก็ทำไป ใครที่มีหน้าที่ก็ทำไป เรามีหน้าที่ดูแลด้านกระบวนการยุติธรรม ซึ่งตนมองว่าของบางอย่างจะต้องเป็นผู้นำ ที่นำทุกอย่าง ประเทศต่าง ๆในโลก ที่เวลามีวิกฤต คนที่นำต้องนำจริง ๆ นำให้ถึงจุด ไม่ใช่แค่เป็นผู้นำรัฐบาล ต้องนำในความคิด นำในแนวทางไปในแนวทางจุดสุดยอดที่แท้จริง
"ผู้นำที่ว่านี้คือผู้นำแบบสเตดแมน ไม่ใช่ผู้นำรัฐบาล ผู้นำรัฐบาลก็ว่าไปตามระบบการเมือง แต่ผู้นำที่ว่านี้ต้องเป็นผู้นำที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยวมากกว่าผู้นำในทางการเมือง" นายอักขราทร กล่าว
เหตุการณ์บ้านเมืองจะสงบสุข หรือเกิดการปรองดองหรือไม่
นายอักขราทร กล่าวว่า ตนเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์พระสยามเทวาธิราช ซึ่งเราผ่านเหตุการณ์ที่นั้นมาแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าจะพึ่งท่านอย่างเดียว จนไม่ทำอะไรกัน แต่ในที่สุดแล้วก็มีความรู้สึกรอดไปได้เพราะพระสยามเทวาธิราช ซึ่งตนเชื่อว่ามีจริง โดยแนวทางที่แก้ วิธีคิดวิธีการ ความร่วมมือต้องสำเร็จได้เพราะทุกคนต้องร่วมมือกันจริงจัง ซึ่งไม่ใช่เพียงคนใดคนหนึ่ง ทุกคนต้องรู้ต้องเข้าใจในปัญหาที่ดี ถึงจะประสานกันได้ ซึ่งต้องปล่อยให้เหตุการณ์และสังคมช่วยกันดูแลบ้านเมือง
มองอนาคตศาลปกครองสูงสุดอย่างไร
นายอักขราทร กล่าวว่า เราต้องพัฒนาไปตามระดับ ต้องวางระบบคนให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง ทั้งด้านวิชาการ ด้านความรู้ ให้คนคิดเป็น คิดให้ถูกต้อง ถ้าคิดไม่ถูกจะเดินเป๋ตั้งแต่ต้น ซึ่งการปฏิบัติตนของตุลาการ จะย้ำอยู่เสมอต้องเป็นคนสื่อตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก ซึ่งทุกคนต้องยึดมั่นถือมั่น แม้จะต้องมีการคบหาสมาคม แต่ก็ต้องมีจุดยืนที่ไม่เอนเอียง เพื่อพรรคพวกเพื่อนฝูง เพราะถ้าเราคิดจะช่วยเพื่้อน แล้วคนอื่นได้รับความยุติธรรมหรือไม่ ให้ตระหนักตรงนี้ ซึ่งแทนที่จะเป็นบุญกุศล แต่กลับทำกรรม ซึ่งคนที่ทำหน้าที่ตุลาการในสังคมไทยจะต้องระมัดระวังให้มาก เพราะนับวันจะรุนแรงขึ้นทุกวัน ซึ่งต่างชาติจะไม่มีอย่างนี้
อย่างที่เขาว่าระบบยุติธรรมแทงแซง ครอบงำได้ ในความเป็นจริงเป็นเช่นไร
นายอักขราทร กล่าวว่า อันนี้มันก็เหมือนกันทุกองค์กร มันมีโอกาสที่ไม่เป็นไปในสิ่งที่ควรจะเป็น แต่ว่าเราต้องพยายามไม่ให้เป็นอย่างนั้น ต้องรู้ตัวว่าหน้าที่ของเราต้องทำอะไร ซึ่งหากใครจะแทรกแซงมันจะกระทบในจุดใด แต่ถ้ากระบวนการยุติธรรมมันกระเทือนแรง เพราะฉะนั้นเราต้องอบรมบ่มนิสัย พูดจากันให้ทำให้สิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับสังคมภายนอกต้องตรวจสอบในเชิงเหตุผล
การพิพากษาในแต่ละคดีทำไมไม่มีความเป็นเอกฉันท์
นายอักขราทร กล่าวว่า ต้องถือระบบองค์คณะ มันไม่มีทางที่เป็นเอกฉันท์ แต่ก็มีเป็นเอกฉันท์เหมือนกัน ซึ่งคนไม่เห็นด้วยก็ต้องแย้งได้ด้วย ซึ่งถ้าระบบของศาลปกครอง ก็จะมีวิธีการตรวจสอบขององค์คณะ เมื่อไม่เห็นด้วยเพราะอะไร และต้องมีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำออกตีแผ่ให้สาธารณชนเข้าใจด้วยว่า ไม่เป็นเอกฉันท์เพราะอะไร
โดย: aa [14 ก.ย. 53 14:25] ( IP A:58.8.210.182 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน