ความคิดเห็นที่ 6 ขอรวบยอดตอนท้ายนี้ ซึ่งไม่ใช่ท้ายที่สุดว่า
ความผิดพลาดเป็นเรื่องปรกติของมนุษย์ (หมอ) แต่การปิดบังความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ให้อภัยไม่ได้ ( สภาแพทย์โจร เป็นแกนนำและผู้ปฏิบัติด้วยพร้อมกันไปในการปิดบัง) การล้มเหลวที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดก็เป็นเรื่องที่ยกโทษให่ไม่ได้ (ก็อีก สภาแพทย์โจร ไม่รับรู้และไม่ยอมเรียนรู้ แต่มุ่งโกหก บิดเบือน เรื่อยไปถึงทุจริตต่อหน้าที่และ รวมทั้งยุยงปลุกปั่นให้เกิดการขัดแย้งระหว่างหมอกับคนไข้จนถึงฆ่ากันตาย )
พวกเราหมอทุกคนต่างล้วนทำเรื่องผิดพลาดได้ทั้งสิ้น แต่มันเป็นหน้าที่ (ทั้งโดยสามัญสำนึก และโดยสำนึกที่ถูกต้องแห่งจรรยาบรรณในวิชาชีพ) ของเราที่จะทำให้มั่นใจได้ว่า มันจะไม่ไปทำอันตรายกับใครได้อีก
วาทะอมตะอันเป็นที่สุดของท่าน Sir Liam Donaldson, ex. Chief Medical Officer/England
คห ที่ ๑ - ๔ นั้น เที่ยงตรง+ถูกต้องแล้ว ขอเน้นที่ คห ที่ ๔
ส่วน คห ที่ ๕ นั้น ที่ท่านเชื่อยากก็เพราะท่านรับรู้ข่าวสารเอียงข้างใดข้างหนึ่งมากไป หรือไม่ก็ ได้รับข้อมูลข่าวสารไม่ครบถ้วน ไม่เที่ยงตรงในทั้งสองฟากของหมอและคนไข้
ซึ่งขอเดาว่า มาจากข้อจำกัดของสังคมแวดล้อมของท่านในวิชาชีพ ที่ไว้ใจและเชื่อใจคนในอาชีพเดียวกัน มากกว่าคนไข้ที่ต่างอาชีพและดูเหมือนอยู่ฝั่งตรงข้าม
ขอเตือนมายังหมอวัยละอ่อนทุกๆท่านว่า ขอให้ท่านมองภาพใหญ่สุดของสังคมทั้งประเทศนี้ ซึ่งผมจะชี้ว่า ประชากรหมอของทั้งประเทศนี้ ณ. วันนี้ ก็ไม่เกิน 50,000 คน ให้รวมทุกๆคนที่อยู่ในวงวิชาชีพหมอด้วยก็ไม่เกิน 270,000 คน ที่เหลือ 63 เกือบ 64 ล้านคน หากท่านมีจิตเมตตาตามสำนึกแห่งวิชาชีพที่ถูกต้อง ท่านจะเข้าใจว่า คนจำนวนสุดท้ายที่ผมว่าที่ตกทุกข์ได้ยากจากอาการเจ็บป่วยนี้ จำเป็นที่ต้องได้ความช่วยเหลือเฉพาะจากคนในอาชีพท่านเท่านั้น ไม่มีวิชาชีพอื่น ฉะนั้น หากท่านมีสำนึกถูกต้อง จะเห็นว่าท่านมีโอกาสทำบุญ "ใหญ่" กับคนได้ทุกๆวัน
แต่ถ้าท่านคิดแบบหมออีกหลายคนในแพทยสภา ในแพทยสมาคม ว่า คนไข้เป็นงูเห่า และ ท่านก็เป็นถึงชาวนา ผู้มีบุณคุณ ที่ทำอะไรผิดพลาดแล้วก็ไม่ยอมรับ ไม่รับผิดชอบ ไม่ช่วยแก้ไข
เป็นผู้ที่ต้องอยู่เหนือการแตะต้อง/การสอบสวนกล่าวหาทั้งหลายทั้งปวงล่ะก็ ท่านก็จะไม่มีวันทำงานได้อย่างมีความสุขตลอดไป
ลองคิดดูว่า ในบ้านที่ท่านเป็นหมออยู่เพียงคนเดียว พ่อแม่ พี่น้อง เรื่อยลงไปถึงคู่ครองและลูกหลาน ต่างมีสถานะเทียบเท่ากับเป็นงูเห่าอย่างที่ท่านคิดได้ทั้งนั้น
แล้วมองย้อนไปอีกภาพ พระบรมราชชนกที่ทรงสิ้นไปทั้งๆที่พระชนม์เพียงต้น ๔๐ พร้อมกับโรคประจำพระองค์ แทนที่จะเสวยสุขตามฐานันดรแห่งราชสกุลถนอมรักษาพระองค์เอง สมเด็จย่าฯ ที่พระชนม์กว่า ๗-๘ สิบพระชันษาแล้ว แทนที่จะเสวยสุขอยู่กับพระตำหนักท่ามกลางข้าราชบริพาร แต่กลับทรงตระเวณพาคณะแพทย์อาสาเสี่ยงฝ่าดงกระสุน/กับระเบิด/พาหนะเก่าๆที่ไม่แน่ว่าจะร่วงหล่นลงเมื่อไร ตระเวณเร่ร่อนไปเที่ยวรักษาคนยากตามที่ห่างไกลและแม้กระทั่งสมรภูมิรบ
สองพระองค์นี้เป็น "ตัวอย่างอมตะ" ที่แสดงการมีสำนึกที่ถูกต้องของการเป็นแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ
ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลเรื่องจริงที่รับรู้ได้ และพวกท่านในวิชาชีพนี้เลือกที่จะคิด เลือกที่จะทำเลียนแบบได้
ทั้งนี้และทั้งนั้น ท่านเองเท่านั้นที่เป็น "คนเลือก" ใครก็บังคับท่านไม่ได้!! |