ปัญญาอ่อน หรือปัญญาดี พิสูจน์ได้ไม่ยาก
   มติชนรายวัน : หนังสือพิมพ์คุณภาพ
เพื่อคุณภาพของประเทศ

[Home> มติชนรายวัน
วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 11879 มติชนรายวัน
เบื้องหลังมาตรา 41 กม.หลักประกันสุขภาพฯ : แก้ได้ หรือไม่ยอมแก้
โดย นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์ประสาท รพ.ราชวิถี
เมื่อวันที่ 13 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) มีมติไม่ขยายมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ทั้งๆ ที่บอร์ด สปสช.มีอำนาจดำเนินการได้ จากมาตรา 13 กำหนดให้มีคณะกรรมการ สปสช. หรือบอร์ด สปสช. โดยมี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน โดยมาตรา 18 กำหนดให้บอร์ดตามมาตรา 13 มีอำนาจหน้าที่ในการให้คำแนะนำรัฐมนตรี
สธ. ในการดำเนินการออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ ที่สำคัญในมาตรา 18(4) ยังให้อำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์
ระเบียบและวิธีการการจ่ายเงินช่วยเหลือตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 โดยกำหนดให้กันเงินร้อยละ 1 ของที่จะจ่ายให้สถานพยาบาลไว้เพื่อการช่วย
เหลือผู้รับบริการ ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้น
จริงๆ แล้วจุดเริ่มของเรื่องนี้มาจากความเห็นที่ไม่ตรงกันอย่างรุนแรงต่อ "พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ..." เกิดจาก
บุคคล 2 กลุ่ม คือ 1.แพทย์พยาบาลผู้ปฏิบัติงานตัวจริง ซึ่งปัจจุบันแพทย์ทั่วประเทศที่ยังทำงานจริงพบไม่เกิน 20,000 คน ดูแลคนไทย 70 กว่า
ล้านคน และ 2.แพทย์และอดีตพยาบาลกลุ่มหนึ่งที่อยู่เบื้องหลัง สปสช.ซึ่งทำงานบนโต๊ะในห้องแอร์ วนเวียนกับการประชุมและจับผิดผู้ปฏิบัติงาน
ตัวจริง ซึ่งกลุ่มที่สนับสนุนให้เหตุผลหลักว่าเพื่อให้ผู้ป่วยที่เรียกตนว่าผู้เสียห ายตามมาตรา 5 ของร่างนี้สามารถรับเงินเยียวยาก้อนใหญ่ที่มากกว่า
มาตรา 41 ที่ในปัจจุบันกำหนดเยียวยาเพียง 200,000 บาท โดยการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาใหม่จะมีขนาดใหญ่โตกว่ามาตรา 41 เดิมหลายเท่าตัว
ขณะที่ผู้คัดค้านยกเหตุผลว่าหากต้องการเงินที่มากกว่า 200,000 บาท ทำไมจึงไม่ขยายวงเงินตามข้อบังคับ สปสช.ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน
ช่วยเหลือกรณีมีผู้เสียหาย พ.ศ. 2550 ซึ่งลงนามโดยอดีตรัฐมนตรี สธ. นพ.มงคล ณ สงขลา" ซึ่งวิธีดังกล่าวทำได้โดยบอร์ด สปสช.ประชุมกัน
โดยมีรัฐมนตรี สธ. เป็นประธาน และลงมติเพิ่มวงเงินช่วยเหลือได้ทันที
ไม่เพียงเท่านี้ ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายฯยังให้เหตุผลว่า เงินตามมาตรา 41 ช่วยเหลือเฉพาะผู้อยู่ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ
คือผู้ป่วยบัตรทอง แต่ไม่ครอบคลุมผู้ป่วยประกันสังคม และข้าราชการรัฐวิสาหกิจ ซึ่งปมประเด็นนี้ผู้คัดค้านร่างกฎหมายก็แนะนำให้รัฐมนตรี สธ.
พร้อมบอร์ดทำการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เดิมให้ขยายความครอบคลุมออกไปให้กว้างขวาง แต่ที่สุดคำตอบ คือไม่ขยายเพราะมีปัญหา
ข้อกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ อีกทั้งเห็นว่าจะเป็นการไปนับหนึ่งใหม่และยุ่งยาก
จริงๆ แล้ว ปัจจุบันมีนักกฎหมายหลายท่านยืนยันว่า ทำได้ โดยเสนอแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯเพียงไม่กี่มาตรา ไม่ใช่แก้ทั้งฉบับ จึงไม่
ต้องกลัวเสียเวลา ดูอย่างกฎหมายที่มีศักดิ์ใหญ่กว่าอย่างประมวลกฎหมายอาญา ยังมีการแก้ไขให้ทันสมัยอยู่ตลอด หรือให้ทันสมัยหน่อยก็ดูที่รัฐ
ธรรมนูญยังแก้ไขมาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว และอย่าลืมว่าขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯก็ยังไม่ได้รับการพิจารณาจากสภา ยิ่งขณะนี้อยู่ใน
สถานภาพติดลบ เพราะมีแรงต่อต้านจากบุคลากรที่ไม่ยอมเป็นทาสของคนบางกลุ่มอีกต่อไป การบอกว่าให้ไปแก้ในกรรมาธิการสภาฯ สำหรับ
กฎหมาย 50 มาตรา ประมาณเกือบ 10 ร่างฯ รวมแล้วเกือบ 500 มาตรา กับการแก้ไขมาตรา 41 เพียงมาตราเดียว อันไหนจะง่ายกว่ากัน
ด้วยเหตุดังกล่าวมติของบอร์ด สปสช.ที่ไม่ยอมขยายมาตรา 41 จึงฟังไม่ขึ้น เหตุผลที่ผู้อยู่วงในเชื่อคือ น่าจะนำมตินี้มาใช้อ้างเพื่อผลักดันร่าง พ.ร.
บ.คุ้มครองฯที่กำลังมีปัญหานี้ต่อไป ด้วยเกรงว่าหากขยายมาตรา 41 แล้วจะทำให้ร่างกฎหมายนี้แท้งไปในที่สุด อย่างไรก็ตาม หากมีการแก้ร่าง
มาตรา 41 จริงๆ ทำได้ไม่ยาก ยกตัวอย่าง
มาตรา 41 ให้คณะกรรมการกันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่งของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริกา รไว้เป็นเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้รับหรือผู้ให้บริการทั้งใน
ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบหลักประกันสังคม ตลอดจนผ่านระบบสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ในกรณีที่ผู้รับหรือผู้ให้บริการได้
รับความเสียหายจากการให้หรือรับบริการสาธารณสุขในหน่วยบริการหรือสถานพยาบาล
เงินที่มีการจ่ายให้ตามวรรคแรกให้สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสา มารถเรียกคืนได้จากสำนักงานหลักประกันสังคม หรือกรมบัญชี
กลาง
เห็นได้ชัดว่า สามารถดำเนินการได้ ซึ่งหากบอร์ด สปสช.ทำได้จริงข้างต้น คงได้รับความชื่นชมจากประชาชนทุกคนอย่างแน่นอน
หน้า 5
โดย: ส่งกฤษฎีกาส่งไปถามซิโวยอยู่ได้ [20 ก.ย. 53 8:58] ( IP A:58.8.15.140 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ถ้าจะแก้มาตรา 41 มาใช้เงินเขา ก็ไม่ต้องแก้ เพราะพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2539 เขาก็ใช้ให้ได้ไม่อั้น
เพียงแต่
1.เวลาเขียนขอเงินที่ไรก็ไม่มีมูล
2. พวกแกก็หาว่าไล่เบี้ย ทั้งๆที่ไม่เคยมีกรณีไล่เบี้ย
3. เงินที่ใช้มันเงินหลวง เงินคลัง เป็นเงินภาษี ครู กรรมกร วิศวกร (ยกเว้นวิศวกรเมียเป็นหมอ คงไม่เดือดร้อน

แต่ พรบใหม่ เป็นแบบนี้
1 เขียนขอเงิน ก็คงจะมีปัญหาทุก พรบ หรือทุกมาตรา(41) แบบเดิม
ก็มันกันไว้พันล้านจ่าย 78 ล้าน ห จริงๆ
2.ไม่ต้องไล่เบี้ยใคร เพิ่มเบี้ยพวกชุ่ยมาก
3 เงินชาวบ้านช่วยกันเอง ไม่เดือดร้อนคลัง ไม่เดือดร้อนภาษีวิศวกร หรือภาษีครู หรือกรรมกร

ที่สำคัญ เงินของอีกที่ จะไปเอาโดยให้อีกคนออกกฎข้อบังคับมันไม่ได้ มีคนเดียวที่สั่งให้ไปเอาเงินคนอื่นได้ ก็คือศาล
โดย: ไอ้งั่งปัญญาอ่อนคิด ไม่ต้องเชื่อ [20 ก.ย. 53 9:06] ( IP A:58.8.15.140 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
    เงินที่มีการจ่ายให้ตามวรรคแรกให้สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสา มารถเรียกคืนได้จากสำนักงานหลักประกันสังคม หรือกรมบัญชี
กลาง
โดย: คิดมาได้ ใครจะยอมจ่าย [20 ก.ย. 53 9:07] ( IP A:58.8.15.140 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน