ชำแหละ พรบ ผู้ได้รับผลกระทอก
|
ความคิดเห็นที่ 1 เห็นไหมสุดท้ายก็มีคนชำเรา เอ้ย ชำแหละแทนผม ถ้าเป็นผมชำแหละ รับรองได้ ไม่มีชิ้นดี ผมชำแหละให้พวกเราดูกันเองทางอีเมล์ ผิดเสียที่ไหน นักกฏหมาย ถ้าใจเป็นธรรมคิดมาก็ต้องเหมือนกัน มันสำคัญที่ใจ จบอะไรมาไม่สำคัญหรอก ปริญญาหางว่าวก็โง่ได้ ที่ไม่อยากชำแหละผ่านเว็บ ก็อยากให้พวกโง่ได้โง่ต่อไป อยากเป็นตาบอดคลำช้าง ก็ยินดีสนับสนุน คลำกันเข้าไป พูดเอง เออเอง เจ๋ง สุดยอด ปลอดมลพิษ คิดได้แจ๋วสุดๆ ฯลฯ ห เอ้ย พวกกบในกะลา | โดย: ไม่ต้องเปลืองตัว [24 ก.ย. 53 2:44] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 2 นายดล บุนนาค นักกฎหมายศาล ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลประจำสำนักประธานศาลฎีกา กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้ดี แต่ยังมีข้อบกพร่อง อย่างมาตรา 3 สำหรับคำนิยามของผลกระทบ ให้หมายถึงภาวะความพิการ การสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งแสดงว่าหากเสียชีวิต หรือภาวะแท้ง จะไม่จ่ายค่าชดเชยหรืออย่างไร มาตรา 5 ตรงนี้เห็นด้วย เพราะร่าง พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลไม่มี คือ ภายใต้ภาวะเร่งด่วนที่เป็นไปเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยหรือทารกในครรภ์ให้พ้นจากอันตรายต่อชีวิตหรือความพิการใดๆ หากการกระทำก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ ผู้ประกอบวิชาชีพย่อมได้รับความคุ้มครอง
นายดล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการพิจารณาเปรียบเทียบร่างทั้ง 2 ร่าง คือ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับรัฐบาล และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบ ฉบับของแพทย์ นั้น มีความเห็นว่า กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้สามารถที่จะบูรณาการหลักบางข้อมาใช้ร่วมกันได้ เช่น ระบบไกล่เกลี่ยนั้นเป็นข้อดีของฉบับรัฐบาล ขณะที่ พ.ร.บ.ที่เป็นฉบับของแพทย์นั้นก็มีข้อดีของเรื่องของการเสนอแนะให้หาทางออกของยุติการฟ้องร้อง เพื่อป้องกันการจ่ายเงินชดเชยที่ซ้ำซ้อน แต่ก็ยังไม่ชัดเจนในรายละเอียด ซึ่งผมคิดว่าสามารถปรับปรุงได้ และหากมีการผสมผสานหลักการอย่างลง ตัวของทั้ง 2 ร่างแล้วนำเสนอเข้าสภา ก็จะทำให้ขั้นตอนของการพิจารณาเป็นไปอย่างรวดเร็วและได้กฎหมายที่สมบูรณ์ ตรงใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งในส่วนของข้อเสนอแนะนี้ปัญหาติดอยู่ที่หน่วยงานใดจะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการดังกล่าว
สิ่งหนึ่งที่น่าห่วง คือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ที่เสนอโดยกลุ่มแพทย์นั้น ไม่ได้ผ่านกฤษฏีกาแต่เน้นการเสนอเข้าที่ประชุมสภาฯ เลย นั่นหมายความไม่มีการขัดเกลาหลักการให้เป็นไปตามภาษาทางกฎหมาย อาจจะทำให้สภาฯมีความเข้าใจผิดเพี้ยนได้ นายดล กล่าว | โดย: คุณว่าอันนี้ท่านด่าหรือชม [24 ก.ย. 53 3:03] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 เวลาผมด่า ผมด่าเลย แต่หลักการด่าที่ดี เขาบอกว่าให้ชมว่าดีดีดี แต่ ห 1 ห 2 ห 3 ห ฯลฯ ผมนะไพร่เรียกพี่ พ่อก็บอกมึ ง เป้นหมอทีดีไม่ได้หรอก พุดจาขวานผ่าซาก แต่แม่สนับสนุนให้เรียนหมอ แม่ดีใจที่ผมเป็นหมอ ท่านเป็นศาล ปกติท่านก็น่าจะไม่ใช่สไตล์แบบผมนะ | โดย: ฟฟ [24 ก.ย. 53 3:07] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 คนเราเรียนกฎหมาย ก็แค่จบนิติศาสตร์ แต่คนที่เรียนจบกฏหมายจริงๆ ต้องได้ความรู้สึกรักความเป็นธรรมมาด้วย มิฉนั้นคุณก็แค่จบนิติศาสตร์ คนเรียนกฏหมายทีดี มักจะต้องโดนรังแกมาก่อน ไม่ใช่ต้องจบปริญญาใบที่ 2 ไม่เชื่อถามยายไฮดูไหมละ
| โดย: ฟฟ [24 ก.ย. 53 3:12] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ยายโดนรังแก ยายจึงเป็นนักสู้
| โดย: ทองพูน โคกโพ [24 ก.ย. 53 3:15] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 นี่ก็พวกชอบชูวิทย์ เอ้ยชูป้าย
| โดย: แรงดีก็ชูสูงๆ ชูนานๆนะเจ๊ [24 ก.ย. 53 3:18] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ขณะที่ ศ. นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส ศูนย์กฎหมายสุขภาพฯ กล่าวว่า เนื้อหาในมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบขัดหลักการปกครอง เนื่องจากระบุให้รัฐมนตรีออกประกาศโดยความเห็นชอบของสภาวิชาชีพ แสดงว่า มีอำนาจเหนือกว่าสภาวิชาชีพ ซึ่งไม่ใช่ เพราะสภาวิชาชีพมีกฎหมายของตนเอง และอยู่ภายใต้การดูแลของศาลปกครอง รัฐมนตรีไม่มีอำนาจในการสั่งการ อีกทั้ง รัฐมนตรีจากกระทรวงไหนก็ไม่ได้ระบุ หากเขียนกฎหมายแบบนี้คงผ่านไม่ได้ ขณะที่มาตรา 25 ระบุไว้ว่าให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังสมทบเงินเข้ากองทุน ก็ดูเป็นเรื่องยาก เพราะเรื่องนี้ต้องหารือหลายฝ่าย และมาตรา 44 ที่กำหนดให้ความผิดในคดีอาญาเป็นความผิดอันยอมความได้ หากเป็นความผิดอันเนื่องมาจากการให้บริการสาธารณสุข ซึ่งในความจริงแล้วความผิดตามกฎหมายอาญาแผ่นดิน อย่าง การทำให้คนเสียชีวิตเป็นกรณียอมความไม่ได้ ก็เปรียบกับผู้เสียหายฯ หากเสียชีวิตและมีการยอมความย่อมไม่ยุติธรรม เป็นแน่ ถ้าเรื่องแพทยสภา ผิดหลักการผ่านท่านนี้ไปไม่ได้หรอก ท่านเป็นคนร่าง พรบ วิชาชีพเวชกรรมมาแต่ต้น 2511 | โดย: ผ่านผู้เฒ่าไม่ได้หรอก อายุจะ 80 แล้ว [24 ก.ย. 53 3:22] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 แล้วทำไมต้องผลักไปก่อนเพื่อแก้ ในชั้น กมธ เหตุผล ก็เพื่อที่จะไม่แก้นั่น เอง พอ พรบ ผ่าน ก็จะตั้งกรรมการชั่วคราว ตรงนี้แหละที่น่ากลัว ตรงที่เว้นไว้ในช่องว่าง อยากใส่ตัวเลขอะไรก็ใส่ได้ | โดย: เลวชาติ [24 ก.ย. 53 6:47] ( IP A:182.52.124.144 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 ทำไมต้องโละไม่ก่อนไม่คุยในสภา ก็ไม่อยากให้มี ก็เป็นซะอย่างนี้ เข้าไปก่อน แก้ไม่แก้อีกเรื่องหนึ่ง คุณก็ไปสู้ซิ แน่จริงก็เข้าไปสู้ กฎหมายกิ๊กก็อกทำไมแก้ไม่ได้ รัฐธรรมนูญยังแก้มาแล้ว ไม่ใช่นักสู้นี่หว่า | โดย: เลวหลายชาติไม่ใช่แค่ชาติหน้า [24 ก.ย. 53 8:59] ( IP A:58.8.13.240 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 อจ.เมธี เยี่ยม ส่วน NGO พ่ายในเวทีตนเอง เรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองฯ ที่ธรรมศาสตร์วันนี้ เขียนโดย วิบูลาลา 23 ก.ย. 2010 23:09น. วันที่ 23 กันยายน 2553 เวลา 9.00-12.00 น. อจ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แจง ร่าง พรบ.คุ้มครองฯฉบับแพทย์ ท่ามกลาง NGO ผู้ผลักดันร่าง พรบ.ที่กำลังเป็นปัญหา ได้แก่ นส.สารี อ๋องสมหวัง นส.สุพัตรา นาคผิว นส.ยุพดี ศริสินสุ นายไพศาล ลิ้มสถิต นายนิมิตร เทียนอุดม ปรากฏว่านักกฎหมาย ผู้วิพากษ์ร่าง พรบ. ๒ ท่าน คือ ท่านผู้พิพากษา และ ท่านอัยการ ให้ความเห็นว่า ร่าง พรบ.ฉบับแพทย์ มีกรอบและบทมาตรา ที่ดีหลายข้อ ซึ่งร่าง พรบ.ฉบับรัฐบาลไม่มี นับได้ว่าเป็นฉบับที่ดีกว่าฉบับของรัฐบาล สำหรับ อจ.เชิดชู อจ.อรพรรณ์ และทีม trl หลายต่างๆ ได้ทักท้วงการจัดเวที และกล่าวถึงร่าง พรบ.ฉบับรัฐบาลที่NGOผลักดันนั้น จะให้มี NGO เป็นกรรมการใช้เงิน ซึ่งกรรมการลักษณะนี้มีตัวอย่างใน สปสช. ที่มีผู้เป็นเภสัชกร ไปใช้อ้างฐานะเป็นกรรมการในฐานะผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร ทำเอาผู้เกี่ยวข้องต้องกล่าวแก้เสียด้วย https://www.thaitrl.org/ | โดย: ชมหรือด่า [24 ก.ย. 53 12:54] ( IP A:58.8.13.240 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 ดีแต่ให้ส่งกฤษฎีกา | โดย: เอาปี๊ปคลุมหัว [24 ก.ย. 53 12:56] ( IP A:58.8.13.240 X: ) |  |
|