ความคิดเห็นที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 22:19:19 น. มติชนออนไลน์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับจำคุกหนัก14ปีลูก-เมียอดีตปลัดจังหวัดคดีบ้าน3หลังเมืองกาญจน์ยุค"เสธ.หนั่น"มท.1
เมื่อ 3 ปีที่แล้วศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้พิพากษายกฟ้อง คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางสาวปาจรีย์ เวสสบุตร จำเลยที่ 1 นางจุฑามาศ เวสสบุตร ที่ 2 นายธวัช ศิรกรวิไล ที่ 3 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ ความผิดต่อประมวลหมายที่ดิน อันเนื่องมากจากกรณีร่วมกันถือครองที่ดินและปลูกสร้างบ้าน 3 หลัง (ไร่สองพธู) ใน ต.ด่านแม่แฉลบ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี บริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษี และป่าเขาบ่อแร่ รวมเนื้อที่ประมาณ 90 ไร่ ที่อยู่ภายในอุทยานแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต
อีก 3 ปีต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้พิพากษากลับคำตัดสินของศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฎเป็นข่าวทางสื่อมวลชนแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าว"มติชนออนไลน์"รายงานว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษาจำคุกจำเลยทั้ง 3 คนละ 14 ปี แต่ทางนำสืบจำเลยทั้ง 3 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกคนละ 9 ปี 4 เดือน และให้ทั้ง 3 คน คนงาน ผู้รีบจ้าง ตัวแทน และบริวารออกจากป่าที่เกิดเหตุ (คดีหมายเลขดำที่ สวอ.112/2550 คดีหมายเลขแดงที่ 865/2553)
ศาลได้วินิจฉัยว่าเมื่อ บ้าน 3 หลัง และที่เกิดเหตุอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2524 ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า บ้าน 3 หลัง และที่เกิดเหตุอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ แม้บริเวณที่เกิดเหตุจะเป็นพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกาถอนการหวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ราชการทหารฯ พ.ศ.2529 หรือไม่ก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพอุทยานแห่งชาติก็ต้องถือว่า บ้าน 3 หลัง และที่เกิดเหตุอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อศรีนครินทร์ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าบ้าน 3 หลัง และที่เกิดเหตุไม่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์นั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีสิ่งแวดล้อม อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงฟังขึ้น ประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสามกระทำความผิดหรือไม่นั้น ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยได้ที่ดินมาในระยะเวลาหลังจากที่ทางราชการประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นเขตอุทยานแห่งชาติแล้ว ย่อมต้องถือว่าจำเลยทั้งสามทราบดีว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ และที่จำเลยทั้งสามนำสืบว่า เข้าครอบครองต่อจากนายประหยัด บิดาจำลเยที่ 1 และสามีของจำเลยที่ 2 ซึ่งซื้อสิทธิครอบครงต่อจากราษฎรที่ยึดถือครองทำประโยชน์อยู่ก่อนนั้น แต่ไม่ปรากฎว่าผู้ริเริ่มบุกเบิกก่นสร้างแผ้วถางดังกล่าวได้ขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นการได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายที่ดิน
เห็นว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสามนำสืบว่า ที่ดินที่เกิดเหตุนายประหยัดรับซื้อไว้จากผู้ครอบครองเดิมตั้งแต่ปี 2529 สภาพของที่ดินในตอนที่รับซื้อเป็นที่ดินที่แผ้วถางมาก่อนเพราะมีการทำประโยชน์โดยการปลูกพริก ข้าวโพด ละหุ่ง ฝ้าย และฟักทองก็ตาม
การที่จำเลยทั้งสามเข้ายึดถือครองที่เกิดเหตุและก่อสร้างบ้านพัก 3 หลัง แม้จำเลยทั้งสามจะไม่ได้เป็นผู้บุกรุกเข้าไปแผ้วถางก็ตาม ก็ถือได้ว่า จำเลยทั้งสามครอบครองป่าที่ได้ถูกแผ้วถางโดยมิชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำอันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพที่ดินของป่าและอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครรินทร์ โดยจำเลยทั้งสามไม่มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายหรือได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงต้องมีความผิดฐานร่วมกันยึดถือครอบครองป่าในเขตอุทยานแห่งชาติอันเป็นที่ดินตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่างชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 16(1) (4) ,24 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง 55 72 ตรีวรรค สอง และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9(1) (2) 108 ทวิ วรรค สาม ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ซึ่งเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ที่ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้องมานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์ ภาค 7 แผนกคดีสิ่งแวดล้อม อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงฟังขึ้นเช่นกัน
คำเบิกความของ "วิฑูรย์ ชลายนนาวิน" มีข้อน่าสงสัย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ศาลยังได้หยิกยกคำเบิกความของนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ผู้เชี่ยวชาญศาลในทางวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ กรมป่าไม้ ซึ่งมาเบิกความในฐานะพยานฝ่ายจำเลย เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2545 ว่า ที่ดินบริเวณเกิดเหตุอยู่นอกเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ทั้งที่ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายวิฑูรย์ ได้ยืนยันมาตลอดว่า บ้าน 3 หลัง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ โดยมีพยานหลักฐานซึ่งนายวิฑูรย์ ได้เคยมีหนังสือถึง พลตำรวจโท ล้วน ปานรสทิพ หัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีบ้าน 3 หลัง แจ้งให้ทราบว่าบ้าน 3 หลัง อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ และนายวิฑูรย์ ก็ไม่เคยโต้แย้งคัดค้านเลยว่า ผลการตรวจสอบนั้นไม่ถูกต้องตรงไหนอย่างไร และสอดรับกับพยานหลักฐานอื่นๆ ที่หน่วยราชการหลายหน่วยยืนยัน รวมทั้งสอดรับกับคำให้การของ นายดำรัส ศุขอร่าม และนายกิตติศักดิ์ ทิพย์สีแสงหรือทิตย์สีแสง ซึ่งเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศ กรมป่าไม้
แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาล นายวิฑูรย์ ได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการตรวจรายงานการประชุมและติดตามมติของวุฒิสภาเข้าตรวจสอบบ้าน 3 หลัง และที่เกิดเหตุ และยืนยันว่า การกำหนดตำแหน่งพื้นที่บ้าน 3 หลัง และที่เกิดเหตุลงในแผนที่ผิดพลาดคนละริมขอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์จากทางด้านทิศตะวันออกเป็นทิศตะวันตกของแม่น้ำแม่กลองเดิม จนกระทั่งคลาดเคลื่อนไปเป็นระยะทางถึง 8.1 กิโลเมตร ซึ่งศาลได้พิจารณาเห็นว่า การที่นายวิฑูรย์ มาตรวจสอบในชั้นคณะกรรมาธิการฯ ในขณะที่คดีนี้กำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาของศาล มีข้อให้ระแวงสงสัยในการตรวจสอบของนายวิฑูรย์ แม้นายวิฑูรย์ จะเป็นผู้เชี่ยวชาญของศาล
แต่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงความเห็นตามหลักวิชาการซึ่งเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลต้องฟังตามข้อสันนิษฐานหรือข้อพิสูจน์เป็นหลักฐานของผู้เชี่ยวชาญก่อนแต่อย่างใด ทั้งมิใช่ว่าผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นอย่างไร แล้วศาลต้องรับฟังเสมอไป ในเมื่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวมีข้อน่าสงสัยและขัดต่อเหตุผล จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางสาวปาจรีย์ และ นางจุฑามาศ เวสสบุตร เป็นลูกสาวและภรรยาของนายประหยัด เวสสบุตร อดีตปลัดจังหวัดกาญจนบุรี คนใกล้ชิดพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ขณะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยุคนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี | โดย: aa [24 ก.ย. 53 4:06] ( IP A:58.8.17.200 X: ) |  |
|