ความคิดเห็นที่ 1 ผมพูดเสมอว่าการสู้กับคนเลวต้องอาศัยสื่อ บ้านเราที่พัฒนาไม่ได้ไม่ใช่นักการเมืองมันเลว สื่อมันเลว พูดกี่ทีก็ถูกอีก ฝากด่าไว้ที่นี่เลย ทั้งเดลินิวส์และผู้จัดการ นี่ของมติชน แบบนี้ วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553 เวลา 21:38:36 น. มติชนออนไลน์
เดือด! เวทีชำแหละ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย อัดแหลก"แพทยสภา" ล็อบบี้ จัดเวทีปลุกระดมหมอต้าน
เวทีชำแหละ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย เดือด! ปธ.เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ อัด"แพทยสภา" ล็อบบี้ จัดเวทีปลุกระดมหมอต้าน หวังทำขาวเป็นดำ ด้าน นพ.แท้จริง หนุน พ.ร.บ.ดังกล่าว ระบุช่วยเยียวยาผู้เดือดร้อน เปรียบเหมือน พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถยนต์
สมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย (สพบ.) และเครือข่าย จัดประชาพิจารณ์สาธารณะเรื่อง "ชำแหละ (ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจาการบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ในประเด็น สาธารณชนจะได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจริงหรือ? " ที่โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 25 กันยายน โดยมี รศ.นพ.ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ เลขาธิการแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย นพ.แท้จริง ศิริพานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) นพ.สุรินทร์ ทองมา ฝ่ายกฎหมายแพทยสภา และ นพ.เทพ เวชวิสิฐ ที่ปรึกษาเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ร่วมเสวนา พร้อมทั้งตัวแทนจากผู้ที่ได้รับความเสียหายจากแพทย์ ร่วมรับฟังและเสนอความเห็น
นพ.เทพกล่าวว่า ปัจจุบันความผิดพลาดทางการแพทย์ค่อนข้างมากและต้องได้รับการแก้ไข ประชาชนต้องได้รับความยุติธรรม ทั้งนี้ประมาณ 15-20 ปีที่แล้วหากดูกราฟความเสียหายที่แพทย์ถูกฟ้องเพิ่มขึ้นทุกปี ยกตัวอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1989 มีผู้เสียชีวิตในโรงพยาบาลปีละ 44,000-98,000 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ค.ศ.1999 มีผู้เสียชีวิตจากความเสียหายจากการบริการทางสาธารณสุขมากกว่าผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ดังนั้นความพยายามในการตั้ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายขึ้นมา ซึ่งเป็นเงินภาษีของคนไข้ ดังนั้นในเมื่อมีผู้เสียหายก็ต้องชดเชยไปตามที่ได้รับความเสียหาย
นพ.เทพกล่าวว่า ขณะนี้มี พ.ร.บ.คุ้มครองมีการอ้างว่าสามารถใช้ได้ระหว่างการรอการทบทวน พ.ร.บ.คุ้มครองนั้น เห็นว่าไม่มีความชัดเจนเพราะดูแล้วกฎหมายใช้ไม่ได้ เนื่องจากใช้คำว่า "ผลกระทบ" ไม่ได้ใช้คำว่า "เสียหาย " คำถามก็คือ ที่แพทย์ต่อต้าน พ.ร.บ.คุ้มครองอยู่ทุกวันนี้เพราะรับคำว่า "เสียหาย " ไม่ได้ใช่หรือไม่ ดังนั้นแพทย์ต้องเปิดใจกว้าง เพราะเงินที่ชดเชยก็เป็นเงินของประชาชน ประเด็นก็คือ เรื่องการฟ้องร้องไม่มีใครอยากไปศาลเพราะลำบากและยุ่งยาก แต่ถึงไม่มี พ.ร.บ.คุ้มครองก็ฟ้องร้องได้
" ที่จริงแล้วคำว่า ผลกระทบ ใน พ.ร.บ.ที่หมอสนับสนุนแปลว่า 1.ต้องตาย 2.ต้องพิการ และ 3.ต้องเสียสมรรถภาพทางร่างกาย จึงจะได้เงินชดเชย แต่ถ้ามีคนไข้ผ่าตัดถูกลืมกรรไกรไว้ในท้องแล้วยังเดินได้ ใช้ชีวิตได้ คนไข้จะไม่ได้เงินชดเชยใช่หรือไม่ คำตอบก็คือใช่ เพราะไม่เข้าเกณฑ์ 3 ข้อ และไม่ได้รับการเยียวยาเพราะไม่เข้านิยามข้างต้น" นพ.เทพกล่าว
รศ.นพ.ประเสริฐกล่าวว่า สังคมปัจจุบันมีความคิดที่จะเอาตัวเองรอดเป็นพื้นฐาน ยกตัวอย่างมีบริษัทน้ำดื่มยี่ห้อหนึ่งขายน้ำ ผู้บริโภคซื้อมายังไม่เปิดขวดแต่เห็นว่ามีหนอนอยู่ในขวด ผู้บริโภคก็จะใช้สิทธิที่ต้องได้ตามสิทธิ คือโทรศัพท์ไปหาบริษัทผู้ผลิตและบอกว่าจะฟ้องร้อง ที่ยกตัวอย่างไม่ได้บอกว่าใครผิดใครถูก ดังนั้นเรื่องการบริการสาธารณสุขก็เหมือนกัน เพราะเวลาแพทย์ถูกฟ้องก็จะเป็นทุกข์มาก ในช่วงปีแรกกินไม่ได้นอนไม่หลับ เจอใครก็ปรึกษา ปีที่ 2-3 ก็เริ่มสงบลง จะกระวนกระวายอีกก็เริ่มมีหมายศาลมาที่บ้าน หลังจากนั้น 4-5 ปีก็เตรียมเอกสารชี้แจงต่อศาลอีก ส่วนตัวมองว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ได้ลดการฟ้องร้องและไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์ของคนไข้กับแพทย์ดีขึ้นเลย
รศ.นพ.ประเสริฐกล่าวว่า ในระยะแรกคนไข้อาจจะได้ประโยชน์ แต่ระยะยาวไม่ได้มีผลดีกับคนไข้เลย เพราะการชดเชยความเสียหายนั้นจะทำให้พ่อแม่ไม่ดูแลลูก ลูกไม่ดูแลพ่อแม่ ปล่อยให้ฟ้องชดเชยความเสียหายกันไป เหมือนกับมีช่องทางให้ผู้เสียหายดำเนินการฟ้องร้องค่าเสียหายได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้แพทย์ถึงได้ไม่สบายใจว่า ไม่ได้ลดการฟ้องร้องอย่างแท้จริง ซึ่งระยะยาวไม่ได้ส่งผลดีต่อใครเลย
"ผมเป็นหมอธรรมดา และไม่ได้เป็นหมอในอุดมคติ อยากบอกกับประชาชนว่า หมอธรรมดานั้นก็เป็นหมอที่ให้บริการคนไข้ โดยไม่ได้มีผลประโยชน์ต่างตอบแทน ดังนั้นผู้เสียหายก็ขอให้ทำใจเป็นกลางด้วย แนวทางเห็นว่าผู้รับบริการควรที่จะถอยมาคุยกับหมอ เพราะหมอส่วนใหญ่เป็นคนดี ไม่อยากคนที่รักษาคนไข้ต้องลำบาก " นพ.ประเสริฐกล่าว
ด้าน นพ.แท้จริงกล่าวว่า กฎหมายมักไล่ตามปัญหาเสมอ เรื่องนี้ก็มีปัญหา เมื่อก่อนรถชนพาคนไข้ไปโรงพยาบาล โรงพยาบาลก็ไม่ได้รักษา เพราะไม่แน่ใจ จึงเกิด พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถเพื่อช่วยคนที่ไม่ได้รับการรักษา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายก็เหมือนกัน ซึ่งเริ่มมีปัญหา จะมากเท่าไหร่ตายเท่าไหร่ไม่รู้ แต่ส่วนตัวคิดว่าไม่มากจนน่ากลัว เพราะเมืองไทยไม่มีใครเคยทำสถิติไว้ อย่างไรก็ตามเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยคนที่เดือดร้อน ใครไม่เดือดร้อนไม่รู้หรอกว่า มันเดือดร้อนแล้วมันเจ็บปวดขนาดไหน
"เชื่อว่า พ.ร.บ.นี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะผมก็คิดว่าหมอก็ได้ประโยชน์ แต่ขณะนี้ที่มีความเห็นไม่ตรงกันอยู่นั้น เพราะที่ผ่านมาเวลามีปัญหาแล้วทั้งสองฝ่ายไม่ไกล่เกลี่ยกัน ดังนั้นต้องคิดว่า ถ้าส่วนรวมไม่ได้รับการคุ้มครองสังคมนี้ก็จะไม่มีความเป็นธรรม" นพ.แท้จริงกล่าว และว่า ส่วนประเด็นเรื่องกองทุนนั้น คิดว่าต้องมีเพื่อนำเงินมาเยียวยา ให้ประชาชนที่เดือดร้อนได้รับความเป็นธรรม แต่ถ้ากองทุนทำไม่ดี ต้องโทษผู้บริหารกองทุน
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า วันหนึ่งทุกคนอาจจะเป็นผู้เสียหายได้ เวลานี้ไปร้องแพทยสภา กองประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มักจะถูกดึงเรื่องจนคดีหมดอายุความ อีกทั้งเวชระเบียนเวลาขอทางโรงพยาบาลซึ่งเป็นหลักฐานเดียวในที่เกิดเหตุประชาชนผู้เสียหายก็ไม่เคยได้จากโรงพยาบาล
" ถามว่าทุกวันนี้หมอประท้วง เพราะแพทยสภาถูกร้องจากโรงพยาบาลเอกชนว่าไม่อยากจ่ายเงินสมทบใช่หรือไม่ นอกจากนั้นแล้วเวลาที่หมอจัดเวทีต่างจังหวัดก็จัดข้างเดียว เราก็มองตาปริบๆ ว่าทำไมทำขาวเป็นดำได้ ทุกวันนี้เราอยากเลิกเครือข่ายมาก อยากให้ผู้เสียหายทางการแพทย์ได้เข้าสู่ระบบพยายามผลักดันกันมา 3 ปี แต่หมอบางกลุ่มเมื่อสู้กันด้วยข้อเท็จจริงไม่ได้ กลับมาใส่ร้ายว่าเอ็นจีโออยากเข้าไปบริหารกองทุน ทำไมถึงใส่ร้ายกันขนาดนี้ ทั้งๆ ที่เจตนาเราเพื่อลดปัญหาการฟ้องร้อง " นางปรียนันท์กล่าว และว่า ที่ผ่านมาปลัด สธ.บอกว่า
จะเป็นตัวกลางให้ทุกฝ่ายได้มาคุยกัน แต่ปล่อยให้แพทยสภาจัดเวทีปลุกระดมแพทย์ในพื้นที่ต่างจังหวัดต่อต้าน พ.ร.บ.คุ้มครอง จนแพทย์โกรธแค้นประชาชนหมดแล้ว ซึ่งวันที่ 28 กันยายนนี้จะมีการนัดประชุมกันทุกฝ่ายที่ สธ.อีกครั้ง ภาคประชาชนก็ยืนยันตามเดิมว่ายังไงก็ต้องมี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย
นางปรียนันท์ยังกล่าวถึงกรณีที่รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) ขู่จะนัดรวมพลกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขหยุดงานในวันที่ 28 กันยายนนี้ หากรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรยังคงสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ว่า ที่จะนัดหยุดงานนั้น เพราะ สผพท.ไม่เอาเหตุผล เอาแต่ใจ เครือข่ายผู้เสียหายอดทนมานานและเลือกที่จะไม่ทำแบบที่แพทย์ออกมาใช้ม็อบเรียกร้องกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่อยากเอาม็อบมาชนม็อบ ขอถามใจแพทย์ทุกคนเลยว่า จะขอกฎหมายสักฉบับที่คุ้มครองประชาชนไม่ได้เลยหรือ ขณะที่วิชาชีพแพทย์มีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วมากมาย https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1285422112&grpid=00&catid= |