ความคิดเห็นที่ 1 เรียนหนังสือผู้จัดการ ของหมอธันย์ รามาฯ เขาแถลงดีมาก ที่ประชุมตบมือยาว ผมกับหมอธันย์ยังมีกรณีที่ยังคาใจกันอยู่ ผมยังต้องขอคารวะ แต่ที่คุณเขียนมา บอกตรงๆ ส่อนิสัย ทั้งๆเพิ่งด่าไปไม่กี่วันว่าคดีที่ศาลลงโทษนับไม่ไหว คุณเป็นสื่อคุณต้องมีจรรยาบรรณ | โดย: ฟฟ [28 ก.ย. 53 20:00] ( IP A:58.8.10.53 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 3 ไม่เห็นจะแปลก นี่ชัดๆไปเลย
| โดย: ฟฟ [28 ก.ย. 53 20:49] ( IP A:58.8.10.53 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 4 บ่ายวันนี้ (28 ก.ย.) เริ่มประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการ นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส นายกแทพยสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ประกาศนำทีมวอล์คเอาท์ ในห้องประชุมเหลือแค่ตัวแทนกระทรวง สธ., โรงเรียนแพทย์, สภาวิชาชีพอื่นๆ และตัวแทนผู้บริโภค ผู้ป่วย
รศ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี
ได้แถลงจุดยืนของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งมีวุฒิภาวะมากๆ เลยขอนำมาฝากค่ะ และขอกราบคารวะคณะแพทยศาสตร์ และบุคลากรโรงพยาบาลรามาธิบดีทุกท่านด้วยใจจริง
ข้อเสนอแนะของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บุคลากรของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ติดตามความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นของ พ.ร.บ.แห่งนี้ ทั้งจากฝ่ายตัวแทนผู้รับบริการ ฝ่ายเพื่อนร่วมวิชาชีพ ผ่านทางแพทยสภา แพทยสมาคม ราชวิทยาลัยต่างๆมาโดยตลอด ทางสภาอาจารย์รามาธิบดีได้จัดทำประชาพิจารณ์
โดยเปิดโอกาสให้ตัวแทนของแพทยสภา แพทยสมาคม ฝ่ายกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ เข้าชี้แจงตอบข้อข้องใจของบุคลากรโดยตรง การแสดงความเห็นที่อิสระดังกล่าว ได้นำเข้าเป็นข้อมูลในการประชุมกรรมการบริหาร กรรมการประจำคณะฯ
ซึ่งมีมติร่วมกัน เห็นชอบในหลักการตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ แต่ขอให้มีการทบทวนทำความเข้าใจ และแก้ไข ในบางมาตรา เช่น มาตรา 6(1) และ (2) มาตราที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของสภาวิชาชีพ ที่มาของกองทุน เป็นต้น
ความเห็นชอบดังกล่าวของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีนั้น เพื่อนร่วมวิชาชีพหลายคนพูดว่าเป็นการเอาตัวรอดของโรงเรียนแพทย์ แต่จริง ๆ แล้ว เราพยายามหาทางรอดหรือเราหาโอกาสรอดจากผลกระทบของ พ.ร.บ.ฉบับนี้มากกว่า
จากการรับฟังข้อมูลทุกฝ่ายเราเข้าใจดีว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องจากโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งไดเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยจากแบบอุปถัมภ์ เป็นแบบพันธสัญญา จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้นในการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราจึงไม่สามารถใช้ความสามัคคีเพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องใช้สติเพื่อพิจารณาข้อเท็จจริง ใช้องค์ความรู้ด้านการบริการจัดการที่มีอยู่ทุกด้าน เพราะเราเชื่อว่า ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ภาพสุดท้ายที่เราทุกคนต้องการเห็นคือ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมผู้ให้บริการรักษาพยาบาลกับผู้ป่วย เพื่อนำไปสู่ผลการรักษาที่ดีที่สุด ภายใต้การใช้ทรัพยากรสุขภาพที่เหมาะสม
เราไม่อยากเห็นภาพที่เกิดขึ้นในบางประเทศ ซึ่งแม้จะมีความเจริญ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง แต่ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย ชักนำทำให้เกิดลักษณะการแพทย์แบบป้องกันตนเองทางเทคโนโลยีสูง แต่ความสัมพันธ์ของแพทย์และผู้ป่วย ชักนำทำให้เกิดลักษณะการแพทย์แบบป้องกันตนเอง (Defensive Medicine) ซึ่งนำไปสู่การใช้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ ควบคู่ไปกับความไม่ไว้วางใจระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจุบัน เรายอมรับว่าธรรมชาติของกระบวนการรักษายังมีความพลาดพลั้ง หรือผลการรักษาที่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ แม้จะให้การรักษาตามมาตรฐานตามวิชาชีพแล้ว
กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากการพลาดพลั้งหรืออาการแทรกซ้อนควรได้รับการเยียวยา
ในกรณีเดียวกันบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพควรได้รับการคุ้มครองเพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความสบายใจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี เข้าใจดีและเห็นใจแพทย์ที่ออกมาคัดค้าน พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งเป็นแพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลเอกชนต่างๆ
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน ท่านเป็นผู้รับผิดชอบภาระงานในการรักษาพยาบาลเป็นส่วนใหญ่ ภายใต้ทรัพยากรที่ถูกจัดสรรให้อย่างจำกัด ขอเรียนให้ทราบทั่วกันว่า ผู้บริหารและบุคลากรของโรงพยาบาลรามาธิบดีมีสถานภาพและเผชิญปัญหาไม่ต่างจากโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ
นอกจากนี้ผู้รับการบริการของเราส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลของท่าน เนื่องจากมีปัญหายุ่งยากซับซ้อนในการดูแลรักษาซึ่งย่อมทำให้การรักษามีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนหรือไม่เป็นไปตามความคาดหวังได้มากกว่า
แม้การเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนถ้าใช้จำนวนผู้ป่วยเป็นหลัก ทางโรงพยาบาลรามาธิบดีคงต้องจ่ายเงินเข้ากองทุนมากกว่าโรงพยาบาลอื่นๆ แต่สิ่งที่บุคลากรของเราสามารถก้าวข้ามประเด็นข้อขัดแย้งของ พ.ร.บ.ดังกล่าวได้
เนื่องจากฝ่ายบริหารของคณะซึ่งมีท่านคณบดี (ศาสตราจารย์รัชตะ รัชตะนาวิน) เป็นประธานได้ทำการศึกษาผลกระทบและนำไปสู่การบริหารจัดการโดยใช้แนวทางการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (enterprised risk management) ตามแนวทางของ CoSo และ ISO ตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล
นอกจากนี้ทางโรงพยาบาลได้ปรับโครงสร้างองค์การโดยจัดตั้งหน่วยงานของโรงพยาบาลเข้ารับผิดชอบทำหน้าที่ช่วยเหลือเยียวยาผู้รับบริการ ขณะเดียวกันที่จะทำหน้าที่ดูแลเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการแทนแพทย์ผู้รักษา ซึ่งจะทำให้ทีมผู้รักษาสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้โดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องร้องเรียน ซึ่งอันนี้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบ (Accountability) ของผู้บริหาร
ทางคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เชื่อว่าการที่บุคลากรเข้าใจวิธการและเห็นการเตรียมพร้อมเพื่อบริหารจัดการผลกระทบจากพ.ร.บ.ดังกล่าวจากผู้บริหาร ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราก้าวข้ามปัญหาต่างๆ และนำไปสู่การมีมติ เห็นชอบในหลักการของ พ.ร.บ.ดังกล่าว
สุดท้ายนี้ ทางคณะขอร้องฝ่ายตัวแทนผู้รับบริการให้ความ *** นใจและเข้าใจการปฏิบัติงานของฝ่ายแพทย์และทีมผู้รักษา
ขณะเดียวกันขอความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก้าวข้ามประเด็นแห่งความขัดแย้งเพื่อความสามารถและองค์ความรู้ทั้งหมดมาใช้ในการบริหารจัดการผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้จริงโดยยึดหลักการคำนึงถึงผู้ที่ส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
รศ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี 28 ก.ย.53 | โดย: แม้มีความเห็นต่าง แต่เราคาระวะความมีวุฒิภาวะของท่าน [28 ก.ย. 53 22:45] ( IP A:58.9.103.175 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 5 ทำไมต้องมี พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เราต้องยอมรับกันว่า การทำงานทุกอย่างย่อมต้องมีความผิดพลาดบ้าง เป็นธรรมดา และเมื่อมีความผิดพลาดก็ควรมีการเยียวยาและช่วยเหลือ คนเราต้องมีน้ำใจ มีคุณธรรม การแพทย์ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น มีความผิดพลาดเกิดขึ้นทุกวัน มีการสำรวจในสหรัฐและอีกหลายประเทศรวมทั้งองค์การอนามัยโลกก็ยอมรับว่าความผิดพลาดทางการแพทย์นั้น มีมากและน่ากลัว ควรหาทางป้องกัน เราพบว่าความผิดพลาดทางการแพทย์จากสาเหตุที่ป้องกันได้ ทำคนตายมากกว่าอุบัติเหตุรถยนต์ หรือมะเร็งเต้านม https://www.wellnesschiro.com/take_this_death_cause_quiz.htm นี่เอาเฉพาะพวกที่ตาย ไม่นับพวกที่ไม่ตายที่เพียงแต่เจ็บหรือพิการ เมื่อพ่อบ้านหรือแม่บ้านตาย ชีวิตที่เหลือก็จะบ้านแตกสาแหรกขาด ดูตัวอย่างคดีดอกรักแพ้ยาตาบอด สามีและลูกทิ้ง ต้องไปอาศัยอยู่กับน้องชายซึ่งก็มีคนรังเกียจ ต้องอาศัยชายคานอกบ้านอยู่กับลูกคนเล็กวัย 3 ขวบ ให้เด็ก 3 ขวบจูงไปศิริราชและแพทยสภา คนเหล่านี้ต้องได้รับค่าชดเชยที่พออยู่ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เงินน้อยๆ อย่างน้อยก็เป็นแสนขึ้นไป ใครละจะจ่าย ไปเอากับหมอรึก็เงินเดือนไม่พอจ่าย หรือมีเงินพอก็อาจไม่อยากจ่าย ก็ต้องทะเลาะกัน ต้องไปฟ้องร้องกัน ปัญหามีทางออก เพียงแต่เราต้องมีน้ำใจและมีคุณธรรม และมีมนุษยธรรมช่วยเหลือกัน ต้องไม่แล้งน้ำใจหรือเป็นคนไม่รับผิดชอบแก้ตัวไปวันๆ คนไทยโบราณทำตัวอย่างดีดีไว้แล้วในเรื่องเหล่านี้ แต่เราลืมหรือไม่ใส่ใจ สมัยโบราณ ถ้ามีโจรปล้นบ้านนาย ก. คนรอบๆบ้านนาย ก.ต้องช่วยกันออกล่าโจร เพื่อว่าคราวหน้าโจรขึ้นบ้านเรา นาย ก. และคนอื่นเขาจะได้ช่วยเราบ้าง หรือถ้าน้ำมาพัดบ้านเราพัง ชาวบ้านข้างๆเขาก็ช่วยสร้างบ้านซ่อมบ้านให้เรา เผื่อว่าถึงคราวเขา เราก็จะช่วยเขาบ้าง ไม่ต้องเสียเงินจ้าง หรือประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวก็ทำนองเดียวกัน คนจีนโบราณค้าขาย ใครโดนพายุสำเภาพัง เขาก็เรี่ยไรช่วยหาเรือสร้างเรือใหม่ให้ ก็ผลัดกันช่วย นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดช่วยกันคนละเล็กคนละน้อย คนละไม้คนละมือไม่ใช่ปล่อยให้เขาอดตายไม่มีงานทำเลี้ยงลูกเมีย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขนี้ก็ใช้หลักทำนองเดียวกัน คนไข้เขายินดีให้หมอเก็บเงินเพิ่มอีก 3 % ไว้เป็นกองกลาง ซึ่งหมอก็เก็บไปแล้วตลอดเวลาที่ผ่านมา (เพราะปกติหาหมอก็ต่อไม่ได้อยู่แล้ว) ใครโชคไม่ดี รักษาแล้วแพ้ยาตาบอด ฉีดยาแล้วโดนประสาทขาพิการ หมอลืมกรรไกรไว้ในท้อง คลอดมาลูกแขนหักขาหัก หรือคอหักตาย ก็ให้มาเบิกเอาจากกองกลางอันนี้ ไม่ต้องทะเลากัน หมอก็ไม่ต้องจ่าย เงิน 3 % นี้ ปกติหมอก็เก็บไปแล้วแต่ไม่ได้ใส่กองทุนไว้เพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย เงินนี้ได้ไปหมอก็ไม่ได้รวยขึ้น คนไข้จ่ายอีก 3 % ค่ารักษาก็ไม่ได้แพงขึ้นหรือจนลง เป็นหวัด จ่าย 300 บาทหรือ 309 บาทก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่คนไข้จ่ายได้ เพียงแต่ 9 บาทนี้ต้องไปเก็บไว้เป็นกองทุนไว้ช่วยเหลือคนไข้ด้วยกัน คนไข้เขายินดีเสียส่วนนี้ เขามีน้ำใจเหมือนคนโบราณลงแขกเกี่ยวข้าวช่วยเหลือกัน ดังนั้นก็ไม่เข้าใจว่าบรรดหมอหรือบุคคลฝ่ายสาธารณสุขส่วนอื่นๆจะมาโวยวายหรือขัดขวางกฎหมายนี้ทำไม เพราะหมอก็ไม่ได้จนลง คนไข้ก็ไม่ได้จนลง ค่ารักษาก็ไม่ได้แพงขึ้น (ปกติหักเครดิตการ์ดก็ 3 %) แต่คนที่เสียหายจากการใช้บริการจะได้รับการเยียวยาช่วยเหลือ ไม่ต้องไปอาศัยชายคาบ้านคนอื่น ไม่ต้องถูกผัวทิ้ง หอบลูกพิการกลับไปหาปู่ยาตายายอาศัยปู่ย่าตายายกินให้เป็นภาระคนแก่ เงินกองทุนจะช่วยได้ ซึ่งก็มิได้มีใครอยากได้เงินจากกองทุน เพราะต้องตายต้องพิการจึงจะได้ จะเอาเงินไปทำไม เพียงแต่ว่าถึงคราวเคราะห์ก็จำเป็นต้องรับไว้ช่วยเหลือลูก การอ้างเหตุต่างๆ การเล่าเรื่องโกหกต่างๆเพื่อมาล้มพระราชบัญญัตินี้ ล้วนเป็นเรื่องเหลวไหลที่ขาดเหตุผล และแสดงให้เห็นจิตใจที่ขาดคุณธรรม ขาดมนุษยธรรม ขาดน้ำใจและขาดความรับผิดชอบ ซึ่งสังคมไทยแต่โบราณไม่เคยมีให้ดูเป็นตัวอย่างแม้แต่น้อย ก็ไม่เข้าใจว่าคนยุคใหม่เป็นอะไรกัน จึงได้แล้งน้ำใจขนาดนี้ แม้แต่เรื่องการช่วยเหลือกันเองของคนไข้ด้วยเงินของคนไข้เองก็ยังมีคนพยายามขัดขวางใส่ร้ายป้ายสี ต่างๆนานา รวมทั้งข่มขู่ประท้วงจะไม่รักษา จะส่งต่อ จะตรวจละเอียด ฯลฯ ผมจึงเห็นว่าคนไข้เราเองควรจะพยายามทำความเข้าใจ และหาทางช่วยเหลือกันแบบที่คนไทยโบราณทำกันมาตลอด เพื่อป้องกันความผิดพลาดทางการแพทย์ที่ทำคนไข้ตายปีละมากกว่าอุบัติเหตุรถยนต์ อันเป็นโครงการที่องค์การอนามัยโลกได้พยายามทำอยู่ภายใต้ชื่อว่าความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยผู้ป่วย (patient for patient safety) https://www.who.int/patientsafety/en/ เพราะองค์การอนามัยโลกเชื่อหลักว่ามีแต่คนไข้เท่านั้นที่จะใส่ใจเอาจริงกับความปลอดภัยของคนไข้เอง | โดย: เอามาให้อ่านอีกที [28 ก.ย. 53 23:06] ( IP A:58.8.10.53 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 6 หลักการเหตุผลดี แต่เนื้อหา มัน ห ก็รู้รู้ ใครอ่านแค่ 2 หน้าแรก ก็คงคิดว่าดี | โดย: ต้องอ่านทุกบรรทัด [29 ก.ย. 53 6:44] ( IP A:182.52.125.207 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 7 ^^^^^^^^^^^^^^^^^^^
หุ หุ ก็ใช่เลย
เพราะแม้แต่ชื่อตัว พ.ร.บ. ก็ยังแถ ก็ยังตะแบงเปลี่ยนชื่อให้ได้
ชื่อเดิมแต่ไหนแต่ไรคือ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์
แต่วันนี้ แม้แต่รัฐบาลก็กลับไม่ยอมรับกับนัยตรงๆในความหมายของคำที่เป็นชื่อตัว พ.ร.บ.
กลับให้แก้เป็น พ.ร.บ. ผู้ได้รับผลกระทบฯ ตะหวักตะบวยอะไรก็ไม่รู้
วงการแพทย์ส่วนใหญ่มากของประเทศนี้ เป็นวงการของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมันสมองด้านหนึ่งที่สำคัญมากระดับประเทศ
แต่กลับเป็นวงการที่ "หน้าไหว้หลังหลอก" ไม่ผิดกับวงการเมืองของไทย
การที่ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความรู้ มีภูมิปัญญาสูงกว่าคนทั่วๆไปส่วนใหญ่ของสังคม แต่กลับตะแบงในทุกที่ทาง ทุกๆเรื่อง แม้แต่การพยายามบิดไปบิดมาเพื่อให้คนอื่นยอมรับและเข้าใจผิดๆไปจากความเป็นจริง คนเหล่านี้แบบนี้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตที่รับพระราชทานปริญญาจากองค์พ่อหลวง
ก็เท่ากับเป็น บัณฑิตที่ไร้ค่าและรังแต่เป็นภาระก่อเพทภัยให้สังคมที่ตนเองอยู่ ผมยังชอบ+ประทับใจกับคำพูดของอาจารย์หมอท่านนี้นะ
vvvvvvvvvvvvvvvvvvvvv
ตอนหนึ่งจากคำบรรยายพิเศษของ ท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.บุญสม ศิริบำรุงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์
ในการสร้างเยาวชนให้เป็นปัญญาชนของชาตินั้น สังคมยอมรับแล้วว่า ถ้าเราผลิตบัณฑิตที่เก่งกาจสามารถทางวิชาการ แต่จิตใจไม่เอื้อเฟื้อต่อสังคม ซ้ำร้ายยังไปโกงชาติบ้านเมือง เอารัดเอาเปรียบสังคม บัณฑิตเหล่านั้นไม่มีคุณค่าต่อสังคมเลยแม้แต่น้อย สู้ผลิตบัณฑิตที่อาจจะไม่เก่งมากทางวิชาการ แต่จิตมีคุณธรรม พร้อมจุนเจือสังคม บัณฑิตเช่นนี้ เป็นความหวังที่สังคมจะพึ่งพาได้ บัณฑิตเช่นนี้จึงมีคุณค่าต่อสังคม
************************************ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [29 ก.ย. 53 8:10] ( IP A:58.8.104.241 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 8 ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทขององค์พ่อหลวงในเรื่องเกี่ยวกับการใช้กฎหมายและการเข้าใจถึงสาระอันเป็นที่สุดของการมีกฎหมายขึ้นมาใช้
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
๑. ...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...
*พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน วันรพี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑
๒. ...กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่ง สำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึงต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หาก ต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริง ด้วย...
*พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔
๓. ...กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมายแต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้วควรจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ ตรงกันข้ามคนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริตควรต้องถือว่าทุจริต...
*พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๒
๔. ...กฎหมายทั้งปวง จะธำรงความยุติธรรมและความถูกต้องเที่ยงตรง มีความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และ เจตนารมณ์ หรือด้วยเจตนาไม่สุจริตต่างๆ กฎหมายก็เสื่อม ความศักดิ์สิทธิ์และ กลายเป็นภัยต่อประชาชน ...
*พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๐
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙ | โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [29 ก.ย. 53 8:29] ( IP A:58.8.104.241 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 9 มานหย่ายคับประเทศ เดี๋ยวคราวหน้าให้มานทำอีก เดี๋ยวมีเฮ | โดย: 12 ต.ค เจอกันใหม่นะ [29 ก.ย. 53 20:59] ( IP A:58.8.209.54 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 10 เนื่องจากการประชุมมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง โอยเฉพาะเครือข่ายภาคประชาชน พยายามที่จะผลักดันให้บังคับใช้กฎหมายโดยเร็ว แม้จะมีผู้คัดค้าน
...........ก็เรียกประชุมเจรจาสองฝ่าย เพื่อหาจุดยืนร่วม แต่ฝ่ายเครือข่ายพยายามที่จะผลักดันให้บังคับใช้กฎหมายโดยเร็ว ฌดยไม่สนท่าทีของการประชุม
แล้วจะประชุมไปทำไม ก็เครือข่ายไม่"จริงใจ"จะประชุมตั้งแต่แรกแล้ว ไม่"จริงใจ"ที่จะแก้ไขจุดบกพร่องของตัวเอง อาจะแค่บอกว่า มารานี้เป็นปัญหาจริงๆ จะรับไปแก้ไขในสภา ก้ไม่มีให้เห็น ในเมื่อเครือข่ายไม่สนใจจะแก้อยู่แล้ว ยืนยันตามเดิม แต่จะออกข่าวว่า กลุ่มแพทย์รับทราบแล้ว จะได้ผลักดันพรบ ต่อ
แล้วใครจะมาประชุม ก็เหมือนกับสงคราม นัดมาประชุมเจรจาสงบศึก แต่อีกฝ่ายยังส่งทหารเตรียมบุกต่อ เอาปืนเล็งหัวหาจังหวะเอาชีวิต แล้วใครจะไปเจรจาด้วย | โดย: ประชุมไปทำไม [30 ก.ย. 53 21:11] ( IP A:118.173.31.234 X: ) |  |
ความคิดเห็นที่ 11 แนใจหรือว่ากลุ่มต้านพรบ.ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ข้างหลัง ดูหน้าแต่ละคน บริสุทธิ์มั่ก ๆ | โดย: ใครจะไปเชื่อ [30 ก.ย. 53 23:22] ( IP A:58.9.74.238 X: ) |  |
|