consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
จุรินทร์ งดวิจารณ์ 3 มาตรการ รพศ.-รพท.แนะควรคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000140651
จุรินทร์ งดวิจารณ์ 3 มาตรการ รพศ.-รพท.แนะควรคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 ตุลาคม 2553 09:59 น.
จุรินทร์ โนคอมเมนต์ 3 มาตรการของ รพศ./รพท.แนะทุกอย่างควรอิงประโยชน์ส่วนรวม หมอรามาฯ ชี้ มาตรการส่งต่อผู้ป่วย จาก รพศ./รพท.สู่ ร.ร.แพทย์ ไม่ง่าย ด้าน สผพท.เตรียมพบ จุรินทร์ ชี้แจงรายมาตรา
จากกรณีที่สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ระบุถึง 3 มาตรการเคลื่อนไหวขั้นต่อไป หากมีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลและฉบับของภาคประชาชน เข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยปราศจากร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ.....โดยระบุว่า จะเริ่มจากการตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างละเอียดจากปกติตรวจคนไข้คนละ 5 นาที จะเพิ่มเป็นคนละ 30 นาที เพื่อมาตรฐานในวิชาชีพ ขั้นต่อมา จะมีมาตรการกระชับพื้นที่ โดยการรับผู้ป่วยเท่าที่รับได้ตามสภาพความเป็นจริง จะไม่มีปัญหาผู้ป่วยล้น เนื่องจากจะเน้นการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อย่าง โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช ขั้นสุดท้ายจะใช้วิธีหยุดงาน นั้น
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ตนไม่ขอแสดงความคิดเห็นต่อการออกมาตรการดังกล่าวของสมาพันธ์ แต่เชื่อว่า การกระทำใดๆก็ตามที่ทุกฝ่ายคำนึงถึงประโยชน์โดยส่วนรวม จะช่วยให้ได้รับประโยชน์กลับมาที่มากขึ้นกว่าเดิม และเชื่อว่า ทุกคนเห็นด้วยกับหลักการดังกล่าว
ด้าน นพ.ธันย์ สุภัทรพันธุ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ตนรับรู้ดีว่า แพทย์ รพศ./รพท.นั้นต้องทำงานหนักกับภาระผู้ป่วยที่มีจำนวนมาก จึงมีมาตรการออกมาเคลื่อนไหวใน 3 ขั้นดังที่ปรากฏในข่าว ทั้งนี้โดยความเห็นส่วนตัวขอกล่าวแค่ 2 มาตรการแรก นั่นคือ ขั้นตอนการตรวจละเอียด และการส่งต่อผู้ป่วย ส่วนเรื่องการหยุดงานนั้นไม่ขอแสดงความคิดเห็น
นพ.ธันย์ กล่าวว่า ตนเชื่อว่า การตรวจละเอียดจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเฉพาะราย แต่ถือว่าเป็นหลักการที่ดี แต่ตัวแพทย์เองจะต้องรับบทบาทในการรักษาที่หนักกว่าเดิม ขณะเดียวกันไม่เชื่อว่า แพทย์ผู้ป่วยที่รอคิวตรวจซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยนอก ก็อาจจะได้รับผลกระทบเนื่องจากไม่สามารถใช้บริการจาก โรงพยาบาลแต่ละแห่งได้ ซึ่งหากแพทย์ให้บริการไม่ทันแล้วผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลจากนั้นจะเลือกใช้วิธีการส่งต่อ คงไม่สามารถทำได้ง่ายเพราะกระบวนการส่งต่อผู้ป่วยจาก รพศ./รพท.นั้น ต้องเป็นไปตามลักษณะอาการ หรือเฉพาะโรคและต้องมีการดำเนินการทางเอกสารที่ถูกต้อง ตามหลักแล้วต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลในสังกัด สธ.ก่อน แล้วคณะแพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาว่า เห็นควรส่งให้โรงเรียนแพทย์รับช่วงหรือไม่
คนไข้ที่จะสามารถเข้ามารักษาในโรงเรียนแพทย์ได้ ไม่ใช่ว่าแพทย์ในโรงพยาบาลใดสามารถกระทำได้ด้วยปากเปล่า หรือเพียงเพราะเหตุผลที่รักษาไม่ทันเท่านั้น ที่สำคัญการส่งต่อผู้ป่วยนอกที่ไมได้ป่วยหนักมายังโรงเรียนแพทย์เพื่อรักษาก็ไม่สามารถทำได้ด้วยเหตุผลดังกล่าวเช่นกัน เพราะการที่โรงเรียนแพทย์จะรับคนไข้มารักษาได้ ก็ต่อเมื่อโรงพยาบาลสังกัด สธ.เป็นผู้ส่งตัวโดยตรง ซึ่งหลักการการส่งตัวนั้นก็ยุ่งยากพอสมควร นพ.ธันย์ กล่าว
วันเดียวกัน ที่ สธ.มีการประชุมร่วมของแพทย์ รพศ./รพท.ร่วมกับ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. โดย พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล รองประธาน
สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวว่า ผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน ไม่เห็นชอบกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ โดยมีมติเพื่อหาทางออกของปัญหา 3 ข้อ คือ 1.ให้ขยายวงเงินช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ในมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มากกว่าจำนวน 2 แสนบาท 2.ให้ร่าง พ.ร.บ.ขึ้นใหม่โดยผ่านความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และ 3. ให้นำหลักการบางข้อ ใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับรัฐบาล และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ฉบับแพทย์มารวมกัน
อยากให้ สธ.มีการยกเลิกการประชุมร่วมในวันที่ 12 ต.ค.เสียก่อน เนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังมีอคติต่อกัน เกรงว่าการประชุมจะไม่สามารถหาทางออกได้ แต่ถ้าไม่เป็นไปตามข้อเสนอ ทาง สผพท.ก็จะไม่เข้าร่วม พญ.อรพรรณ์ กล่าว
ขณะที่ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.กล่าวว่า อยากให้แพทย์ทุกองค์กร ทุกสังกัดเข้าร่วมในวันที่ 12 ต.ค.เสียก่อน เพื่อจะได้มีโอกาสนำเสนอความคิดเห็นต่อที่ประชุม ว่าเห็นควรอย่างไร เพราะหากไม่มาก็เท่ากับว่าไม่มีความคิดเห็นที่จะนำเสนอ ทั้งนี้ หาก พ.ร.บ.มีการผลักดันให้สามารถเดินหน้าต่อไป ก็จะไม่มีอะไรสำหรับโต้แย้งในส่วนของความคิดเห็นที่แพทย์คัดค้าน
นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธาน สผพท.กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (7 ต.ค.) ตนพร้อมด้วยตัวแทนแพทย์บางส่วนจะไปเดินทางไปพบ รมว.สธ.ที่สภา เพื่อชี้แจงรายละเอียดของ พ.ร.บ.ว่ามาตราใดบ้างที่แพทย์คัดค้าน พร้อมทั้งนำรายชื่อกว่า 2 หมื่นรายชื่อที่คัดค้านไปยื่นต่อ รมว.สธ.ให้รับทราบด้วย จะได้กระจ่างถึงเหตุผลที่คัดค้าน
ด้าน นพ.วัฒโนทัย ไทยถาวร ตัวแทนจากสภาเทคนิคการแพทย์ กล่าวว่า ตนอยากให้ ปลัด สธ.มีการทำหนังสือเวียน เพื่อแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ทุกภาคส่วนว่าจะมี พ.ร.บ.เกิดขึ้น บุคลากรจะได้ตื่นตัวและติดตามพิจารณาหลักการในร่าง พ.ร.บ.อย่างเข้าใจ จากนั้นจะได้ตัดสินได้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพราะลังจะให้กลุ่มแพทย์เดินหน้าแจ้งรายละเอียดนั้น จะไม่มีน้ำหนักเท่ากับอำนาจของ สธ.
โดย: หวังว่าท่านจะไม่เปลี่ยนใจ [8 ต.ค. 53] ( IP A:58.9.97.236 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน