ช่วยกันตอบโจทย์หมอต้านพรบ.กันหน่อย
   ช่วยกันตอบโจทย์ ประเด็นการคัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

โดย Kiattisak Muangmit
ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2010
เวลา 15:52 น..

ประเด็นการคัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ

ในรายการตอบโจทย์ ตอน "คว่ำร่าง พ.ร.บ.หมอ-คนไข้?"

ออกอากาศช่อง PBS เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓

ดำเนินรายการ : คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา แขกรับเชิญ :

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธานสมาพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขฯ / นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ที่ปรึกษาสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ

(๑) กฏหมายฉบับนี้เพิ่งได้เห็นเมื่อ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ไม่มีใครได้รับรู้กฏหมายนี้มาก่อน มีความเป็นมาอย่างไร แต่ก็รู้ว่ามีมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ในสมัย นพ.มงคล ณ สงขลา (สมัยรัฐบาลทักษิณ จริง ๆ เป็นรัฐบาล คมช. – พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์) ซึ่งจู่ ๆ ก็เงียบหายไปพักนึง แล้วก็โผล่ออกมา ยังไม่ทันไรก็จะเข้าสภาแล้ว เป็นเช่นนี้น่าจะสะท้อนความไม่โปร่งใส

(๒) เมื่อดูข้อกฏหมาย พบว่าเป็นกฏหมายด้านเดียว ขาดความสมดุล (ไม่มี equity)

(๓) ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยเฉพาะประชาชนที่ป่วยไข้และยากจน

(๔) การจัดตั้งกองทุนมีเงื่อนงำ กองทุนฯ นี้เป็นกองทุนที่มีความใหญ่โต เพราะเป็นกองทุนที่ระดมทุนจากสถานบริการทุกภาคส่วน ทั้ง สภากาชาด คลินิค โรงพยาบาลเอกชน ร้านขายยา ร้านกายภาพบำบัด ร้านเทคนิคการแพทย์ สถานผดุงครรภ์ หากพิจารณาแล้วภายใน ๑ ปีอาจจะระดมทุนได้ถึง ๕ พันล้านบาท

(๕) เงิน ๕ พันล้านบาทไม่ต้องคืนคลัง สมบัติของชาติแทนที่จะนำไปทำประโยชน์ แต่กลับเอามากองไว้เฉย ๆ

(๖) ให้คนกลุ่มเดียวมาดูแล แล้วคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ร่างกฏหมาย และเมื่อไปดูกองทุนอื่น ๆ ก็กลุ่มคนกลุ่มนี้อีกแล้ว มาทำซ้ำ ๆ มีเงื่อนงำ เอาเงินเป็นที่ตั้ง หากเป็นเงินตัวเองไม่ว่า แต่นี่เป็นประชาชน เป็นเงินหลวง โดยตัวเองมีอำนาจเหนือกระทรวงการคลัง เหนือรัฐบาล

(๗) การร่างกฏหมาย จะต้องมีการทำข้อมูลดิบ ศึกษาผลกระทบ มีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบของกฏหมาย ดูว่าใครจะได้รับความเดือดร้อนบ้าง โดยเฉพาะประชาชนตาดำ ๆ คนจนจะถูกทำร้างบ้างหรือเปล่า ระบบสาธารณสุขจะเสียหายบ้างไหม ซึ่งเมื่อระบบสาธารณสุขได้รับความเสียหายก็จะกระทบไปถึงความมั่นคงของชาติ ความหายนะของชาติได้ ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้ไม่มีการศึกษา

(๘) ตัวผมเองถึงแม้ว่าจะเป็นผู้นำการเคลื่อนไหว แต่ก็เพิ่งรู้เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ แล้วประชาชนคนอื่นจะรับได้อย่างไร

(๙) เวลาอ่านตัวบทกฏหมาย ต้องอ่านทั้งหน้า ตั้งแต่หน้าแรกไปถึงหน้าสุดท้าย หน้าแรกสวยหรูแต่ข้างในซ่อนอะไรไว้ก็ไม่รู้ ขอให้ศึกษากฏหมายนี้ให้ดี เมื่อศึกษากฏหมายอย่างดีแล้วก็มานั่งถกวิจารณ์กัน อย่ามองว่าร่างกฏหมายที่จัดทำมานั้นจะไม่มีใครรู้


นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี

(๑๐) โดยภาพรวมของร่างกฏหมายฉบับนี้ กล่าวสั้น ๆ ได้ว่า เป็นการเอาเงินภาษีอากรมาจัดตั้งกองทุน โดยให้ผู้ที่ผลักดันกฏหมายฉบับนี้ เข้าไปบริหารกองทุนนี้ แล้วเอาประชาชนมาเป็นข้ออ้าง ว่าจะมีการแจกจ่ายเงินให้ประชาชน เมื่อได้รับความเสียหาย จากการบริการสาธารณสุข

(๑๑) จริง ๆ แล้ว จากตัวเลขการรักษาพยาบาลในทุกสถานพยาบาลทั่วประเทศจำนวน ๒๐๐ ล้านครั้งต่อปี พบว่ากรณีที่มีปัญหาการฟ้องร้อง เรียกร้องกัน มีเพียงร้อยละ ๐.๐๑ ของ ๒๐๐ ล้านครั้งเท่านั้น ซึ่งการตั้งกองทุนนี้เข้ามา จึงเป็นการนำเงินส่วนใหญ่ของประชาชนร้อยละ ๙๙.๙๙ เอามากองไว้เพื่อไปให้กับประชาชนร้อยละ ๐.๐๑

(๑๒) และที่สำคัญ คือ การนำเงินมาใช้แบบนี้มีนายหน้าหักค่า หัวคิว โดยในกฏหมายฉบับนี้เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า มีค่าบริหารจัดการ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ของกองทุนนี้ต่อปี หมายความว่าเมื่อคำนวนแล้วคร่าว ๆ รายได้จากสถานพายาลทั่วประเทศไทยที่จะเข้ามาสู่กองทุนนี้หลายพันล้านบาท บต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะถึงหมื่นล้านบาท ดังนั้นเงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์จึงเป็นเงินจำนวนมหาศาล แล้วเงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์นี้ก็จะอยู่ในการบริหารจัดการของกลุ่มคนที่ช่วยกันผลักดันกฏหมายฉบับนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดบังนำเงินที่จะสามารถนำไปพัฒนาการแพทย์ การสาธารณสุข ให้กับคนอีก ๙๙.๙ เปอร์เซ็นต์ ให้ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ทันสมัยขึ้น มีเครื่องมือเครื่องไม้ที่สมบูรณ์ขึ้น ปรากฏว่าเราจะต้องกันเงินส่วนนี้มาให้กับคนกลุ่มนี้ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อคนส่วนใหญ่

(๑๓) การตั้งกองทุนแบบนี้ มองผิวเผินอาจจะมองว่าประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ พอมีเหตุการณืก็สามารถไปเรียกร้องเงินได้ แต่ว่าในความเป็นจริงในภาวะเช่นนี้ เป็นเพียงภาวะชั่วคราว เพราะว่าต่อไปคนที่จะมาเรียกร้องจะมีจำนวนมหาศาล และในที่สุดกองทุนนี้อาจจะแบกรับไว้ไม่ไหว ก็จะทำให้สาธารณสุขทั้งระบบ จะรวนเร ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติการในระดับไหนก็แล้วแต่ จะเกิดความไม่มั่นใจ ขาดขวัญกำลังใจในการดูแลรักษา แล้วก็จะเกิดภาวะที่อันตรายถ้าผู้ให้บริการสาธารณสุข ไม่กล้ารักษาโรคยาก ๆ ไม่กล้ารักษาโรคที่มีอัตราเสี่ยงสูง อาจจะใช้วิธีส่งต่อผู้ป่วยในทางอ้อม เพราะว่าเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาลซึ่งมีความพร้อมในการรักษาไม่เท่ากัน ที่นี่อาจจะมีเครื่องมือครบ ที่นี่อาจจะมีเพียงบางส่วน ที่นี่ขาดแคลน เมื่อไม่พร้อมการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดก็คือ การส่งตัวไปรวมกันอยู่ในที่ที่พร้อม ซึ่งมีไม่กี่แห่งในประเทสไทย ในที่สุดประชาชนก็จะได้รับผลกระทบเป็นหลัก เนื่งจากภาวะแบบนี้โดยปกติจะไม่เกิดขึ้น แต่หากกฏหมายนี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด ผู้ให้บริการสาธารณสุขจะขาดความมั่นใจ ในการปฏิบัติงาน ซึ่งแต่เดิมผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานเต็มกำลังความสามารถ ดังนั้นถ้าเกิดมีความไม่มั่นใจก็จะเกิดการส่งต่อขึ้นไป ผลก็คือประชาชนจะไปแออัดอยู่ในสถานบริการบางแห่ง และจะมีคิวรอการรักษาที่ยาวนาน ในที่สุดผลกระทบก็จะไปตกอยู่กับประชาชน



นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ

(๑๔) มีกรณีตัวอย่าง ที่ อ.ร่อนพิบูลย์ ซึ่งผ่าตัดใส้ติ่งแล้วมีปัญหา ทำให้โรงพยาบาลชุมชนซึ่งเคยดำเนินการผ่าตัดใส้ติ่งหรือหัตถการง่าย ๆ ก็จะไม่ทำเลย จะส่งต่อมายังโรงพยาบาลจังหวัดทั้งสิ้นเลย นี่แค่กรณีเดียวซึ่งมีผลกระทบสูงมาก

(๑๕) นายแพทย์ท่านหนึ่ง ที่ จ.ร้อยเอ็ด ทำการศึกษาวิจัย พบว่า หากโรงพยาบาลร้อยเอ็ดไม่สามารถที่จะดูแลตามมาตรฐานได้ ด้วยเงื่อนไขทางบุคลากร เงื่อนไขทางเครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ แล้วจะส่งต่อไปยังขอนแก่น อุบล อุดร คนจน ๆ ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า ๗๐ บาท เหล่านั้น เขาบอกว่าจะขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน จะไม่ขอไปรักษาเพราะไม่มีค่าใช้จ่ายดูแลจากการส่งต่อออกไปรับการรักษานอกสถานที่ นี้เป็นผลสะท้อนที่น่าเจ็บปวดมาก

(๑๖) การออกกฏหมายแบบนี้มา ประชาชนประมาณ ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ ที่ร้อยเอ็ดเขาต่อต้าน เขากระทบมาก กลายเป็นการไปทำร้ายคนจน กฏหมายนี้อ้างประชาชน แต่เนื้อหาทำร้ายคนจน

(๑๗) ในแง่การฟ้องร้องและเรียกค่าชดเชย มีกระบวนการอยู่แล้วใน พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๔๑ ซึ่งปัจจุบันยังคุ้มครองไม่หมด แต่สามารถจะแก้ไขกฏหมายให้ครอบคลุมได้ สามารถเพิ่มเพดานต่อเนื่องไปได้ จากสองแสนไปเป็นล้านบาทก็ยังได้

(๑๘) เงิน ๑ เปอร์เซ็นต์ที่นำมาจาก กองทุน ปีละประมาณหนึ่งพันล้าน ตอนนี้ ๘ ปี แปดพันล้านเข้าไปแล้ว แต่ใช้จริง ๆ แค่ สอง-สามร้อยล้านเท่านั้นเอง สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ชี้แจงได้ไหมที่เหลือนั้นหายไปไหน ทำไมจึงต้องผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาอีก ทำไมไม่ใช้กฏหมายเดิมที่มีอยู่

(๑๙) ส่วนกลไกทางกฏหมายที่จะไปร้องเรียนกัน ก็มีสภาทนายความ มีส่วนที่ช่วยเหลือสังคมในการเร่งรัดคดีความ การเยียวยา ในปัจจุบันนี้สถานพยาบาลก็มีการเยียวยาทันทีเพียงแต่ว่าไม่ได้มีการออกสื่อ ในแต่ละโรงพยาบาลจะมี หน่วยสวัสดิการผู้ป่วย ที่จะสามารถให้การเยียวยาในระดับต้น ซึ่งได้ช่วยไปเยอะแล้วไม่ใช่ไม่มี



นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี

(๒๐) ประเมินดูแล้วว่าผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันนี้แม้ยังไม่มีกฏหมาย ประชาชนก็ได้รับผลประโยชน์ทุกประการเหมือนเดิมอยู่แล้ว

(๒๑) เพียงแต่ว่าความแตกต่างของการมีและไม่มีกฏหมายฉบับนี้ กับการเร่งผลักดันจนิดสังเกตุ ก็คือ จะมีกองทุนใหม่เกิดขึ้น อีกหนึ่งกองทุน มีมูลค่าห้าพันถึงหมื่นล้านบาทขึ้นไป ซึ่งกองทุนใหม่นี้จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่มคนที่ผลักดันอยู่ แล้วก็อ้างว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ ซึ่งแท้ที่จริงผลประโยชน์ของประชาชนมีอยู่แล้วในทุกระบบ และในกฏหมาย สปสช. มาตรา ๔๑ ยังสามารถขยายผลประโยชน์ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มได้ ทั้งประชาชนในกลุ่มประกันสังคม ข้าราชการ รวมทั้งขยายวงเงินที่จะเพิ่มให้ในแต่ละครั้งก็สามารถที่จะดำเนินการได้ เป็นอำนวจของคณะกรรมการ และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถดำเนินการได้ง่ายมาก

(๒๒) เพียงแต่ว่าบังเอิญกลุ่มบุคคลที่อยู่ใน สป.สช. ซึ่งมีสิทธิที่จะขยาย แต่ไม่ขยาย เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับผู้ที่ผลักดันร่างกฏหมายนี้ กลุ่มนั้นก็จะออกมาประกาศว่าไม่ขยาย เพื่อผลักดันให้กฏหมายฉบับนี้ออกมา แท้ที่จริงแล้วในกฏหมายฉบับนี้สิทธิของประชาชนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เหมือนเดิมทุกอย่าง ที่ทำไปเป็นข้ออ้างให้ประชาชนคิดว่า ถ้าไม่มีกฏหมายฉบับนี้แล้วเราจะไม่ได้สิทธิโน่น ไม่ได้สิทธินี่ จริง ๆ สิทธิของประชาชนมีครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว



มาตรการตอบโต้หากกฏหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภา

นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ

(๒๓) มีแน่แต่จะไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน จะเป้นการตอบโต้ต่อรัฐบาล ตอบโต้ต่อผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ในแง่การดำเนินการจะมีการพูดคุยในกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านกันก่อน จะทำอย่างไรที่จะทำให้การตอบโต้นั้นมีผลต่อรัฐบาลโดยเฉพาะนักการเมืองไม่ใช่ประชาชน

(๒๔) (ต่อคำถามว่าจะมีการปิดโรงพยาบาลประท้วง) อะไรก็เป็นไปได้ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ให้บริการเป็นส่วนใหญ่... สิทธิของผมทำอะไรก็ได้ที่จะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เช่น จะพักร้อน จะลาป่วย ก็เท่านั้น



นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี

(๒๕) รายละเอียดบอกในที่นี่ไม่ได้ แต่มาตราการตอบโต้มีแน่ แต่ก็ไม่อยากให้เรื่องเดินไปถึงจุดนั้น ประเทศไทยมีมายาวนานแล้ว การออกกฏหมายควรจะเป็นกฏหมายที่เกิดความสมดุลระหว่าง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ออกมาแล้วให้ประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล้มหายตายจากไปเพราะกฏหมาย ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกหวยเพราะกฏหมาย

(๒๖) ฉะนั้นการรอเวลาสักระยะหนึ่ง ให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาพูดคุย ทำความเข้าใจกัน ตกลงกันถึงข้อดีข้อเสียของกฏหมาย จนได้ข้อสรุปแน่นอนแล้วค่อยผลักดันเข้าสภาฯ ไป แป๊บเดียวก็ผ่านสามวาระ

(๒๗) ประเด็นของกฏหมายฉบับนี้มันไม่ตรงไปตรงมา เป็นกฏหมายที่พยายามรวบรัดเอาเข้าไปก่อน โดยที่ไม่ได้ศึกษาผลกระทบอย่างแท้จริง ไม่มีงานวิจัยรองรับ ไม่มีการทำประชาพิจารณ์อย่างชัดเจนในหมู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ พอรู้ทีหลังก็จะเกิดเป้นปฏิกิริยาจึงต้องรีบทำโน่นรีบทำนี่ จึงเกิดมาตรการต่าง ๆ ที่เร่งด่วนฉุกเฉิน ถ้าเราใจเย็นอีกนิดนึงแล้วค่อยเอาร่างกฏหมายมาพูดมาคุยศึกาข้อดีข้อเสีย แล้วก็ผลักดันเข้าไปพร้อมกันทีเดียวทั้งสองฝ่าย น่าจะเกิดลดีต่อประชาชนโดยรวมมากกว่า ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข
โดย: ฝากคุณหมอ xyz ตอบด้วย [9 ต.ค. 53 20:03] ( IP A:58.9.106.42 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ผมว่าโจทย์แบบนี้ตอบไม่ยากหรอก
แพทย์ฝึกหัดก็ตอบได้
เพียงแต่ชาวบ้านจะตอบยาก เพราะไม่รู้ว่าตรงไหนโกหกบ้าง
แต่ผมดูแล้วผมว่ามีความเท็จอยู่มากมาย เพียงแต่คนพูดเท็จไม่รู้ว่าพูดโดยไม่รู้หรือรู้แล้วเจตนา(แบบนี้ถือว่าเลวร้ายมาก)
แล้วจะลองตอบดู แต่ขอกระดิกตี น ดูทีวีสักหน่อย เพราะอ่านแล้วเลือดขึ้นหน้า เดี๋ยวจะด่าบรรพบุรุษคนอื่นโดยไม่รู้ตัว
โดย: เบื่อคนชั่ว [10 ต.ค. 53] ( IP A:58.8.16.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ผมจะตอบให้นะ
แต่ผมคิดว่าไม่ใช่การตอบโต้หมอ
เป็นการตอบโต้ความคิดที่ผมเห็นว่าเลวมากๆ ทำร้ายประชาชนมากๆ
แต่ไม่ต้องเชื่อผมนะ ความคิดเขาอาจจะดีเลิศประเสริฐศรี แต่ผมมันเลวสุดๆ ผมเป็นหมอที่ถูกพักใบอนุญาตมาแล้วถึง 4-5 ครั้ง ความคิดผมคงจะเพี้ยนและอีเดียต ขอทุกคนอย่าได้ถือสา
(๑) กฏหมายฉบับนี้เพิ่งได้เห็นเมื่อ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ไม่มีใครได้รับรู้กฏหมายนี้มาก่อน มีความเป็นมาอย่างไร แต่ก็รู้ว่ามีมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ ในสมัย นพ.มงคล ณ สงขลา (สมัยรัฐบาลทักษิณ จริง ๆ เป็นรัฐบาล คมช. – พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์) ซึ่งจู่ ๆ ก็เงียบหายไปพักนึง แล้วก็โผล่ออกมา ยังไม่ทันไรก็จะเข้าสภาแล้ว เป็นเช่นนี้น่าจะสะท้อนความไม่โปร่งใส
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ความจริงกฎหมายนี้มีมานานแล้ว และในกฤษฏีกาก็มีการโต้แย้งจากฝ่ายแพทย์และแพทยสภามาแล้ว ไม่ใช่ว่าเพิ่งมี แต่หากแม้ว่าถึงจะเพิ่งมี ก็สามารถศึกษาได้ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากทางเทคนิคแบบ คอมพิวเตอร์หรือปรมาณู จะไปว่าไม่โปร่งใสได้อย่างไร
ที่พวก ห ไปออกหนังสืองุบงิบกับ สตช และ ชำเขา รธน จนท้องโย้มีลูกกรอกมาตรา นรกเรียกพี่ ไม่ยักกะว่างุบงิบ

(๒) เมื่อดูข้อกฏหมาย พบว่าเป็นกฏหมายด้านเดียว ขาดความสมดุล (ไม่มี equity)
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
กฎหมายนี้ สมดุลย์สุดๆ มีอีคิตี้ ชัดเจน เนื่องจากคนไข้เขาเห็นว่าพวกเขาซวยด้วยแพทย์ตามที่ไอโอเอ็มและองค์การอนามัยโลกยอมรับว่ามากกว่ารถชนกันตาย จากสาเหตุที่หมอชุ่ยทั้งๆที่ป้องกันได้ และก็เห็นใจหมอไม่อยากจะให้หมอจ่ายตังค์ ก็เลยลงขันจ่ายตังค์ช่วยกันเอง ช่วยหมอไม่ให้จ่าย ก็ชัดเจน แต่จะให้ไปช่วยให้ผลิตหมอพอเพียง มีเครื่องมือเครืองไม้ช่วยหมอทำงานและมีเงินจ่ายเวลาหมอโดนเข็มแทงก็จะไม่ยุติธรรมตามกฏหมายที่พวกแกเรียกเสียสวยว่าอีคิตี้ เพราะเงินแบบนั้นเป็นเงินของหลวงที่ต้องจ่ายไม่ใช่เงินคนไข้และหมอต้องหักเงินเดือนประกันสังคมแล้วไปเบิกจากประกันสังคมของกรมแรงงาน ส่วนรัฐ ก็ไปฟ้องเอาว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายก็มีอยู่แล้ว ไสหัวไปหามาฟ้องกันเอง ไม่ต้องสอนหรอก จบเนติฯแล้วนี่
จะมาหาว่าไม่มีอีคิตี้ อีขี้ตีนยังไง


(๓) ไม่มีการทำประชาพิจารณ์ ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยเฉพาะประชาชนที่ป่วยไข้และยากจน
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เงินกรู คนอื่นไม่เกี่ยว ผลกระทบไม่มี มีแต่จ่ายให้ฟรีๆ จากเงินแค่ 1-3 % ไม่ต้องถามหรอก ขนหน้าแข้งกรูไม่ล่วง ถึงกรูชาวบ้านจะจน แต่ก็พอมีจ่ายโว้ย ดีกว่าไปฟ้องยังกะขอทาน


(๔) การจัดตั้งกองทุนมีเงื่อนงำ กองทุนฯ นี้เป็นกองทุนที่มีความใหญ่โต เพราะเป็นกองทุนที่ระดมทุนจากสถานบริการทุกภาคส่วน ทั้ง สภากาชาด คลินิค โรงพยาบาลเอกชน ร้านขายยา ร้านกายภาพบำบัด ร้านเทคนิคการแพทย์ สถานผดุงครรภ์ หากพิจารณาแล้วภายใน ๑ ปีอาจจะระดมทุนได้ถึง ๕ พันล้านบาท
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ก็ตายจากป้องกันได้ปีละ 3 หมื่นถึง 6 หมื่นราย ตีเสียว่า 5 หมื่นราย ก็ได้รายละ5 ล้านเต็มที่ ก็พอสมควร ถ้าแกได้ 5 พันล้านจริง ส่วนที่ว่ามีเงื่อนงำ แกก็คิดเอง ใส่ร้ายคนอื่นไปหรือเปล่า ทีแกตั้งกองทุนสวัสดิการโรงพยาบาล ไม่เห็นแกบ่นอะไร หรือเงินที่บริษัทยาจ่ายให้หมอให้โรงพยาบาล แล้วยาแพง คนไข้ก็ทนกินยังไม่บ่นว่าแกมีเงื่อนงำเลย อย่าคิดมากเลยเงินชาวบ้านแกไม่ยุ่งจะดีที่สุด อย่ามัวใส่ร้ายคนอื่นไสหัวไปตรวจให้ครบ 50 รายอย่าอู้ละ ขี้เกียจรอ


(๕) เงิน ๕ พันล้านบาทไม่ต้องคืนคลัง สมบัติของชาติแทนที่จะนำไปทำประโยชน์ แต่กลับเอามากองไว้เฉย ๆ
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
คืนทำไม ก็เงินชาวบ้าน กองไว้ช่วยกันเอง ไม่ได้เงินภาษีจะได้ส่งคลัง บ้าหรือเปล่า ก็ไม่เห็นแกไปบอกบริษัทประกันให้ส่งเงินประกันที่เหลือให้คลัง หรือส่งเงิน พรบ ผู้ประสบภัยจากรถให้คลัง ที พรบ ผู้ประสบภัยจากแพทย์ดันจะให้ส่งคลัง
ทำอะไรก็ให้ยุติธรรมหน่อย อายชาวบ้านเขา ชาวบ้านเขากินข้าวไม่ได้กินหญ้า


(๖) ให้คนกลุ่มเดียวมาดูแล แล้วคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ร่างกฏหมาย และเมื่อไปดูกองทุนอื่น ๆ ก็กลุ่มคนกลุ่มนี้อีกแล้ว มาทำซ้ำ ๆ มีเงื่อนงำ เอาเงินเป็นที่ตั้ง หากเป็นเงินตัวเองไม่ว่า แต่นี่เป็นประชาชน เป็นเงินหลวง โดยตัวเองมีอำนาจเหนือกระทรวงการคลัง เหนือรัฐบาล
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ก็มีทุกกลุ่ม คน ห นะ ทั้งกลุ่มโรงเรียนแพทย์ กทม ทหาร ตำรวจ ได้ข่าวว่าซื้อซีทีสแกนราคาไม่เคยเท่ากันเลยไม่ใช่หรือ พวก ส.ส. รมต ที่พวกแกพยายามไปคุยด้วยก็ติดคุกมาก่อน แต่พวกที่แกด่านี่ยังไม่มีประวัติ ถ้าแกว่าเขาเลว แกก็ฟ้อง ปปช หรือ สตช หรือแพทยสภาก็ได้นี่นา เพราะเป็นหมอถ้าทำ เอี้ย โกงกินก็ผิดจรรยาบรรณ ฟ้องแพทยสภาได้เลย ทำไมไม่ฟ้องละ หรือว่าใส่ร้ายเขาไม่มีมูลความจริง ถ้าผิดจริงแกก็ฟ้องซิ ข้าจะไปถือป้ายเชียร์ ห ดีแต่ด่าเขา


(๗) การร่างกฏหมาย จะต้องมีการทำข้อมูลดิบ ศึกษาผลกระทบ มีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลกระทบของกฏหมาย ดูว่าใครจะได้รับความเดือดร้อนบ้าง โดยเฉพาะประชาชนตาดำ ๆ คนจนจะถูกทำร้างบ้างหรือเปล่า ระบบสาธารณสุขจะเสียหายบ้างไหม ซึ่งเมื่อระบบสาธารณสุขได้รับความเสียหายก็จะกระทบไปถึงความมั่นคงของชาติ ความหายนะของชาติได้ ฯลฯ ประเด็นเหล่านี้ไม่มีการศึกษา
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เรียนมากศึกษามากก็เปลืองตังค์ และโง่ว่ะ ลอกสวีเดนมาใช้ก็พอใช้ได้ ขืนไปร่าง พรบ กระทอก ออกมาอีก เสียเวลา สุดท้ายหายไปไหนละ เอามาเชียร์ต่อเซ่
ส่วนเรื่องข้อมูล ขนาดองค์การอนามัยโลกแกยังไม่ยอมรับเขาเลย
ศึกษามาแล้ว ผิดพลาด 0.000001 % อย่าไปศึกษาเลย อายเขา


(๘) ตัวผมเองถึงแม้ว่าจะเป็นผู้นำการเคลื่อนไหว แต่ก็เพิ่งรู้เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ แล้วประชาชนคนอื่นจะรับได้อย่างไร
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ก็หวังว่าแกไม่ได้พึ่งรู้หรือแกล้งโง่ หน้าตาแกไม่ได้บอกว่าเป็นอย่างนั้นนี่น่าใครจะเชื่อแก มีปัญญาอ้างตัวเลข 0.000001 % หลอกชาวบ้าน โง่ไม่ได้หรอก


(๙) เวลาอ่านตัวบทกฏหมาย ต้องอ่านทั้งหน้า ตั้งแต่หน้าแรกไปถึงหน้าสุดท้าย หน้าแรกสวยหรูแต่ข้างในซ่อนอะไรไว้ก็ไม่รู้ ขอให้ศึกษากฏหมายนี้ให้ดี เมื่อศึกษากฏหมายอย่างดีแล้วก็มานั่งถกวิจารณ์กัน อย่ามองว่าร่างกฏหมายที่จัดทำมานั้นจะไม่มีใครรู้
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เขาเขียนมาดีตั้งแต่ตัวแรกยันตัวสุดท้าย กฤษฏีกา อาจารย์เขาก็ตรวจสอบแล้ว แกยังว่าเองอวยอีก แกต้องไปหัดคิดใหม่ว่าใส่ร้ายเขาหรือเปล่า
แกเป็นหมอไม่ใช่หรือ กฤษฏีกาเขาเป็นทั้งหมอทั้งนักกฏหมาย ศาล อจ. นิติฯ
ข้าว่าแกอ้าปาก คนอื่นก็สลบเพราะกลิ่นปากแกมากกว่าที่ดูถูกกฤษฏีกานี่



(๑๐) โดยภาพรวมของร่างกฏหมายฉบับนี้ กล่าวสั้น ๆ ได้ว่า เป็นการเอาเงินภาษีอากรมาจัดตั้งกองทุน โดยให้ผู้ที่ผลักดันกฏหมายฉบับนี้ เข้าไปบริหารกองทุนนี้ แล้วเอาประชาชนมาเป็นข้ออ้าง ว่าจะมีการแจกจ่ายเงินให้ประชาชน เมื่อได้รับความเสียหาย จากการบริการสาธารณสุข
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เงินชาวบ้านครับคุณหมอ ยังอ้างว่าเงินภาษีอีก เงินกรูว้อย อย่าโมเม
อดีตที่แจก 78 ล้าน จาก 1200 ล้าน อย่ามาพูดว่าแจก ให้หมา แด ก ยังมากกว่าเลย นี่คนพิการ พ่อแม่เขาตาย ลูกเขาตาย ให้ยังกะขอทาน อย่ามาว่าแจกเลย แจกชิบหายก็จะไม่ว่าเลย ขอให้แจกให้ชิบหายทีเถอะจะได้ไปกราบตีนพวกคนแจกว่าแกเริ่มรู้จักว่าอะไรคือมนุษยธรรม


(๑๑) จริง ๆ แล้ว จากตัวเลขการรักษาพยาบาลในทุกสถานพยาบาลทั่วประเทศจำนวน ๒๐๐ ล้านครั้งต่อปี พบว่ากรณีที่มีปัญหาการฟ้องร้อง เรียกร้องกัน มีเพียงร้อยละ ๐.๐๑ ของ ๒๐๐ ล้านครั้งเท่านั้น ซึ่งการตั้งกองทุนนี้เข้ามา จึงเป็นการนำเงินส่วนใหญ่ของประชาชนร้อยละ ๙๙.๙๙ เอามากองไว้เพื่อไปให้กับประชาชนร้อยละ ๐.๐๑
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ไอ้ที่พูดนะ ขอโทษที ใช้อะไรส่วนไหนพูด อุบาทว์สุดๆ
พวกแกทำคนไทยตายมากกว่ารถยนต์ชนตายนะ ปีละ 5-6 หมื่นคน ยังมีหน้ามาพูดแบบนี้อีก เป็นหมอประเภทไหนวะ
ถ้าสมมุติว่าเดี๊ยงแสนคน แกตรวจ 2000 แสนครั้ง ก็เท่ากับเอา 2000 คนไปจ่าย 1 คน ก็สมเหตุสมผล อย่าพูดตัวเลขเลย อายสุนัขมัน

(๑๒) และที่สำคัญ คือ การนำเงินมาใช้แบบนี้มีนายหน้าหักค่า หัวคิว โดยในกฏหมายฉบับนี้เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า มีค่าบริหารจัดการ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ ของกองทุนนี้ต่อปี หมายความว่าเมื่อคำนวนแล้วคร่าว ๆ รายได้จากสถานพายาลทั่วประเทศไทยที่จะเข้ามาสู่กองทุนนี้หลายพันล้านบาท บต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะถึงหมื่นล้านบาท ดังนั้นเงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์จึงเป็นเงินจำนวนมหาศาล แล้วเงิน ๑๐ เปอร์เซ็นต์นี้ก็จะอยู่ในการบริหารจัดการของกลุ่มคนที่ช่วยกันผลักดันกฏหมายฉบับนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดบังนำเงินที่จะสามารถนำไปพัฒนาการแพทย์ การสาธารณสุข ให้กับคนอีก ๙๙.๙ เปอร์เซ็นต์ ให้ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ทันสมัยขึ้น มีเครื่องมือเครื่องไม้ที่สมบูรณ์ขึ้น ปรากฏว่าเราจะต้องกันเงินส่วนนี้มาให้กับคนกลุ่มนี้ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อคนส่วนใหญ่
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เขาจะเอาไปทำอะไรก็ยังเหลือถึงชาวบ้านละว้า ทีแกกำไรคนไข้หลายสิบเปอร์เซ็นต์ ข้ายังไม่ว่าเลย แค่สิบเปอร์เซ็นต์ บริหารจัดการ เครดิตการ์ดหัก 3-5 % ทำอะไรหนักหนา ถ้าเอาไป 15 % แล้วงานดี ข้าก็ยังว่าโอเคเลย แต่นี่ยังไม่ได้ทำเลยว่าดีเลวแค่ไหน พวกแกก็ด่าๆๆๆแล้ว คงจะโกงหรือทำ ห ผ่านสายตาพวกแกได้หรอกนะ


(๑๓) การตั้งกองทุนแบบนี้ มองผิวเผินอาจจะมองว่าประชาชนเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ พอมีเหตุการณืก็สามารถไปเรียกร้องเงินได้ แต่ว่าในความเป็นจริงในภาวะเช่นนี้ เป็นเพียงภาวะชั่วคราว เพราะว่าต่อไปคนที่จะมาเรียกร้องจะมีจำนวนมหาศาล และในที่สุดกองทุนนี้อาจจะแบกรับไว้ไม่ไหว ก็จะทำให้สาธ ารณสุขทั้งระบบ จะรวนเร ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติการในระดับไหนก็แล้วแต่ จะเกิดความไม่มั่นใจ ขาดขวัญกำลังใจในการดูแลรักษา แล้วก็จะเกิดภาวะที่อันตรายถ้าผู้ให้บริการสาธารณสุข ไม่กล้ารักษาโรคยาก ๆ ไม่กล้ารักษาโรคที่มีอัตราเสี่ยงสูง อาจจะใช้วิธีส่งต่อผู้ป่วยในทางอ้อม เพราะว่าเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาลซึ่งมีความพร้อมในการรักษาไม่เท่ากัน ที่นี่อาจจะมีเครื่องมือครบ ที่นี่อาจจะมีเพียงบางส่วน ที่นี่ขาดแคลน เมื่อไม่พร้อมการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดก็คือ การส่งตัวไปรวมกันอยู่ในที่ที่พร้อม ซึ่งมีไม่กี่แห่งในประเทสไทย ในที่สุดประชาชนก็จะได้รับผลกระทบเป็นหลัก เนื่งจากภาวะแบบนี้โดยปกติจะไม่เกิดขึ้น แต่หากกฏหมายนี้มีผลบังคับใช้เมื่อใด ผู้ให้บริการสาธารณสุขจะขาดความมั่นใจ ในการปฏิบัติงาน ซึ่งแต่เดิมผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานเต็มกำลังความสามารถ ดังนั้นถ้าเกิดมีความไม่มั่นใจก็จะเกิดการส่งต่อขึ้นไป ผลก็คือประชาชนจะไปแออัดอยู่ในสถานบริการบางแห่ง และจะมีคิวรอการรักษาที่ยาวนาน ในที่สุดผลกระทบก็จะไปตกอยู่กับประชาชน
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
แกก็มองการณ์ไกล แต่ใส่ร้ายเขาหรือเปล่า ที่เจอๆอย่างในสหรัฐนี่ พบแต่ว่าค่ารักษาแพงจนประชาชนจ่ายไม่ไหวในขณะที่หมอรวยกระเป๋าตุง ไม่ใช่ระบบแย่และคนไข้ลำบาก พวกหมอตัวดีเบิกเงินหลวงเกิน แหกตาอ่านบ้างนะ
https://www.cbsnews.com/stories/2003/07/17/60minutes/main563755.shtml
โกงเงินหลวงแบบน่าเกลียดสุดๆ เอาคนปกติไปแหกอกผ่าตัด หมอเป็นคนทำนะ ไม่ใช่หมา เมืองไทยคงไม่มีหรอกแบบนี้ คนไข้เชื่อไหมละ แต่ผมไม่เชื่อนะ ผมเจอมาแล้ว เพียงแต่ฟ้องศาลไม่ชนะเท่านั้น จะเอาลูกเขามายืนยันไหมละ ขนาดปรมาจารย์นิติแพทย์บอกให้ฟ้องอาญาเลย แกก็ส่งต่อซิ ถ้าทำไม่ได้ ใครจะไปว่าอะไร ตายก็ตายว่ะ ดีกว่าแกไม่ส่งต่อเอาไปผ่าตัดชุ่ยๆ เก็บเงินแล้วก็ตายห่เหมือนกัน
พูดดีใส่ตัว ชั่วให้คนอื่น นักการเมืองเขาใช้กัน หมอเขาไม่ทำหรอก





(๑๔) มีกรณีตัวอย่าง ที่ อ.ร่อนพิบูลย์ ซึ่งผ่าตัดใส้ติ่งแล้วมีปัญหา ทำให้โรงพยาบาลชุมชนซึ่งเคยดำเนินการผ่าตัดใส้ติ่งหรือหัตถการง่าย ๆ ก็จะไม่ทำเลย จะส่งต่อมายังโรงพยาบาลจังหวัดทั้งสิ้นเลย นี่แค่กรณีเดียวซึ่งมีผลกระทบสูงมาก
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
แกไม่ผ่าตัดก็ดีแล้ว ไส้ติ่งทุกวันนี้ที่ตายไม่ใช่ไม่ผ่าตัดหรือส่งต่อ แต่เป็นเพราะส่งมาแล้วก็ไม่ผ่าให้อีก
ไส้ติ่งไม่ผ่าตัดฉีดยาก็ได้
ทุกวันนี้ที่พวกแกไม่ผ่าตัดไม่ใช่ว่าไม่กล้าหรอก พวกแกประชดเอาคนไข้เป็นประกัน พวกคนไข้เขากลัวตายหรอกนะ ผ่าก็ตายไม่ผ่าก็ตาย ต่างกันตรงไหน ถ้าหมอมันเลว คนไข้ก็ตายลูกเดียว ถ้าหมอมันดี ไม่ตาย
แต่ขอโทษที ตายคราวหน้า ภาวนาให้คนไข้ฟ้องอาญาเอาให้เละกว่าร่อนพิบูลย์ ให้ลืมเรื่องร่อนพิบูลย์ไปเลย อย่ามาขู่ให้ยากเลย เขาคงกลัวตาย ละว่ะ


(๑๕) นายแพทย์ท่านหนึ่ง ที่ จ.ร้อยเอ็ด ทำการศึกษาวิจัย พบว่า หากโรงพยาบาลร้อยเอ็ดไม่สามารถที่จะดูแลตามมาตรฐานได้ ด้วยเงื่อนไขทางบุคลากร เงื่อนไขทางเครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ แล้วจะส่งต่อไปยังขอนแก่น อุบล อุดร คนจน ๆ ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า ๗๐ บาท เหล่านั้น เขาบอกว่าจะขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน จะไม่ขอไปรักษาเพราะไม่มีค่าใช้จ่ายดูแลจากการส่งต่อออกไปรับการรักษานอกสถานที่ นี้เป็นผลสะท้อนที่น่าเจ็บปวดมาก
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เชื่อแกก็บ้าแล้ว ไปออกข่าวหนังสือพิมพ์ บอก ส.ส. วันเดียวก็รวย มีหมอแย่งกันดังมาออกข่าวรับไปรักษา เชื่อแกก็บ้าแล้ว ชาวบ้านเขาไม่ได้โง่ กินหญ้า กินข้าวนะว้อย
มีแต่ประกันสังคม เลื่อนคนไข้เลื่อนแล้วเลื่อนอีกไม่ยอมผ่าตัด จนผมต้องส่งไปผ่าตัดที่ รพ อื่นแล้วส่งบิลมาเก็บ รพ แรก ก็เห็นยอมจ่ายเรียบร้อยดี (ไม่จ่ายซิจะฟ้องให้เป็นกรณีตัวอย่าง)


(๑๖) การออกกฏหมายแบบนี้มา ประชาชนประมาณ ๑๐,๐๐๐ รายชื่อ ที่ร้อยเอ็ดเขาต่อต้าน เขากระทบมาก กลายเป็นการไปทำร้ายคนจน กฏหมายนี้อ้างประชาชน แต่เนื้อหาทำร้ายคนจน
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ชาวบ้านเขาเห็นแกเป็นคนดี แกบอกยังไงเขาก็เชื่อ แต่แกโกหกเขาไม่ได้ตลอดหรอกวันหนึ่งเขารู้ทัน เขาจะกลับมาปาไข่เน่าให้แกกิน ไม่นานเกินรอ ขืนยังทำตัวไม่ดี


(๑๗) ในแง่การฟ้องร้องและเรียกค่าชดเชย มีกระบวนการอยู่แล้วใน พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา ๔๑ ซึ่งปัจจุบันยังคุ้มครองไม่หมด แต่สามารถจะแก้ไขกฏหมายให้ครอบคลุมได้ สามารถเพิ่มเพดานต่อเนื่องไปได้ จากสองแสนไปเป็นล้านบาทก็ยังได้
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
แกไปเรียนกฎหมายใหม่มาก่อนเถอะ อย่าสอนหนังสือสังฆราช(กฤษฏีกา)เลย ข้าเป็นแค่นิติศาสตร์ระดับเณรแถ ยังเบื่อฟังแกโกหกเลย


(๑๘) เงิน ๑ เปอร์เซ็นต์ที่นำมาจาก กองทุน ปีละประมาณหนึ่งพันล้าน ตอนนี้ ๘ ปี แปดพันล้านเข้าไปแล้ว แต่ใช้จริง ๆ แค่ สอง-สามร้อยล้านเท่านั้นเอง สำนักงานหลักประกันสุขภาพ ชี้แจงได้ไหมที่เหลือนั้นหายไปไหน ทำไมจึงต้องผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นมาอีก ทำไมไม่ใช้กฏหมายเดิมที่มีอยู่
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ก็แกมันโหด เขาไปคลอดลูกพิการ จ่ายเขา 6-7 หมื่นแล้วบอกไม่มีมูล เขาไปฟ้องศาล ยอมกันที่ 6 ล้าน แกลองคุณ 10 ซิ พอดีแปะเลยตามทฤษฏี


(๑๙) ส่วนกลไกทางกฏหมายที่จะไปร้องเรียนกัน ก็มีสภาทนายความ มีส่วนที่ช่วยเหลือสังคมในการเร่งรัดคดีความ การเยียวยา ในปัจจุบันนี้สถานพยาบาลก็มีการเยียวยาทันทีเพียงแต่ว่าไม่ได้มีการออกสื่อ ในแต่ละโรงพยาบาลจะมี หน่วยสวัสดิการผู้ป่วย ที่จะสามารถให้การเยียวยาในระดับต้น ซึ่งได้ช่วยไปเยอะแล้วไม่ใช่ไม่มี
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
สภาทนายความหรือ ได้ตั๋วเมื่อไหร่จะฟ้องให้ดูเป็นขวัญตา จะได้รู้ว่ามีทนายที่รับใช้ฝ่ายตรงข้ามประชาชนกี่คนหน้าไหนบ้าง (ไม่ว่ากันหรอก ก็ทำตามหน้าที่ทนาย โจรจ้างยังทำงานให้ได้เลย ไม่ว่ากัน )





(๒๐) ประเมินดูแล้วว่าผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันนี้แม้ยังไม่มีกฏหมาย ประชาชนก็ได้รับผลประโยชน์ทุกประการเหมือนเดิมอยู่แล้ว
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
รับเศษเงินขอทานละซิ มันอุทธรณ์ฏีกาไม่เลยลดละ ไปถามดอกรักดู ต้องกราบตีนกว่าจะได้เงินที่ศาลสั่งให้จ่าย ไปดูไทยรัฐ เขาด่าว่ายังไง “หมออำมหิต”


(๒๑) เพียงแต่ว่าความแตกต่างของการมีและไม่มีกฏหมายฉบับนี้ กับการเร่งผลักดันจนิดสังเกตุ ก็คือ จะมีกองทุนใหม่เกิดขึ้น อีกหนึ่งกองทุน มีมูลค่าห้าพันถึงหมื่นล้านบาทขึ้นไป ซึ่งกองทุนใหม่นี้จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกลุ่มคนที่ผลักดันอยู่ แล้วก็อ้างว่าประชาชนจะได้ประโยชน์ ซึ่งแท้ที่จริงผลประโยชน์ของประชาชนมีอยู่แล้วในทุกระบบ และในกฏหมาย สปสช. มาตรา ๔๑ ยังสามารถขยายผลประโยชน์ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มได้ ทั้งประชาชนในกลุ่มประกันสังคม ข้าราชการ รวมทั้งขยายวงเงินที่จะเพิ่มให้ในแต่ละครั้งก็สามารถที่จะดำเนินการได้ เป็นอำนวจของคณะกรรมการ และรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถดำเนินการได้ง่ายมาก
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ก็แกมันมั่ว กฎหมายเก่าแก้ได้ที่ไหนมาตรา 41 สุดท้ายแล้วก็ต้องไปออก พรบ มาแก้ พรบ แล้วกฏหมายใหม่เขาก็ดีกว่า จะไปแก้กฎหมายเก่าทำไม นอกจากแกกลัวอะไร ถามจริงๆกลัวอะไร

(๒๒) เพียงแต่ว่าบังเอิญกลุ่มบุคคลที่อยู่ใน สป.สช. ซึ่งมีสิทธิที่จะขยาย แต่ไม่ขยาย เป็นบุคคลกลุ่มเดียวกับผู้ที่ผลักดันร่างกฏหมายนี้ กลุ่มนั้นก็จะออกมาประกาศว่าไม่ขยาย เพื่อผลักดันให้กฏหมายฉบับนี้ออกมา แท้ที่จริงแล้วในกฏหมายฉบับนี้สิทธิของประชาชนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เหมือนเดิมทุกอย่าง ที่ทำไปเป็นข้ออ้างให้ประชาชนคิดว่า ถ้าไม่มีกฏหมายฉบับนี้แล้วเราจะไม่ได้สิทธิโน่น ไม่ได้สิทธินี่ จริง ๆ สิทธิของประชาชนมีครบถ้วนสมบูรณ์อยู่แล้ว
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เขาทำงานดีแล้ว ขืนแก้แบบแกว่า(ขยาย) ข้าก็จะไปฟ้องเขาคนแรกต่อศาลปกครอง
สิทธิ์เขามีแต่เดิม แต่เวลาไปเอาเงิน ยังกะขอทาน เหมือนเดิมที่จนก็รักษาฟรี แต่ต้องไปขอ ของใหม่ 30 บาท ไม่ต้องขอว้อย ข้ามีสิทธิ์เต็ม เดินยืดได้เลย



มาตรการตอบโต้หากกฏหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภา


(๒๓) มีแน่แต่จะไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน จะเป้นการตอบโต้ต่อรัฐบาล ตอบโต้ต่อผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ในแง่การดำเนินการจะมีการพูดคุยในกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านกันก่อน จะทำอย่างไรที่จะทำให้การตอบโต้นั้นมีผลต่อรัฐบาลโดยเฉพาะนักการเมืองไม่ใช่ประชาชน
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
ข้าท้าแกหยุดงาน ตรวจละเอียด ล้วงทุกรูที่อยากล้วง เจาะทุกที่ที่อยากเจาะ แน่จริงทำเลย อย่าดีแต่ปาก


(๒๔) (ต่อคำถามว่าจะมีการปิดโรงพยาบาลประท้วง) อะไรก็เป็นไปได้ ตอนนี้ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ให้บริการเป็นส่วนใหญ่... สิทธิของผมทำอะไรก็ได้ที่จะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน เช่น จะพักร้อน จะลาป่วย ก็เท่านั้น
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
เผาโรงพยาบาลเลยก็ได้นะ คงไม่มีใครว่าแกหรอก เพราะอาจจะมีณัฐวุฒิมาบอกอีกว่าเผาเลยพวกเรา ผมรับผิดชอบเอง ก็ขอให้พักร้อนนานๆ ลาป่วยนานๆ อย่าโผล่มาให้เห็นได้ก็ดี หรือลาออกไปเลย ช่วยลาออกทีเถอะ คนเขาเบื่อแกมากเลย สงสัยคงต้องรวมตัวไล่กันเป็นตัวอย่าง ดีไหมพวกเรา (ผมพูดเล่นนะอย่าทำเลย มารยาททรามแบบนั้น เครือข่ายคงไม่ทำ)





(๒๕) รายละเอียดบอกในที่นี่ไม่ได้ แต่มาตราการตอบโต้มีแน่ แต่ก็ไม่อยากให้เรื่องเดินไปถึงจุดนั้น ประเทศไทยมีมายาวนานแล้ว การออกกฏหมายควรจะเป็นกฏหมายที่เกิดความสมดุลระหว่าง ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ออกมาแล้วให้ประชาชนอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งล้มหายตายจากไปเพราะกฏหมาย ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกหวยเพราะกฏหมาย
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
วันไหนพวกเราไปฟ้องพ่อเราดีไหม พ่อเรานะ ยูเอ็น พ่อพวกมันด้วยเอาอีกสักทีดีไหม(ผมพูดเล่นนะอย่าไปเลย ทะเลาะกันอายหมาเปล่าๆ)


(๒๖) ฉะนั้นการรอเวลาสักระยะหนึ่ง ให้แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาพูดคุย ทำความเข้าใจกัน ตกลงกันถึงข้อดีข้อเสียของกฏหมาย จนได้ข้อสรุปแน่นอนแล้วค่อยผลักดันเข้าสภาฯ ไป แป๊บเดียวก็ผ่านสามวาระ
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
วอล์กเอ้าทดีกว่าพูดกะพวกแก (ความคิดของคนที่วอล์กเอ้าท์มาแล้ว)


(๒๗) ประเด็นของกฏหมายฉบับนี้มันไม่ตรงไปตรงมา เป็นกฏหมายที่พยายามรวบรัดเอาเข้าไปก่อน โดยที่ไม่ได้ศึกษาผลกระทบอย่างแท้จริง ไม่มีงานวิจัยรองรับ ไม่มีการทำประชาพิจารณ์อย่างชัดเจนในหมู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ พอรู้ทีหลังก็จะเกิดเป้นปฏิกิริยาจึงต้องรีบทำโน่นรีบทำนี่ จึงเกิดมาตรการต่าง ๆ ที่เร่งด่วนฉุกเฉิน ถ้าเราใจเย็นอีกนิดนึงแล้วค่อยเอาร่างกฏหมายมาพูดมาคุยศึกาข้อดีข้อเสีย แล้วก็ผลักดันเข้าไปพร้อมกันทีเดียวทั้งสองฝ่าย น่าจะเกิดลดีต่อประชาชนโดยรวมมากกว่า ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการสาธารณสุข
**********************************************ค้านๆๆๆๆๆๆ
แกใส่ร้ายเขาน่าเกลียดมากเลย โรงพยาบาลรามา จะรับคำด่าแกไปเต็มๆเลยนะนี่



คิดเสียว่าอ่านมันๆ
โดย: คนบ้าคิด อย่าถือสา [10 ต.ค. 53 3:05] ( IP A:58.8.16.111 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ขอบคุณคุณหมอทั้งคนตั้งกระทู้ และ xyz ผมชาวบ้านธรรมดาไม่มีปัญญาตอบหรอก
คำถาม ... แบบนี้
โดย: เจ้าบ้าน [10 ต.ค. 53 23:18] ( IP A:110.168.3.148 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ต่อไปถ้าแกอู้ เลื่อนไม่ผ่าตัด เลื่อนไม่ตรวจ รอตรวจนาน ข้าจะฟ้องเป็นตัวอย่าง
เอาแบบนางปีศาจร้ายในสายตาหมอของอังกฤษนี่ อ่านได้เลย
แล้วแกต้องจ่ายตังค์เอง เพราะแกทำด้วยเจตนาร้าย เลื่อนโดยไม่มีเหตุผล
ข้าจะไปรักษาบำรุงราษฎร์ แอร์เย็น แล้วมาเบิกหลวง
อ่านซะ
https://news.bbc.co.uk/2/hi/health/4985190.stm
โดย: คงได้เจอกัน [11 ต.ค. 53] ( IP A:58.8.212.214 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   คดีนี้เมื่อไหร่พวกแกจะจ่ายเขาซะที
คดีอาญาเขาก็ใจดีถอนให้แล้ว
https://thaidocscandal.com/news020508.htm

โดย: ฟฟ [11 ต.ค. 53] ( IP A:58.8.212.214 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   โธ่ถัง บรรดาคุณหมอทั้งหลายที่ออกตัวมาค้าน พ.ร.บ. ฯ ฉบับประชาชนเนี่ย

ท่านได้แต่ตั้งแง่ ตั้งประเด็นให้เรื่องมันสลับซับซ้อน ให้ชาวบ้านเข้าใจยาก (ซึ่งในหลายประเด็นหลายข้อความที่แสดงนั่น ผมว่าหมอเซ่อๆซ่าๆ ด้วยกันบางคนก็ไม่เข้าใจ เพราะมั่วจนตัวหมอเจ้าของประเด็นเองก็งงงวย)

พวกเราที่เป็นชาวบ้านๆ ไม่ลองใจเย็นๆคิดง่ายๆเทียบเรื่องจริง ย้อนทบทวนเรื่องราวกลับไปดูทีซิ ดูบรรดาเรื่องคนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์ที่เรารู้เห็นกันอยู่

แต่ละเรื่องแต่ละคดีที่ ทุจริต ขี้โกง ตอบคำถามที่เกิดขึ้นไม่ได้ชัดๆ ทำกันเป็น "ละคอนฉากเดียวกันทั้งประเทศ"

แต่พอ พ.ร.บ. ฯ ฉบับประชาชนนี้กำลังจะออกมา แหม อุ๊แม้จ้าวโว้ย

เก่งกันเป็นนักหนา คิดได้แง่มุมปัญหาสลับซับซ้อน (จริงมั่ง เซ่อมั่ง ปัญญาอ่อนแบบดูดีดูหล่อมั่ง โฮ้ย!!!!! จิปาถะ) จินตนาการ, นึกฝัน, นั่งเทียนออกมาจากในอากาศกันได้เป็นวรรคเป็นเวร

เราท่านชาวบ้านๆ ก็นึกเสียว่า ดูพวกหมอปัญญาอ่อนแสดงปาหี่หลอกชาวบ้านก็แล้วกัน

พวกหมอปัญญาอ่อนที่ออกมาแหกปากปาวๆตั้งแง่เอากับ พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่น่ะ ถ้าคิดและฉลาดรอบรู้บรรดาแง่มุมปัญหาที่ว่ามาซะเยอะแยะนั่น

แล้วทำไมปล่อยให้ปัญหานี้อยู่มาจนทุกวันนี้วะ

ทั้งๆที่ตัวหมอเองก็กินอนอยู่กับปัญหาแล้วก็เป็นตัวก่อปัญหาขึ้นเองทั้งนั้น

ทำไมถึงได้ปล่อยให้ปัญหาบานปลายอยู่เป็นชาติจนคนไข้ต้องลุกฮือออกมาประจาน แล้วหาทางแก้ปัญหากันเอาเอง วะ!!!!!!!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [11 ต.ค. 53 9:37] ( IP A:61.90.5.70 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   เจอขาใหญ่เข้าไปแค่ 2 ดอก จุกจนพูดไม่ออกเลย
โดย: เฮ้อ ๆๆๆ [11 ต.ค. 53 10:33] ( IP A:210.86.181.20 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน