KHAN ค้านทหารเรือ
   สรุปผลการรวบรวมความคิดเห็น
เกี่ยวกับร่าง “ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.......”
ในส่วนของกรมแพทย์ทหารเรือ

๑. กรมแพทย์ทหารเรือได้มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงานรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง “ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.......” เมื่อ วันที่ ๑๘ ส.ค.๒๕๕๓
๒. คณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ประธานองค์กรแพทย์ ประธานองค์กรพยาบาลของสถานพยาบาลหลัก ๔ แห่ง ได้แก่ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ รพ.ทหารเรือกรุงเทพ ได้ประชาสัมพันธ์ ชี้แจง ประสาน ติดต่อ ขอรับทราบความคิดเห็นจากบุคลากรในหน่วยงาน โดยใช้เวลาประมาณ ๒ สัปดาห์
๓. คณะทำงานได้นำ รายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.......” ลงเผยแพร่ในเว็บไซด์ของกรมแพทย์ทหารเรือ พร้อมทั้ง เรื่องราวและเอกสาร ข้อคิดเห็นในแง่มุมต่างๆให้บุคลากรได้ศึกษา และวิพากษ์ วิจารณ์

ผลการรวบรวบข้อมูลและความคิดเห็นจากบุคลากร ในกรมแพทย์ทหารเรือ
สรุปได้ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐาน
๑.๑ จำนวนบุคลากร

แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ สหสาขาวิชาชีพ รวม
๓๖๒ ๕๒ ๒๗ ๑,๖๖๔ ๓๙ ๒,๑๕๔

๑.๒ สถิติการให้บริการ ผู้ป่วยนอกปีละ ๑,๒๐๐,๐๐๐ ครั้ง ผู้ป่วยในปีละ ๒๑,๐๐๐ ครั้ง
๑.๓ จำนวนอุบัติการณ์ การร้องเรียน ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ – ๒๕๕๒ พบน้อยมาก
๑.๓.๑ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ไม่พบการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากโรงพยาบาล และไม่มีกรณี ที่ต้องจ่ายชดเชยตามมาตรา ๔๑ ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
๑.๓.๒ รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พบ ๖ ราย ไกล่เกลี่ยแก้ไขได้ ๓ ราย รพ.จ่ายค่าเสียหาย ๒ ราย อยู่ระหว่างการฟ้องร้อง ๑ ราย




ส่วนที่ ๒ ผลกระทบต่อกรมแพทย์ทหารเรือ หากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้
๒.๑ มีภาระด้านการเงินมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ปีละ ๑๐ ล้านบาท
KHAN
เก็บคนไข้เพิ่ม 2-3 % รพ ไม่เกี่ยว
๒.๒ กระทบต่อความรู้สึก ขวัญและกำลังใจของบุคลากร ส่งผลต่อการรักษาและการปฏิบัติต่อผู้ป่วย
KHAN
คงไม่กระทบ เพราะต่อไปม่ต้องจ่ายเงินเอง และเป็นการแก้ไขปัญหาที่ทำคนไข้ตายปีละมากๆ น่าจะดีใจ
๒.๓ เพิ่มความเสี่ยงต่อการดำเนินการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา กระทบต่อความสัมพันธ์อันดีกับผู้ป่วย
KHAN
คงไม่ใช่ หากมีคนจ่ายเงินแทน คนไปฟ้องศาลคงน้อยลง ไปศาลไม่สนุกหรอก
ส่วนที่ ๓ ความเห็นและข้อเสนอแนะในภาพรวม
๓.๑ เห็นด้วยกับหลักการและเจตนารมย์ที่จะช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบแต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการออก พ.ร.บ.ฉบับนี้ ควรคิดหาหนทางอื่นที่ดีกว่า เช่น การขยายความครอบคลุมในมาตรา ๔๑ ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
KHAN
ทำไมได้เพราะ ต้องออก พรบใหม่ และโครงการนอก 30 บาทจะไม่ได้รับการคุ้มครองเพราะงินคนละส่วนกัน
๓.๒ ไม่มั่นใจในระบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ. ว่าจะมีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่า และ เหมาะสมกับเศรษฐานะของประเทศ
KHAN
ที่นิวซีแลนด์และสวีเดน พิสูจน์มาแล้วว่าได้ผลดี
๓.๓ ไม่มั่นใจในกระบวนการ และขั้นตอนของการดำเนินงานของคณะกรรมการ ขั้นตอนปฏิบัติ ว่าจะเกิดความสะดวก ความเป็นธรรม และมีความกังวลใจต่อความสุ่มเสี่ยง ในการเกิดผลแทรกซ้อนในระยะยาว
KHAN
แต่ประชาชนมั่นใจมานานแล้วว่า ระบบเยียวยาเดิมนั้น ไม่ว่าการสอบสวนทั้งของกระทรวง ของแพทยสภา ไม่มีมูลแบบเข้าข้างหมอ ถ้าคุณแค่ไม่มั่นใจก็ไม่น่าจะคัดค้าน
๓.๔ ควรเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ให้บริการด้วยเพื่อให้เกิดความเสมอภาค
KHAN
ต้องไปออกกฎหมายใหม่ เงินคนไข้ เป็นหมอ/พยาบาลไปเอาของเขานี่น่าละอาย


ส่วนที่ ๔ ความคิดเห็นในรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.
๔.๑ มาตรา ๑ ชื่อพรบ.คุ้มครองแต่ผู้รับบริการ ควรคุ้มครองผู้ให้บริการด้วยตามมาตรา ๘๐ ใน รัฐธรรมนูญ สมควรเปลี่ยนชื่อ เป็น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งคุ้มครองทั้งสองฝ่าย
KHAN
ภาษามันไม่ได้ทั้งภาษาไทยและกฎหมาย ศาลฏีกาเขาก็เตือนแบบสุภาพแล้ว ว่าให้ส่งกฤษฏีกา อายเขาบ้าง
๔.๒ มาตรา ๓ นิยามการบริการสาธารณสุข ครอบคลุม งานส่งเสริมสุขภาพ ด้วยหรือไม่ กรณีมีกิจกรรมออกกำลังกาย ถ้าขณะออกกำลังกาย ผู้รับบริการสะดุดขาตัวเอง ล้มแขนหัก กองทุนต้องจ่ายด้วยใช่หรือไม่
KHAN
คงไม่ถึงขนาดนั้น คนจ่ายเงินเขาคงมีสมอง
๔.๓ มาตรา ๓ ผู้เสียหาย เสียหายเฉพาะทางกายหรือทางจิตใจด้วย เบื้องต้นคิดว่าเจตนาเฉพาะผู้เสียหายทางกาย แต่อนาคตมีแนวโน้ม เรียกร้องความเสียหายทางจิตใจด้วย ซึ่งอาจประเมินได้ยาก ควรกำหนดคำจำกัดความ ความเสียหายให้ชัดเจน
KHAN
ตามกฏหมายเขามีสิทธิ์ จ่ายมากจ่ายน้อยก็เงินเขาเอง ไปห่วงทำไม
๔.๔ มาตรา ๖ (๑) (๒) มีเรื่องมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงิน ทำให้ต้องมีการพิสูจน์ถูกผิดซึ่งขัดแย้งกับมาตรา ๕ ที่ระบุว่าไม่ต้องมีการพิสูจน์
KHAN
มาตรา 5 เขาว่าคนไข้ไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด (ผิดหรือไม่ ผิดอย่างไร ใครทำผิด)แต่คณะกรรมการต้องพิสูจน์ว่าผิดจึงจ่ายเงิน
๔.๕ มาตรา ๗ ชื่อคณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีไม่ตรงกับชื่อร่างคุ้มครองความเสียหาย
องค์ประกอบของคณะกรรมการควรมีสภาวิชาชีพที่เป็นตัวแทนโดยชอบธรรมของผู้ให้บริการเป็นกรรมการ พิจารณาเรื่องมาตรฐานด้วย ตามร่างของคณะกรรมการกฤษฎีกา (ถ้ายืนยันตามมาตรา ๖)
KHAN
แพทยสภาบอกไม่มีมูล ศาลก็ลงโทษไปเยอะแล้ว
อ่านนี่ดูก็ได้ ว่าแพทย์เชื่อได้แค่ไหน https://www.cbsnews.com/stories/2003/07/17/60minutes/main563755.shtml
๔.๖ มาตรา ๒๑ การจ่ายเงินเข้ากองทุน สถานพยาบาลทั้งหมดรวมภาครัฐต้องถูกบังคับจ่าย ถูกปรับ ถูกฟ้องถ้าไม่จ่าย เป็นภาระและกดดันสถานพยาบาลส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ขวัญกำลังใจ ซึ่งอาจมี ผลต่อการรักษาผู้ป่วยได้
KHAN
เก็บเงินคนไข้ ไม่น่าจะเดือดร้อน
๔.๗ มาตรา ๒๒ (๖) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงิน เบื้องต้นเข้าใจว่าเพียงดอกเบี้ยเงินฝากของกองทุน แต่ถ้าเอาเงินกองทุนไปลงทุนได้ ระบบกองทุนจะมีความเสี่ยง จะเหมือน กองทุน กบข.หรือไม่?
KHAN
คงซื้อได้แต่พันธบัตรรัฐบาลจะดีกว่า
๔.๘ มาตรา ๓๑ ในการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยแก่ผู้เสียหายของคณะกรรมการฯ ผู้เสียหายมีสิทธิ์ไม่ยอมรับ แต่สถานพยาบาล (เจ้าของเงินหรือสถานพยาบาลผู้ให้บริการ ) ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัย ดูจะไม่เป็นธรรม
KHAN
คุณหมอฟ้องศาลปกครองได้อยู่แล้วถ้าไม่พอใจ
๔.๙ มาตรา ๓๑ คำว่า จ่ายเงินช่วยเหลือช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยแก่ผู้เสียหาย โดยไม่ชี้มูลถูกผิด หมายความว่าคณะกรรมการ พิจารณาข้อร้องเรียนแล้วจ่ายเงินเลย ถ้าใช้ดุลยพินิจว่าเกิดความเสียหาย? หรือจะให้สถานพยาบาลผู้ให้บริการชี้แจงเบื้องต้นก่อน
KHAN
ตามหลักเขาต้องถามสองฝ่ายเสมอ หากไม่ถามเขาจะผิดกฎหมายปกครอง ศาลปกครองจะเพิกถอนคำสั่งจ่ายเงิน
๔.๑๐ มาตรา ๓๔ หากศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้ผู้ให้บริการสาธารณสุข ชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนผู้เสียหาย ทำไมคณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชยพิจารณาว่าจะจ่ายเงินกองทุนหรือไม่เพียงใด อาจไม่จ่ายก็ได้ใช่ไหม? ให้สถานพยาบาลที่ถูกคำสั่ง/คำพิพากษาจ่ายเองทั้งหมดก็ได้? ทั้งที่จ่ายเงินสมทบกองทุนตลอด
KHAN
หมอคงไม่โง่หรอก ตอนถูกฟ้องก็เรียกประกัน(กองทุนเข้ามาในคดีได้) ถ้าไม่เรียกศาลจะเรียกให้เอง พูดอย่างนี้ดูถูกศาล
๔.๑๑ มาตรา ๓๔-๓๖ ควรยกเลิก เพราะเมื่อมีการชดเชยให้แล้วไม่ควรให้มีการฟ้องร้องทางแพ่งอีกต่อไป
KHAN
อย่าไปห้ามเขาเลย เขาไปฟ้องก็คงไม่ได้อะไรหากคุณให้ความเป็นธรรมแล้ว
๔.๑๒ มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืน คำว่าผู้ใด หมายถึง สถานพยาบาลที่เป็นนิติบุคคล หรือตัวแทนนิติบุคคลเท่านั้น หรือหมายรวมบุคคลธรรมดาและผู้เสียหายที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งด้วยหรือไม่
KHAN
ทุกคน ทั้งคน ทั้งนิติบุคคล













สรุปความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เห็นด้วยกับหลักการและเจตนารมณ์ของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขแต่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหารายละเอียดในร่างฯ ซึ่งยังคงมีหลายประเด็นที่ขัดแย้ง ไม่ลงตัว ไม่ชัดเจนในขั้นตอนการปฏิบัติและกลไกการบริหารจัดการ เห็นควรให้มีการชะลอร่างฉบับนี้ไว้ก่อนแล้วศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วนถ่องแท้ เพื่อให้ได้กฎหมายที่ดีที่ให้ความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง เหมาะสมกับเศรษฐานะของประเทศ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมทั้งต้องตั้งอยู่บนความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในระหว่างนี้อาจผลักดันการขยายสิทธิในมาตรา ๔๑ ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้เกิดการคุ้มครองประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนไปพลางก่อน เป็นการลดกระแสการต่อต้านจากผู้ผลักดัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ ช่วยลดความขัดแย้งในสังคม และเกิดความปรองดองตามนโยบายของรัฐบาล
KHAN
โดย: AA [11 ต.ค. 53 19:34] ( IP A:58.8.1.219 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ศาลเคยตัดสินผิดไหมครับ
โดย: หรือศาลไม่เคยผิด [11 ต.ค. 53 23:25] ( IP A:182.52.124.132 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   เรียน ท่าน "จ้าว" กรมแพทย์ทหารเรือ

ก่อนอื่นกระผมต้องขอกราบเรียนว่า มีความศรัทธาด้วยชีวิตในตัวท่าน

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์อาภากร
พระบิดาแห่งทหารเรือ ราชนาวีไทย

แล้วผมก็ปลื้มมากๆกับวีรกรรมของทหารเรือไทยในยุทธนาวีที่เกาะช้างกับกองเรือเศษฝรั่งที่เข้ามารุกรานไทย รวมทั้ง

วีรกรรมและผลงานของเหล่านาวิกโยธินในสงครามปราบปรามคอมมิวนิสต์ที่เขาค้อ+ภูหินร่องก้า ด้วย

เอาหล่ะ เข้าเรื่องนะครับ อาจเป็นการจาบจ้วง แต่

ขอท้าท่านตั้งโต๊ะ "ประชาพิจารณ์" กันในโรงพยาบาลทั้งสี่ซ้าห้าที่ที่ท่านอ้างมานั่นแหละ ให้ชาวดอกประดู่เขาตัดสินกันเลยว่า

"จะเอา หรือ ไม่เอา พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ฉบับนี้"

แล้วผมก็จะเอากันตั้งแต่ให้เลือกชื่อ พ.ร.บ. นี้ว่าจะเอาชื่อดั้งเดิมตั้งต้น หรือจะเอาชื่ออื่นกัน

ผมสัญญาว่า จะไม่มีการปราศัยหรือออกกระจายเสียงโฆษณาชวนเชื่อใดๆทั้งสิ้น แต่

ผมแค่จะเอาคนไข้ผู้เสียหายทางการแพทย์แค่ซัก 2-3 รายที่ถูกโรงพยาบาลของท่านทำท่าจะทิ้งจะขว้างแต่แรก แล้วมาขอให้เราเครือข่ายฯนี้ช่วยจน ถ้าจำไม่ผิดสำเร็จไปหนึ่งราย ที่เหลือก็ยังมีหวัง เพราะทางโรงพยาบาลดูจะอ่อนเสียงลงหน่อย คงเพราะจะเกรงใจท่านประธานเครือข่ายฯนี้อยู่บ้าง

ขอให้เพื่อนคนไข้ผู้เสียหายเหล่าที่ว่านี้มาแสดงตัวติดป้ายห้อยคอในระหว่างตั้งโต๊ะประชาพิจารณ์ก็พอครับ มีข้อแม้ว่าท่านต้องไม่แสดงด้วยประการใดๆไม่ว่าที่ลับหรือที่แจ้งคุกคาม/ข่มขู่คนไข้สมาชิกของเรากลุ่มนี้ไม่ว่าก่อนหรือหลังตั้งโต๊ะนะครับ

อ้อ ใช่ครับ ผมก็ยอมรับว่า อาจจะเข้าข้าง/หลงพวกเดียวกันเองอยู่บ้าง แต่ก็ยังดีกว่าบรรดาข้าราชการมีสีในเหล่าทัพต่างๆนะครับ นอกจากไม่ช่วยกันเองแล้ว บางรายกลับเหยียบซ้ำ/กันท่า/ฉ้อฉลตามแบบแผนของแพทยสภาเปี๊ยบเลย แล้วท้ายสุดก็มาเป็นสมาชิกเครือข่ายฯนี้โดยสมัครใจ ที่สำคัญ ที่เครือข่ายฯเรานี้ เราช่วยกันฟรีๆครับ ข้าวไม่ต้องเลี้ยง ช่วยเอาแบบที่ไม่รู้จักมักจี่กันมาก่อน แล้วก็ไม่ได้เป็นญาติเป็นดองอะไรกันเลยนี่แหละ

เอ้อ ขอโทษนะครับ ที่พล่ามมากไป ว่าแต่

ที่ผมเสนอ (ท้า) มาเนี่ย ท่านยอมรับได้ไหมครับ????
โดย: รู้ไม่ทัน = ซื่อบื้อ [13 ต.ค. 53 10:05] ( IP A:58.8.229.32 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน