หลักประกันสุขภาพเป็นของทุกคน
   Subject: ขอเสนอภาคประชาชนถอนร่าง พรบ...คุ้มครอง ออกมาก่อน

เรียนพี่ๆน้องๆเพื่อนๆ

วันนี้ขอแชร์ความคิดความเห็นกันหน่อยเกี่ยวกับ ร่าง พรบ..คุ้มครองผู้เสียหาย ที่ภาคประชาชน ได้เสนอเข้าสู่สภา และพร้อมกันมีร่างของ รัฐบาล และมีร่างของกลุ่มเพื่อนๆสมาพันธ์ รพศ รพท รวมทั้งร่างคล้ายคลึงกันของ กลุ่มสส รวมทั้งหมด 8 ร่าง เนื้อหามีทั้งเหมือนและแตกต่าง.......

ทุกๆท่านทราบดีว่ามีการต่อต้านจาก กลุ่มแพทย์ นำโดย พญ.เชิดชู ซึ่งท่านเป็น ข้าราชการบำนาญซึ่งอยู่ที่ สถาบันเด็กแห่งชาติประเด็นที่ต้านอย่างนักก็คือ ร่างนี้อาจส่งผลให้เกิดการฟ้องร้อง...มากขึ้น และทำให้ แพทย์ภาครัฐ ที่ปฏิบัติงานอยู่มีความไม่เสถียรในอาชีพต้องระหวาดระแวงต่อการถูกกล่าวหาจากผู้เสียหาย มากขึ้นกว่าเดิม ทั้งๆที่มีการช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วตาม มาตรา 41 และการที่ ยังไม่มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาสังคมมากพอ

ด้านรัฐบาลซึ่งผมมองว่าอาจอยู่เบื้องหลัง ของการเคลื่อนไหวหรือไม่ เพราะร่างรัฐบาล เองดันมีการกำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการสรรหา มาจาก ภาคประชาชน ถึง 6 ใน 11 คนซึ่งผิดหลักการถ่วงดุลคณะกรรมการทั่วไป และส่งผลทำให้แพทย์ทุกๆท่านโดยเฉพาะ ผู้ที่ไม่ชอบ ระบบ สปสช อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งติดลบ ภาคประชาชน และเกิดอคติขึ้นอย่างมากมาย ทั้งๆที่ร่าง ภาคประชาชนกำหนดกรรมการคุ้มครองชั่วคราวเพียง 3 ท่านจาก 12 (คือเสียงข้างน้อยตัวเลขอาจคลาดเคลื่อน)ส่งผลทำให้การทำประชาพิจารณ์ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำได้ใน โรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ มีแพทย์ไม่เห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่โดยส่วนมาก ไม่ได้อ่านร่าง จึงไม่ทราบว่า แต่ละร่าง ไม่เหมือนกัน ......แผนยืมมีดฆ่าคน ( ให้แพทย์ รพศ รพท ต้าน ภาคประชาชน โดยรัฐตีขิมรออยู่ข้างหลัง )

เมื่อเป็นเช่นนี้ขณะนี้เหลือเวลาอีก ประมาณ 1 เดือนกว่าจะปิดสมัยประชุม ซึ่งถึงแม้รัฐบาลจะนำเข้าสภา และผ่านวาระ 1 ไปแล้วก็ไม่มีวันที่จะพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ใน ตามกำหนดทั้ง 3 วาระ ดังนั้น ร่างจะตกสภาแน่นอนเมื่อเข้า และตามกฎหมายกำหนดให้ร่างที่ตกสภาไปแล้ว รัฐบาลในสมัยประชุมต่อมา สามารถหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นพิจารนาได้แต่ต้องภายใน 30 วัน ซึ่งนั้นก็คือ เกมส์จะตกไปอยู่ข้างรัฐ..และหากดันต่อให้ร่างผ่านเข้าสู่สภา....แพทย์ที่ต้านก็จะยิ่งต้านมากขึ้น เพราะว่า

ขณะนี้ต้องยอมรับว่านับจาก มี พรบ..หลักประกันสุขภาพ ซึ่งปรับเปลี่ยนบริบทของ เฉพาะ การจ่ายเงิน และ วิธีบริหารงบประมาณ เท่านั้น ส่วน infrastructer เดิมไม่ได้เปลี่ยนไป เช่น ตำแหน่งต่างๆ ในทุกๆตำแหน่งยังคงเหมือนเดิม ขึ้นกับ สำนักงานข้าราชการพลเรือน เรื่อง เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายไม่มีการจัดสรรเงินจากรัฐมาเฉพาะทำให้เงินบำรุงโรงพยาบาลที่จ่ายติดลบ จำนวนแพทย์เฉพาะทางสาขาที่จำเป็นจำนวนแพทย์ต่อกลุ่มประชากร พยาบาลต่อกลุ่มประชากร อัตราการรอเตียง icu ระบบส่งต่อ แม้กระทั้งที่เราเห็นได้ชัดตอนนี้ในขณะน้ำท่วมก็คือตัวโรงพยาบาลเอง...... หลายท่านอาจแย้งผมว่านี้เป็นการบริหารจัดการภายใน กระทรวงสาธารณสุขเอง ซึ่งผมก็คิดว่าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง แต่อย่าลืมว่าในปัจจุบัน ภาคเอกชนไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการแพทย์และการสาธารณสุขมากนัก งบประมาณ ทั้งหมด กว่า90เปอร์เซนต์ยังอยู๋ในภาครัฐทั้งสิ้น

มวลชนไม่เอาด้วย ทำงานไปก็เหนื่อย มวลชนต้องเอาด้วยการปฏิวัติจึงสำเร็จโดยง่ายการปฏิวัติโดยไร้อาวุธ แท้ที่จริงก็คือ การปฏิรูป สามร้อยหกสิบองศานั้นเอง...( คน งาน สถานที่ )

ผมจึงเสนอภาคประชาชนว่า เราควรจะต้องปรับเปลี่ยนทัศนะแห่งความคิดที่ว่า แพทย์กับภาคประชาชนคือคนละกลุ่มกัน แต่เปลี่ยนมามองว่าทำไม เพื่อนๆจึงไม่สบายใจ แพทย์และชาวสาธารณสุข ในภาครัฐที่ขาดแคลนบุคลากร หาก ภาคประชาชนได้เข้าไปสัมผัสและรับรู้ข้อมูลจะทราบว่าพวกเขาทำงานเช้า บ่าย ดึก รายได้พอมั้ย ถ้าพอทำไมต้องมาอยู่เวรที่คลินิก ผม บางทีก็ลงเวรมา... เตียงใน icu พอมั้ยแพทย์ในวันเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ ควรมีจำนวนเท่าเดิมหรือหายไปเกือบหมดโรงพยาบาลเหลือแพทย์ดูโรงพยาบาลอยู่ไม่กี่คน(ภาคเอกชนไม่ได้เป็นแบบนั้น)
ระบบที่ดีทีสุด ต้องให้ทุกๆคนยอมรับในคือความเป็นธรรมและความเท่าเทียมมิใช่หรือ จึงจะหยั่งยืนไม่ใช่ไฟลามทุ่ง

เมื่อยังมีผู้คัดค้านอยู่ หากภาคประชาชน ดึงร่างออก แล้วมาช่วยกันผลักดัน การแยกตัวออกจาก กพ คือการจัดทำร่าง พรบ..พนักงานสาธารณสุข ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่ในการแก้ปัญหาบุคลกรทั้งระบบ และการใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งรัฐและเอกชน ปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่มีกระทรวงสาธารณสุข จะเริ่มทุเลาลง

เพราะเราแก้ตรงที่คัน ในขณะที่ หากมีความจำเป็นจริงๆ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ สามารถ แก้ไขระเบียบการจ่ายเงินค่าชดเชยเบื้องต้นโดยแยกออกเป็น หมวดๆ และให้รวมกันได้ อาจถึง 2 ล้านต่อการเสียชีวิตเพราะการกำหนดว่าไม่เกิน 2 แสนเป็นอำนาจของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ และคณะกรรมการควบคุมมาตราฐาน
อยู่ชัดๆแล้ว ส่วนเรื่องการขยายให้ครอบคลุมภาคเอกชน ไม่จำเป็นในตอนนี้หรอกครับ ในตอนนี้ค่อยๆทำไป เอาส่วนใหญ่ได้ ส่วนน้อยตามจึงควร อย่าหักด้านพล้าด้วยเขา

ผมจึงเรียนปรึกษาและเสนอภาคประชาชน ว่า ถอนร่างออกและเสนอใหม่ในสมัยหน้า ช่วงนี้ใช้เวล ดึงศัตรูเป็นมิตร ดีกว่าผลักมิตรไปเป็นศัตรูครับ

อ้อ ระเบียบการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นนี้ ออกตามความนัย พรบ..หลักประกันสุขภาพ ที่กำหนดเพียงให้กันเงิน 1 เปอร์เซนต์ไว้จ่ายช่วยเหลือเบื้องต้นครับ และตามร่างของภาคประชาชนการจ่ายเงินมี หลายแบบ ทั้ง ความเสียหายโดย ตรง ค่าทำขวัญ ค่าชดเชยทำงานไม่ได้ และอื่นๆ..ตามหลักการของวิธีจ่ายเงินประกัน ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จาก กระทรวงพาณิชย์

อาจยาวไปนิดแต่ก้อยากบอก ว่า ผมไม่เชื่อว่าแพทย์ที่ค้านจะไม่ต้องการให้ผู้เสียหายได้รับความชดเชยครับ ผมเชื่อว่าพวกเขาถูกปลุกขึ้นมาให้ต้านทุกสิ่งทุกอย่างที่ (แผนยืมมีดฆ่าคน)ออกมาจาก ภาคประชาชน และสปสช เพื่อหวังว่า อาจจะล้มสปสช และกลับไปใช้ระบบแบบเดิมที่เป็นมากว่า แปดสิบปี ที่ผมรับไม่ได้

CARE You
หลักประกันสุขภาพเป็นของทุกคน
นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์
โดย: นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ [26 ต.ค. 53] ( IP A:115.87.192.86 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   คลินิกอบอุ่นโวย สปสช.ไม่เอาเกณฑ์จ่ายเงินใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2552 09:30 น.








คลินิกอบอุ่นคู่สัญญา สปสช.โวยไม่เอาหลักเกณฑ์จ่ายเงินใหม่ ที่ให้เบิกจ่ายตามผลงานการดูแลรักษาผู้ป่วย 100% ร้องให้ทบทวนใหม่ รับฟังความเห็นรอบด้าน ชี้ผิดหลักกฎหมาย ไม่เท่าเทียม

นพ.พงษ์ศักดิ์ ศรีมุษิกโพธิ์ ผู้ประสานงานเครื่อข่ายคลินิกอบอุ่น กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จะเปลี่ยนหลักเกณฑ์การจัดสรรค่าใช้จ่ายการบริหารสาธารณสุขด้านการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนให้หน่วยบริการสาธารณสุขที่เป็นคู่สัญญากับ สปสช.ในปี 2553 ที่ให้จัดสรรงบประมาณตามผลงาน 100% จากเดิมที่จัดสรรตามสัดส่วนคือ เหมาจ่ายประมาณ 80% และจัดสรรตามผลงาน 20% ว่า ไม่เห็นด้วยกับระบบการบริหารงบประมาณในลักษณะนี้ ซึ่งถือเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 46(2) ที่กำหนดว่าค่าใช้จ่ายบริการสาธารณสุขจะต้องครอบคลุมถึงเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร ที่สำคัญยังไม่ผ่านการรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องแต่กลับมีการประกาศนำแนวทางนี้ไปใช้ก่อนแล้ว

“หลักเกณฑ์ใหม่เป็นอุปสรรค์ในการบริหารงานของคลินิกเอกชนอย่างมาก เพราะมีโครงสร้างและบุคลาการทางการแพทย์น้อยกว่าสถานพยาบาลอื่นๆ ระบบการบริหารงานแตกต่างกันโดยเฉพาะเรื่องเงินเดือนและค่าตอบแทนของบุคลาการทางการแพทย์ ที่สถานพยาบาลภาครัฐจะได้รับจัดสรรงบประมาณแยกต่างหาก ขณะที่คลินิกเอกชนไม่มีระบบดังกล่าว เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลาการในคลินิกทั้งหมดมาจากรายได้ของทางคลินิก 100%” นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าว

นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า เครือข่ายคลินิกอบอุ่น ขอเสนอให้สปสช. ยกเลิกแนวทางดังกล่าวไปก่อน และให้มีการศึกษาความเหมาะสมก่อนแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นผู้วิเคราะห์เงินเดือน และค่าตอบแทนบุคลากรที่ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสามารถจัดสรรงบประมาณได้ครอบคลุม และควรแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สามารถใช้งบประมาณในการวิจัยทางการแพทย์ได้เพื่อจัดสรรเพื่อให้แก่โรงพยาบาลที่มีวัตถุประสงค์ด้านการศึกษาด้วย เพราะค่าใช้จ่ายในการส่งต่อผู้ป่วยจากคลินิกไปยังโรงพยาบาลระดับตติยภูมิหรือทุติยภูมิขนาดใหญ่จะค่าใช้จ่ายสูงมาก ที่สำคัญ สปสช. ควรให้ความสำคัญกับ ระบบปฐมภูมิอย่างจริงจัง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและทันเวลา โดยจะนำเสนิต่อที่ประชุมในวันที่ 19 พ.ย.นี้

นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า สาเหตุหลักที่เปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ เนื่องจากสปสช. ได้พัฒนาระบบข้อมูลของผู้ป่วยบัตรทองให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงทำให้สามามรรถตรวจสอบข้อมูลการเข้ารับบริการสุขภาพจากหน่วยบริการต่างๆ ได้ ซึ่งการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ครั้งนี้ ถือว่าเป็นการกระตุ้นให้หน่วยบริการให้บริการผู้ป่วยบัตรทองเพิ่ทมมากขึ้น ซึ่งหมายถึงจะได้รับงบประมาณมากขึ้นตามจำนวนครั้งที่ให้บริการด้วย

“ยอมรับว่า การเปลี่ยนหลักเกณพ์ส่งผลกระทบต่อหน่วยบริการ โดยเฉพาะหน่วยบริการที่ไม่ค่อยได้ให้บริการผู้ป่วย จะทำให้ได้รับเงินน้อยลง แต่หากเป็นหน่วยบริการที่มีผู้ป่วยมากอยู่แล้วก็ไม่กระทบมากนัก เพราะเดิมสปสช. ให้งบประมาณแบบเหมาจ่ายรายหัวให้กับหน่วยบริการตามจำนวนผู้ป่วยบัตรทองที่มีสิทธิ์เข้ารับรักษาตามหน่วยบริการนั้นๆ ทันที ซึ่งงบประมาณที่ได้รับจะไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ผู้ป่วบบัตรทองทุกรายอาจไม่ได้มารับวัคซีนทุกคน เป็นต้น ซึ่งหากหน่วยงานใดมีปัญหาไม่เห็นด้วย ก็ต้องสอบถามสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร” นพ.วินัย กล่าว
โดย: aa [26 ต.ค. 53] ( IP A:115.87.192.86 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   นักการเมืองที่ดี ก็ต้องเดินหน้า
ดูตัวอย่างจำลองย้ายสนามหลวง คนประท้วงทุกวัน แกก็หักด้ามพร้าด้วยเข่า ตอนนี้คนที่ย้ายไปจตุจักรรวยไปตามๆกัน ให้ย้ายกลับหนามหลวง ก็คงไม่ยอม แต่ตอนแรกเขาต้าน
สมัยก่อนพวกหมอก็ต้าน มาตรา 41 สุดารัตน์ก็หักเอาจนได้
สมัยนี้หากเห็นว่า พรบ มีประโยชน์ทั้งต่อหมอและคนไข้ ก็หักด้ามพร้าด้วยเข่าไปเลย แล้วหมอเขาก็จะเหมือนพวกจตุจักรทุกวันนี้
คนที่เคยค้านจะได้กลืนน้ำลายตัวเอง รสชาติคงดีไม่น้อย
แต่ถ้าไม่กล้า ก็ไม่เป็นไร คุณก็จะไม่มีชื่อ ไม่มีผลงานเหมือนจำลองให้คนอื่นเอามาเล่าสู่กันฟังภายหลัง
เป็นนักการเมืองที่เป็นใหญ่มาแทบทุกกระทรวง แต่ถามผลงานตอบไม่ได้ว่าเคยทำอะไรไว้บ้าง
โดย: พวกหมาน้อยธรรมดา หมาน้อยธรรมดา [26 ต.ค. 53] ( IP A:115.87.192.86 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   ผมเบื่อพวกใจเสาะ
ผมมันพวกถอยหลังหกล้ม
ใจเสาะต้องไปไกลๆ
โดย: ชาติไม่พัฒนา [26 ต.ค. 53] ( IP A:115.87.192.86 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน