คำพ่อสอนว่าด้วย "การใช้กฎหมายเพื่อความยุติธรรมในบ้านเมือง"
   ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทขององค์พ่อหลวงในเรื่องเกี่ยวกับการใช้กฎหมายและ การเข้าใจถึงสาระอันเป็นที่สุด ของการมีกฎหมายขึ้นมาใช้

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙

๑. “...กฎหมายมีไว้สำหรับให้มีความสงบสุขในบ้านเมือง มิใช่ว่ากฎหมายมีไว้สำหรับบังคับประชาชน ถ้ามุ่งหมายที่จะบังคับประชาชนก็กลายเป็นเผด็จการ กลายเป็นสิ่งที่บุคคลหมู่น้อยจะต้องบังคับกับบุคคลหมู่มาก ในทางตรงกันข้าม กฎหมายมีไว้สำหรับให้บุคคลส่วนมากมีเสรีและอยู่ได้ด้วยความสงบ...”

*พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน “วันรพี” ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๑

๒. “...กฎหมายนั้นไม่ใช่ตัวความยุติธรรม เป็นแต่เพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับใช้ในการรักษาและอำนวยความยุติธรรมเท่านั้น การใช้กฎหมายจึง ต้องมุ่งหมายใช้เพื่อรักษาความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบทของกฎหมายเอง และ การรักษาความยุติธรรมในแผ่นดิน ก็มิได้มีวงแคบอยู่เพียงแค่ขอบเขตของกฎหมาย หาก ต้องขยายออกไปให้ถึงศีลธรรมจรรยาตลอดจนเหตุและผลตามความเป็นจริง ด้วย...”

*พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ชั้นเนติบัณฑิตยสภา สมัยที่ ๓๓ ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๔

๓. “...กฎหมายมิใช่ตัวความยุติธรรม หากเป็นแต่เพียงบทบัญญัติหรือปัจจัยที่ตราไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม ผู้ใดก็ตามแม้ไม่รู้กฎหมายแต่ถ้าประพฤติปฏิบัติด้วยความสุจริตแล้วควรจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ ตรงกันข้าม คนที่รู้กฎหมายแต่ใช้กฎหมายไปในทางทุจริตควรต้องถือว่าทุจริต ...”

*พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๒๙ ตุลาคม ๒๕๒๒

๔. “...กฎหมายทั้งปวง จะธำรงความยุติธรรมและความถูกต้องเที่ยงตรง มีความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ หากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และ เจตนารมณ์ หรือด้วยเจตนาไม่สุจริตต่างๆ กฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ และ กลายเป็นภัยต่อประชาชน ...”

*พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานประกาศนียบัตรของสำนักอบรมศึกษา กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๒๐

๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง(เรื่องหมอ) [13 ธ.ค. 53 10:38] ( IP A:61.90.5.141 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ทบทวนเรื่องความผิดพลาดในอาชีพหมอกับ Sir Liam Donaldson

บทความเรื่อง ความปลอดภัยของคนไข้อยู่ที่ “ห้ามก่ออันตราย” (Do no harm!)

โดย ดร. Liam Donaldson (Man of La Mancha แห่งวงการแพทย์โลก)
ตำแหน่งโดยทางการขณะที่ออกบทความชิ้นนี้คือ
หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์แห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษ (ตำแหน่งเทียบกับนายกแพทยสภา) และ
ประธานโครงการใหม่ว่าด้วย “พันธมิตรโลกเพื่อความปลอดภัยของคนไข้” ซึ่งประกาศเปิดตัวโครงการที่
สำนักงานใหญ่ของ Pan American Health Organization, ในสังกัดขององค์การอนามัยโลก
เมื่อ ตุลาคม ค.ศ. 2004

**********************************

ด้วยหลักการที่ว่า “ก่อนอื่น, ห้ามก่ออันตราย !!!” นี้ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นวาทะของฮิบโปเครติส (ปรัชญาเมธีผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการแพทย์แผนตะวันตก) แต่บรรดาผู้รู้ทั้งหลายก็ยังถกเถียงกันว่าเขาได้พูดออกมาให้หมายความตามนั้นหรือไม่? แม้กระนั้นวาทะนี้ก็ยืนยงต่อๆมาอย่างสง่างามในฐานะที่เป็นกฎเหล็กของการให้บริการทางสุขภาพ พวกเราในวิชาชีพของการให้บริการนี้ถูกเรียกร้องให้ “ปรับปรุงสุขภาพของผู้รับบริการให้ดีขึ้น” ไม่ใช่ทำให้แย่ลงด้วยความผิดพลาดของเราเอง

ไม่เพียงแค่นั้น ที่จริง ความผิดพลาดทางการแพทย์และผลอันเลวร้ายอื่นๆของบริการทางสุขภาพต่างๆกลับเป็นตัวการหลักของความสูญเสียของมนุษย์ทั้งหลายในโลกใบนี้ที่มาจากเชื้อโรคและความตาย และจากการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1999 ของสถาบัน I.O.M. (The Institute of Medicine) ในสหรัฐอเมริกาพบว่า ความผิดพลาดทางการแพทย์ในประเทศนั้นเป็นสาเหตุการตายของประชากรจำนวนที่สูงถึง 98,000 คนต่อปี ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม, จากอุบัติเหตุทางท้องถนนหรือแม้แต่โรคเอดส์ก็ตาม และการศึกษาในประเทศอังกฤษก็ชี้ว่าคนไข้ทุกๆ 1 ใน 10 คนจะได้รับทุกข์ทรมานจากผลเลวร้ายของการรักษาในขณะที่อยู่ภายในโรงพยาบาล อัตราส่วนที่คล้ายกันนี้ยังพบในนิวซีแลนด์, แคนาดา, และในออสเตรเลียซึ่งมีสัดส่วนที่ 16.6 %

ตัวเลขประเภทนี้จะเปิดเผยออกมาได้ยากในประเทศกำลังพัฒนา แต่จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) แสดงว่ากว่าครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศเหล่านั้นไม่ปลอดภัย และ 77% ของกรณีความผิดพลาดที่มาจากการใช้ยาปลอมและยาที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นเกิดขึ้นในประเทศยากจน และแทบจะไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ใหญ่และเด็กนับล้านๆคนในประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยที่ยืดเยื้อ ความพิการถาวรหรือความตายอันเนื่องมาจากการใช้วัคซีนและการให้เลือดที่ไม่ปลอดภัย, จากยาคุณภาพต่ำ, จากเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ไม่ปลอดภัย, จากการควบคุมการติดเชื้อที่ทำไม่เพียงพอ, และจากวิธีปฏิบัติทั่วๆไปที่ไม่น่าไว้วางใจในหน่วยบริการทางการแพทย์ซึ่งขาดแคลนอุปกรณ์อย่างมาก

ความล้มเหลวในเรื่องของความปลอดภัยของคนไข้ก็คือผลเสียหายแท้จริงอย่างมหาศาลต่อมนุษยชาติ แต่ก็ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างสำคัญด้วยเช่นกัน ผลการศึกษาแสดงว่าแต่ละประเทศนั้นสูญเงินระหว่าง 6,000 ล้านถึง 29,000 ล้านเหรียญสหรัฐนต่อปีจากผลของการต้องอยู่รักษาตัวอย่างยึดเยื้อในโรงพยาบาล, ของการเรียกร้องค่าเสียหายตามกฎหมาย, ของการสูญเสียรายได้, ความพิการและค่าใช้จ่ายทางการแพทย์

“ความผิดพลาดของคน” เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทับซ้อนอยู่ในเรื่องความปลอดภัยของคนไข้ ถึงแม้ว่าจากวิธีปฏิบัติที่เที่ยงตรงมากขึ้นของคณะแพทย์จะสามารถป้องกันความผิดพลาดจาการบริการทางสุขภาพจำนวนมากได้ก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาเรื้อรังของระบบการแพทย์และขั้นตอนปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น ทุกๆปีคนไข้จำนวนนับพันๆคนจะได้รับยาที่ผิดไป ซึ่งบางรายก็ได้รับอันตรายถึงชีวิต อันเป็นผลจากการสั่งจ่ายยาด้วยลายมือซึ่งอ่านได้ยากและเข้าใจผิดได้ง่าย แม้ว่าการรายงานและบันทึกทางการแพทย์ด้วยวิธีการทางอีเล็คทรอนิคส์จะมีใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังไม่มีมาตรฐานกำกับ

พันธมิตรใหม่, ยุคใหม่ของการ่วมด้วยช่วยกันในระดับสากล
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง(เรื่องหมอ) [13 ธ.ค. 53 10:50] ( IP A:61.90.5.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ประเด็นของความปลอดภัยของคนไข้นี้ได้กลายเป็นที่เพ่งเล็งของสาธารณชนมากยิ่งๆขึ้นเพียงในไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผู้ประกอบวิชาชีพ. ผู้เชี่ยวชาญทางสาธารณสุขและคนไข้อาสาสมัครจำนวนหนึ่งที่กำลังขยายตัวก็กำลังทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ ในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 2004 ที่สำนักงานใหญ่ของ the Pan American Health Organization ในสังกัดขององค์การอนามัยโลก” ได้มีพิธีเปิดตัวโครงการที่ให้ชื่อว่า a new World Alliance for Patient Safety ท่ามกลางการปรากฏตัวเป็นสักขีพยานของรัฐมนตรีสาธารณสุข, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, ตัวแทนจากสถาบันการศึกษาและกลุ่มองค์กรทางคนไข้ต่างๆจากทั่วทุกมุมโลก และเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรที่ก่อตัวขึ้นมาใหม่นี้อยู่ที่ความร่วมมือและเกาะเกี่ยวกันอย่างเหนียวแน่นในระดับสากลและในความพยายามระดับชาติของแต่ละประเทศในการปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของคนไข้ในบรรดานานาประเทศทั่วโลก

เราจำเป็นต้องทำอะไรกันบ้าง???

เรื่องแรก เราต้องทำการศึกษาวิจัยให้มากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับธรรมชาติและขอบข่ายของปัญหาเหล่านี้ เราต้องรู้ให้ได้อย่างถูกต้องว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นแน่? เกิดกับใคร, ที่ไหนและเมื่อไร?, ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีการทำงานวิจัยจำนวนมากแล้วเสร็จพร้อมอยู่ในประเด็นเหล่านี้ แต่เราก็ยังต้องการมากกว่านี้ ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา เราจำเป็นต้องเริ่มจากการทำกรอบพื้นฐานของการศึกษาตรงความชัดเจนและธรรมชาติของผลเลวร้ายจากความผิดพลาดเหล่านั้น

เรื่องที่สอง เราต้องช่วยทั้งทำการวิจัยและค้นคว้าสำหรับวิธีการแก้ปัญหา เราต้องจัดทำหมวดหมู่และแยกแยะประเด็นต่างๆในเรื่องของความปลอดภัยสำหรับคนไข้ออกมา ซึ่งก็คือ การกำหนดชุดของแนวคิด, หลักการและคำใช้/คำเรียกหาที่สามารถเข้าใจร่วมกันได้อย่างเที่ยงตรงสำหรับการทำรายงานและการวิเคราะห์วิจัยที่จะทำขึ้นนี้ ยิ่งกว่านั้นเรายังจำเป็นต้องสร้างและประสานความร่วมมือในระบบของการรายงานขึ้นมาซึ่งจะสามารถติดตามผลเลวร้ายของเหตุที่เกิดและ “สภาพที่เกือบจะพลาดไป” เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้และเพื่อเป็นข้อมูลฐานในการลงมือทำงานป้องกันขึ้นมาด้วย

นอกจากนี้ เราต้องพัฒนาแนวทาง/คำแนะนำซึ่งอิงกับข้อปฏิบัติที่ดีที่สุดและเอื้อต่อการเรียนรู้แต่เนิ่นๆจากข้อมูลที่ปรากฏแล้วอย่างทันท่วงที

และเรายังจำเป็นต้องเริ่มแจกจ่ายวิธีการแก้ปัญหา ส่งเสริมการแทรกแซงด้วยวิธีใหม่ที่ค้นพบและแสดงแล้วว่ามีประสิทธิภาพนี้ แล้วร่วมมือกันในกิจกรรมของเราระดับนานาชาติเพื่อประกันว่าการแทรกตัวของวิธีการแก้ปัญหาใหม่นี้จะถูกกระจายเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง

เราจำเป็นต้องดึงให้คนไข้และบรรดาองค์กรทางคนไข้มีส่วนอยู่ด้วยในบรรดางานทั้งหมดดังกล่าวมานี้ เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้จากบทเรียนที่มาจากประสบการณ์ “ของการเป็นผู้ผ่านประสบการณ์คนแรก” ของพวกเขา และเพื่อเป็นการระดมส่งเสริมต่อความพยายามและแรงจูงใจของพวกเขาในการหาทางแก้ปัญหา

หนึ่งในบรรดาความคิดริเริ่มของ the new World Alliance for Patient Safety ก็คือ โครงการในชื่อที่เรียกว่า Global Patient Safety Challenge for 2005 – 2006 ด้วยประเด็นใจกลางของโครงการที่ “บริการที่สะอาดคือบริการที่ปลอดภัยกว่า” หรือ Clean Care Is Safer Care โครงการณรงค์ครั้งนี้จะพุ่งเป้าไปที่การติดเชื้อจากบริการทางการแพทย์ หรือ Nosocomial Infection ซึ่งเป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลในระหว่างขั้นตอนการบำบัดรักษาทางการแพทย์ การติดเชื้อประเภทนี้ยังผลให้คนไข้นับล้านๆคนทั่วโลกต้องยืดระยะเวลาเจ็บป่วยออกไปหรือเพิ่มระดับความเจ็บป่วยมากขึ้น, ต้องอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น, และแม้กระทั่งได้รับความพิการระยะยาวไปจนถึงกลายเป็นการเสียชีวิต จากการวิจัยเฉพาะในสหรัฐฯเองพบว่า โรงพยาบาลทั้งระบบของประเทศนี้ต้อสูญเงินระหว่าง 583 ถึง 4,886 ต่อหนึ่งกรณีของการติดเชื้อที่เกิดจากการบำบัดทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล และ จากหนึ่งการศึกษากรณีเดียวกันนี้ในประเทศไทยพบว่า การติดเชื้อในระหว่างการบำบัดรักษาภายในโรงพยาบาลได้ทำให้โรงพยาบาลต้องสูญเงินไปถึง 10% ของงบประมาณค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดของโรงพยาบาลเอง โครงการรณงค์ครั้งนี้จึงจะส่งเสริมการดำเนินงานใน 5 ประเด็นหลักๆคือ มือที่สะอาด, ขั้นตอนปฏิบัติที่สะอาด, ผลิตภัณฑ์ที่สะอาด, สภาพแวดล้อมที่สะอาดและอุปกรณ์ที่สะอาด

เป้าหมายของโครงการรณงค์ครั้งแรกซึ่งเป็นความท้าทายต่อประชาคมโลกนี้ถูกเลือกด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งเพราะว่า เป็นการแสดงให้เห็นถึงบรรดาลักษณะเฉพาะทั้งหมดของปัญหาที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนไข้ มันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกับบรรดาคนไข้ทั่วโลก เป็นปัญหาที่มาจากหลากหลายสาเหตุร่วมกัน, เกี่ยวข้องอยู่กับทั้งระบบการทำงานและขั้นตอนปฏิบัติรวมทั้งความผิดพลาดของคน แม้ว่ามีหนทางที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถลดทอนปัญหานี้ลงได้ แต่ก็ยังมีสถาบันทางการแพทย์จำนวนมากที่ยังไม่ได้ปรับให้ยอมรับวิธีปฏิบัติที่ได้รับการพิสูจน์แล้วนี้ และการรณงค์ครั้งนี้ก็ได้เสนอวาระที่ชัดเจนออกมาสำหรับการวิจัยและการกำกับ/ติดตามและประเมินผลในประสิทธิภาพของมาตรการภาคปฏิบัติในการฟื้นฟูความเสียหายจากประเด็นที่กำหนดกันเป็นวาระกันขึ้นนี้

เรากำลังเชื้อเชิญบรรดาประเทศทั้งหลายทั่วโลกเพื่อร่วมมือกับเราในความพยายามที่จะรวบรวมเป็นหลักฐานทางเอกสารที่ว่าด้วยขนาดใหญ่/เล็กและลักษณะโดยธรรมชาติของสภาพการติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับบริการทางสุขภาพ วิเคราะห์หารากฐานของสาเหตุและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาเพื่อลดทอนความเสี่ยงในการติดเชื้อเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกเพื่อการมุ่งสู่การปรับปรุงความปลอดภัยของคนไข้ให้ดีขึ้นโดยรวม เราหวังว่ากระทรวงสาธารณสุข, หน่วยงานของรัฐอื่นๆ, องค์กรเอกชน, และรวมทั้งกลุ่ม/ชมรมคนไข้และผู้บริโภคจะเข้าร่วมการรณงค์ที่ท้าทายครั้งนี้
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง(เรืองหมอ) [13 ธ.ค. 53 10:55] ( IP A:61.90.5.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   กลุ่ม/ชมรมคนไข้และผู้บริโภคจะเป็นตัวเดิมพันที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ไม่เฉพาะแต่กับความท้าทายของโครงการรณงค์ครั้งนี้เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงความพยายามของเราที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย คนไข้และญาติพี่น้องข้างเคียงก็คือกลุ่มคนผู้ได้รับผลเสียเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น แม้ว่าในอดีตผู้ให้บริการทางการแพทย์มีความโน้มเอียงที่จะต่อต้านการมีส่วนร่วมในความพยายามที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง แต่นี่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้คนไข้และญาติพี่น้องในครอบครัวมีบทบาทร่วมอย่างกระฉับกระเฉง รวมทั้งพวกเราในวงวิชาชีพทางสุขภาพได้ร่วมรับฟังในเรื่องอะไรก็ตามที่พวกเขาจะต้องพูดออกมา (อย่างเปิดเผยตรงไปตรงมาอย่างไม่ต้องเกรงใจ หรือรู้สึกว่าเป็นเจตนาคุกคามหรือล่วงละเมิดตัวตนของเรา, ผู้แปล) เรื่องที่เป็นกังวลโดยธรรมชาติของเขาเหล่าคนไข้นี้ เช่น อยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา, อยากรู้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ, อยากมั่นใจอย่างทะลุปรุโปร่งว่าความผิดพลาดทำนองเดียวกันจะไม่เกิดขึ้นอีก ต่างๆเหล่านี้ก็ควรเป็นความกังวลของเราผู้ให้การรักษาด้วยเช่นกัน

ในท้ายที่สุดนี้ ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับความปลอดภัยของคนไข้ไม่ได้อยู่ที่หาคนผิดหรือลงโทษคนทำพลาด แต่อยู่ที่การป้องกันความผิดพลาดทั้งที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์และที่เกิดจากระบบภายในบริการทางสุขภาพเพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้น และนั่นต้องการความโปร่งใสในระบบบริการทางสุขภาพเองและรวมทั้งต้องการความสมัครใจที่ยิ่งใหญ่กว่าในส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพทางสุขภาพในการยอมรับอย่างซึ่งๆหน้าต่อความผิดพลาดของตนเอง เหนือสิ่งอื่นใด ความผิดพลาดเป็นเรื่องปรกติของมนุษย์ แต่การปิดบังความผิดพลาดเป็นเรื่องที่ให้อภัยไม่ได้ และการล้มเหลวที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดก็เป็นเรื่องที่ยกโทษให้ไม่ได้เป็นธรรมดา พวกเราผู้เป็นมืออาชีพทางการแพทย์ล้วนทำเรื่องผิดพลาดได้ทั้งสิ้น แต่มันเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องเรียนรู้จากมันและหาหนทางที่จะทำให้มั่นใจได้ว่ามันจะไม่ไปทำอันตรายกับใครได้อีก
***********************************

อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่นี่

https://www.paho.org/english/dd/pin/Number21_last.htm
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง(เรืองหมอ) [13 ธ.ค. 53 10:57] ( IP A:61.90.5.141 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ขอบคุณพี่ท่าน
โดย: เจ้าบ้าน [14 ธ.ค. 53 22:28] ( IP A:110.168.3.29 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน