consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
แพทย์รพ.ศูนย์ยะลาคว้ารางวัลแพทย์ดีเด่นดูแลคนไข้เบาหวาน
แพทย์รพ.ศูนย์ยะลาคว้ารางวัลแพทย์ดีเด่นดูแลคนไข้เบาหวาน vote [ถูกใจ>
[แจ้งลบ> ติดต่อทีมงาน
คมชัดลึก :"รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้สามารถเป็นกำลังใจในการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ผู้ป่วย ที่ทำให้ตัวชี้วัดมีแนวโน้มดีขึ้น แม้ในพื้นที่จะมีสถานการณ์ความรุนแรง แต่ไม่เคยคิดว่าเป็นภาระที่ไม่สามารถรับไหว แพทย์และบุคลากรทุกคนยังคงทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด"
พญ.จรรยา แซ่เจน และทีมงานโรงพยาบาลศูนย์ยะลา กล่าวในงานประกาศผลรางวัลSanofi-aventis Distinguished Service Award รางวัลสำหรับแพทย์และทีมงานที่มีผลงานดีเด่นจากสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศ ไทย ร่วมกับบริษัทซาโนฟี่-อเวนตีส ประเทศไทย ที่ส่งเสริม สนับสนุน สร้างกำลังใจให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความตั้งใจ ความพยายามในการให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งในแง่การบำบัดรักษา การให้คำปรึกษา ไปจนถึงการให้ความรู้กับผู้ป่วยในการปฏิบัติและดูแลรักษาตนเอง และให้แพทย์ที่ได้รับรางวัลประเภทบุคคล ได้แก่ พญ.ศรัณยาสุคันธไชยวงศ์ โรงพยาบาลแพร่
พญ.จรรยาเล่าว่าโรคเบาหวานอยู่ในอันดับ 3 รองจากโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน และโรคความดันโลหิตสูงการเกิดโรคเบาหวานมีแนวโน้มสูงขึ้น จากสถิติปี 2551-มิถุนายน 2552 มีจำนวน 1,347 คน 1,570 คน และ 1,646 คนตามลำดับ โรงพยาบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานขึ้น เมื่อปี 2549 ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักวิชาการสุขศึกษา นักโภชนากร นักเวชศาสตร์ฟื้นฟู แพทย์แผนไทย หน่วยเวชกรรมเพื่อพัฒนาระบบการทำงานของทีมสหวิชาชีพในการรักษา ป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟู สนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานได้เรียนรู้และดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อลด อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
"การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอุปสรรค สองอย่างคือ 1.ความแตกต่างเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม เช่น เมื่อถึงช่วงเดือนรอมฎอนชาวมุสลิมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การถือศีลอด ซึ่งจะบริโภคอาหารหนักสองเวลาด้วยกัน คือ 18.40 น. และมื้อที่สองประมาณ04.40 น.และนิยมบริโภคอาหารประเภทน้ำตาลเพราะสามารถขจัดความหิวให้หมดไปโดยเร็ว ซึ่งการควบคุมผู้ป่วยเป็นไปได้ยากมาก จึงต้องให้ผู้นำทางศาสนาเข้ามามีส่วนร่วม และทำความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนเวลารับประทานยาให้เหมาะสมเพื่อความต่อ เนื่องในการรักษา 2.เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ทำให้เกิดความลำบากต่อผู้ป่วยในการเดินทางมารับการรักษา จึงเน้นการบริการเชิงรุก โดยสัญจรไปตามสถานีอนามัยต่างๆ ภายในชุมชน มีการตรวจร่างกายเบื้องต้น และค้นหาผู้ป่วยโดยการคัดกรอง ลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ฝึกทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัยไปพร้อมกัน"
ด้าน พญ.ศรัณยากล่าวว่าการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ใช่เฉพาะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการดูแลทางด้านจิตใจ ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่ไม่หายขาด ต้องดูแลสุขภาพ อาหารการกินตลอดเวลา ทั้งยังต้องป้องกันโรคแทรกซ้อน รวมไปถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายอีก ด้วย
"การดูแลสุขภาพที่สำคัญที่สุด เริ่มต้นจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสม รวมไปถึงรัฐบาลควรมีนโยบายในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ เช่น ทำฉลากยาให้ใหญ่ขึ้น เปิดเผยว่าส่วนผสมในอาหารมีสรรพคุณหรือโทษอย่างไร มีพื้นที่ให้คนออกกำลังกายมากขึ้น เช่น ทำทางเพื่อรถจักรยานวิ่ง รวมไปถึงส่งเสริมให้มีโปรแกรมบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่สามารถเชื่อมโยงกับทุก โรงพยาบาลทั่วประเทศได้ เป็นต้น"
ด้านรศ.อัมพาสุทธิจำรุญ นายกสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยกล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทยมีความชุก จากการสำรวจเมื่อปี 2547 ถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยร้อยละ 7 ของประชากรทั้งหมด แต่จำนวนกลุ่มเสี่ยงกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11 เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ แต่หากผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดูแลตนเอง ก็จะกลับไปเป็นปกติได้ การให้ความรู้ทั้งแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงการรณรงค์ให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของการป้องกันตนเองจากโรคเบาหวาน เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ลด *** ควบคุมอาหาร การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยลดผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่รู้ตัวลงได้
โดย: สุดยอด [27 ธ.ค. 53 7:37] ( IP A:182.52.122.113 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ร่วมยกย่องคุณหมอครับ
โดย: คนข้างเวที [27 ธ.ค. 53 9:13] ( IP A:202.29.9.9 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
good job !!!!
โดย: . [27 ธ.ค. 53 16:55] ( IP A:210.86.181.20 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน