หมอขอนแก่นนิ่งไม่เคลื่อนไหวค้านร่างพรบ.คุ้มครอง
   หมอขอนแก่นนิ่งไม่เคลื่อนไหวค้านร่างพรบ.คุ้มครอง
7 กพ. 2554 18:28 น.
https://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=493800&lang=T&cat=&t=ksearch&key=%E1%BE%B7%C2%EC

หมอขอนแก่นยังนิ่งไม่ออกมาคัดค้าน หลังรัฐบาลนำร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯอีกครั้ง แนะทุกฝ่ายถอยคนละก้าว และใช้มาตรา 41 ของสปสช. มาปรับใช้ให้ครอบคลุม ประเมินผลต่อเนื่อง 3 ปี คาดส่งผลดีต่อผู้ป่วย

จากกรณีสาธารณสุข หลังทราบข่าวว่ารัฐบาลจะมีการนำร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขสู่การพิจารณาของสภาฯอีกครั้ง ทั้งที่ยังไม่มีการทำประชาพิจารณ์ที่ถูกต้อง ทำให้กรรมการสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และเครือข่ายผู้ให้การรักษาทั่วประเทศออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว โดยให้บุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศพร้อมใจกันแต่งชุดดำหรือสวมปลอกแขนสีดำ พร้อมป้ายผ้าแสดงการคัดค้าน แล้วชุมนุมกันบริเวณโรงพยาบาลแต่ละแห่ง พร้อมแถลงคัดค้าน ในวันที่ 7 ก.พ.2554

บรรยากาศที่โรงพยาบาลขอนแก่น และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เจ้าหน้าที่และบุคคลกรทางการแพทย์ยังคงทำงานรักษาผู้ป่วยตามปกติ ไม่ได้มีกลุ่มหรือบุคลากรออกมาคัดค้านร่างพรบ.คุ้มครองฯแต่อย่างใด

ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุป แต่ทราบว่าในที่ประชุมยังไม่มีข้อสรุปที่เป็นข้อยุติและนำไปสู่การแก้ปัญหาของทั้งสองฝ่าย จึงทำให้แพทย์และบุคลากรบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ส่วนกลุ่มสถาบันการแพทย์ยังไม่มีการเคลื่อนไหวคัดค้าน ร่างพรบ.คุ้มครองฯ ที่รัฐบาลจะนำเข้าสู่การพิจารณาของสภา

คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ร่างพรบ.คุ้มครองฯ มีทั้งข้อดีและปัญหาที่ไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่นการบริหารจัดการกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ ว่าจะสามารถดำเนินงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หากทำไม่ได้ปัญหาก็จะตกอยู่กับผู้ป่วยและทำให้มีการฟ้องร้องแพทย์เพิ่มขึ้นไปอีก

ศ.นพ.ภิเศก กล่าวว่าปัญหาระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ที่รักษานั้น เห็นว่าเกิดขึ้นจากการสื่อสารระหว่างกันมีน้อย ทำให้ไม่เข้าใจกัน จนมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากภาระงานของหมอและพยาบาล ส่วนการเสนอให้เพิ่มเวลาการตรวจรักษาผู้ป่วยจาก 5 นาที เป็น 15 นาทีนั้น ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่อทั้ง 2 ฝ่าย เพิ่มภาระให้หมอ พยาบาลที่มีงานล้นมือ คนไข้เองต้องรอรับรักษานานขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณด้านรักษาพยาบาล อุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงมองว่าการหาข้อยุติเรื่องร่างพรบ.คุ้มครองเป็นเรื่องยาก เพราะต้องพิจารณาทั้งประชาชนที่รับผลกระทบ บุคลากรทางการแพทย์และรัฐบาลไปพร้อมกัน
โดย: เป็นความคิดเห็นที่เรารับฟังได้ [8 ก.พ. 54 22:19] ( IP A:58.9.138.191 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน