ความในใจประชาชน(เช่นกัน)ผู้คัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
   “ความในใจประชาชน(เช่นกัน)ผู้คัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข”

วันที่ 06 มีนาคม พ.ศ. 2554 เวลา 11:54:38 น.
โดย นพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล

อนุสนธิว่าด้วยบท ความ “ความในใจประชาชนผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข” ที่ลงในมติชนออนไลน์ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยคุณ สารี อ๋องสมหวัง ทำนองต่อว่าผู้ที่คัดค้านร่างพรบ.ดังกล่าว ในทำนองเสียหายหรือมีเจตนาแอบแฝงเพื่อไม่ให้มีการออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือ บุคคลที่คุณสารีกล่าวอ้างว่าเป็น “ผู้เสียหาย” หลังจากอ่านบทความจนจบแล้ว ทำให้เข้าใจถึงวัฒนธรรมรากลึกที่หยั่งอยู่ในมโนของคุณสารีดีขึ้นดังนี้

คุณสารีชอบเรียกตัวเองว่าภาคประชาชน ทุกครั้งที่เคลื่อนไหว ก็จะนำทัพด้วยคำว่า “ภาคประชาชน” หรือ “ผู้บริโภค” ซึ่งทำให้อดวิตกไม่ได้ว่า คุณสารีมีทัศนะส่วนตนว่า “คนอื่นที่มีความคิดเห็นต่างกับคุณสารีนั้นหาใช่ประชาชนไม่” จริงหรือไม่ และหากมิใช่คนที่สนับสนุนแนวคิดของคุณสารี เขาจะต้องเป็นคนบาปหรือไม่ ความจริงทุกคนที่เกิดมาเพราะยังไม่สมบูรณ์จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดมาพบเจอ กันอีก ผู้เขียนหรือแม้แต่คุณสารีก็มิใช่ไม่มีข้อบกพร่อง

ท่านพุทธทาสถึงได้สอนว่าอย่าไปเที่ยวจับผิดหรือวิจารณ์ข้อบกพร่องของ ผู้อื่น เพราะทุกครั้งที่ชี้นิ้วไปที่คนอื่น อีกสี่นิ้วชี้เข้าที่ตนเองเสมอ พร้อมกันนี้ทำให้ผู้เขียนอดนึกถึงภาพการ์ตูนที่มีคุณหมอท่านหนึ่งวาดบรรยาย ความรู้สึกที่มีต่อกลุ่มบุคคลที่กระทำต่อบุคลากรทางสาธารณสุข ในทำนองที่มองเห็นบุคลากรเป็น “ข้าทาสรับใช้”ที่ต้องถูกบังคับให้ทำงาน ห้ามต่อล้อต่อเถียง มิฉะนั้นจะถูกแส้โบยหลัง หรือออกข่าวให้เสียหายไว้ก่อน

โดยไม่สนใจเหตุผลหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา แม้เมื่อทราบความจริงทั้งหมดแล้ว ก็ไม่เคยออกมายอมรับว่าตนเองด่วนตัดสินคนอื่นเพราะความไม่รู้ ความใจร้อนหรืออคติก็ไม่ทราบได้ ทำไม่ถูกใจ เอะอะก็กล่าวหาว่าบุคลากรไปเที่ยว “ก่อความเสียหาย” คงไม่ทันนึกว่า “การทำงานหรือหาประโยชน์จากการจับผิดคนอื่นง่ายกว่าการส่องกระจกดูตนเอง”

ที่ผ่านมาวิธีการทำงานโดยใช้วิธีจับผิดและหาข้อบกพร่องของคนอื่น นั้นได้ผลเสมอ ๆ ในการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนแนวคิดสุดโต่งแบบนี้มาตลอดยกเว้นแต่กับร่างก ม.นี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกฎหมายฉบับนี้คงทำให้เก้าอี้ประจำตำแหน่งสะท้านไปไม่ น้อย อยากให้เปลี่ยนมุมมองใหม่ว่า ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในความคิดของตนเอง และคนที่เห็นต่างมิใช่ศัตรู การถกเถียงโต้แย้งในห้องประชุมเป็นเพียงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

เมื่อออกนอกห้องประชุม ทุกคนคือเพื่อนร่วมทุกข์ร่วมกรรมร่วมโลก ต่างคนต่างเกิดมาใช้กรรมของตน ต้องตั้งสติและเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าบุคลากรการแพทย์ก็เป็นประชาชนคนไทยเต็ม ร้อยไม่น้อยกว่ากลุ่มที่อ้างตนว่าเป็นภาคประชาชน อย่าจดลิขสิทธิ์คำว่า “ภาคประชาชน” หรือ “ผู้บริโภค” ไว้เฉพาะเพื่อนพ้องที่อยู่ใต้อาณัติเท่านั้น
เขาเหล่านี้ก็เป็นประชาชน จะต่างกันก็ตรงที่เขาเหล่านี้ไม่เคยรับรู้หรือเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรเครือ ข่ายที่ตั้งชื่อให้ดูศักดิ์สิทธิ์ ไม่เคยยกมือโหวตจัดสรรตำแหน่งให้ เขาเหล่านั้นก็มีญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นประชาชนเช่นเดียวกัน หลายคนทำงานแบบปิดทองหลังพระ

แต่ทุกวันนี้คนปิดทองหลังพระเหล่านี้ ไม่เคยคาดหวังแปรเปลี่ยนผลการกระทำของตนเองเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองแต่ อย่างใด ไม่เคยต้องการไปเป็น สส. หรือสว. ด้วยการทับถมจับผิดให้ร้ายผู้อื่น กลัวแต่ว่าเมื่อไรที่เกิดความพลาดพลั้งหรือเข้าใจผิดในการสื่อความหมาย จะทำให้ตนเองถูกใส่ร้ายวาดภาพให้เป็นฆาตกรโรคจิตในชุดขาวอย่างที่เสกสรรปั้น แต่งในfacebook

คนที่ผลักดันกม.นี้เริ่มแรกก็กล่าวอ้างว่า เห็นอกเห็นใจบุคลากรสาธารณสุขจึงผลักดันกม.นี้มาให้ ต่อเมื่อบุคลากรปฏิเสธก็เปลี่ยนแนวทางเพื่อหาเสียงสนันสนุนใหม่ว่า หากใครไม่เห็นด้วยกับร่างกม.นี้แสดงว่าใจดำไม่เห็นใจผู้ป่วยเหมือนกลุ่มผู้ ผลักดัน พยายามผลักผู้คัดค้านให้กลายเป็นศัตรูกับคนไทยทั้งประเทศ

ทั้ง ๆ ที่คนเหล่านี้ที่โดนกล่าวหาว่า “ใจดำ ไม่มีหัวใจมนุษย์ ไม่มีจิตอาสา” สุดแท้จะสรรหาคำพูดสะเทือนใจมาบรรยาย คือคนที่กำลังทำหน้าที่ช่วยชีวิตคนไทยรวมทั้งญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูงของกลุ่มผู้ผลักดันเช่นกัน แม้แต่เวลาที่ผู้อ่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ เขาเหล่านั้นก็กำลังก้มหน้าก้มตาช่วยชีวิตผู้ป่วยอยู่ไม่ว่าจะในสถานพยาบาล แห่งใดก็ตาม ไม่มีเวลามาโต้เถียงด้วย ซึ่งอานิสงส์ผลบุญนี้น่าจะส่งต่อไปถึงญาติพี่น้องของผู้ป่วยเหล่านั้นอีก หลายล้านคน ผลบุญเหล่านี้น่าจะลบล้างคำว่าใจดำได้บ้างไม่มากก็น้อย

การกล่าวอ้างว่าบุคลากรเกือบทั้งหมดเห็นด้วยกับร่างกม.นี้และเห็นว่า กม.นี้คือยาวิเศษที่จะช่วยลดความพิการความตายของผู้ป่วยได้ การพิสูจน์เรื่องนี้ทำไม่ยากเลย แค่คุณสารีเดินเข้าร่วมรายการสดเวทีประชาพิจารณ์ของบุคลากรสาธารณสุข และตอบคำถามทุกรายมาตราอย่างเปิดเผยไม่เบี่ยงประเด็น ไม่นอกเรื่อง ก็จะได้คำตอบโดนใจเป็นแน่นอน

ประเด็นกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในกฎหมายนี้มาแต่ต้นแล้วทำไมจึงมาคัดค้านเอา ตอนนี้ คุณสารีก็ใช้เทคนิคเดิม ๆ คือ พูดความจริงแต่เสี้ยวที่ให้ประโยชน์กับตน การมีส่วนร่วมนั้นหมายความได้ทั้ง ให้ความเห็น วิจารณ์ สนับสนุน หรือคัดค้าน หลายประเด็นก็เห็นด้วยกับกฎหมายนี้โดยเฉพาะเรื่องที่ต้องเยียวยาผู้ที่ได้ รับผลกระทบจากระบบสาธารณสุขที่เต็มไปด้วยความไม่พร้อม หนักกว่านั้นคือยังคัดค้านว่าต้องนำคนผิดที่กระทำไม่ดีต่อผู้ป่วยมาลงโทษ มิใช่ไม่พิสูจน์อะไรเลย ปล่อยให้ไปกระทำผิดเรื่อย ๆ การมีส่วนร่วมยังรวมถึงการคัดค้านมาตราที่เห็นว่าจะส่งผลเสียหายต่อชีวิตผู้ ป่วย ดังกล่าว

แต่สุดท้ายก็ไม่อาจทัดทานกำลังภายในของคุณสารีที่ไปล็อบบี้สารพัด นักการเมืองภายใต้นามมูลนิธิ ภายใต้คำว่า “ภาคประชาชน” “ผู้บริโภค” รวมทั้งการสรุปกฎหมายภายใต้การทุบโต๊ะของกฤษฎีกาในขณะนั้น ความจริงกฤษฎีกาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับคุณสารีในทุกเรื่องโดยเฉพาะวันที่ประธาน ต้องสั่งให้เงียบเพราะคุณสารียืนยันว่าให้ตั้งกองทุนจ่ายเงินมาง่าย ๆ มาก ๆ เร็ว ๆ ไม่ต้องมีการพูดคุยไมต้องประนีประนอมไม่ต้องไกล่เกลี่ย คุณสารียังจำได้หรือไม่ วันนั้นทำเอาบรรยากาศมืดทะมึนทันที

ในทางศาสนาพุทธเรื่องบางเรื่องเป็น “ปัจจัตตัง” ดังนั้นการพิสูจน์ว่ากม.นี้ดีหนักหนาเป็นยาวิเศษหรือไม่ การพิสูจน์ความเห็นอกเห็นใจจริงต่อบุคลากรทำได้ง่ายมาก เพียงคุณสารีถอดหัวโขนตำแหน่งในมูลนิธิและสารพัดองค์กรที่นั่งอยู่และกลับมา สวมชุดพยาบาลอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อมาช่วยเพื่อนพ้องพยาบาลที่เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพของคุณสารี(?)ซึ่งตราก ตรำทำงานในโรงพยาบาลทั่วประเทศโดยไม่เคยได้โอกาสออกสื่อหรือมีชื่อเสียงแบบ ที่คุณสารีมี

ทั้ง ๆ ที่เพื่อน ๆ คุณสารีสร้างข่าวดีอยู่ตลอด ๓๖๕ วันโดยการช่วยชีวิตคนนับหมื่นนับแสนนับล้าน แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข่าวดัง ๆ ดี ๆ (ยกเว้นข่าวร้าย ๆ ที่จะได้กลิ่นเร็วเป็นพิเศษและพร้อมใจกันขยายความให้เหมือนไฟลามทุ่งโดย ปราศจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนนำเสนอ) เชื่อแน่ว่ามีหลายแห่งยินดีต้อนรับเพราะเสียดายในความรู้พยาบาลอันสามารถของ คุณสารีอย่างมาก

ลองดูสักสองสามปีในห้องฉุกเฉินที่ไหนก็ได้ แล้วค่อยตอบตนเองว่าร่างกม.นี้ดีจริงหรือ แก้ปัญหาที่กล่าวอ้างมาได้จริงหรือไม่ หากดีจริงก็อยู่เป็นพยาบาลต่อเพื่อช่วยเหลือ “ผู้เสียหาย” ที่คุณสารีรยกมาใช้กล่าวอ้างเสมอ ๆ น่าจะได้บุญมากกว่าการทำงานในสายอื่นที่คุณสารีเลือกเดินอยู่ และอย่าลืมผลักดัน “ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการกระทำขององค์กร....”

โดยให้มีเนื้อหาแบบเดียวกับร่างกม.นี้ เช่น กำหนดนิยามให้ผลที่เกิดจากการเคลื่อนไหวหรือการกระทำของ.....เป็น “ความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูก” ตั้งกองทุนที่อนุญาตให้นำเงินหลักหมื่นล้านบาทต่อปีไปบริหารกันเอง ๑๐% เงินเหลือซึ่งเป็นภาษีประชาชนไม่ต้องส่งคืนคลัง แต่ให้กรรมการกอดเก็บไว้กับตัวเพื่อยกยอดไปใช้บริหารกันต่อในปีถัดไปทุกปี

ใครอยากได้เงินก็อ้างว่า “เกิดความเสียหาย”เพื่อ จะได้ไม่ต้องพิสูจน์ผิดถูกแล้วมีโอกาสได้เงินหลักล้านโดยไม่คำนึงว่านี่คือ เงินภาษีของคนส่วนน้อยของประเทศที่เขาจ่ายมาให้รัฐเพื่อพัฒนาประเทศ พัฒนาระบบสาธารณสุข ซื้อเครื่องมือดี ๆ ยามีคุณภาพ มารักษาเขาและญาติ มิใช่มาไล่แจกแบบquick cash กรรมการที่ตัดสินให้เงินก็ไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ตัดสินเพราะใช้อารมณ์ ความเห็นอกเห็นใจเป็นหลัก หากจ่ายเงินล่าช้าให้ปรับ ๒๔%ต่อปี

พร้อมยึดทรัพย์องค์กรหรือบุคคลได้ จ่ายสินไหมแล้วฟ้องแพ่งต่อได้ ฟ้องแล้วไม่มีจ่ายก็ยึดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องฟ้องศาลล้มละลายกลาง อายุความฟ้องแพ่งก็ขยายแบบสมานฉันท์ไม่มีกำหนดอายุความทางอ้อมโดยใช้คำว่า “ทันทีที่รู้ตัวว่าเสียหาย” ประนีประนอมทำสัญญาเสร็จก็เปลี่ยนใจฟ้องใหม่ได้เรื่อย ๆ ฟ้องแพ่งไม่พอก็ฟ้องอาญาโทษฐานพยายามช่วยผู้อื่นแล้วล้มเหลว(ประมาท)ต่อได้ ฟ้องแพ่งแล้วแพ้ในชั้นศาลก็กลับมาขอรับเงินจากกองทุนนี้ได้อีก

หากไม่อยากโดนโทษอาญาก็รีบจ่ายเงินฟ้องแพ่ง(โดยที่ผู้จ่ายก็ไม่รู้ ว่าตนทำผิดหรือไม่ เพราะไม่พิสูจน์ผิดถูก)ก่อนที่ศาลจะพิพากษาอาญา (ซึ่งไม่ต่างอะไรจากการเรียกเก็บเงินค่าคุ้มครองของพวกมาเฟีย) รับเงินไปแล้วเป็นสิบปีก็หวนมารับใหม่ได้อีกในมูลเหตุเดิมโดยอ้างว่าเพิ่ง รู้ว่าเกิดความเสียหาย (และหากพิสูจน์ไม่ได้เพราะมันนานมากแล้ว ก็ยกประโยชน์ว่าเป็นผู้เสียหายและให้จ่ายเงินได้อีก)

กรรมการสรรหาชั่วคราวก็ล็อกสเปคโดยตั้งคนจากองค์กรเฉพาะกลุ่มถึง ๖ ใน ๑๑ มาสรรหากรรมการถาวร อ่านไปอ่านมายิ่งสัปสนว่ากม.นี้กำลังจะออกในประเทศประชาธิปไตยหรือประเทศใน โซนแดงกันแน่

ถึงตอนนี้คุณสารีคงรู้แล้วว่าร่างกม.นี้ก็ไม่ต่างกับร่างกม.ที่ส่ง เสริมค่านิยมเงินเป็นใหญ่และสนับสนุนให้อกตัญญูต่อบุคลากรที่พยายามช่วย ชีวิตคนทางอ้อมนั่นเอง ยิ่งหากออกเพราะการผลักดันของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองนั้นคงได้ตราบาปไปชั่วลูกชั่วหลานของพรรคนั้น อันเป็นแรงส่งจากผลบาปของการส่งเสริมค่านิยมอกตัญญูและการทำร้ายชีวิตคนทาง อ้อม

คุณสารีเน้นย้ำให้สภาผู้แทนราษฎรตัดสินใจเดินหน้าเกี่ยวกับกฎหมาย ปาณาติปาตาและอกตัญญู ฉบับนี้(เพราะนายกรัฐมนตรีบอกใบ้ให้ทราบ) ที่ผ่านมา สส. สว. นักกฎหมาย ทนายความ หรืออาจารย์ทางกฎหมายบางท่าน ที่ยอมสละเวลามานั่งอ่านกฎหมายก่อนให้ความเห็น(มิใช่ให้ความเห็นก่อนอ่าน) อ่านแบบทั้งฉบับ และ หลาย ๆ รอบ อ่านจนสามารถผนวกมาตราทุกมาตราเข้าด้วยกัน จะเกิดดวงตาเห็นธรรม ว่าขืนผลักดันกม.ที่มีหน้าตาแบบนี้ต่อไป คงต้องไปลงนรกอเวจีฐาน “ปาณาติปาตา เวระมณี” แน่นอน

เพราะร่างกม.ฉบับนี้เป็นร่างที่บังคับให้ บุคลากรสาธารณสุขทั้งประเทศ ทอดทิ้งผู้ป่วย เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะหยุดก่อความเสียหายตามความเข้าใจแบบมิจฉาทิฐิของผู้ ผลักดัน ร่างกม.นี้จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ ปล่อยให้ผู้ป่วยตายไปต่อหน้าต่อตาหรือผลักให้ผู้ป่วยไปตายบนรถส่งต่อหรือโรง พยาบาลอื่นจะได้ไม่เกิดความเสียหายที่ตนเองเป็นมีสิทธิถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ ก่อ

อย่าลืมว่า“ผู้ไม่เคยผิดพลาดคือผู้ไม่เคยทำอะไรเลย” คนป่วยจำนวนมากจะตายด้วยกฎหมายนี้เพราะบุคลากรกลัวว่า ตนจะเป็นผู้ก่อการร้ายที่เที่ยวไปก่อความเสียหายตามนัยของกฎหมายนี้ แถมยังมีศาลเตี้ยที่เต็มไปด้วยบุคคลที่ทำงานด้วยปากในการรักษาผู้ป่วย พร้อมกับบุคคลที่ในชีวิตเคยเป็นแต่ผู้ป่วยแต่ไม่เคยรักษาคน มานั่งลับมีดรอเชือดโดยอาศัยเสียงข้างมากลากไป ไม่สนใจผิดถูก ไม่ต้องมีคำว่า “มาตรฐานทางการแพทย์”

อย่าลืมว่า การผลักดันกม.นี้ยิ่งกว่าการผิดศีลข้อ ๑ เพราะเพียงแค่ปีแรกที่กม.นี้มีผลบังคับใช้จะมีหลายแสนชีวิตที่ตายไปจาก มิจฉาทิฐิของการผลักดันกม.นี้แบบหน้ามืดตามัว โดยอาศัยเงินเป็นตัวล่อ บาปกรรมจะไปตกอยู่ที่ผู้ผลักดันและผู้ยกมือสนับสนุนร่างกม.นี้ หนักบ้างน้อยบ้าง ก็แล้วแต่ว่าจะรู้เท่าถึงการณ์ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ถึงตอนนี้ บรรดาสส. สว.ที่ต้องยกมือโหวต เพื่อให้กม.นี้เข้าสภาไปแก้กันต่อ(แต่อย่าหวังว่าจะแก้เนื้อหาอันตรายทั้ง หมดนั้นได้ เพราะการแก้ทั้งหมดเพื่อมิให้ไปตกอยู่ในอบายภูมิคือการคว่ำกฎหมายนี้นี่ เอง) หากได้อ่านแล้วก็ต้องเรียกว่ารู้เท่าถึงการณ์ และรอดูว่าเขาเหล่านั้นพร้อมใจจะไปอยู่ในอบายภูมิตามคำเชิญชวนหรือไม่

https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1299387121
โดย: matichon [7 มี.ค. 54 2:57] ( IP A:182.53.55.231 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   คนเขียนคงลืมไปว่าตนเองอยู่ในกลุ่มปชช.ที่ปู่ชัยเรียก"ทุเรศ" และเปลวสีเงินเรียก "อัปรีย์หมอ" ตอให้เขียนบทความยาวสักสิบกิโลเมตรก็คงเปล่าประโยชน์ทำไมไม่บอก

ปล.ถ้ากล้า ๆ หน่อยต้องบอกตำแหน่งท้ายชื่อว่าตนเองเป็นคกก.แพทยสภาที่ไม่เคยให้ความเป็นธรรมกับสังคมเลย
โดย: ไม่อ่านเปลืองสายตา [7 มี.ค. 54 9:50] ( IP A:58.9.38.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   ทำไมเหรอ ปู่ชัยกับเปลวสีเงิน เป็นคนสำคัญมากเหรอ คนแถวนี้ถึงยกมาอ้างประจำ อ้างอะไรให้มันฝังขึ้นหน่อย

ปู่ชัย.......พ่อเนวิน อดีตมือขวาทักษิณ ปัจจุบันสลับขั้วมาอยู่กับอภิสิทธิ์เพื่อจัดตั้งรัฐบาล คุมกระทรวงหลักหมด

เปลวสีเงิน....นายโรจน์ งามแม้น คอลัมนิสต์ มีปากกาเป็นอาวุธ ดังมาจากไทยรัฐ ก่อนลาออกมาตั้ง สยามโพสต์ กับ ไทยโพสต์ แข่ง

แล้วไงเหรอ
โดย: Gazza [7 มี.ค. 54 11:47] ( IP A:115.87.216.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   คนเราเขาวัดกันที่ผลงาน
ถ้าอดีตผลงานดี เขาก็เชื่อว่าน่าจะดี
คนดีด่าใคร คนนั้นก็ซ วย
คนชั่วด่าใคร คนนั้นก็เจริญ
ส่วนใครจะดีใครจะชั่ว ก็ต้องรอดูกันไป
ว่าไปแล้วคนดีใครด่าก็ไม่น่าจะเดือดร้อน
คนชั่ว ไม่ต้องด่าหรอกครับ กรรมมันตามทัน
โดย: ไม่มีปัญหา [7 มี.ค. 54 12:17] ( IP A:58.8.213.249 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ไม่มีใครเดือดร้อนหรอกครับ
ก็อย่างที่คุณว่าไว้แหละ คนชั่วด่าใคร คนนั้นก็เจริญ

คงแค่รำคาญมากกว่า ที่คนแถวนี้ชอบยกคำพูด 2 คนนี้มาด่าหมอ
โดย: Gazza [7 มี.ค. 54 14:15] ( IP A:115.87.216.12 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   คนเขียนคงลืมไปว่าตนเองอยู่ในกลุ่มปชช.ที่ปู่ชัยเรียก"ทุเรศ" และเปลวสีเงินเรียก "อัปรีย์หมอ" ตอให้เขียนบทความยาวสักสิบกิโลเมตรก็คงเปล่าประโยชน์ทำไมไม่บอก

ปล.ถ้ากล้า ๆ หน่อยต้องบอกตำแหน่งท้ายชื่อว่าตนเองเป็นคกก.แพทยสภาที่ไม่เคยให้ความเป็นธรรมกับสังคมเลย
โดย: ????? [8 มี.ค. 54 18:01] ( IP A:58.9.38.37 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   https://en.wikipedia.org/wiki/Ernest_Amory_Codman
โดย: หัดดูหมอกระดูกรุ่นปู่บ้าง [9 มี.ค. 54 20:13] ( IP A:58.11.101.96 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจันไร
ผู้ก่อตั้ง เจซีไอเชียวนา
โดย: เฮอะๆ [9 มี.ค. 54 20:15] ( IP A:58.11.101.96 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   Home> Volume 11, Issue 1> Article Qual Saf Health Care 2002;11:104-105 doi:10.1136/qhc.11.1.104
Heroes and martyrs of quality and safety
Ernest Amory Codman MD
D Neuhauser
Correspondence to:
 D Neuhauser,
Epidemiology and Biostatistics, Medical School, Case Western Reserve University, Cleveland, Ohio 44106-4945, USA;
 dvn@po.cwru.edu
martyrs of qualityErnest Amory Codman
Ernest Amory Codman MD (1869–1940) was a Boston surgeon. Like all of us he was human and made mistakes. Unlike others he made a lifelong systematic effort to follow up each of his patients years after treatment and recorded the end results of their care. He recorded diagnostic and treatment errors and linked these errors to outcome in order to make improvements. He was sufficiently disgusted with the lack of such outcomes evaluation of care at the Massachusetts General Hospital where he was on the staff that he resigned to start his own private hospital which he called the “End Result Hospital”.

From 1911 to 1916 there were 337 patients discharged from Codman's hospital. He recorded 123 errors and measured the end results for all these patients. He grouped errors by type. There were errors due to lack of knowledge or skill, surgical judgment, lack of care or equipment, and lack of diagnostic skill. In addition to the errors there were four “calamities of surgery or those accidents and complications over which we have no known control. These should be acknowledged to our selves and to the public and study directed to their prevention”.

The difference between Codman's hospital and your healthcare organisation is that he admitted his errors in public and in print. They are all described in the annual report of his hospital. Codman paid out of his own pocket to publish this report so that patients could judge for themselves the quality and the outcome of care. He sent copies of his annual reports to major hospitals throughout the country challenging them to do the same. If he were alive and with you today, he would ask in a gentle way why your hospital does not do the same. Your patients want to know.

Here is one of Codman's cases from his End Result Hospital report:

“Case #90. Jan 27 1913. Stout female – 36. Abdom. pain of 12 hours duration Pre-op diag. subacute appendicitis. Op. (EAC and GWM) – Appendectomy. Appendix showed evidence of a previous attack but no sign of acute inflammation. Comp. none. [Error in diagnosis, Ed>. Result August 1913 well. August 18 1915. Now has symptoms of gallstones. Op. advised, scar solid.”

Note that (1) even today this seems a plausible description of misdiagnosed appendicitis, (2) the patient is followed up years after discharge to demonstrate the “end result” of care, and (3) one can link process error to end result. In this case the patient has a new problem of gallstones not related to the diagnostic error.

Then there was patient number 77. Codman ligated the hepatic duct which led to the patient's death: “I had made an error of skill of the most gross character and even (during the operation) failed to recognize that I had made it”.

After the description of his last patient Codman says: “Reminder. You may or may not agree with the criticism indicated by the symbols; of course they are open to doubt; but the point is this, at our charitable hospitals there is no one who dares make such criticism at all. It is the duty of no one and it is for the interest of no one—except for the patients and for the community” (109).

The annual report of Codman's hospital publicly reported errors at the rate of one error for every three patients. Codman would ask you in public to give the error rate for your hospital. You might reply that your lawyers would not let you say. Codman would reply “humbug”. If your patients only knew what the care in your hospital was really like, would they come? Covering up your errors and humbugging the public is how you make money. “I am naturally disgusted with humbug, self-deception, hypocrisy, smugness, cupidity and injustice” (The Shoulder xxxvii). Hiding behind the lawyer's skirts is no answer. Codman has nailed us.


Perhaps Codman's hospital had lots of errors because the surgeons were not very good. Codman was a founder of the American College of Surgeons along with such colleagues as George W Crile (founder of the Cleveland Clinic) and Charles H Mayo. Mallon in his biography of Codman calls him “one of the most important surgeons of the twentieth century”. Also operating at the End Result Hospital was an even more famous surgeon, Codman's medical school classmate Harvey Cushing, generally referred to as the founder of neurosurgery. You can read how Cushing misdiagnosed patient number 86 in the annual report. In short, your hospital would be lucky to have surgeons of this calibre. Yet errors were made by the very best.

Codman's good deeds and high mindedness were punished, of course, thus qualifying him as a “martyr of quality”.

In August 1911 Codman resigned his full time position at the Massachusetts General Hospital and opened his hospital in November of that year. His lifetime average income from practice was $6000 per year. It rose to $10 000 by 1914.

On 6 January 1915 he presented a large cartoon at a meeting of the local Surgical Society which he chaired. It portrays greedy surgeons grasping for gold from wealthy patients (portrayed as an ostrich with its head buried in Boston's prosperous Beacon Hill). Humbugs marched along the border. He was trying to get his “end result” message across and he created an uproar. He was ostracised for this public insult by his colleagues and his income that year plummeted to $5000. He was ordered to step down as Chair of the Society and for decades after he was an embarrassment to members of the extended Codman family.

Mallon says his reforming efforts “brought him mostly ridicule, poverty and censure”. He never stopped in his effort to link care, errors, and end results and to measure, report, and improve. Some day we will catch up with his work.

To learn more about Codman, first read his 1917 End Result Hospital report (Codman EA. A Study in Hospital Efficiency. Reprinted by the Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organizations Press, 1 Renaissance Blvd, Oakbrook Terrace, Illinois 60181, 1996). The going price for an original copy will be about $1000 if you can find one. Codman was a fine writer and his opinions are clear. Paraphrasing his words usually dilutes them.

Next read Codman's autobiography in The Shoulder (privately printed, Boston, 1934 and reprinted since then). Here he reproduces his cartoon and graphs his life on one page including his yearly income. Such public disclosure of personal income is not something a proper Bostonian would do. On this page he lists his publications under the heading “advertisements”. Most of these papers appeared in what is today called the New England Journal of Medicine. He said most clinical research told only of very good results and were therefore mere advertisements. Real improvement would be made, he believed, when clinicians wrote about their errors and how to reduce them.

Now you are ready for William Mallon's excellent full length biography Ernest Amory Codman: The End Result of a Life in Medicine (Philadelphia: WB Saunders, 2000). Mallon is an orthopaedic surgeon who does justice to Codman's important surgical contributions.

Also read Michael Millenson's Demanding Medical Excellence (Chicago: University of Chicago Press, 1997). Millenson describes today's transformation of medicine based on evidence and accountability. In chapter 7 he shows how Codman's work was a forerunner in the modern search for medical excellence.
โดย: พรบ กระทอก [9 มี.ค. 54 20:20] ( IP A:58.11.101.96 X: )
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ : .wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน