2.การทำ Living will เป็น Mercy killing หรือการการุณยฆาต ใช่หรือไม่ คำตอบทางกฎหมายคือ ไม่ใช่ การุณยฆาตเป็นการเร่งการตายที่เรียกว่า Active Euthanasia ซึ่งตามกฎหมายทำไม่ได้ แต่การทำ Living will เป็นเรื่องที่ผู้ป่วยขอตายตามวิธีธรรมชาติ เป็นกรณีที่เรียกว่า Passive Euthanasia ซึ่งในแง่กฎหมาย จริยธรรม ถือว่ากระทำได้ตามความประสงค์ของผู้ป่วย
4.ประเด็นที่เป็นข้อสงสัยตามมาก็คือ อย่างไรที่เรียกว่า "วาระสุดท้ายของชีวิต" ในเรื่องนี้กฎหมายนิยามได้เพียงกรอบโดยทั่วไป แต่วาระสุดท้ายของชีวิตในแต่ละโรคแต่ละกรณี แพทย์จะวินิจฉัยตามหลักวิชา ซึ่งเมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว แพทย์ก็จะสื่อความเข้าใจกับญาติ หากญาติเห็นด้วยกับข้อวินิฉัยของแพทย์ ก็สามารถทำตามรายละเอียดใน Living will ได้ แต่หากญาติไม่เห็นด้วยและอยากเหนี่ยวรั้งชีวิตต่อไปอีกระยะหนึ่ง แพทย์สามารถปฏิบัติได้ 2 ทาง กล่าวคือ หากแพทย์เห็นความจำเป็นและเหตุผลของญาติ ก็สามารถทำตามที่ญาติต้องการได้ หรือแพทย์อาจทำตามคำสั่งใน Living will และหากแพทย์ทำตามคำสั่งใน Living will ในมาตรา 12 วรรคสาม ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่า การกระทำนั้นไม่เป็นความผิด
"ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยได้เขียน Living will ไว้แล้วว่า ไม่ต้องการให้เจาะคอหรือทำอะไรในวาระสุดท้ายของชีวิต และญาติก็ไม่ได้ขอร้องให้ทำอะไรต่อ แต่ทางสถานพยาบาลฝืนทำ ซึ่งอาจเป็นไปได้ในโรงพยาบาลเอกชนประเภทที่มุ่งค้ากำไรจากความเจ็บป่วยของเพื่อนมนุษย์ การกระทำเช่นนี้แหละที่จะมีปัญหากฎหมายตามมา การทำความเข้าใจกับญาติโดยการพูดความจริง คือจริยธรรมแห่งวิชาชีพที่พึงปฏิบัติด้วยวิธีการที่เหมาะสม"
5.แพทย์มีหน้าที่ต้องไปตรวจสอบหรือไม่ว่า Living will หรือหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย เป็นของจริงหรือของปลอม