consumer.pantown.com
เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กรุณาโพสต์ข้อความที่นี่ <<
กลับไปหน้าแรก
สธ.นัดถก พ.ร.บ.สมานฉันท์หมอ-คนไข้ 27 ส.ค.นี้
สธ.นัดถก พ.ร.บ.สมานฉันท์หมอ-คนไข้ 27 ส.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
24 สิงหาคม 2552 17:45 น.
https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000096424
สธ.นัดถก พ.ร.บ.สมานฉันท์ หมอ-คนไข้ 27 ส.ค.นี้ ได้ฤกษ์สรุปความเห็นต่างประเด็น ชื่อ-ที่ตั้ง สนง.-สัดส่วนกรรมการ-การไกล่เกลี่ย
วันที่ 24 สิงหาคม นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ในวันที่ 27 ส.ค.นายพิเชฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเป็นประธานในการประชุมเพื่อหาข้อสรุปเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรบริการสาธารณสุข พ.ศ...ที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอยู่มาก แต่ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เร่งรัดมาให้พิจารณาโดยเร็ว ซึ่งคาดว่าการประชุมในครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงได้ข้อสรุป
เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ได้หารือกันแล้ว แต่ก็ยังคงไม่ได้ข้อสรุปใดๆ ซึ่งกระบวนการหลังจากนี้ สธ.จะส่งความคิดเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ที่เป็นเอกฉันท์กลับไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นส่งเรื่องต่อไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบ และส่งไปยังสภานิติบัญญัติเพื่อพิจารณาต่อไป นางปรียนันท์ กล่าว
นางปรียนันท์ กล่าวต่อว่า ในส่วนที่แต่ละฝ่ายยังเห็นแตกต่างกันมี 4 ประเด็น คือ 1.ชื่อของกฎหมายฉบับนี้ ที่มีการเปลี่ยนชื่อให้เป็นร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริม จากเดิมที่เป็นร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง ซึ่งถือว่าเป็นอย่างแรกที่ฝ่ายผู้เสียหายรับไม่ได้ ไม่ใช่เป็นเพียงชื่อเท่านั้น แต่เจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว คือ การคุ้มครองผู้เสียหาย แต่กลับเปลี่ยนชื่อไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายก็ผิดตั้งแต่ต้นแล้ว
2.สำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ควรที่จะบริหารจัดการเป็นองค์กรอิสระ ไม่ควรอยู่ในสังกัดของ สธ.ในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งเป็นคู่กรณีกับผู้เสียหายอยู่แล้ว แม้ว่าจะบริหารจัดการแบบองค์กรอิสระไม่ได้ อย่างน้อยจะให้สำนักงานดังกล่าวสังกัดภายใต้การบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็ไม่ขัดข้องแต่อย่างใด
แม้ว่าจะบริหารเป็นอิสระไม่ได้ แต่หากให้ สปสช.บริหารจัดการก็ยังดีกว่าอยู่ภายใต้การบริหารงานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ.เพราะ สปสช.อยู่ในฐานะผู้ซื้อบริการสาธารณสุขจาก สธ.อีกทั้งมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการกองทุนชดเชยผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุขตามมาตรา 41 ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และยังมีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำทุกจังหวัดด้วย นางปรียนันท์ กล่าว
นางปรียนันท์ กล่าวต่อว่า 3.สัดส่วนของคณะกรรมการตามกฎหมายนี้ จากเดิมที่แบ่งฝ่ายสภาวิชาชีพและภาคประชาชนฝ่ายละ 6 คน แต่ภายหลังมีการเพิ่มสภาวิชาชีพ รวมเป็น 8 คน ซึ่งองค์กรผู้บริโภค เห็นว่า หากสัดส่วนของคณะกรรมการฯที่ไม่เท่ากันจะทำให้จะยิ่งทำให้กระบวนการชดเชยเป็นไปได้ยาก
สุดท้ายประเด็นเรื่องการไกล่เกลี่ยที่ทั้งวิชาชีพแพทย์และฝ่ายผู้ป่วยเห็นตรงกันแล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการไกล่เกลี่ยในกฎหมายนี้อีก เพราะที่ผ่านมามีระบบการไกล่เกลี่ยแต่ก็ไม่ช่วยให้มีการช่วยเหลือผู้ป่วยแต่อย่างใด อีกทั้งจะทำให้การชดเชยเป็นไปด้วยความลำบาก จึงไม่ควรให้มีการไกล่เกลี่ยอีก นางปรียนันท์ กล่าว
โดย: มาจากผู้จัดการออนไลน์ [24 ส.ค. 52 21:55] ( IP A:58.9.189.42 X: )
ความคิดเห็นที่ 1
ไกล่เกลี่ย ผมว่าตลกมาก
มาถึงระยะนี้ ผมว่าไม่ใช่ระยะไกล่เกลี่ยแล้ว
มันเป็นระยะที่มีความเสียหาย แล้วมาตกลงเรื่องจ่ายค่าเสียหายเยียวยากันมากกว่า เงินก็ของคนไข้เขาลงขัน (ผ่านค่ารักษาหมอ ไม่ใช่เงินหมอซักกะหน่อย)
เพราะพระราชบัญญัตินี้มีเพื่อเยียวยา ไม่ใช่การทะเลาะกันของหมอกับคนไข้ แล้วมาไกล่เกลี่ย ให้คนไข้ไม่เอาเรื่องหมอ
มันเป็นเรื่องเอาเรื่องกัน คนไข้เอาเรื่องหมอ เพื่อให้กองทุนของคนไข้ชดใช้ ไม่ได้ให้หมอชดใช้
คือถ้าคนไข้เสียหาย เขาก็ต้องยื่นเรื่องเรียกร้องมา
คนพิจารณาถ้าเห็นว่าเสียหายก็จ่ายเขาไป ก็เงินของเขาเอง จ่ายเงินเท่าไหร่ก็ว่ากันอีกที
เห็นไม่ตรงกันเรื่องค่าเสียหาย ก็ต่อลองกัน ไม่ใช่ไกล่เกลี่ย
พอใจก็รับไป ไม่พอใจก็ไปฟ้องศาลเอา
ถ้าเขายื่นมาแล้ว เห็นว่าไม่เสียหายจริง หมอไม่ผิด พยาบาลไม่ผิด
ก็ไม่ต้องคุย ไม่ต้องจ่าย จ่ายไม่ได้มันไม่มีเหตุผลที่จะจ่าย
ที่สำคัญ ไกล่เกลี่ย มีได้ตลอด เมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าคนไข้เขาพอใจ
แม้กระทั่งฟ้องศาลแล้ว กฏหมายก็ยังระบุว่าให้ศาลพยายามให้มีการไกล่เกลี่ยกัน ไม่ต้องเขียนอีกแล้ว เรื่องนี้ กฎหมายแพ่งเรื่องประนีประนอมยอมความกันก็มีแล้ว จะเขียนทำไมอีกให้รก ไม่ต้องเขียนก็ทำได้ เขียนกฎหมายจนเลอะเทอะไปหมด บ้าชมัด
มันเรียนรู้กฎหมายกันบ้างหรือเปล่า พวกบ้าเอ้ย
โดย: ฟฟ [24 ส.ค. 52 22:27] ( IP A:58.8.4.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 19
ศาลมีอำนาจสั่งได้ตามที่เห็นสมควร ให้คู่ความทุกฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาศาลด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าคู่ความนั้นๆจะได้มีทนายความว่าต่างแก้ต่างอยู่แล้วก็ดี อนึ่ง ถ้าศาลเห็นว่า การที่คู่ความมาศาลด้วยตนเอง อาจจะยังให้เกิดความตกลงหรือการประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ในมาตราต่อไปนี้ ก็ให้ศาลสั่งให้คู่ความมาศาลด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20
ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินการไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอำนาจที่จะพยายามเปรียบเทียบให้คู่ความได้ตกลงกัน หรือประนีประนอมยอมความกันในข้อทีพิพาทนั้น
ส่วนที่ตกลงกันได้แล้วทำหนังสือรับกันไว้นั้น ก็ใช้ได้ ไม่ต้องมีกฏหมายอีก
แล้วอย่างนี้จะเขียนอีกทำไม
แต่ที่ตกลงแล้วใช้ไม่ได้ก็คือฝ่ายแพทย์ฉ้อฉล และเบี้ยว ตามที่ฟ้องกันในศาล รับปากจะให้ค่านม ค่าแพมเพอร์ส แล้วก็เบี้ยว ก็เลยฟ้องกัน
เขียนไว้ ถ้าตกลงกันไม่แฟร์ ก็ฟ้องได้อีก
เขามีพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันพวกชอบเอาเปรียบชาวบ้าน
โดย: ฟฟ [24 ส.ค. 52 22:40] ( IP A:58.8.4.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
เชื่อผมเถอะ แฟร์แล้วจบ
ถ้าไม่แฟร์ ต่อให้ตั้งชื่อว่า พระราชบัญญัติ คนไข้รักหมอ หมอรักคนไข้ หวานเจี๊ยบ ชื่นฉ่ำอุรา ประชาเป็นสุข ทุกข์โศกไม่มี
ก็แก้ปัญหาไม่ได้อยู่ดี
โดย: ชื่อดี ทำ ไม่ดี ก็ไร้ค่า ทำดีกว่าพูด [24 ส.ค. 52 22:43] ( IP A:58.8.4.179 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
ชอบชื่อนี้มาก พรบ.คนไข้รักหมอ หมอรักคนไข้ หวานเจี๊ยบ ชื่นฉ่ำอุรา ประชาเป็นสุข ทุกข์โศกไม่มี
โดย: 555555 [24 ส.ค. 52 23:11] ( IP A:58.9.194.156 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
MCOT News
24-8-52
ได้ข้อสรุปร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ 27 ส.ค.นี้กรุงเทพฯ 24 ส.ค. - ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เผย 27 ส.ค.นี้ จะได้ข้อสรุปเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ เสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาและ ครม. เห็นชอบ โดยจะพิจารณา 4 ข้อสำคัญที่เป็นข้อโต้แย้ง
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวภายหลังหารือกับนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ในวันที่ 27 ส.ค.นี้จะได้ข้อสรุปเรื่องร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ...ที่จะสรุปผลความคิดเห็นของทุกฝ่าย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกา และเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ โดยมีนายพิเชษฐ์ พัฒนโชติ ที่ปรึกษา รมว.สาธารณสุขจะเป็นประธานการประชุม และจะพิจารณา 4 ข้อสำคัญที่เป็นข้อโต้แย้ง
1.การใช้ชื่อร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว ทางผู้เสียหายเห็นควรใช้ชื่อเดิม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข หลังจากถูกเปลี่ยนเป็นร่าง พ.ร.บ.สร้างเสริมความสมานฉันท์ 2. สำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ที่ควรเป็นอิสระ เห็นว่าควรให้ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดูแล เนื่องจากมีประสบการณ์ดูแลผู้เสียตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ 3.สัดส่วนของคณะกรรมการตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวกลับพบว่ามีไม่เท่าเทียมกันระหว่าง สภาวิชาชีพ ที่มีคณะกรรมการจำนวน 8 คน แต่ภาคประชาชนมีเพียง 6 คน เท่านั้น และ 4. การไกล่เกลี่ย ที่ทั้งวิชาชีพแพทย์และฝ่ายผู้เสียหายเห็นตรงกันแล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องมี เนื่องจากจะทำให้การชดเชยเยียวยา เป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะเกรงจะเป็นการถกเถียงถูกผิดกันเอง.-สำนักข่าวไทย
โดย: ข่าว Mcot News [25 ส.ค. 52] ( IP A:58.9.194.156 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
ท่านประพันธ์ คูณมี พูดไว้หลายที่หลายๆครั้งว่า
ความยุติธรรมไม่มี ความจริงไม่ปรากฏ แล้วพวกมึงจะให้กู
สมานฉันท์
ยังไงวะ???!!!
ชื่อเพราะพริ้งหรือความหมายดีแค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่คนตั้งชื่อใหม่นี่ ก็กลุ่มหมอใน ส.ธ. และ แพทยสภา ที่เอื้อประโยชน์ทางฉ้อฉลมาต่อเนื่องโดยตลอด แล้ว ร.ม.ต. ก็มีการกระทำที่เอียงข้างและเลือกปฏิบัติ ซึ่งขัดกับหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตำแหน่งของผู้ที่เป็น "จ้าวกระทรวงสาธารณสุข" ไม่เข้าใจว่า
ท่านทำงานหรือไม่ทำก็เพื่อที่จะตามใจคนในอาชีพหมอ
หรือ
จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนคนไข้โดยรวมกันแน่?????
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [28 ส.ค. 52 11:16] ( IP A:58.8.100.56 X: )
ดำ
ขาว
น้ำเงิน
แดง
เขียว
เหลือง
ส้ม
น้ำตาล
ม่วง
ฟ้า
เขียวมะนาว
รายละเอียด :
ชื่อ / e-mail :
แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้
(ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)
รูปประกอบ :
.jpg .bmp .gif < 100K
จัดตำแหน่งรูป :
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
เสียงประกอบ :
.wav .mp3 .wma .ogg < 300K
คลิปวีดีโอ (Youtube) :
ตัวอย่าง : http://www.youtube.com/watch?v=k_ufqno7NaE
คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน