ศาลฎีกาละเมิดสิทธิประชาชนตามรัฐธรรมนูญของประธานเครือข่ายฯ ฟ้องศาลปกครองสูงสุดได้หรือไม่?
   ตอนหนึ่งของคำพิพากษา "ศาลปกครองสูงสุด" คดีมาบตาพุด คัดมาจากจุดเชื่อมโยงที่

https://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/life/20091202/89316/รายละเอียดคำสั่งศาลปกครองสูงสุดคดีมาบตาพุด.html

******************************************
ในเรื่องความรับผิดชอบของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และจะก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคแก่การบริหารงานของรัฐหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า หลังจากที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ มีผลใช้บังคับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ต้องอนุมัติ อนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว ได้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตอบข้อหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ว่า บทบัญญัติดังกล่าวยังไม่มีผลใช้บังคับทันที เพราะมีบทเฉพาะกาลตามมาตรา ๓๐๓ (๑) กำหนดให้มีผลใช้บังคับภายใต้เงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายกำหนดรายละเอียดเสียก่อน ดังนั้น หน่วยงานผู้รับผิดชอบที่จะอนุญาตจึงสามารถพิจารณาออกใบอนุญาต
ให้แก่โครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าการให้ความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาขัดกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าโครงการหรือกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๗ ทันที ซึ่ง มาตรา ๒๑๖ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญดังกล่าว ได้บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ ความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงต้องผูกพันตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงมีผลผูกพันให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
******************************************

คดีที่ศาลฎีกายกฟ้องของประธานเครือข่ายฯ ต่อแพทยสภา ในมาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ทุจริต หรือ โกงในตำแหน่งหน้าที่) คำวินิจฉัยของศาลฏีกาในประเด็นที่ว่า ท่านประธานเครือข่ายฯ ไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธิฟ้องคดี และคดีถึงที่สุดจากคำพิพากษานี้ พอมาเปรียบเทียบกับ "คดีมาบตาพุด" นี้ ทำให้น่าคิดว่า พอมีทางร้องศาลปกครองสูงสุดให้ยกคำพิพากษาศาลฎีกาคดีท่านประธานนี้ในส่วนของสิทธิในการฟ้องคดีได้หรือไม่????

ยังไงๆ ก็น่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมาย เอาผิดสภาแพทยโจรก๊กนี้ให้ถึงที่สุดซะทีนะ ก่อกรรมทำเข็ญมานานจนกำเริบเสิบสาน ศาลมีลูกเป็นหมอ (โจร) , หมอมีญาติผู้ใหญ่เป็น "ศาล" เป็น "ผู้พิพากษา" ตัดสินเข้าข้างเรื่องผิดๆจน ขื่อแปของบ้านเมืองยุ่งเหยิงกันไปหมดแล้ว เฮ้อ !!!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [3 ธ.ค. 52 9:02] ( IP A:58.8.108.114 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   ความเห็นของผมใน "คดีมาบตาพุด" นี้ก็คือ

ทั้งแนวการวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งพิจารณากัน โดยเอาข้อกฎหมายเป็นตัวตั้ง ในการให้การอ้างอิงทางกฎหมายแก่รัฐบาล (โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ใช้อำนาจ) แทนที่จะ ยึดเอาผลประโยชน์และความชอบธรรมในแง่ของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของมวลชนชาวบ้านในพื้นที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เป็นตัวตั้ง

และข้อต่อสู้ของทางรัฐบาล ก็ยึดเอาข้อกฎหมาย และ สภาพบังคับที่มาจากเงื่อนไขทางการบริหารที่ได้ทำไปอย่างไร้สำนึกต่อความถูกต้องของส่วนรวม สะสมใหญ่โตขึ้นมาเพื่อเป็น "น้ำหนักทางกลยุทธ" ในการบีบให้เรื่องนี้ฝืนเดินต่อไปโดยอ้างความเสียหายทางเศรฐกิจ "เป็นตัวประกัน"

คดีนี้ เป็นตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นว่า นักการเมืองและรัฐบาลที่มาจากนักการเมืองที่ผ่านๆมา นั้น ประชาชนมีอำนาจเหนือ "พวกคนเหล่านี้" แค่ จนถึงวินาทีสุดท้ายก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งลงในหีบ เท่านั้นจริงๆ
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง [3 ธ.ค. 52 9:16] ( IP A:58.8.108.114 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน