ยาแพทย์
   **ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11:57:59 น. มติชนออนไลน์


"ยาแพทย์":มัจจุราชเงียบที่ซ้อนเร้นในสังคมโลก


ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา อาจจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงวงการบันเทิงเทศต้องโศกเศร้าเป็นพิเศษ เพราะต้องพบกับข่าวร้ายช็อคสุด ๆ นั่นคือการจากไปของเหล่าศิลปินดัง ซึ่งเป็นขวัญใจแฟน ๆ ชาวโลกนับพันล้านคน เริ่มตั้งแต่การจากไปของ"ฮีธ เลดเจอร์"และ"ไมเคิล แจ๊กสัน"ราชาเพลงป็อปของโลก อย่างไรก็ตาม ประเด็นหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการสิ้นชีพของศิลปินเหล่านี้ ก็คือ การ"ใช้ยาแพทย์เกินขนาด"ซึ่งกำลังถูกหลายคนพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งกรณีการเสียชีวิตไปหมาดๆ ของ"บริตตานี่ เมอร์ฟี่"ดาราสาว วัย 32 ปี ซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไป โดยมีกระแสข่าวว่า เธอใช้ยาเกินปริมาณ ตายตามเพื่อนศิลปินไปด้วยกัน



ขณะที่พิษภัยของ"ยาแพทย์"ยังถูกแฉว่าลามไปถึงคนบันเทิงเทศหลาย ๆ คน ที่ต้องฝันร้ายเพราะมันมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น"ร็อบบี้ วิลเลี่ยม"ที่สารภาพว่าเขาเคยติดยาแพทย์ หรือกรณีของ"สตีฟ ไทเล่อร์"ยอดร็อกเกอร์ชื่อดังแห่งคณะ"Aerosmith"ที่เพิ่งต้องเข้ารับการบำบัดการติดยาแก้ปวดที่ใช้มานับ"สิบๆปี"เพื่อผ่อนคลายอาการเจ็บปวดที่ได้รับจากการทัวร์คอนเสิร์ทของเขามาตลอดทศวรรษ และถึงวันนี้อาจกล่าวว่า ปัญหานี้นับว่ามาแรงเป็นที่โจษจันกล่าวขานกันมากที่สุด แม้จะไม่ดังแบบ"ท็อลค์ ออฟ เดอะ ทาวน์"ก็ตาม แต่ก็เรียก"เสียงซุบซิบเสียดังกระหึ่ม"จากผู้คนทั่วโลกอย่างปฎิเสธไม่ได้



ต้องบอกก่อนว่า ปัญหา"ยาแพทย์"หรือ"การใช้ยาตามใบสั่งแพทย์"เป็นปัญหาใหญ่ที่ถูก"ซุกซ่อนเร้น"ในสังคมสหรัฐ โดยทางทั่วไปแล้ว ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาที่ถูกรายงานหรือ"ฟ้องต่อสังคม"น้อยที่สุด โดยการติดยาแพทย์และการบำบัดรักษา ถือได้ว่าอันตรายเทียบเท่ากับยาอันตรายอื่น ๆ เพราะยาประเภทนี้ ก็มีธรรมชาติด้านลบของมัน



ขณะที่นักวิเคราะห์บางคนถึงกับว่า ปัญหานี้เป็นโรคระบาดที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ โดยการติดยาแพทย์มีปริมาณคิดเฉลี่ยถึง 1 ใน 3 ของปัญหาการใช้ยา"อย่างผิดๆ"ของสังคมแดนมะกัน จากการประเมินของรัฐบาลสหรัฐพบว่า ทุก ๆ ปี จะมีชาวอเมริกัน 3-4 ล้านคน ใช้ยาตามใบสั่งแพทย์นอกจุดประสงค์ทางการแพทย์ ขณะที่คนใช้ยาตามใบแพทย์โดยรวมแล้ว มีจำนวนเพิ่มขึ้น และมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้ยาดังกล่าวในลักษณะ"ติดยาเรื้อรัง"จนต้องเกาะติดผล



และสำหรับ"ยาแก้ปวด"(Painkiller)ว่าไปแล้ว ถือเป็นปรากฎการณ์ที่ซับซ้อนทางสังคม หมายถึงว่า มันประกอบด้วยรากเง้าของกลไกทางกายภาพและทางจิตใจของผู้ป่วย และยาแก้ปวดเหมือนกับรูปแบบของการติดยาทุกประเภท คือโรคระบาด ที่มีต้นตอทางกายภาพและจิตใจ และสำหรับคนที่ติด"ยาแก้ปวด"แล้ว ทางออกสถานเดียวที่จะแก้ไขได้ก็คือต้องพบแพทย์ เพื่อรับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้องเป็นขั้นตอน (จำนวนนี้มีผู้ป่วยนับล้านคนที่สามารถเอาชนะการติดยาแก้ปวดได้เพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้ง)


อย่างไรก็ตาม ยาแพทย์"ยอดฮิต"ที่ถูกใช้อย่างผิด ๆ มากที่สุด คือยาประเภทฝิ่น หรือ"Opiod"และยา"Benzodiazepines"โดยยาประเภทแรกโดยทั่วมักถูกใช้เพื่อควบคุมอาการเจ็บปวด ส่วนประเภทหลัง หรือ"ยาสลบ" มักถูกใช้ระยะกับผู้ป่วยในระยะสั้น ๆ เพื่อใช้ระงับอย่างเฉียบพลันต่ออาการเจ็บปวด



นอกจากนี้ "การโฆษณาโดยตรงต่อผู้บริโภค"ก็ยังมีผลต่อปัญหานี้ด้วย โดยสถิติเมื่อปี 2000 พบว่า การโฆษณาขายยาตามใบสั่งแพทย์โดยตรงต่อผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น 12 % หรือคิดเป็นมูลค่าราว 2,600 ล้านดอลลาร์ ด้วย



จากรายงานชิ้นหนึ่งได้พูดถึงกรณีศึกษารายหนึ่งที่มีพฤติกรรมติดยาแพทย์ที่น่าตะลึง ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นกรณีของ"โรคระบาดที่มองไม่เห็น"โดยยกตัวอย่างหญิงรายหนึ่ง ที่มีอาชีพการงานอย่างดี คือ นางซิลเวีย ซึ่งป่วยเป็นไมเกรนเรื้อรัง และได้ใช้ยาประเภท"Vicodin"ซึ่งแรก ๆ ก็ปรากฎว่าได้ผลดี แต่เมื่อนาน ๆ ไป ปรากฎว่ายาเริ่มใช้ไม่ผลได้ ทางออกของนางซิลเวียก็คือ เธอเพิ่มการเสพยาดังกล่าวขึ้นไปอีก แต่ปกปิดเรื่องนี้ไม่ให้หมอซึ่งเป็นผู้สั่งยารู้ โดยเธอไม่เชื่อมั่นตัวเองว่า เธอจะเลิกยาดังกล่าวได้



ในช่วงระยะเวลา 2 ปี ปรากฎว่า เธอพัฒนาการใช้ยาดังกล่าวถึง 30 เม็ดต่อวัน และเธอเริ่มเพิ่มเปลี่ยนจำนวนการใช้ยา เพื่อให้ตัวเองได้ยามากขึ้น และเติมยาได้มากขึ้น และเริ่มใช้"เล่ห์อุบายหายา"ด้วยการไปพบแพทย์หลายคน เพื่อให้เธอสามารถได้ยามากขึ้น


อุบายดังกล่าวยังแสบร้ายยิ่งขึ้น เมื่อเธอหาวิธีหายาแบบใหม่ คือ ใช้วิธีขโมยสมุดสั่งยาจากแพทย์รายหนึ่งของเธอ และปลอมลายเซ็นในการซื้อยา ก่อนที่เธอจะพลาด ทำให้เภสัชกรสงสัยก่อนจะแจ้งตำรวจ



ผลปรากฎว่า ตำรวจได้บุกบ้านเธอ และถึงกับต้องตะลึงเมื่อพบยาแก้ปวดเป็นร้อยๆ เม็ดซ่อนอยู่ทั้งในห้องนอน ห้องน้ำ และห้องครัว หะแรกตำรวจคิดว่า เธอขโมยยามาเพื่อขาย แต่จริง ๆ แล้ว ยานับร้อยดังกล่าวเป็นยาในจำนวนที่ซิลเวียใช้"บริโภค"ภายในระยะเวลาแค่"สองอาทิตย์"



รายต่อไปเป็นกรณีของนางดอนน่า ทนายความวัย 34 ปี ผู้ป่วยด้วยอาการกระวนกระวายสุดขีด และมีอาการขวัญผวา เธอใช้ยา"Xanax"จากแพทย์ ซึ่งก็ช่วยเธอได้บ้างในช่วงระยะหนึ่งปี แต่ต่อมาเธอพบว่า ตัวเองต้องการยามากขึ้น เธอจึงบอกหมอไปตามตรง และแพทย์ก็เพิ่มยาให้เธอ และปรากฎว่า ภายในไม่ถึง 3 ปี หมอได้เพิ่มยาให้เธอถึง 5 เท่าตั้งแต่เธอรับยาตัวนี้ไปตั้งแต่ครั้งแรก ขณะที่ดอนน่าพยายามหลอกตัวเองว่า การกินยาของเธอนั้นปลอดภัย เธอคิดว่า"ถ้าหมอจ่ายยามาให้ มันก็ต้องโอเคแล้ว"



อย่างไรก็ตาม ต่อมา เธอเริ่มรู้สึกหดหู่มากขึ้น อาการขวัญผวาโจมตีเธอถี่ขึ้นเรื่อย และดอนน่าไม่ต้องการเพื่อน ไม่ต้องการรับโทรศัพท์ใด ๆ และโลกของเธอหดตัวเล็กลงเล็กลงเรื่อย ๆ สุดท้ายเธอโทรศัพท์ไปหาแพทย์ประจำตัว และแพทย์แนะนำให้"เบ็ธ"เป็นผู้ควบคุมคอยจ่ายยาแก่เธอ


แต่อาการของดอนน่าเกินจะควบคุม เธอพยายามจะกินยาให้ตรงตามกำหนด แต่ก็กินยาเกินโดยไม่สามารถฝืนตัวเอง และเธอยังสติแตกถึงขั้นรอให้"เบธ"ออกจากบ้านไป ก่อนจะรื้อหายาอย่างบ้าคลั่ง



เมื่ออาการขวัญผวาทวีมากขึ้นอีก ดอนน่า ตัดสินใจไปหาหมออีกแพทย์เพื่อให้สั่ง"ยาอีกชุด"แก่เธอ ตอนนี้ดอนน่ารู้สึกว่า เธอไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้หากไม่มียา กลายเป็นว่ายา"Xanax"ควบคุมเธออย่างสิ้นเชิง และเธอจะเกิดอาการขวัญผวาทุกครั้งที่ยาเริ่มหมด


สุดท้ายแล้ว ดอนน่าเกิดอาการหมดสติบนเตียงนอนตัวเอง จนเบ็ธมาพบ และนำตัวเธอส่งโรงพยาบาล ต้องนำเข้าห้องฉุกเฉิน ก่อนจะถูกแพทย์"ล้างท้อง"จากพิษยา และแนะนำให้เธอเข้ารับการบำบัดอาการเลิกยา หรืออยู่โดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งเคราะห์ดีที่เธอเกิดกำลังใจที่เข้มแข็ง เปิดกว้างรับการบำบัดยาเป็นครั้งแรกในชีวิตของเธอ



นี่เป็นประสบการณ์เพียงบางส่วนของ"ผู้ติดยาแพทย์"ที่มีเกลื่อนทั่วสังคมสหรัฐ ไม่เว้นแม้กระทั่งบุคคลวีไอพีอย่างศิลปินก้องโลกและดาราฮอลลีวูด ซึ่งต้องจากไปก่อนวัยอันควร เพราะพิษของยาประเภท เพียงแค่ใช้ไม่ถูกหลัก หรือเกินปริมาณ ก็สามารถติดได้เหมือนยาเสพติดแท้ ๆ และจะกลายเป็นมฤตยูที่พร้อมจะคร่าชีวิตเราได้ทุกเมื่อ ที่"เราเผลอ"**
โดย: มัจจุราชเงียบที่ซ้อนเร้นในสังค [31 ธ.ค. 52 20:11] ( IP A:58.8.15.3 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   แต่คนไทยชอบขอ เห็นว่าได้ฟรี ก็ขอตลอด ทั้งๆที่บอกจนปสกฉีกปากแฉะ ก้จะเอาให้ได้ หมอคนไหนตามใจคนไข้คือหมอใจดี หมอคนไหนไม่ให้เพราะยึดหลักวิชาการ กลายเป็นหมอใจร้าย โดนคนไข้ด่าไล่หลัง
โดย: รพ นะไม่ใช่เซเว่น [31 ธ.ค. 52 21:37] ( IP A:125.26.107.160 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   แล้วประโยคที่ว่า....???

ให้ยา กัดกระเพาะจนแย่ แต่ไม่ส่งไปกายภาพ เพราะกลัวหน่วยกายภาพว่า ผู้ที่ส่งตัวไป.

บางครั้งมันก็คนละเรื่อง คนละอย่าง คนละราย คนละโรค...ความเหมาะสม ความจำเป็น ความเป็นจริงฯ .. คือสิ่งสำคัญ....
โดย: นะ-โม [1 ม.ค. 53 12:53] ( IP A:111.84.85.181 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   อืม ความเห็นที่สองน่ะจริงเลย ประมาณว่า ป้ามาเอายาความดัน แต่ขอยาแก้ไอ ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ปวด ยานวดด้วยนะหมอ ขอสามหลอดเลยนะ เอ้อ แล้วก็ขอยาแก้........... เยี่ยม
โดย: รับขนมจีบมั้ยคะ [3 ส.ค. 53 2:24] ( IP A:61.7.173.85 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน