แปลกใจ งานนี้ แพทยสภาและราชวิทยาลัยจักษุ เงียบสนิท
   วันที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 14:59:35 น. มติชนออนไลน์


มูลนิธิผู้บริโภคเร่ง รบ.ออก กม.ตั้งกองทุนอิสระเยียวยาผู้ป่วย ยกกรณีผ่าต้อกระจกตาบอดเป็นตัวอย่าง

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดันออกกฎหมายกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ให้สำนักงานกองทุนเป็นอิสระจาก สธ. ค้านขึ้นกับกรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข



มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2553 เรียกร้องให้รัฐบาลเร่งผลักดันออกกฎหมายกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานอิสระจากกระทรวงสาธาณณสุขเพื่อให้สามารถเยียวยาผู้เสียหายให้กับผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ



ทั้งนี้การเรียกร้องดังกล่าวได้หยิบยกเรื่องที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นผ่าตัดตาต้อกระจกให้ผู้ป่วยจำนวน 28 ราย ระหว่างวันที่ 14-16 ธันวาคม 2552 และหลังผ่าตัดพบผู้ป่วยติดเชื้อจำนวน 11 ราย และตาบอด 4 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในสิทธิหลักประกันสุขภาพ 7 ราย และสิทธิข้าราชการ 4 รายมาเป็นกรณีตัวอย่างซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายผู้ป่วยตาต้อกระจกที่ขอนแก่นเบื้องต้น ตามมาตรา 41 ของกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือเฉพาะผู้ในสิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จำนวน 7 ราย ๆ โดยกรณีทุพพลภาพถาวรนั้นจะได้รับการช่วยเหลือได้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อราย


อย่างไรก็ตามเนื่องจาก พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41 ให้มีการกันเงินไว้ไม่เกินร้อยละ 1 ในการช่วยเหลือเบื้องต้นเมื่อได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด และปัจจุบันมีกลไกการพิจารณาอนุมัติในทุกจังหวัดโดยคณะอนุกรรมการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ที่มีองค์ประกอบของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการในสัดส่วนที่เท่ากัน และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีหลักเกณฑ์การจ่ายดังนี้


เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินไม่เกิน 200,000 บาท


สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ จ่ายเงินไม่เกิน 120,000 บาท


บาดเจ็บหรือ เจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินไม่เกิน 50,000 บาท


แต่กองทุนตามกฎหมายฉบับนี้ยังไม่ครอบคลุมระบบหลักประกันในรูปแบบอื่น ๆ เช่น ระบบสวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม นอกจากนี้การช่วยเหลือเบื้องต้นยังมีความจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถเยียวยาความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่เกิดขึ้นได้จริง


ปัจจุบันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข ได้ถูกนำเสนอโดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 รายชื่อ ต่อประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552 และรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอกฎหมายนี้เช่นเดียวกัน แต่กระทรวงสาธารณสุขได้ให้กองทุนคุ้มครองผู้เสียหายมีสำนักงานภายใต้กรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข


แต่จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นผู้ให้บริการและเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในหลายกรณี เช่นกรณีโรงพยาบาลขอนแก่น จึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นกลาง และไม่ได้รับการยอมรับจากเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ และองค์กรผู้บริโภค


จึงเรียกร้องให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีสำนักงานที่มีความเป็นกลาง เป็นอิสระ และเข้าถึงได้ง่าย เพื่อประสิทธิภาพในการให้การช่วยเหลือ ชดเชย และเยียวยาความเสียหายตลอดตนลดความขัดแย้ง
โดย: น่าจะพูดได้ให้ชาวบ้านเข้าใจ [7 ม.ค. 53 20:37] ( IP A:58.11.87.25 X: )
Add to Facebook  Add to Twitter  Add to Multiply  Add to Google  Add to Blogger  Add to Live
ความคิดเห็นที่ 1
   วันที่ 07 มกราคม พ.ศ. 2553 เวลา 17:54:34 น. มติชนออนไลน์


ผ่าตัดตาต้อกระจกบอดสนิทอีก 3รวมเป็น 10ราย รพ.ขอนแก่นควักลูกตาใส่ตาเทียมจ่ายเงินชดเชยคนละ 5 หมื่น

ผ่าตัดตาต้อกระจก รพ.ขอนแก่นผู้ป่วยตาบอดเพิ่มอีก 3 รายเป็น 10 ราย โรงพยาบาลจ่ายเงินช่วยเหลือขั้นต้นรายละ 50,000 บาทควักลูกตาใส่ลูกตาเทียมเป็นพลาสติกที่มีความสวยงาม คล้ายดวงตาจริง เปิดตามปกติคนป่วยเตรียมขึ้นเขียงอีก 8-10 ราย พ่อค้าข้าวมันไก่โวยตาบอดขากรายได้


จากกรณีผู้ป่วยโรคตาต้อกระจก 25 ราย เข้ารับการผ่าตัดที่ รพ.ขอนแก่น ช่วงวันที่ 14 – 16 ธ.ค. 52 เกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ "ซูโดโมแนส ออรูจิโนซ่า" และ "เซคโดคอกคัส นิวโมเดอิ" จำนวน 11 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 7 ราย ต้องสูญเสียการมองเห็นแบบถาวร ขณะที่อีก 4 ราย ยังอยู่ระหว่างเฝ้าติดตาม ภายหลังตกเป็นข่าวอื้อฉาวทำให้ผู้ป่วยตาต้อกระจกที่รอรับการรักษากว่า 200 ราย ขอยกเลิกคิวผ่าตัด


ความคืบหน้า เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 7 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แพทย์ผู้รักษาผู้ป่วยที่ผ่าตัดตาต้อกระจก รพ.ขอนแก่น ติดเชื้อรุนแรงที่เหลืออีก 4 ราย ที่นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลขอนแก่น เปิดเผยถึงผลการรักษา ขณะนี้ผู้ป่วยที่เหลือขณะนี้มีผู้ป่วย 3 ราย ตาสูญเสียการมองเห็นแล้ว หลังจากที่แพทย์ได้ให้การรักษามาเกือบ 1 สัปดาห์ ซึ่งรวมแล้วขณะนี้มีผู้ป่วยที่ผ่าตัดตาติดเชื้อตาบอดไปแล้ว 10 ราย


คนไข้ที่ตาบอดเพิ่มมี 1.นางนาง อุ่นเสือ ชาว ต.โพนเพ็ก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น แพทย์ได้ผ่าตัดน้ำวุ้นตาและให้ยาปฏิชีวนะตาขวา ซึ่งที่ผ่านมาอาการก็ดีขึ้นบ้าง แต่ท้ายที่สุดขณะนี้สูญเสียการมองเห็นแล้ว 2.นางลัดดา จันทะเกตุ ชาวง ต.กู่ทอง อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม ตาซ้ายสูญเสียการมองเห็นแล้ว และ 3.นางเพ็ง กองสี ชาว ต.โพนเพ็ก อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ตาขวาสูญเสียการมองเห็นแล้ว ส่วนอีก 1 รายนั้นคือ นางทองปัก ทองรักษ์ ชาว ต.ศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น ที่อาการไม่รุนแรงเช่นคนอื่นๆ แพทย์ได้ให้การช่วยเหลือผ่าตัดน้ำวุ้นตาและให้ยาปฏิชีวนะตาข้างขวาที่ผ่าตัดจนอาการดีขึ้น ทำให้ตาไม่สูญเสียการมองเห็น ซึ่งคนป่วยก็นอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลขอนแก่น และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และนอกจากผู้ป่วยทั้ง 4 ราย แล้วยังมีผู้ป่วยอีก 1 รายคือ นายใจ มั่นคง ชาว ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม 7 รายที่ผ่าตัดตาแล้วตาบอดไปก่อนอาการตาบอดไม่หายดี ต้องเข้ารับการรักษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์ที่ รพ.ขอนแก่น เช่นกัน


อย่างไรก็ตาม น.พ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น เฝ้าทบทวนเหตุการณ์ และเตรียมพร้อมเปิดบริการห้องผ่าตัดใหม่ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลและผู้เกี่ยวข้อง สอบสวนสาเหตุการติดเชื้อ จากการสุ่มตัวอย่างวัสดุอุปกรณ์การแพทย์ 85 ตัวอย่าง ส่งตรวจเพาะเชื้อทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจ ไม่พบเชื้อแบคทีเรีย แต่อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลได้ทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตามเกณฑ์มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัด และหลังผ่าตัด ขณะนี้ โรงพยาบาลได้เปลี่ยนอุปกรณ์การแพทย์ในห้องผ่าตัดตาใหม่ทั้งชุด เพื่อสร้างความมั่นใจและความพร้อมในการเปิดบริการต่อไป


น.พ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผอ.รพ.ขอนแก่น สรุปการเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้บริหารโรงพยาบาลและญาติผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553 ที่ผ่านมา คณะผู้บริหารโรงพยาบาลได้เชิญญาติผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบมาเจรจา รับทราบความทุกข์ความเดือดร้อน และสิ่งที่จะขอรับความช่วยเหลือ จากโรงพยาบาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยผู้เข้าร่วมเจรจาไกล่เกลี่ย ประกอบด้วย นพ.วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย รองผู้อำนวยการอาวุโส นพ.สมบูรณ์ ตั้งกีรติชัย รองผู้อำนวยการอาวุโส นพ.วีระศักดิ์ อนุตรอังกูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการและหัวหน้ากลุ่มงานจักษุ คณะแพทย์ และ พยาบาล รวม 10 ท่าน ทั้งนี้ ได้เชิญญาติผู้ป่วยเข้าร่วมเจรจา รวม 12 ท่าน ผลการเจรจาสรุปโดยย่อได้ดังนี้


แพทย์หัวหน้ากลุ่มงานจักษุ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของโรค และแผนการดูแลรักษาปัจจุบันและในการดูแลระยะยาว มีคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในรพ.ขอนแก่น รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น รพ.เมตตาประชารักษ์ ร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคน และขณะนี้ผู้ป่วยปลอดภัย ญาติเข้าใจและคลายความวิตกกังวล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลให้ความชัดเจน เกี่ยวกับการดูแลรักษาต่อเนื่องระยะยาวเกี่ยวกับการใส่ลูกตาเทียม และการดูแลรักษาอื่นๆ ที่รพ.ขอนแก่นจะดูแลค่ารักษาพยาบาลที่นอกเหนือจากสิทธิการรักษาของผู้ป่วยทุกคน การเยี่ยมดูแลผู้ป่วยและครอบครัวที่บ้านโดยเจ้าหน้าที่ รพ.ขอนแก่น ร่วมกับเครือข่ายสถานพยาบาลใกล้บ้าน


เพื่อผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการดูแลแบบองค์รวม และรวมทั้งครอบครัวผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ ที่ต้องมีคนคอยดูแล โรงพยาบาลจะเอื้ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้ารับการตรวจรักษา รพ.ขอนแก่นยินดีที่จะดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวตลอดไป โดยการเอื้ออำนวยความสะดวก ให้ได้ตามที่ผู้ป่วยและญาติไว้วางใจ ด้วยคุณภาพ มาตรฐาน การเยียวยาผู้ป่วยและครอบครัว โรงพยาบาลได้จ่ายเงินช่วยเหลือขั้นต้นรายละ 50,000 บาท เท่ากัน ซึ่งคนไข้ทุกคนเตรียมใส่ลูกตาเทียมให้ผู้ป่วยที่ตาบอด จากการติดเชื้อหลังผ่าตัดตาต้อกระจกที่รพ.ขอนแก่น ฟรี และมอบเงินชดเชยอีกรายละ 170,000 บาท พร้อมให้การดูแลสุขภาพ รักษาฟรีทุกโรคตลอดชีวิต





น.พ.วีระพันธ์ กล่าวต่อว่า ผู้ป่วยที่ควักลูกตาออกแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะใส่ลูกตาเทียม ซึ่งเป็นพลาสติกที่มีความสวยงาม คล้ายดวงตาจริง เพื่อให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจ สามารถเข้าสังคมได้ โดยโรงพยาบาลขอนแก่น จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้ป่วยว่าต้องการไปใส่ที่ใด ซึ่งขั้นตอนในการผ่าตัดใส่ตาเทียมไม่ยุ่งยาก และแพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะ


อย่างไรก็ดี ขอให้ประชาชนที่เป็นโรคตาต้อกระจก อย่าตื่นตระหนกจนไม่ยอมรับการผ่าตัด เพราะที่ผ่านมาเกิดปัญหาน้อยมาก และโรคนี้เมื่อเลนส์แก้วตาสุกเต็มที่ หากไม่ผ่าตัดออกและเปลี่ยนใส่เลนซ์ตาเทียม ผู้ป่วยจะมีโอกาสตาบอดอย่างถาวร จึงขอให้ไปรับบริการตามที่แพทย์นัด โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นย้ำให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศและให้เจ้าหน้าที่ในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เข้มงวดความสะอาดตามมาตรฐานสากลทุกหน่วย และให้ติดตามอาการผู้ป่วยหลังให้บริการอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลและให้การรักษาอย่างทันท่วงทีในรายที่ผิดปกติ สร้างความมั่นใจแก่ผู้ป่วยยิ่งขึ้น


ขณะนี้ รพ.ขอนแก่นได้เปิดบริการห้องผ่าตัดตาตามปกติแล้ว มีผู้ป่วยรอผ่าตัดตาต้อกระจกนานประมาณ 6 เดือน แพทย์จะนัดผ่าตัดวันละ 8-10 ราย โดยเจ้าหน้าที่ได้เปลี่ยนเครื่องมือ วัสดุ และน้ำยาต่าง ๆ ที่ใช้ในห้องผ่าตัดทั้งหมด เครื่องมือทั้งหมดจะผ่านการฆ่าเชื้อและตรวจสอบการปนเปื้อนเชื้อโรคทุกวัน ขณะนี้ได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บฉุกเฉินที่ตาทุกวัน ไม่พบปัญหาติดเชื้อหลังผ่าตัดแต่อย่างใด





ทางด้าน นายนิยม แสนน้อย อายุ 64 ปี หนึ่งในผู้ป่วยที่ตาบอดจากการผ่าตัดรักษาต้อกระจกของ รพ.ขอนแก่น โดยนายนิยมบอกว่า ตั้งแต่ขายข้าวมันไก่มา 8 ปี ไม่มีวันหยุดเลยพึ่งจะหยุดครั้งเดียว ตอนไปผ่าตัดตาต้อกระจกแล้วต้องหยุดยาวมาจนถึงวันนี้รวม 24 วัน ตอนนี้ทั้งบ้านขาดรายได้ที่จะนำมาใช้จ่าย แต่ก็พอมีเงินจากการช่วยเหลือของ รพ.ขอนแก่นเบื้องต้น จำนวน 54,000 บาท มาใช้จ่ายตนเป็นเสาหลักของครอบครัว ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ขณะนี้ครอบครัวเริ่มทำใจได้แล้ว และจะให้ลูกชายขายข้าวมันไก่แทน เพราะตนเองไม่สามารถทำงานหนักได้อีก


นายนิพนธ์ แสนน้อย บุตรชาย บอกว่า เป็นวิกฤติของครอบครัวเพราะที่ผ่านมา พ่อจะเป็นคนขายข้าวมันไก่ ต่อไปตนยินดีจะขายแทนพ่อ ซึ่งได้แต่ปลอบใจซึ่งกันและกันเพราะไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นกับพ่อของตน ขณะนี้พ่อมีอาการคันเล็กน้อยที่ดวงตาข้างขวา เพราะขูดตาดำออกไป ตนต้องพาพ่อไปตรวจดวงตาอีกครั้งในวันที่ 11 ม.ค. 53 เพื่อดูความพร้อมของพ่อว่าจะใส่ตาดำเทียมทดแทนได้หรือยัง และต้องให้พ่อหยุดทำงานไปประมาณ 2 – 3 เดือน
โดย: aa [7 ม.ค. 53 20:38] ( IP A:58.11.87.25 X: )
ความคิดเห็นที่ 2
   งานนี้ ข่าวที่ออกมาก็ตรงไปตรงมาดีครับ สภาฯ ก็คงไม่มีอะไรจะชี้แจงเพิ่มเติมมั้ง
โดย: 222 [7 ม.ค. 53 21:47] ( IP A:61.90.11.86 X: )
ความคิดเห็นที่ 3
   น่าเห็นใจ ยังไงก็สู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆนะคะ
โดย: tttt [7 ม.ค. 53 22:42] ( IP A:180.180.62.144 X: )
ความคิดเห็นที่ 4
   ทางกระทรวงสาธารณสุขเงียบไปเลยหลังจากออกข่าววันแรก ๆ
เนื่องจากคงจะผลักภาระให้ทางผอ.รพ.ศูนย์ฯ วิ่งเต้นหาเงินมาเยียวยาผู้เสียหายด้วยตนเอง

ผอ.รพ.ศูนย์ขอนแก่นท่านนี้ญาติผู้ป่วยบอกว่าดูแลดีมากตั้งแต่วันเกิดเรื่อง ตามไปดูแลไม่ทอดทิ้ง

เครือข่ายฯ เห็นว่า ภาระการเยียวยาผู้เสียหาย ไม่ควรเป็นของผอ.รพ.ศูนย์ขอนแก่น ควรเป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข 10000%

ทีเรื่องงบไทยเข้มแข็ง มีเวลาให้ ทีเรื่องผู้เสียหาย โยนภาระให้ผอ.รพ.รับผิดชอบเอง
โดย: ไม่น่าเลย [8 ม.ค. 53] ( IP A:58.9.197.189 X: )
ความคิดเห็นที่ 5
   แพทยสภาเงียบสนิท เพราะยังตั้งหลัก หาพวก
หาช่องโหว่ รอจังหวะเสียบ
โดย: นั่นแหละเขาล่ะ แพทยสภาไทย [8 ม.ค. 53 8:36] ( IP A:58.9.200.10 X: )
ความคิดเห็นที่ 6
   เฮ้อ

คิดแทนพวกระดับปีศาจในคราบอธิบดีบางคนของ สธ. นะ

เอ งานนี้ ตรูจะออกตัวรูไหนดีหว่า?????

เล่นบท "ผลัก" ให้ ผ.อ. โรงพยาบาลเป็นคนวิ่งเต้นแก้ตัว แก้ไข เยียวยาคนไข้ผู้เสียหายเอง แถมยังแกมบังคับให้ "หาเงิน" ชดใช้ผู้เสียหายเอาเอง

งานนี้จะไปรอดไหมเนี่ย???

ชาวบ้านรู้ทันกันหมดทั่วประเทศแล้วมั๊ง ???!!!

งานนี้เห็นทีจะใช้ " กลยุทธบัดซบ " โบ้ยให้หมอระดับกลาง+ล่าง ไปทะเลาะกับคนไข้กันเอาเอง แล้ว นั่งดูเฉยๆให้คนไข้ทะเลาะกับหมอ เป็นเรื่องลุกลามบานปลายออกไปเยอะๆ เพื่อกลบเกลื่อนเรื่องเน่าๆ เรื่องชั่วช้าสามานที่ทำกันไว้ คงจะไม่ได้แล้วมั๊ง ?

สงสัย + สงสาร ท่าน จุลินทร์ ที่กำลังจะมาเป็นเสนาบดี ส.ธ. คนใหม่จริงๆ มาที่กระทรวงนี้จังหวะพอดี ได้รับเรื่องเน่าๆฟอนเฟะที่กำลังเบ่งโป่งพองเป็นแผลฝีหนองที่รอการปริแตก พอดิบพอดีจริงๆ

ที่สำคัญ เป็นเรื่องต่อเนื่องที่คนพรรคเดียวกับท่าน ทำไว้รอรับท่านทั้งน้าน เฮ้อ !!!!!!!
โดย: คนรู้ทัน ไม่รู้จริง (เรื่องหมอ) [8 ม.ค. 53 9:09] ( IP A:58.8.104.151 X: )
ความคิดเห็นที่ 7
   ไม่รับผิดชอบก็ด่า รับผิดชอบก็ด่า เครือข่ายสุดยอดเลย ถามหน่อยเถอะที่ว่า รพ หาเงินมาเยียวยาเองนี่คือ เอาเงินเดือนหรือเอาทรัพย์สินส่วนตัวมาเยียวยาหรือ

เงิน รพ=เงินกระทรวง=เงินแผ่นดิน=เงินประชาชน

สปสช เค้ากันเงินไว้สำหรับ ม 40 41 แล้ว น่าจะ 1 บาทต่อหัว ปชก รวม น่าจะ 40 ล้านบาท
ซึ่งก็ไม่พอเพราะเครือข่ายฟ้องคดีเดียวก็ 50 ล้านแล้ว
โดย: หาเรื่องด่าได้ทุกเรื่อง [9 ม.ค. 53 7:09] ( IP A:125.26.113.33 X: )
ความคิดเห็นที่ 8
   ก.จากการติดตามคดีขอแจ้งข้อเท็จจริงดังนี้
แพทยสภาได้นำเรื่องเข้าสู่ขั้นตอนคดีจริยธรรมแล้ว
ตาม ขั้นตอน พรบ.วิชาชีพเวชกรรม
ในการประชุมอนุกรรมการบริหาร
เมื่อ 7 มค.ที่ผ่านมาเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง..
และเริ่มขั้นตอนดำเนินคดีจริยธรรม กับตัวแพทยืผู้เกี่ยวข้อง
แม้ผู้เสียหายไม่ร้องเรียนมาที่แพทยสภาก็ตามครับ

ข.ส่วนมาตรฐานสถานพยาบาลนั้น
1.ถ้าเอกชนอยู่ใน พรบ.สถานพยาบาลฯ ขึ้นกับกองประกอบโรคศิลป์
2.แต่กรณีนี้ รพ.ของรัฐ ต้องควบคุมโดยกระทรวงเจ้าสังกัดครับ
การสอบสวนอยู่เกินกว่าในอำนาจแพทยสภา ที่กฎหมายให้ดูแลเฉพาะตัวบุคคลครับ..
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ

การเยียวยาช่วยเหลือจึงเป็นเรื่องของกระทรวงเจ้าของสังกัดเป็นผู้ดูแล และ สปสช.จึงเป็นตามข่าวครับ
โดย: หมอธรรม [9 ม.ค. 53 18:02] ( IP A:61.90.42.73 X: )
คลิก เพื่อเปลี่ยนกลับไปแสดงความคิดเห็นแบบเดิม

ชื่อไฟล์รูปห้ามมีอักขระพิเศษ เช่น (#),(<),(>),(&) เป็นต้นค่ะ
ชื่อ / e-mail :    แทรกไอคอนน่ารักๆในข้อความ
e-mail :
ส่งอีเมลทุกครั้งที่มีการตอบกระทู้       (ใส่ Email เมื่อต้องการให้ส่ง Email เมื่อมีคนมาโพสในกระทู้)


CAPTCHA code



คลิกที่นี่เพื่อกลับหน้าบ้าน